ไม่เข้าใจครับ อนุญาตถาม...
NGV เป็นสินค้าประเภท commodity ... ถ้าเปรียบได้ ก็เช่นไข่ไก่ (จะชัดเจนกว่าข้าว เพราะข้าวยังแยกเป็นพันธุ์เป็นเกรด)
ไข่ที่ออกจากไก่ใต้ถุนบ้านร้อยเอ็ด กับไข่ที่ออกจากใต้ถุนบ้านสุพรรณ ตามหลักแล้ว ต้นทุนไม่น่าจะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญนี่ครับ
ถ้าต้นทุนมันแตกต่างกันมาก จนทำให้ราคามันต่างกันเห็นชัด แสดงว่าต้องมีบ้านหนึ่งผิดพลาดทางเทคนิค ก็คือผิดพลาดในการบริหารจัดการนั่นเอง
NGV ที่ขุดได้จากอ่าวไทย มันมีต้นทุนกระบวนการ ที่แตกต่างกับ NGV ของอีกซีกโลกมากหรือครับ ถึงเอามาอ้างอิงกันไม่ได้
ไม่ได้กวนนะครับ ถามเพราะไม่ทราบจริงๆ ช่วยชี้แนะด้วยครับ...
ผมถึงคิดไม่ทันพี่ ๆ งัย
ถ้าคิดถึงแต่ปัจจัยต้นทุนจากการผลิตอย่างเดียว โดยไม่ดูปัจจัยอื่น ๆ ประกอบ ผมเห็นว่ามันไม่สมเหตุสมผลครับ
ผมเปรียบเทียบกับการขายข้าว เพราะคนที่ซื้อแต่ละที่ ให้ราคาไม่เท่ากัน (ถึงจะอ้างอิงราคาประกันของรัฐบาลก็ตาม) เพราะปริมาณการบริโภค ต้นทุนค่าขนส่ง สัญญาส่งออก ต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมมีผลต่อการกำหนดราคารับซื้อ
NGV ที่ตลาดนิวยอร์ค มันก็เป็นราคาที่เกิดการซื้อขายกันที่โน่น การวางโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ต้นทุนของเทคโนโลยี ค่าจ้างแรงงาน อุปสงค์ อุปทาน ในภูมิภาคนั้น .... ย่อมแตกต่างจากแถวบ้านเราครับ
-----------------------------------------------------------
ผมบังเอิญได้รับความรู้จากเพื่อนคนหนึ่งมาว่า .... ในการเปิดหลุมเพื่อขุดน้ำมัน (กาซก็คงแบบเดียวกัน) บริษัทที่ได้สัมปทานเขาคิดต้นทุน และราคาขายไว้เรียบร้อยแล้ว .... โดยราคาขายในอนาคตก็เป็นประมาณการ คำนวณร่วมกับปริมาณที่คาดว่าจะขุดขึ้นมาได้ เงินที่ต้องลงทุน และขนาดของกำไรที่ต้องการ .... เข้าสูตรคำนวณกันไว้แล้ว
ผมถามมันต่อว่า ... อย่างงี้ ก็ปิดประตูจนเลย ยิ่งน้ำมันดิบขึ้นพรวด ๆ ก็ยิ่งรวย ... มันว่าใช่
กลับมากาซธรรมชาติบ้านเรา .... โครงการ NGV ผมเห็นเกิดมานานแล้ว เห็นรถเมล์วิ่งมาเกิน ๕ ปีแล้วกระมังครับ แต่ก็ไม่มีการใช้ในรถยนต์นั่งส่วนบุคคลสักที .... เพราะอะไรครับ .... ก็ต้นทุนมันแพง และราคาขายกาซ มันไม่ได้ต่ำกว่าน้ำมันมากนักครับ ....
แต่เมื่อน้ำมันแพงขึ้นพรวดพราด ก็มีการดิ้นรนหาพลังงานทดแทนมากขึ้น
การใช้ LPG ไม่ได้เป็นปัญหาหรอกครับ ผมมองว่าส่วนที่จะเป็นปัญหาของ LPG นั้น เป็นเรื่องของมาตรฐานการติดตั้ง และเรื่องการหาแหล่งกาซเท่านั้นเอง
บ้านเราผลิต LPG ได้จำกัดนะครับ อย่าเพิ่งไปฝันว่าเราผลิตได้มากเท่าที่ต้องการ ดังนั้นเมื่อปริมาณการใช้ LPG มากกว่าความสามารถในการผลิตเมื่อใด ...... รัฐบาล และ ปตท. ก็ต้องหาทางออกครับ (หน้าที่ของ ปตท. คือหาพลังงานให้ประเทศใช้โดยไม่ขาด)
พลังงานทดแทนอีกอย่างที่บ้านเราวิจัยกันมาแล้วคือ CNG .... ผมว่ารัฐบาลคงเล็งเห็นความสำคัญ จึงต้องการผลักดันออกมา ... ยิ่งตอนน้ำมันแพงก็ยิ่งทำให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงชนิดนี้ ต่ำลงจนยอมรับกันได้ .... จึงได้เกิดการผลักดันกันขึ้นมา
..... ถ้าวิธีการเปิดหลุมของ ปตท. เหมือนกับที่เพื่อนผมมันทำงานอยู่ ..... ก็น่าจะเชื่อได้ว่าคนขุดเขามีราคาในใจแล้วครับ
-------------------------------------------------------------
ถ้าเรื่องการบริหาร ผมมองว่าเป็นความอ่อนของรัฐบาลยุคนั้น .... ก็ลองคิดดู E10 E20 E85 LPG CNG B5 พากันออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่แค่คนใช้หน้ามืดเท่านั้น คนผลิตรถคงได้เอาหัวโขกกำแพงกันบ้าง
ในมุมมองของผม การที่ ปตท. ยอมลงทุนเรื่อง NGV นั้น ไม่น่าจะเป็นการเล็งผลเลิศด้านกำไร เพราะคนที่อยู่ในธุรกิจ น่าจะทราบอยู่แล้วว่า ราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นแบบไม่มีเพดานนั้น มันต้องดิ่งหัวลงมาสักวัน
ถ้าจะสร้างกำไร สู้ถนอมตัว ไม่เปิดตลาดใหม่ แต่ลงทุนในเชื้อเพลิงที่ต้นทุนต่ำ กำไรมากดีกว่า ....
ผมคิดได้แค่นี้ วิ่งตามพี่ ๆ ไม่ทันจริง ๆ