กองทัพบกไทยกำลังดำเนินการปรับปรุงปืนใหญ่อัตตาจร M109A5
และอาจจะจัดหาเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจร SR4 เพิ่มRoyal Thai Army M109A5 155mm Self-Propelled Howitzer Rebuild Team
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1269505803099693&set=p.1269505803099693https://www.facebook.com/ken.jitwareeกองทัพบกไทยอาจจะกำลังดำเนินการปรับปรุงสภาพครึ่งอายุการใช้งานใหม่(Mid Life Refurbishment) ของปืนใหญ่
อัตตาจรสายพานแบบ M109A5 แต่อย่างไรก็ตามไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมปรากฎ ณ ขณะนี้ โดยเท่าที่มีข้อมูลโครงการ
ปรับปรุงสภาพได้เริ่มการศึกษามาตั้งปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013)แล้วสำหรับการปรับปรุงสภาพปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน
M109A5 ๑๐ ระบบ และรถจ่ายกระสุน M992A1 วงเงินประมาณ ๔๖๐ ล้านบาท โดยการดำเนินการหลักจะเป็นการ
ปรับปรุงคืนสภาพระบบเหมือนเพิ่งออกจากโรงงานใหม่ แต่ไม่มีข้อมูลว่าจะมีการปรับปรุงติดตั้งระบบอำนวยการยิงใหม่
และไม่มีการเปลี่ยนลำกล้องปืนใหญ่ใหม่เนื่องจากยังมีสภาพดีจากการใช้งานไปเพียงร้อยละ ๑๕-๒๐ ของอายุการใช้งาน
กองทัพบกไทยได้จัดหาปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้งแบบ๓๗ ขนาด 155mm/39caliber อัตตาจร(ปกค.๓๗) M109A5
จากสหรัฐฯจำนวน ๒๐ ระบบ พร้อมรถจ่ายกระสุนแบบ M992A1 และรถที่บังคับการแบบ M577 เข้าประจำการในปี
พ.ศ.๒๕๓๗(1994) เดิม ปกค.๓๗ M109A5 นั้นเข้าประจำการใน กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗๒๑ กองพลทหารปืนใหญ่
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๕๖ ได้มีการย้าย ป.อจ.M109A5 จาก ป.พัน.๗๒๑ ไปประจำการที่ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๒
รักษาพระองค์ ซึ่ง ป.พัน.๑๒ รอ. เป็นหน่วยยิงช่วยสนับสนุนขึ้นตรงของ กรมทหารราบที่๑๒ รักษาพระองค์
กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ โดย ร.๑๒ รอ. นั้นเป็นกรมทหารราบยานเกราะที่มียุทโธปกรณ์ในอัตราจัดหลัก
คือรถสายพานลำเลียง M113A3
BAE Systems to Provide Upgraded Self-Propelled Howitzers to Brazilian Army
http://www.baesystems.com/en/article/bae-systems-to-provide-upgraded-self-propelled-howitzers-to-brazilian-armyยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าโครงการปรับปรุงสภาพ ป.อจ.M109A5 กองทัพบกไทยนั้นดำเนินการโดยบริษัทใด โดยข่าว
การปรับปรุงปืนใหญ่อัตตาจร M109A5 ล่าสุดนั้นคือโครงการ M109A5+ ของกองทัพบกบราซิล โดยบริษัท
BAE Systems สาขาสหรัฐฯได้รับสัญญาในการปรับปรุงสภาพและเพิ่มขีดความสามารถของ ปืนใหญ่อัตตาจร M109A5
จำนวน ๓๒ ระบบ ของกองทัพบกบราซิลให้เป็นมาตรฐาน M109A5+ ในวงเงิน $54 million(๑,๘๗๐ ล้านบาท) ซึ่งจะเริ่ม
ได้รับมอบระบบในราวปี 2018 ซึ่งแผนการปรับปรุง M109A5+ กองทัพบกบราซิลนั้นนอกจากการปรับปรุงแคร่รถฐานและ
ป้อมปืนใหม่แล้ว จะติดตั้งระบบนำร่อง ระบบอำนวยการรบ ระบบควบคุมการยิง ระบบสื่อสาร และระบบจอภาพแสดงผลแบบ
Digital เป็นต้นด้วย ถ้าเทียบกับโครงการปรับปรุง M109A5 ของกองทัพบกไทยในจำนวนเท่ากัน ๑๐ ระบบ โครงการ
M109A+ กองทัพบราซิลจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าบ้าง(ราว๑.๒เท่า) ทั้งนี้ก็ยังบอกไม่ได้ว่า M109A ของกองทัพบกไทยจะ
เป็นเพียงการซ่อมคืนสภาพหรือปรับปรุงระบบใหม่ให้ทันสมัยขึ้นหรือไม่
Royal Thai Army SR4 122mm Self-Propelled Multiple Launch Rocket System
https://www.facebook.com/Combat-Zones-226312960785639/มีรายงานเพิ่มเติมว่ามีความเป็นได้ที่กองทัพบกไทยอาจจะสั่งจัดหาเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยางแบบ SR4
เพิ่มเติมอีก ๒ระบบ ซึ่งจะทำให้กองทัพบกมี SR4 ครบ ๖ระบบหรือหนึ่งกองร้อยตามอัตราจัดกองร้อยปืนใหญ่มาตรฐาน
๖ หมู่ปืน แต่ยังไม่มีรายงานยืนยันเพิ่มเติม ณ ขณะนี้เช่นกัน ซึ่งกองทัพบกได้สั่งจัดหาเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง
อัตตาจรแบบ ๕๖ ขนาด 122 mm ๔๐ ลำกล้อง อัตตาจร(จลก.๕๖) SR4 จาก NORINCO สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน
๔ ระบบ พร้อมรถจ่ายจรวด, ระบบควบคุมและบัญชาการและที่บังคับการ Toyota Prado วงเงิน ๖๙๖ ล้านบาท โดย
คจลก.SR4 เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013) ใน กองพันทหารปืนใหญ่ที่๗๑๑ กองพลทหารปืนใหญ่ ซึ่ง ป.พัน๗๑๑
พล.ป. เป็นกองพันเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องซึ่งมีเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องหลายแบบประจำการในกองพัน เช่น
เครื่องยิงจรวดและจรวดนำวิถีหลายลำกล้องอัตตาจรล้อยางแบบ DTI-1 และ DTI-1G ขนาด 302 mm และเครื่องยิงจรวด
หลายลำกล้อง DTI-2 ขนาด 122 mm ที่พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology
Institute) ครับ
http://aagth1.blogspot.com/2016/10/m109a5-sr4.html?m=0