เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 27, 2024, 08:02:42 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 24 25 26 [27] 28 29 30 ... 271
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เรื่องรถถัง-ยานเกราะ จรวด อาวุธทางบกครับ  (อ่าน 843667 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 9 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #390 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 06:45:28 PM »

ขอบคุณมากครับคุณ รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ เยี่ยม

คอยตามบวกให้ครับ

พวกถังเยอรมันใหญ่ๆ นี่อึดจริงๆ น่าสนใจว่าในช่วงท้ายสงครามด้านตะวันตก ถังเยอรมันถูกทำลายโดยถังสัมพันธฯ หรือเครื่องบินสัมพันธฯ ในอัตราส่วนเท่าไหร่?
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
...อภิสิทธิ์ ...
จะรักและซื่อสัตย์ต่อลูกโม่ S&W ตลอดไปชั่วฟ้าดินสลาย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 652
ออฟไลน์

กระทู้: 3595



« ตอบ #391 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2010, 11:32:23 AM »




ตัวเนี้ยเห็นจอดอยู่หน้าค่ายสุรศักดิ์มนตรีมาหลายปีแล้ว น่ารักน่าชังเป็นที่สุด  ถ้ากฎหมายโอเคนะ ผมจะขอซื้อมาใส่เครื่องอีซูซุ ตอนเย็นๆขี่ไปซื้อกับข้าวที่ตลาดครับ
บันทึกการเข้า

There are experienced shooters who are just die-hard fans of revolvers. They do practice regularly and have had plenty of training, and for whatever reason they just prefer revolvers over semi-autos. And for the record, no, not all of them are dudes with gray hair.
รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ
รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย คือสมบัติของผู้มีอารยธรรม
Hero Member
*****

คะแนน 239
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1115



« ตอบ #392 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2010, 11:26:44 PM »

ขอบคุณมากครับคุณ รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ เยี่ยม

คอยตามบวกให้ครับ

พวกถังเยอรมันใหญ่ๆ นี่อึดจริงๆ น่าสนใจว่าในช่วงท้ายสงครามด้านตะวันตก ถังเยอรมันถูกทำลายโดยถังสัมพันธฯ หรือเครื่องบินสัมพันธฯ ในอัตราส่วนเท่าไหร่?
ผมว่าในช่วงท้ายของสงคราม ถ้าเป็นรถถังต่อรถถังด้วยกัน อัตราน่าจะออกมาที่ 1:1 ครับพี่ แต่ถ้าเป็นเครื่องบินต่อรถถังน่าจะเป็นหนึ่งต่อเท่าไหร่ก็ได้ เพราะในช่วงหลัง ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้การโจมตีด้วยการใช้อากาศยานติดจรวดและระเบิดในการทำลายยานเกราะของฝ่ายเยอรมันครับ ไหว้

ทั้งนี้เนื่องมาจาก ในช่วงแรกของการรุกคืบจากแนวรบด้านตะวันตกของฝ่ายสัมพันธมิตร ฝ่ายอเมริกาและอังกฤษมีอัตราการสูญเสียรถถังมากถึง 1 ใน 3 ของจำนวนทั้งหมด โดยเฉพาะเจ้าม้างาน M4 Sherman ที่โดนยิงโดนสอยด้วยบรรดาปืนใหญ่รถถังและปืนใหญ่นานาชนิดของฝ่ายเยอรมันโดยเฉพาะปืนใหญ่ขนาด 88 มม. เนื่องจากรถถังของฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่จะมีเกราะไม่หนามาก โดยเฉพาะเจ้าม้างานรถถัง M4 ซึ่งมีเกราะด้านหน้าหนาเพียง 63 มม. เมื่อมาเจอกับปืนใหญ่รถถังขนาด 88 มม. รุ่น KwK 36 L/56 หรือปืนใหญ่ FlaK 36 เรียกว่า M4 ยังไม่ทันรู้ตัวก็โดนยิงจากระยะไกลจนพังไปแล้ว หรือถึงรู้ตัวแต่โดนยิงใส่ด้านหน้าจังๆก็พังเช่นเดียวกันครับ

ปืนใหญ่ FlaK 36 ขนาด 88 มม.


ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดเหตุการณ์ที่หมู่บ้านวิลเลอร์-โบคาจ (Battle of Villers-Bocage) ที่รถถังไทเกอร์เพียงกองร้อยเดียว สามารถป่วนและทำลายขบวนยานเกราะของฝ่ายอังกฤษจนยับเยินครับ อ๋อย

ในภายหลังฝ่ายอเมริกาได้วิจัยพัฒนารถถังหนักรุ่นใหม่ออกมา คือ รถถัง M26 Pershing ซึ่งมีเกราะด้านหน้าหนาถึง 110 มม. ติดตั้งปืนใหญ่รถถัง M3 ขนาด 90 มม. เมื่อต้องเจอกับรถถังหนักของฝ่ายเยอรมันไม่ว่าจะเป็น Tiger , Panther ก็พอจะสู้กันไหวครับ

รถถัง M26 Pershing


รถถัง M26 Pershing ถูกยิงโดยรถถัง Tiger เข้าที่ป้อมปืน บริเวณโคนลำกล้องปืน


ในส่วนของเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตร ก็มีการปรับปรุงเรื่องอาวุธที่ใช้ต่อต้านรถถัง โดยมีการวิจัยและพัฒนาอาวุธประเภทจรวดชนิดวิถีตรงแบบความเร็วสูง รุ่น M8 HVARs (High velocity aircraft rockets) ขนาด 5 นิ้ว (127 มม.) สำหรับติดตั้งกับเครื่องบิน P-47 Thunderbolt ซึ่งจรวดชนิดนี้มียอดการทำลายศัตรูสูงมาก โดยเฉพาะยานเกราะของฝ่ายศัตรูถูกทำลายด้วยจรวดชนิดนี้มากถึง 6,000 คันเชียวครับ 

จรวดวิถีตรงความเร็วสูง M8 HVARs


เครื่องบิน P-47D ขณะทำการยิงจรวด HVARs
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 29, 2010, 03:17:38 PM โดย รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ » บันทึกการเข้า

...การที่เราทะนุถนอมคนที่เรารัก มันเป็นเรื่องปกติ
แต่การถนอมหัวใจคนที่เราไม่ได้รัก ใครจะทำได้สักกี่คน...

คิดถึงทุกปี-บินหลา สันกาลาคีรี
nukung12
Newbie
*

คะแนน 0
ออฟไลน์

กระทู้: 1


เว็บไซต์
« ตอบ #393 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 01:43:48 PM »

สวัสดีค่ะ
บันทึกการเข้า

ศัพท์บัญชี ตัวล่าสุด
chalie27
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 12
ออฟไลน์

กระทู้: 206



« ตอบ #394 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 11:39:06 PM »

ไม่รู้รถถังรุ่นใหนที่จะเข้ามาเป็นเขี้ยวเล็บใหม่ของกองทัพไทย  หรือว่าจะไม่มี 
บันทึกการเข้า
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #395 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 02:10:23 AM »

ขอบคุณมากครับคุณ รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ เยี่ยม

คอยตามบวกให้ครับ

พวกถังเยอรมันใหญ่ๆ นี่อึดจริงๆ น่าสนใจว่าในช่วงท้ายสงครามด้านตะวันตก ถังเยอรมันถูกทำลายโดยถังสัมพันธฯ หรือเครื่องบินสัมพันธฯ ในอัตราส่วนเท่าไหร่?
ผมว่าในช่วงท้ายของสงคราม ถ้าเป็นรถถังต่อรถถังด้วยกัน อัตราน่าจะออกมาที่ 1:1 ครับพี่ แต่ถ้าเป็นเครื่องบินต่อรถถังน่าจะเป็นหนึ่งต่อเท่าไหร่ก็ได้ เพราะในช่วงหลัง ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้การโจมตีด้วยการใช้อากาศยานติดจรวดและระเบิดในการทำลายยานเกราะของฝ่ายเยอรมันครับ ไหว้

ทั้งนี้เนื่องมาจาก ในช่วงแรกของการรุกคืบจากแนวรบด้านตะวันตกของฝ่ายสัมพันธมิตร ฝ่ายอเมริกาและอังกฤษมีอัตราการสูญเสียรถถังมากถึง 1 ใน 3 ของจำนวนทั้งหมด โดยเฉพาะเจ้าม้างาน M4 Sherman ที่โดนยิงโดนสอยด้วยบรรดาปืนใหญ่รถถังและปืนใหญ่นานาชนิดของฝ่ายเยอรมันโดยเฉพาะปืนใหญ่ขนาด 88 มม. เนื่องจากรถถังของฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่จะมีเกราะไม่หนามาก โดยเฉพาะเจ้าม้างานรถถัง M4 ซึ่งมีเกราะด้านหน้าหนาเพียง 63 มม. เมื่อมาเจอกับปืนใหญ่รถถังขนาด 88 มม. รุ่น KwK 36 L/56 หรือปืนใหญ่ FlaK 36 เรียกว่า M4 ยังไม่ทันรู้ตัวก็โดนยิงจากระยะไกลจนพังไปแล้ว หรือถึงรู้ตัวแต่โดนยิงใส่ด้านหน้าจังๆก็พังเช่นเดียวกันครับ

ปืนใหญ่ FlaK 36 ขนาด 88 มม.


ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดเหตุการณ์ที่หมู่บ้านวิลเลอร์-โบคาจ (Battle of Villers-Bocage) ที่รถถังไทเกอร์เพียงกองร้อยเดียว สามารถป่วนและทำลายขบวนยานเกราะของฝ่ายอังกฤษจนยับเยินครับ อ๋อย

ในภายหลังฝ่ายอเมริกาได้วิจัยพัฒนารถถังหนักรุ่นใหม่ออกมา คือ รถถัง M26 Pershing ซึ่งมีเกราะด้านหน้าหนาถึง 110 มม. ติดตั้งปืนใหญ่รถถัง M3 ขนาด 90 มม. เมื่อต้องเจอกับรถถังหนักของฝ่ายเยอรมันไม่ว่าจะเป็น Tiger , Panther ก็พอจะสู้กันไหวครับ

รถถัง M26 Pershing


รถถัง M26 Pershing ถูกยิงโดยรถถัง Tiger เข้าที่ป้อมปืน บริเวณโคนลำกล้องปืน


ในส่วนของเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตร ก็มีการปรับปรุงเรื่องอาวุธที่ใช้ต่อต้านรถถัง โดยมีการวิจัยและพัฒนาอาวุธประเภทจรวดชนิดวิถีตรงแบบความเร็วสูง รุ่น M8 HVARs (High velocity aircraft rockets) ขนาด 5 นิ้ว (127 มม.) สำหรับติดตั้งกับเครื่องบิน P-47 Thunderbolt ซึ่งจรวดชนิดนี้มียอดการทำลายศัตรูสูงมาก โดยเฉพาะยานเกราะของฝ่ายศัตรูถูกทำลายด้วยจรวดชนิดนี้มากถึง 6,000 คันเชียวครับ 

จรวดวิถีตรงความเร็วสูง M8 HVARs


เครื่องบิน P-47D ขณะทำการยิงจรวด HVARs


ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ บวกๆๆ

ช่วงนี้ผมอ่านชุดนี้อยู่ เป็นเรื่องโดย Donald R. Burgett ทหารกองพล ๑๐๑ ตั้งแต่นอร์มังดีถึงเยอรมัน เส้นทางคล้าย Band of Brothers เขียนตรงไปตรงมา สนุกดีครับ เป็นเรื่องทหารเขียนจากมุมมองระดับพลทหารที่อ่านสนุกดีมากเรื่องหนึ่ง
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #396 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 02:11:35 AM »

 Smiley
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #397 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 02:14:55 AM »

เรื่องของนาย เบอเก็ต นี่ผมอ่านควบกับ D day Antony Beevor เพราะชอบอ่านควบคนละอารมณ์มุมมองแนวกว้างกับแคบ คิวต่อไปมุมด้านเยอรมันครับ Grin
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
Zeus-รักในหลวง
อะฮู้.....ไฮยีน่าก็เป็นแมวนะคราบบบ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 817
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10983


I'm going to make him an offer that he can't refus


« ตอบ #398 เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 10:01:07 AM »

สอบถามซักนิดครับ เจ้ารถหุ้มเกราะยูเครนที่ว่าจะเปลี่ยนเครื่องเพราะเยอร์มันไม่ขายเครื่องให้เรา สรุปเราจะไปใช้เครื่องของประเทศอะไรครับ ไหว้
อ่านแว๊บ ๆ  หาไม่เจอครับ Grin
บันทึกการเข้า

“A fear of weapons is a sign of retarded sexual and
emotional maturity.”
- Sigmund Freud

“ความกลัวอาวุธคือสัญญาณของความถดถอยทางเพศและวุฒิภาวะทางอารมณ์”
- ซิกมุนด์ ฟรอยด์
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #399 เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 02:26:07 PM »

บอกให้เขาลงเครื่องโตต้าได้ไหมครับ? หาอะไหล่ง่ายดี อิ อิ Grin
บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
youngnoi7474
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 841
ออฟไลน์

กระทู้: 555


« ตอบ #400 เมื่อ: กันยายน 05, 2010, 08:20:24 AM »

                   กราบขอบพระคุณทุกท่านครับที่เสียสละเวลามาแบ่งปันความรู้  ไหว้ 
บันทึกการเข้า
-Joke-
Vive la liberté de parole et d'opinion!
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน -459
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4225


^_^


« ตอบ #401 เมื่อ: กันยายน 05, 2010, 10:30:36 AM »

บอกให้เขาลงเครื่องโตต้าได้ไหมครับ? หาอะไหล่ง่ายดี อิ อิ Grin

ลง 2J สิครับพี่ต๊อก อิอิ
บันทึกการเข้า

A la volonté du peuple
Et à la santé du progrès,
Remplis ton cœur d'un vin rebelle
Et à demain, ami fidèle.
Nous voulons faire la lumière
Malgré le masque de la nuit
Pour illuminer notre terre
Et changer la vie.
NAPALM
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 66
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1589



« ตอบ #402 เมื่อ: กันยายน 05, 2010, 11:18:27 AM »



Stridsvagn 103

http://en.wikipedia.org/wiki/Stridsvagn_103

รถถัง Sweden  นี่ราคาคันละเท่าไหร่ครับ  ดูข้อมูลแล้วน่าสนใจดีครับ  ไหว้
ขายไม่ออกนี่ครับรุ่นนี้ เพราะมันออกแบบมาเพื่อใช้เฉพาะในป่าสนภูมิประเทศแบบหิมะอย่างประเทศผู้ผลิต ที่ที่ป้อมปืนแบบหมุนได้ไม่มีประโยชน์เนื่องจากในป่าไม่สามารถหมุนป้อมปืนได้สะดวกเพราะติดต้นไม้  การปรับมุมยิงใช้ไฮโดรลิคที่ตีนตะขาบเพื่อกดหัวลงหรือเงยขึ้น  ความคล่องตัวต่ำไม่เหมาะกับบ้านเราสุดๆนะผมว่า

ผมนึกว่ามันจะหมุนได้ซะอีก  โดนชก


น่าจะปลดประจำการไปแล้วนะครับ  ท่าน......

ปัจจุบันสวีเดนใช้รถถังเยอรมันครับ
บันทึกการเข้า

..........ขอเพียงมีความหวัง       ย่อมมีโอกาส...............
รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ
รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย คือสมบัติของผู้มีอารยธรรม
Hero Member
*****

คะแนน 239
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1115



« ตอบ #403 เมื่อ: กันยายน 06, 2010, 09:54:55 PM »

เรื่องของนาย เบอเก็ต นี่ผมอ่านควบกับ D day Antony Beevor เพราะชอบอ่านควบคนละอารมณ์มุมมองแนวกว้างกับแคบ คิวต่อไปมุมด้านเยอรมันครับ Grin


เห็นภาพปกเป็นรูปนายพลไฮน์ กูเดเรียน (Heinz Guderian) แล้วผมนึกถึงหน่วยยานเกราะ Panzer กับยุทธวิธี  Blitzkrieg  อันเลื่องชื่อของนาซีเยอรมันเลยครับพี่ต็อก เยี่ยม

ส่วนตัวนายพลกูเดอเรียนก็ได้รับฉายาว่า " บิดาแห่งยานเกราะของเยอรมัน" รวมไปถึงหนังสืออีกเล่มซึ่งเป็นผลงานของแกคือ Achtung - Panzer! ครับ  ไหว้

ว่าแล้วก็ขอนำประวัติของนายพลไฮน์ กูเดเรียน (Heinz Guderian) จาก http://www.geocities.com/saniroj (ปัจจุบันปิดให้บริการแล้ว จึงนำมาจาก  ฺBloggang แทนครับ ไหว้ ) ของพันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ มาลงให้อ่านกันะครับ


นายพลไฮน์ กูเดเรียน เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1888 ที่เมืองคลุม (Culm) ซึ่งตอนนั้นอยู่ในปรัสเซียตะวันตกของเยอรมัน ปัจจุบันชื่อเมือง Chelmno อยู่ในประเทศโปแลนด์ จบการการศึกษาทางทหาร จากโรงเรียนนายร้อยในเบอร์ลิน ในปี 1908 ได้รับการประดับยศเป็นร้อยตรี

ต่อมา ในปี 1913 สมรสกับภรรยาชื่อ Margarete Goerne มีบุตรชายสองคน ซึ่งทั้งตัวเขาและลูกชายทั้งสองคน ต่างก็ร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกชายคนโต ซึ่งต่อมาได้เป็นพลตรีของกองทัพเยอรมันในช่วงหลังสงคราม

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กูเดเรียน เป็นครูฝึกในโรงเรียนนายร้อยในเบอร์ลิน เขาเริ่มแสดงแนวความคิดใหม่ๆในการใช้ยานยนต์ในการเคลื่อนที่ โดยเฉพาะเมื่อเขาเป็นพันตรี ในปี 1927 เยอรมันถูกจำกัดด้วยสนธิสัญญาแวร์ซาย หน่วยของเขามีแต่มอเตอร์ไซค์และรถบรรทุก เพราะเยอรมันไม่ได้รับอนุญาติให้พัฒนาอาวุธสงคราม เขาพยายามพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ในการเคลื่อนพลอย่างรวดเร็ว

เขาเดินทาง ไปดูการพัฒนารถถังของนาซีอย่างลับๆในรัสเซีย แล้วกลับมาติดตั้งรถบรรทุกของเขาด้วยป้อมปืนไม้ แล้วใช้รถบรรทุกเหล่านี้ทำการรบแบบรถถัง เขาจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้กำเนิด แนวความคิดของการใช้รถถังในการรุก และเป็นผู้ให้กำเนิด หน่วย Panzer หรือ หน่วยยานเกราะของเยอรมัน โดยกูเดเรียนได้อ่าน แนวคิดการใช้ยานเกราะของอังกฤษ ซึ่งเขียนโดย J.F.C Fuller ในปี 1929 และนำมาปรับใช้อย่างจริงจังครั้งแรกในกองทัพนาซีเยอรมัน

เมื่อฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจ ฮิตเลอร์ได้เดินทางไปชมการฝึกซ้อมของหน่วยยานเกราะเล็กๆ ของกูเดเรียน ซึ่งมีความคล่องตัว แตกต่างไปจากรถถังในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รถถังจำลองของกูเดเรียนวิ่งไปรอบสนามฝึก สร้างความประทับใจให้กับฮิตเลอร์เป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการใช้รถถังเป็นกำลังหลักในการรุกนั้น กูเดเรียนต้องประสบกับการต่อต้าน แนวความคิดนี้ จนในปี 1937 ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง 3 ปี กูเดเรียนได้เขียนหนังสือชื่อ Achtung Panzer (อาคตุง แพนเซอร์ - ระวัง ยานเกราะ) ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอแนวคิด ในการใช้รถถังเป็นกำลังหลักในการโจมตีแบบสายฟ้าแลบ หรือที่เรียกว่า Blitzkrieg

ต่อมาฮิตเลอร์ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซาย เริ่มสะสมอาวุธ และสร้างกองทัพอย่างขนานใหญ่ กองพลยานเกราะ (Panzer Division) 3 กองพลถูกตั้งขึ้นอย่างเปิดเผย กูเดเรียนซึ่งขณะนั้นมีความโดดเด่นจากแนวคิดการใช้ยานเกราะนี้ ทำให้เขาใกล้ชิดกับฮิตเลอร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองพลยานเกราะที่ 2 (2nd Panzer Division) พร้อมๆกับครองยศ พลตรี (Major General) และอีกไม่ถึงปีครึ่ง เขาก็ได้เป็นพลโท พร้อมกับตำแหน่งแม่ทัพกองทัพน้อยที่ 16 (XVI Army-Corps)

อีกเพียงสิบเดือนต่อมา เขาก็ดำรงพลเอก ในตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังเคลื่อนที่เร็ว (Chief of fast troops) ซึ่งรับผิดชอบการจัดตั้ง การฝึก และการใช้ยุทธวิธีในการรุกด้วยยานเกราะ ซึ่งตำแหน่งนี้ ส่งผลให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์การรบสมัยใหม่ ด้วยยานเกราะ มาจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งส่งผลให้ หน่วย Panzer กลายเป็นหน่วยรบที่น่ากลัวที่สุดในโลกขณะนั้น


กูเดเรียน ได้มีโอกาสใช้ทฤษฎี สงครามสายฟ้าแลบ หรือ Blitzkrieg อย่างแท้จริง เมื่อเยอรมันรุกเข้าสู่ฝรั่งเศส เขาคุมกำลังยานเกราะของเขา รุกไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว โดยไม่สนใจคำสั่งจากฝ่ายเสนาธิการในเบอร์ลิน ที่ให้เขาหยุดกำลังเอาไว้ก่อน

กูเดเรียนสั่งยานเกราะของเขาเจาะแนว ตั้งรับของฝรั่งเศส บริเวณแม่น้ำเมิร์ส (Meuse) ที่เมืองซีดาน (Sedan) แล้วใช้ความเร็วพุ่งเข้าสู่กองบัญชาการของข้าศึก จับกุมฝ่ายเสนาธิการของฝรั่งเศส ในกองบัญชาการ ทิ้งให้กำลังทหารฝรั่งเศสที่เหลือตามแนวรบ ตกอยู่สภาพไร้หัว หรืออยู่ในสภาพไร้การควบคุมสั่งการ ก่อให้เกิดการสับสน ขวัญเสีย และยอมจำนนในที่สุด

การรุกที่แม่น้ำเมิร์ส ถือเป็นเรื่องราวความมหัศจรรยของกูเดเรียน และหน่วย Panzer ที่เล่าขานกันไม่รู้จบเลยทีเดียว

บางทฤษฎีอาจกล่าวว่าชัยชนะที่เกิดขึ้น เนื่องมาจากแสนยานุภาพที่มีอย่างท่วมท้น ของนาซีเยอรมัน จริงๆแล้ว เยอรมันขณะนั้นมีรถถัง Panzer IV เท่านั้นที่มีความทันสมัย ส่วนที่เหลือเป็น Panzer I Panzer II Panzer III ที่มีสมรรถนะเท่าๆกับ รถถังของฝรั่งเศส และอังกฤษ หรืออาจจะด้อยกว่าเสียด้วยซ้ำ เช่นรถถังมาทิลด้าของอังกฤษ ที่ประจำการ อยู่ในฝรั่งเศส มีปืนใหญ่และเกราะที่เหนือกว่ารถถังเยอรมันมาก ฝ่ายเยอรมันต้องใช้ปืน 88 มม.ในการหยุดยั้งมัน เมื่อปะทะกันครั้งแรกๆ

เหตุผลที่แท้จริงของชัยชนะเหนือฝรั่งเศส ก็คือ ยานเกราะของเยอรมัน มีความเร็วในการเคลื่อนที่สูง บำรุงรักษาตัวมันเองในสนามได้ระดับหนึ่ง มีความคล่องตัว และใช้ยุทธวิธีที่เหนือชั้นของกูเดเรียนในการเจาะแนวข้าศึก และกระจายกันออกในแนวหลัง แต่ละหน่วยปฏิบัติการอย่างเป็นอิสระ ไม่ขึ้นตรงกับหน่วยทหารราบ แต่ใช้การประสานงานด้วยวิทยุประจำรถ ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ในขณะนั้น

ที่สำคัญที่สุด คือนายทหารที่บังคับบัญชาหน่วย Panzer ในขณะนั้น ล้วนแต่ได้รับการปลูกฝังแนวความคิด และได้รับการฝึกฝนในการรบในสงครามสายฟ้าแลบจากตัวผู้คิดค้นทฤษฎีเอง นั่นคือ ไฮน์ กูเดเรียน นั่นเอง

เกียรติยศนี้ถือเป็นเกียรติสูงสุด เมื่อรถถังทุกคันในหน่วย Panzer กลุ่มกูเดเรียน ต่างพร้อมใจกัน ประดับตัวอักษร G ไว้ที่ตัวรถถัง ยานยนต์ และมอเตอร์ไซค์

ในยุทธการบาร์บารอสซ่า (Barbarossa) เมื่อเยอรมันบุกเข้าไปในรัสเซีย กูเดเรียน ในฐานะผู้บัญชาการ หน่วย Panzer กลุ่ม 2 (Panzergruppe 2) ฝากผลงานไว้มากมาย จนได้รับกางเขนเหล็ก ประดับใบโอ็ค

แต่ในที่สุด เขาก็ขัดแย้งกับนายพล ฟอน บ็อค (Von Bock) ผู้บัญชาการ กลุ่มกองทัพกลางในรัสเซีย ที่พยายามหยุดการเคลื่อนที่ของกูเดเรียน จนในที่สุด กูเดเรียน ก็ถูกถอดออกจากตำแหน่ง เมื่อขัดคำสั่งของฟอน บ็อค ในการถอนกำลัง Panzer ของเขา ออกจากจุดอันตราย และเสี่ยงต่อการสูญเสียอย่างไม่คุ้มค่า

ในเดือน ก.พ. 1943 หลังจากกองทัพที่ 6 ของนายพล ฟอน เปารุส พ่ายแพ้ในสตาลินกราด กูเดเรียนถูกเรียกกลับมาอีกครั้ง ในฐานะผู้รับผิดชอบในการพัฒนายานเกราะให้มีความทันสมัย

เขาเริ่มต้น ด้วยการเพิ่มอัตราการผลิตยานเกราะในแต่ละเดือน นอกจากนี้ ยังไม่ยอมให้มีการยกเลิกสายการผลิต Panzer IV เพื่อหันไปผลิต Panzer V หรือรู้จักกันในนาม Panther และ Panzer VI หรือ Tiger

ซึ่งแม้ Panzer IV จะด้อยกว่ารถถังของรัสเซีย ที่ออกมาใหม่เกือบทุกอย่างก็ตาม แต่กูเดเรียนก็ให้เหตุผลว่า Panzer IV นั้นมีเครื่องยนต์ที่ไว้ใจได้ พลประจำรถถังเยอรมันมีความคุ้นเคยกับมันขนาดบังคับได้ แม้เวลาหลับ (could handle it in their sleep) ต่างจากรถถังรุ่นใหม่ๆ ที่ต้องเสียเวลาในการฝึกฝนพลประจำรถใหม่ ในเวลาปกติคงไม่น่าเป็นปัญหา แต่ในขณะที่รัสเซียกำลังรุกเข้ามาทุกทิศทุกทางเช่นนี้ คงไม่ใช่เวลาที่เหมาะนัก สำหรับการมานั่งฝึกการบังคับรถรุ่นใหม่ๆ

กูเดเรียน จบการรับใช้กองทัพนาซีเยอรมัน ในตำแหน่ง เสนาธิการทหารบก (Chief of army staff) และยอมจำนนต่อกองทัพอเมริกา ในเดือน พ.ค. 1945 เขาถูกส่งตัวขึ้น ศาลอาชญากรสงคราม ที่นูเรมเบอร์ก ฝ่ายรัสเซียต้องการดำเนินคดีเขาในฐานะ อาชญากรสงคราม

แต่ฝ่ายอังกฤษ อเมริกา ไม่เห็นด้วย เขาถูกคุมขังที่ Neustadt และได้รับการปล่อยตัวใน 3 ปีต่อมา คือ ปี 1948 นายพล ไฮน์ กูเดเรียน เสียชีวิต เมื่อ 14 พ.ค. 1954 ในเยอรมันตะวันตก (ขณะนั้น) เป็นเวลา 14 ปีหลังจากการรุกที่แม่น้ำเมิร์ส อันยิ่งใหญ่ของเขา ในฝรั่งเศส[/quote]
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 07, 2010, 05:12:29 PM โดย รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ » บันทึกการเข้า

...การที่เราทะนุถนอมคนที่เรารัก มันเป็นเรื่องปกติ
แต่การถนอมหัวใจคนที่เราไม่ได้รัก ใครจะทำได้สักกี่คน...

คิดถึงทุกปี-บินหลา สันกาลาคีรี
youngnoi7474
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 841
ออฟไลน์

กระทู้: 555


« ตอบ #404 เมื่อ: กันยายน 07, 2010, 12:45:10 AM »

                 ขอกราบขอบพระคุณท่านJoke  ท่านNapalm  ท่านDon  และท่านรพินทรนาถ เป็นอย่างสูงครับที่มาแบ่งปันความรู้ให้เพื่อนสมาชิก ไหว้
                 ผมก็เพิ่งทราบนี่แหละครับว่า Achtung แปลว่าระวัง เห็นในหนังทหารเยอรมันตะโกนกันบ่อยๆก่อนจะบอกว่า ไฮฮิตเลอร์ (คงหมายความเหมือนระวังตรงนะครับ)  นึกออกแล้วครับตามป้ายต่างๆในหนังสารคดีเยอรมันก็เคยเห็นคำว่า Achtung เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 24 25 26 [27] 28 29 30 ... 271
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 22 คำสั่ง