เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
กันยายน 28, 2024, 12:27:20 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 105 106 107 [108] 109 110 111 ... 271
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เรื่องรถถัง-ยานเกราะ จรวด อาวุธทางบกครับ  (อ่าน 836972 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 27 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #1605 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 06:40:38 PM »

MBT ของ สวีเดน เอง กลับ เลือก Leopard II ของเยอรมัน เข้าประจำการ

เพราะของตัวเองเป็น Light tank  รึเปล่าครับ เลยต้องเอา Leopard II เข้าประจำการ   Grin
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #1606 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 07:02:31 PM »

MBT ของ สวีเดน เอง กลับ เลือก Leopard II ของเยอรมัน เข้าประจำการ

เพราะของตัวเองเป็น Light tank  รึเปล่าครับ เลยต้องเอา Leopard II เข้าประจำการ   Grin

ผมมองว่าอะไรออกแบบและผลิตเองได้ก็ทำเองครับ  ทำเองก็ได้ของที่เหมาะสมกับภูมิประเทศของตนและลดการพึ่งพาต่างชาติ
MBT อย่าง Leopard II น่าจะเข้ามาเพื่ออุดช่องว่างระหว่างป่ากับเมืองครับ

สวีเดนมียานเกราะประจำการรวมประมาณ 2,300คัน
MBT  Leopard 2S - 120คัน // Leopard 2 - สำรอง160คัน
CV 90 ทุกโมเดล รวม 509คัน
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #1607 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 08:16:09 PM »

แล้วถ้าเทียบ CV90120-T กับ T-84 Oplot  อันไหนมีภาษีดีกว่ากันครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #1608 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 11:56:54 PM »

แล้วถ้าเทียบ CV90120-T กับ T-84 Oplot  อันไหนมีภาษีดีกว่ากันครับ  ไหว้

T-84 เป็น MBT ครับ ต้องไปเทียบกับ Leopard II
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #1609 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2013, 03:25:01 AM »

แล้วถ้าเทียบ CV90120-T กับ T-84 Oplot  อันไหนมีภาษีดีกว่ากันครับ  ไหว้

Light Tank กับ Main Battle Tank เอามาเทียบกันลำบากครับ
แต่ถ้าเทียบกันจริงๆ T-84 ระบบเกราะ การตรวจจับ ระบบอาวุธเหนือกว่า จะเสียเปรียบบ้างเรื่องน้ำหนักกับขนาดตัว
และปืน 120mm. ของ CV90120-T ก็ดูถูกไม่ได้ โดนเข้าไปจังๆไม่น่าเหลือ
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #1610 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2013, 09:24:01 AM »

ขอบคุณครับ   Grin

ถ้ารถถังเบาไทยจะปลดประจำการ  จะเอา CV90120-T มาทดแทน ดูน่าสนใจมั้ยครับ หรือรุ่นอื่นดีกว่า  ไหว้
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #1611 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2013, 10:12:43 AM »

ขอบคุณครับ   Grin

ถ้ารถถังเบาไทยจะปลดประจำการ  จะเอา CV90120-T มาทดแทน ดูน่าสนใจมั้ยครับ หรือรุ่นอื่นดีกว่า  ไหว้

ผมไม่ทราบว่าเหมาะกับบ้านเราหรือเปล่าครับพี่
บันทึกการเข้า
JUNGLE
ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
Hero Member
*****

คะแนน 1204
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17188


การต่อสู้คือชัยชนะ


« ตอบ #1612 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2013, 11:17:36 AM »

แล้วถ้าเทียบ CV90120-T กับ T-84 Oplot  อันไหนมีภาษีดีกว่ากันครับ  ไหว้

รถถังเบาต้องเอาไปเทียบกับสติงเรย์ครับ... แต่ก็กินสติงเรย์ขาดไปหลายช่วงตัว... โดยเฉพาะปืน... Grin Grin Grin

บันทึกการเข้า
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10363



« ตอบ #1613 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2013, 04:56:12 PM »

สงสัยT84 Oplot ของเราจะโดนรับน้องใหม่ซะแล้ว เพราะสื่อจากสำนักข่าวต้นมะขามของเขมร(ดิ อัมปรื๊นต์ อะไรนั้น)ขึ้นพาดหัวข่าวซะว่า"เขมรมี ฮ.โจมตีปราบรถถังแล้ว แถวนี้คงได้หนาวกันบ้างละ" คริคริ
นักยุทธศาสตร์ทางทหารกล่าวไว้ว่า"ถ้าหากปล่อยให้ ฮ. โจมตีรถถังได้ นั้นก็หมายความว่าเครื่องบินรบของอีกฝ่ายร่วงหมดแล้ว และสูญเสียน่านฟ้าโดยสิ้นเชิง" ซึ่งในความเป็นจริง แค่ฝันยังเป็นไปไม่ได้เลย Grin คิก คิก


"ฮาร์บิน" จื่อ-9W (Z-9W) แบบเดียวกันกับของกองทัพกัมพูชา สื่อออนไลน์ในจีนรายงานเมื่อเร็วๆนี้ว่าไม่เพียงแต่ Z-9B ที่เป็น ฮ. ลำเลียงขนส่งเอนกประสงค์เท่านั้นที่สั่งซื้อจากกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานของจีนตามที่ฝ่ายกัมพูชาแถลงก่อนหน้านี้ ยังมี Z-9W รุ่นติดจรวด Hong Jian-8 "ลูกศรแดง" สำหรับยิงรถถังรวมอยู่ด้วย4ลำ ซึ่งทำให้กองทัพเล็กๆ ในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงมีขีดความสามารถในการโจมตีทางอากาศได้อีกครั้งหนึ่งในรอบ20ปีหลังยุคสงครามเย็น. เครดิตภาพ: ChinaDefence.Com


บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #1614 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2013, 05:22:01 PM »

บินมาดีๆก็แล้วกัน ขึนทะเล่อทะล่าจะโดน 9M119 ยิงกระจายซะเปล่าๆ
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #1615 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2013, 05:24:44 PM »





ศอว.ศอพท. มีโครงการวิจัยและพัฒนาระบบควบคุมแท่นยิงสำหรับอาวุธนำวิถีระดับต่ำอยู่

ขอให้สำเร็จเร็ว ๆ  หลงรัก

http://www.thaiarmedforce.com/distribution/viewtopic.php?f=5&t=2600&start=75
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #1616 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2013, 05:30:47 PM »

เพื่อนบ้านจับตาไทยซื้อ STARstreak เอาไว้สอย UAV ฮ.ติดจรวด



เครื่องยิงจรวดสตาร์สเตรค (Starstreak) ชุดหนึ่ง ตั้งแสดงในงานฟาร์นโบโรห์แอร์โชว์ (Farnborough Airshow 2012) ทางตอนใต้ของกรุงลอนดอนวันที่ 10 ก.ค.2555 อังกฤษใช้ระบบจรวดป้องกันทางอากาศนี้เป็นหลักในการป้องปรามภัยข่มขู่ที่จะโจมตีในช่วงที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2555 ในเมืองหลวง ซึ่งทำให้ Starstreak ได้รับความสนใจจากทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง บริษัททาเลส (Thales) ผู้ผลิตรายงานในเว็บไซต์ว่ากองทัพบกไทยเซ็นสัญญาจัดซื้อสัปดาห์ที่แล้วโดยไม่ได้ระบุจำนวนหน่วยและมูลค่าที่คาดว่านับร้อยล้านปอนด์ เรื่องนี้กำลังได้รับความสนใจจากเพื่อนบ้าน. -- REUTERS/Luke MacGregor.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - สื่อเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย รวมทั้งสำนักข่าวกลาโหมอีกหลายแห่งทั่วโลก ต่างตีพิมพ์เผยแพร่ภาพ และข่าวกองทัพบกไทยเลือกระบบจรวดความเร็วสูงไว้ป้องกันตอบโต้การโจมตีจากยานไร้คนบังคับ และอากาศยานข้าศึกที่บินในระยะต่ำ ซึงเป็นอาวุธป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดอีกระบบหนึ่ง แต่บางเสียงวิจารณ์ว่าโอกาสจะได้ใช้ในการศึกยุคใหม่มีน้อยลง
       
       ไทยได้เซ็นซื้อระบบจรวดนำวิถีสตาร์สเตรค (Starstreak) จากบริษัททาเลส (Thales) ในประเทศอังกฤษ ระหว่างการเยือนของนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เป็นรายงานในเว็บไซต์บริษัผู้ผลิตในกรุงเบลฟาสต์ ไอร์แลนด์เหนือ
       
       สองฝ่ายไม่ประสงค์ที่จะเปิดเผยจำนวนที่ซื้อ ตลอดจนมูลค่าของระบบอาวุธ ซึ่งเชื่อว่าหลายร้อยล้านปอนด์ ในการจัดซื้อที่นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรกับ นรม.ของไทย ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีเซ็นสัญญาซื้อขาย ทั้งนี้เป็นรายงานในเว็บไซต์ข่าวดิเฟนซ์ทอล์คด็อทคอม
       
       “สตาร์สเตรค” เป็นระบบจรวดต่อสู้อากาศยานแบบ Very-Short-Range Air Defence (VSHORAD) หรือระบบจรวดป้องกันทางอากาศระยะสั้นมากที่สุดในโลก พร้อมเครื่องยิงน้ำหนักเบาแบบผสมผสาน (Lightweight Multiple Launchers -LML) บนขาตั้งแบบสามขา ทำให้ง่ายต่อการติดตั้ง และการเล็งเป้าหมาย พวกอากาศยานไร้คนบังคับ หรือ “โดรน” (Drone) เฮลิคอปเตอร์และยานบินโจมตีระยะต่ำชนิดอื่นๆ
       
       “ระบบนี้จะเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการเสริมสร้างการป้องกันทางอากาศของราชอาณาจักรไทยให้ทันสมัย” เว็บไซต์บริษัททาเลส ระบุ
       
       ระบบสตาร์สเตรคถูกนำออกติดตั้งในหลายจุดของกรุงลอนดอนเดือน ก.ค.ปีนี้ ในช่วงที่อังกฤษเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เพื่อป้องกันการโจมตีใดๆ หลังจากที่หน่วยข่าวกรองระบุว่า กลุ่มอิสลามหัวแรงอาจจะออกปฏิบัติการแก้แค้นอังกฤษที่ส่งกำลังเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรในสงครามอิรัก และอัฟกานิสถาน
       
       ระบบสตาร์สเตรคนำเข้าประจำการในกองทัพสหราชอาณาจักรมานานกว่า 20 ปีแล้ว มีการพัฒนาขีดความสามารถเป็นระยะ เมื่อใช้เป็นระบบอาวุธหลักสำหรับกองทัพบกอังกฤษในช่วงเวลาสำคัญดังกล่าว ทำให้ระบบจรวดได้รับความสนใจจากทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง
       
       ตามข้อมูลของบริษัททาเลส สตาร์สเตรค มีความเร็วสูงสุดกว่า 3 เท่าของความเร็วเสียง ซึ่งทำให้สามารถยิงทำลายจรวดโจมตีของข้าศึกในระยะ 1 กม.ได้ทัน ก่อนที่มันจะถึงเป้าหมายภาคพื้นดิน และยิงทำลายโดรน หรือเฮลิคอปเตอร์โจมตีของข้าศึกได้ในระยะยิงดังกล่าว
       
       ระบบการเล็งของสตาร์สเตรคจะควบคุมจรวดที่มีจำนวน 3 ลูกในชุดเดียวกัน ที่นำวิถีด้วยเลเซอร์ ตลอดระยะทางที่พุ่งเข้าหายานข้าศึกอย่างแม่นยำ ลดการสร้างความสูญเสียแก่วัตถุที่มิใช่เป้าหมายเพื่อการทำลาย
       
       ระบบสามารถติดตั้งบนยานพาหนะได้หลากหลายชนิด เช่น แร็พพิดเรนเจอร์ (RAPIDRanger) ยานพาหนะน้ำหนักเบาเคลื่อนที่เร็ว และสะดวกในทุกสภาพพื้นที่ที่ติดตั้งระบบควบคุมในลำเดียวกัน มีค่าใช้จ่ายในการดูแลต่ำที่สุด เนื่องจากแทบไม่ต้องการการบำรุงรักษาใดๆ ตลอดอายุใช้งาน 15 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และเชื่อถือได้สูงสุด ระบบนี้นำเข้าประจำการตั้งแต่ปี 2538 และจะยังใช้ต่อไปจนถึงปี 2568
       
       ระบบสตาร์สเตรคยังสามารถติดตั้งได้บนรถแลนด์โรเวอร์ กับรถฮัมวีซึ่งในปัจจุบันเป็นยานลำเลียงพลมาตรฐานของกองทัพบกไทยอีกด้วย



ภาพจากวิกิพีเดีย จรวดนำวิถีสตาร์สเตรค ปล่อยจากแท่นยิงและระบบที่ติดตั้งบนยาน M1097 อาเวนเจอร์ (Avenger Air Defense Platform) ของกองทัพบกสหรัฐ ในภาพเดือน ก.ค.2551 ระบบจรวดของบริษัททาเลส (Thales) ผู้ผลิตในอังกฤษ สามารถติดตั้งบนรถแลนด์โรเวอร์หรือรถฮัมวีได้ กองทัพบกไทยเซ็นซื้อสัปดาห์ที่แล้วระหว่างการเยือนของ นายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยไม่มีการเปิดเผยทั้งจำนวนและมูลค่า.



ระบบจรวดนำวิถีสตาร์สเตรค ตั้งแสดงในนิทรรศการอาวุธและการกลาโหมนัดหนึ่ง ในภาพจากเว็บไซต์ข่าวกลาโหมดีเฟนซ์ทอล์คด็อทคอม บริษัททาเลส (Thales) ผู้ผลิตในอังกฤษรายงานเว็บไซต์ว่า กองทัพบกไทยเซ็นสัญญาซื้อชนิดติดตั้งบนยานหนะ เอาไว้ต่อสู้ยานโจมตีแบบไร้คนบังคับ เฮลิคอปเตอร์หรือยานบินโจมตีระยะต่ำชนิดอื่นๆ.



ภาพจากวิกิพีเดีย จรวดนำวิถีสตาร์สเตรค (Starstreak Missile) ตั้งแสดงในงาน Africa Aerospace & Defence ในเดือน ก.ย.2549 ระบบนี้เข้าประจำการในกองทัพบกสหราชอาณาจักรมาตั้งแต่ปี 2538 ปัจจุบันพัฒนาติดตั้งบนเฮลิคอปเตอร์ และบนเรือรบได้อีกด้วย บริษัททาเลส (Thales) ผู้ผลิตรายงานเว็บไซต์ว่า กองทัพบกไทยเซ็นสัญญาซื้อชนิดติดตั้งบนยานหนะ เอาไว้ต่อสู้ยานโจมตีแบบไร้คนบังคับ เฮลิคอปเตอร์หรือยานบินโจมตีระยะต่ำชนิดอื่นๆ.

สำหรับกองทัพไทย นักสังเกตการณ์รายหนึ่งเขียนลงในเว็บไซต์ข่าวกลาโหมปากีสถานดีเฟนซ์ด็อทคอม ระบุว่า ยังมองไม่เห็นเป้าหมายของระบบอาวุธสตาร์สเตรค เนื่องจากภัยข่มขู่ทางบกมีต่ำมาก ประเทศเพื่อนบ้านรอบข้างมีเพียงมาเลเซีย ที่มีระบบเฮลิคอปเตอร์โจมตี ซึ่งก็ยังมองไม่เห็นโอกาสเช่นนั้นจะเกิดขึ้น
       
       “การข่มขู่ต่อกองกำลังทางบกของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการโจมตีเป้าหมายประเภทรถถัง ยานลำเลียงพล หรือยานยกพลขึ้นบกนั้น มีระบบอาวุธอื่นๆ อีกหลายรายการที่ใช้การแทนเฮลิคอปเตอร์โจมตีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบอาวุธใหม่ๆ ที่ใช้ยิงทำลายจากระยะไกลได้แม่นยำยิ่งขึ้น”
       
       นอกจากนั้น โอกาสเสี่ยงที่จะถูกโจมตีด้วยโดรนยังมีต่ำมากเช่นกันซึ่งอาจจะเป็นทศวรรษข้างหน้า และรอบๆ ประเทศไทยก็มีเพียงสิงคโปร์ที่มียานบินไร้คนบังคับใช้งาน แต่ปัจจุบัน จำกัดเอาไว้สำหรับภารกิจบินสำรวจภูมิประเทศ น่านน้ำบริเวณช่องแคบมะละกา และถ่ายภาพทางอากาศเพื่อติดตามศึกษาปัญหา และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลกเท่านั้น ผู้สังเกตการณ์คนเดียวกันกล่าว
       
       การซื้อระบบอาวุธโจมตีของไทยยังได้รับความสนใจจากสำนักข่าวออนไลน์ในเวียดนาม เว็บบล็อกข่าวกลาโหมในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ทุกแห่งนำเสนอข่าวสารโดยไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์อะไร
       
       ทาเลสเป็นกลุ่มเทคโนโลยี และระบบอาวุธที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในยุโรป ปัจจุบันเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทฝรั่งเศสกับบริษัทอังกฤษ ระบบเซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบเรดาร์ และระบบอาวุธอีกหลายชนิดของกลุ่มนี้ใช้ในเรือรบ เครื่องบินของกองทัพหลายประเทศ รวมทั้งในราชนาวีไทยด้วย อีกหลายระบบใช้ติดตั้งในเครื่องบินโดยสารด้วย
       
       ช่วงเวลากว่า 10 ปีมานี้ บริษัท ทาเลสแอร์ดีเฟนซ์ ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งได้ผลิตระบบจรวดสตาร์สเตรคออกมาหลายเวอร์ชัน รวมทั้งชนิดยิงจากอากาศสู่เป้าหมายในอากาศที่ติดตั้งบนเฮลิคอปเตอร์โจมตี กับชนิดที่ติดตั้งบนเรือรบ ใช้คู่กับระบบปืนกลยิงเร็วแบบ “โคลส-อิน” (Close-in Ship Canon System) อีกด้วย.

http://www.manager.co.th/indochina/viewnews.aspx?NewsID=9550000142668

บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #1617 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2013, 05:40:23 PM »

Starstreak High Velocity surface-to-air Missile





บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #1618 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2013, 05:46:24 PM »

Future Weapons: Starstreak THOR
http://www.youtube.com/watch?v=2iOs2ZASnsM

starstreak missile test
http://www.youtube.com/watch?v=8sB4UEfELr4

 หลงรัก
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10363



« ตอบ #1619 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2013, 07:31:21 PM »

การที่เราจัดหาจรวด Starstreak High Velocity surface-to-air Missile เข้าประจำการ ยุทธศาตร์ทางทหารน่าจะเรียกว่า"การค้านอำนาจทางกำลังรบกัน" เพราะกองทัพไม่จัดหาจรวดรุ่นนี้ไม่ได้แล้ว เนื่องจากพม่าได้จัดหา ฮ.โจมตัวโหดจากรัสเซียแบบ Mil Mi-24PN หรือ "ไฮนด์-ดี" (Hind-D) ตามรหัสของกลุ่มนาโต้ เข้าประจำการมากถึง30ตัว ซึ่งเป็น ฮ.ตัวนี้เป็น ฮ.โจมตีที่ดุดันหุ้มเกราะรอบตัว และมีใช้ในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก. เครดิตข้อมูลและรูปประกอบ:RussianPlanes.Net/Igor Dvurekov

แน่นอนอาวุธตัวนี้ของเราคงจะประจำการในชายแดนทางฝังตะวันตกมากกว่า ไล่ตั้งแต่ระนองจนไปถึงแม่สายเชียงรายโน้นมั้ง Grin

 
บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
หน้า: 1 ... 105 106 107 [108] 109 110 111 ... 271
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 21 คำสั่ง