ระบบป้องกันภัยทางอากาศ Buk-M3 รุ่นใหม่เข้าประจำการในกองทัพรัสเซียBuk-M3 SAM enters Russian service
A convoy of Buk-M3 components was shown on Russian TV on 24 October after it was announced
the type had entered Russian service. Source: TV Zvezda
The Buk-M3 9A317M TELAR vehicle carries six containerised 9M317M missiles. (TV Zvezda)
Shot of the inside of the Buk-M3 system. (TV Zvezda)
http://www.janes.com/article/64945/buk-m3-sam-enters-russian-servicehttps://www.youtube.com/v/LHPYcGxA5xAรัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย นาย Sergei Shoigu ได้ประกาศว่ากองทัพรัสเซียได้รับมอบระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ
พิสัยกลาง Buk-M3 (SAM: Surface to Air Missile)ชุดแรกแล้ว ซึ่งระบบป้องกันภัยทางอากาศ Buk-M3 ใหม่นี้ได้
เปิดเผยตัวต่อสาธารณชนครั้งแรกในรายการโทรทัศน์ Sluzhu Rossii!(I Serve Russia!) ของสถานีโทรทัศน์ TV Zvezda
รัสเซียที่ออกกอากาศเมื่อวันที่ 23 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Army 2016 ที่ Kubinka
เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมานั้น พบว่ามีภาพการจัดแสดง Buk-M3 SAM ในส่วนจัดแสดงปิดสำหรับผู้ร่วมงานที่ได้รับ
อนุญาตเป็นพิเศษได้ชมเท่านั้น ตามข้อมูลของรัฐมนตรีกลาโหม Shoigu กองพันอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานกองพัน
หนึ่งได้รับมอบ Buk-M3 SAM ใหม่เข้าประจำการแล้ว สองกองพันอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานที่เคยใช้อาวุธปล่อย
นำวิถีพื้นสู่อากาศ Buk-M2 รุ่นเก่าในกองทัพบกรัสเซียและกองกำลังพลร่มรัสเซียจะเริ่มนำระบบใหม่มาใช้ในช่วงกลาง
เดือนตุลาคม
Buk-M3 มีความแตกต่างจากรุ่นก่อนโดยมีตัวอาวุธปล่อยนำวิถีนั้นถูกบรรจุในชุดท่อยิงบรรจุแทนการติดจรวดกับรางยิง
โดยตรงแบบรุ่นก่อน และสามารถบรรทุกจรวดได้จำนวนมากขึ้นจากเดิม อาวุธปล่อยนำวิถี 9M317M และชุดบรรจุท่อยิง
รุ่นใหม่ที่ใช้กับ Buk-M3 นั้นเชื่อว่าน่าจะเป็นระบบเดียวกับระบบ Buk รุ่นที่ใช้งานกับเรือรบผิวน้ำแบบใหม่คือ 3S90M
ตัวอาวุธปล่อยนำวิถีรุ่นใหม่มีการปรับปรุงต่างจากรุ่นก่อน(อย่าง 9M38 และ 9M317) ที่มีเพียงระบบพื้นผิวควบคุมทาง
อากาศพลศาสตร์แบบติดตรึง โดยการใช้ท่อไอพ่นที่ปรับทิศทางแรงขับได้ นั่นทำให้อาวุธปล่อยนำวิถี Buk-M3 มี
น้ำหนักจรวดที่เบาและมีความเร็วมากขึ้นกว่า Buk รุ่นก่อน และมีพิสัยการยิงที่ไกลขึ้นเป็น 70 km จากเดิม 30 - 35 km
ในรุ่น Buk-M1 และ 42-50 km ในรุ่น Buk-M2 และสามารถต่อต้านเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงได้มากยิ่งขึ้น
ระบบมาตรฐานของ Buk-M3 ซึ่งมีแท่นยิงอาวุธปล่อนำวิถีและ Radar อัตตาจร(TELAR: Transporter Erector Launcher
and Radar) แบบ 9A317M จะติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีในชุดบรรจุท่อยิงได้ 6 นัด จากเดิม 4 นัด ใน Buk รุ่นก่อน คู่กับ Radar
ที่มีระบบพิสูจน์ฝ่าย(IFF: Identification Friend or Foe) ซึ่งชุดบรรจุท่อยิงอาวุธปล่อยนำวิถีใหม่นี้สามารถนำมาปรับปรุง
ใช้กับแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอัตตาจรแบบ 9A316M ให้ติดอาวุธปล่อยนำวิถีได้ 12 นัด จากเดิม 8 นัด ของ Buk รุ่นก่อน
จากภาพที่ออกอากาศของสถานี TV Zvezda ยังมีปรากฎภาพของระบบลำเลียงและบรรจุอาวุธปล่อยนำวิถีอัตตาจรแบบ
9T243M, Radar ตรวจจับเพดาบินต่ำ และสถานีที่บังคับการและควบคุมการยิงด้วย
สำหรับการส่งออกระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Buk-M3 ให้ลูกค้าต่างประเทศของรัสเซียนั้น มีรายงานว่าอียิปต์สนใจ
ที่จะจัดหาระบบ Buk-M3 จำนวนหนึ่งเพื่อปรับปรุงระบบป้องกันภัยทางอากาศของตน ทั้งนี้กองกำลังป้องกันภัยทางอากาศ
อียิปต์(Egyptian Air Defense Forces) กองทัพอียิปต์เองก็มีระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Buk-M1 และ Buk-M2E
รุ่นส่งออกที่จัดหาจากรัสเซียประจำการอยู่แล้วครับ
http://aagth1.blogspot.com/2016/10/buk-m3.html?m=0