เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 20, 2024, 06:48:49 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 8 9 10 [11] 12 13 14 ... 17
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อิสราเอลสังหารผู้นำฮามาส  (อ่าน 34365 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 45 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
SOAP47 รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 333
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5792



« ตอบ #150 เมื่อ: มกราคม 10, 2009, 08:22:12 PM »

เสริชชื่อ "การต่อสู้ของข้าพเจ้า" พบในเวปร้านหนังสือไทยหไลายร้านครับ แต่ไม่ทราบว่าบริการเป็นอย่างไร ไม่เคยซื้อร้านหนังสือไทยออนไลน์ครับ

โปรดใช้วิจารณญาณและศึกษาสถานการณ์แวดล้อมในยุคนั้น และจุดประสงค์ของผู้แต่งในการอ่าน ที่จริงผมพบว่าน่าเบื่อเพราะเนื้อหาชวนเชื่อตลาดล่าง (อิ อิ)

หนังสือโดยพวกนาซีเขียน เรื่อง Inside the third Reich โดย Albert Speer อ่านสนุก และมีข้อมูลรายละเอียดน่าสนใจกว่ามากๆ ครับ

หนังสือเล่มนี้มีแล้วครับแต่ยังอ่านไม่จบ
ว่าแล้วก็มีคำถามว่า กองกำลัง SS บ้างก็เป็นนักรบเก่งเจนศึก แต่เอาพวกนี้ไปประหารนักโทษ กำลังพลไม่เสื่อมหรือครับ
ปล. SS กำหนดมาตราฐานร่างกายและการคัดเลือกอย่างไรครับ



บันทึกการเข้า

THIS IS MY STEYR.
THERE ARE MANY LIKE IT, BUT THIS ONE IS MINE.
WITHOUT MY STEYR,I AM NOTHING.
WITHOUT ME, MY STEYR IS NOTHING.
...อภิสิทธิ์ ...
จะรักและซื่อสัตย์ต่อลูกโม่ S&W ตลอดไปชั่วฟ้าดินสลาย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 652
ออฟไลน์

กระทู้: 3595



« ตอบ #151 เมื่อ: มกราคม 10, 2009, 08:37:52 PM »

เสริชชื่อ "การต่อสู้ของข้าพเจ้า" พบในเวปร้านหนังสือไทยหไลายร้านครับ แต่ไม่ทราบว่าบริการเป็นอย่างไร ไม่เคยซื้อร้านหนังสือไทยออนไลน์ครับ

โปรดใช้วิจารณญาณและศึกษาสถานการณ์แวดล้อมในยุคนั้น และจุดประสงค์ของผู้แต่งในการอ่าน ที่จริงผมพบว่าน่าเบื่อเพราะเนื้อหาชวนเชื่อตลาดล่าง (อิ อิ)

หนังสือโดยพวกนาซีเขียน เรื่อง Inside the third Reich โดย Albert Speer อ่านสนุก และมีข้อมูลรายละเอียดน่าสนใจกว่ามากๆ ครับ

อ่าคุณต๊อกครับ..อาณาจักรไรซ์ที่สาม..คำนี้ผมเห็นมาแต่เล็กแต่น้อยงงมาจนเดี๋ยวนี้ครับคืออาณาจักรไรซ์ที่สามเป็นยุคของฮิตเลอร์แล้วไรซ์ที่หนึ่งหรือที่สองนี่จะเป็นยุคสมัยไหนครับ
บันทึกการเข้า

There are experienced shooters who are just die-hard fans of revolvers. They do practice regularly and have had plenty of training, and for whatever reason they just prefer revolvers over semi-autos. And for the record, no, not all of them are dudes with gray hair.
C.J. - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 314
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5383


ขอ...นัดเดียว


เว็บไซต์
« ตอบ #152 เมื่อ: มกราคม 10, 2009, 08:48:21 PM »

update...

ยิวตาย ๑๓  ฮามาส ๘๐๐... คน


บันทึกการเข้า

ธรรมของสัตบุรุษ

๑. ธัมมัญญุตา - รู้จักเหตุ ๒. อัตตัญญุตา - รู้จักผล ๓. อัตตัญญุตา - รู้จักตน ๔. มัตตัญญุตา - รู้ประมาณ ๕. กาลัญญุตา - รู้จักกาล ๖. ปริสัญญญุตา - รู้จักประชุมชน ๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา - รู้จักเลือกบุคคล

http://www.dopaservice.com/eservice/content.do?ctm_id=gun&function=document&gro
Pter
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 42
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 463


ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺจาริํ


« ตอบ #153 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 01:28:42 AM »

update...

ยิวตาย ๑๓  ฮามาส ๘๐๐... คน


นั่นอะไรเหรอครับ!?!?  ตัวกลมเชียว เห็นแว้บแรกนึกว่าคนอ้วน  Grin
บันทึกการเข้า
น้องมิลค์
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 10
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 183



« ตอบ #154 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 03:17:31 AM »

ความขัดแย้งระหว่าง อาหรับ - อิสราเอล
โดย "ดร.จรัล มะลูลีม"
                 ความขัดแย้งระหว่างอาหรับ-อิสราเอล เป็นเรื่องที่น่าทึ่ง และมีความสำคัญมาก ที่ว่าน่าทึ่งนั้น ก็เพราะมันมิได้เป็นเพียงความขัดแย้ง ระหว่างประเทศต่อประเทศ อย่างเช่นความขัดแย้งระหว่าง อินเดียกับปากีสถาน หรือระหว่างกลุ่มประเทศ เช่น ระหว่างกลุ่มอักษะประเทศกับกลุ่มสัมพันธมิตร ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เท่านั้น แต่มันเป็นความขัดแย้ง ระหว่างชนชาติสองชนชาติ และระหว่างอุดมการณ์สองอุดมการณ์ เลยทีเดียว เป็นความขัดแย้ง ระหว่างกลุ่มผู้ถือศาสนาหนึ่ง (ซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลก) กับกลุ่มผู้ถือศาสนาอีกศาสนาหนึ่ง (ซึ่งก็กระจายอยู่ทั่วโลกเช่นกัน) น่าทึ่งเพราะทั้งสองศาสนานั้น ค่อนข้างใกล้ชิดกัน

              ศาสดาของศาสนาหนึ่ง ก็เป็นศาสดาของอีกศาสนาหนึ่งด้วย อีกทั้งบรรพบุรุษของชนชาติทั้งสองนี้ เมื่อย้อนยุคไปจนถึงที่สุดก็เป็นคนๆ เดียวกัน แต่ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายนี้ กลับยาวนาน ยืดเยื้อไม่สิ้นสุด มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ เรื่องที่สำคัญ ก็คือ ความขัดแย้งอาจจะบานปลาย จนกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่สามก็ได้ ใครจะรับรองได้ว่า จะไม่เป็นเช่นนั้น ?

              เราลองสืบย้อนประวัติ ของชนชาติทั้งสองนี้ ดูซิว่าเป็นมาอย่างไร ตั้งแต่ต้น ชาวยิว คือ ใคร และชาวอาหรับ คือ ใคร แล้วเหตุไร ความจงเกลียดจงชังของพวกเขา จึงได้ยืดเยื้อยาวนานนักหนาเช่นนี้?

    ประวัติทางศาสนา

              เรื่องที่มิใช่ตำนานที่แต่งขึ้น แต่เป็นเรื่องจริง ซึ่งปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ของศาสนา ที่สำคัญสองศาสนา คือ คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลาม (อาจรวมถึงศาสนายิว หรือจูดายด้วยก็ได้) ก็คือ ศาสดาอับราฮัมผู้เป็นบิดาแห่งชาวยิว และเป็นศาสดาท่านหนึ่งของศาสนาอิสลามด้วย (เป็นผู้ที่ทำลายรูปเจว็ดต่างๆ ในกะอบะอ สถานสักการะในนครมักกะฮ์ เพื่อให้ชาวอาหรับเลิกนับถือเทวรูปทั้งหลาย และหันมานับถือพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว) นั้น ท่านมีภริยาสองคน เชื้อสายของท่านจากภริยาคนแรก (นางซารอฮ หรือซารา คือ ลูกหลานของอิสฮาก (หรือไอแซค) นั้นคือ ชนชาวอาหรับ ส่วนเชื้อสายจากภริยาคนที่สอง (นางฮาญัรหรืออากัร) คือ ลูกหลานของอิสราเอล (อิชมาเอลหรืออิสมาอีล) ก็คือ ชนชาวยิว ตามพระคัมภีร์ของคริสต์ศาสนา-พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงสัญญาไว้ว่า ถึงแม้ว่าอิสฮากจะเป็นทายาทที่แท้จริง ของท่านศาสดาอับราฮัม (หรืออิบรอฮีม) ก็ตาม แต่อิชมาเอลและลูกชายทั้งสิบสองคนของเขา ก็จะกลายเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่ด้วย บุตรหลานของลูกชายสิบสองคนของนางฮากัร ก็คือชาวยิวสิบสองเผ่านั่นเอง พระคัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้ด้วยว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงปรากฏตัวต่อหน้า อับราฮัมและทรงสัญญาว่าจะมอบดินแดนคะนาอัน (ซึ่งต่อมาก็คือ ดินแดนปาเลสไตน์) ให้แก่ลูกหลานของท่านด้วย

              อับราฮัมจึงได้ไปอยู่ที่คะนาอัน แต่เข้ากับชาวคะนาอันไม่ได้ ส่วนอิสฮากบุตรชาย ของท่านกลับเข้ากับ ชาวเมืองคะนาอันได้ดี นั่นคือ ชาวอาหรับลูกหลานของอิสฮาก อาศัยอยู่ในดินแดนคะนาอันก่อนแล้ว มีชื่อว่าชาวฟิลิสตีน (ปาเลสไตน์นั่นเอง) ต่อมาอีกนานคือ ประมาณ 1400 ปี ก่อน ค.ศ.อียิปต์ ได้เข้ามาปกครองชาวยิว โมเสส (ซึ่งเป็นศาสดาอีกท่านหนึ่งของชาวยิวและชาวมุสลิมด้วย) ได้รับคำสั่งจากพระผู้เป็นเจ้า ให้ไปช่วยชาวยิวให้หนีจาก น้ำมือชาวอียิปต์ โดยพระองค์ทรงช่วยแหวกน้ำทะเลให้ โมเสสจึงนำชาวยิวหนี จากอียิปต์เข้ามาในดินแดนคะนาอัน (หรือปาเลสไตน์) ซึ่งมีชนเผ่าต่าง ๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว นี่คือ เรื่องราวที่ปรากฏอยู่ใน พระคัมภีร์ไบเบิลและกุรอาน

    ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

              ตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์นั้น ดินแดนปาเลสไตน์ ตั้งอยู่แถบชายฝั่งตะวันออก ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งรวมอิสราเอลปัจจุบันนี้ กับจอร์แดนและอียิปต์ด้วย ชาวฮิบรู (หรือยิว) ซึ่งเดิมเป็นพวกเร่ร่อน อยู่ในทะเลทรายปาเลสไตน์แถบแหลมสินาย ต้องการจะพิชิตดินแดนปาเลสไตน์ จึงยกพวกข้ามดินแดนจอร์แดนมา ในดินแดนปาเลสไตน์ (คะนาอัน) ภายใต้ผู้นำซึ่งมีชื่อว่าโจชัว ได้ฆ่าและขับไล่ชาวพื้นเมืองออกไป และทำลายวัฒนธรรมคะนาอัน (ซึ่งเคยเป็นอู่อารยธรรมหนึ่งในสี่แห่งของโลกเก่า) เสีย ส่วนใหญ่ชาวฮิบรู เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ใน หุบเขาอันสมบูรณ์ทางภาคเหนือ แล้วขยายดินแดนมารุกราน ชาวฟิลิสตีนซึ่งอยู่ตามแนวฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พระคัมภีร์ไบเบิลได้ กล่าวคือ ความเป็นปรปักษ์ระหว่างชาวฮิบรูกับชาวฟิลิสตีน (คือชาวยิวกับปาเลสไตน์) ไว้ใน Book of Judge บทที่ 18

               ต่อมากษัตริย์เดวิด ได้บดขยี้ชาวฟิลิสตีน และรวบรวมดินแดนคะนาอันทั้งหมด ไว้ใต้อำนาจของพระองค์ และได้สร้างอาณาจักรฮิบรูขึ้นเป็นครั้งแรก ในที่ซึ่งเป็นประเทศจอร์แดนปัจจุบันนี้ และขยายดินแดนไปถึงแม่น้ำยูเฟรติส ในราว 1000 ปีก่อนค.ศ. ในรัชสมัยของกษัตริย์โซโลมอน โอรสของเดวิด ชาวยิวมีอำนาจสูงสุด แต่พอสิ้นชีวิตของกษัตริย์พระองค์นี้อาณาจักรฮิบรู ก็แตกแยก เพราะการทะเลาะเบาะแว้ง ในหมู่ชาวฮิบรูเอง ชนชาติอื่น จึงเข้ามาครอบครองดินแดนนั้นต่อไป ชาวฮิบรูสิ้นอำนาจ ในดินแดนปาเลสไตน์ในปี 586 ก่อน ค.ศ.

         ปาเลสไตน์ หรือคะนาอัน ถูกชนชาติอื่นปกครอง ต่อมาคือ เปอร์เซีย กรีก โรมัน ประชาชนในดินแดนนี้ ได้รับความกดขี่ จนกระทั่งศาสดาเยซู (หรืออีซา) ปรากฏขึ้น ท่านเป็นชาวฮิบรู ได้พยายามประสานความสามัคคี ระหว่างเผ่าต่างๆ ในปาเลสไตน์เข้าด้วยกัน และท้าทายอำนาจของโรมัน ท่านจึงถูกจับตรึงกางเขน นี่คือ จุดเริ่มต้นของคริสต์ศาสนาซึ่งแพร่หลายไปแทนที่ศาสนาจูดาย ชาวฮิบรูได้กลายเป็นชนส่วนน้อย ในดินแดนนั้น และยอมรับนับถือคริสต์ศาสนา นอกนั้นอยู่กระจัดกระจายตามแถบ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ ในบาบิโลเนีย (อิรัก) อียิปต์ ซีเรีย เอเชียน้อย กรีซและโรม ในปี ค.ศ.300 ชาวยิวจำนวนมาก อพยพไปจากปาเลสไตน์ เพราะถูกชาวโรมันรังควาน

              ตามประวัติศาสตร์ ที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า ชาวยิว ตั้งอาณาจักรอยู่ใน ดินแดนปาเลสไตน์ ได้เป็นระยะเวลา สั้นๆ เท่านั้น และพวกเขาเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ของชนเผ่าอื่นๆ ซึ่งอยู่ในดินแดนนั้น ส่วนชาวปาเลสไตน์นั้น อยู่ในดินแดนนั้นมาเป็นเวลานับพันๆ ปีมาแล้ว ชาวยิวในปาเลสไตน์ ที่นับถือศาสนาจูดาย มีอยู่เป็นจำนวนน้อย พวกนี้แหละที่มีสิทธิจะเรียกตัวเองว่าเป็นเชื้อสายของ ศาสดาอับราฮัม และเป็นชาวปาเลสไตน์จริงๆ ดังนั้น การที่จะอ้างว่าชาวยิวทุกคนต้องมีสิทธิ์ ในดินแดนปาเลสไตน์นั้น จึงฟังไม่ขึ้น แต่กระนั้นก็ดี หลักการที่พวกเขายึดถือก็คือ ความเชื่อของชาวยิวที่ว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญาว่าจะมอบดินแดนนี้ ให้แก่พวกเขา อีกประการหนึ่ง การที่ชาวยิวต้องกระจัดกระจายไปอยู่ในประเทศต่างๆ โดยอาศัยอยู่ในชุมชนยิวที่อัดแอ ไม่สะดวก ก็ยิ่งทำให้พวกเขากระตือรือร้นที่จะกลับมายัง ดินแดนนี้มากขึ้น ต่อมาความเชื่อนี้ ได้กลายเป็นขบวนการทางการเมือง และอุดมการณ์ ซึ่งมีชื่อว่า ไซออนนิสม์ (ไซออน เป็นชื่อภูเขาลูกหนึ่ง ในดินแดนปาเลสไตน์)

              บางท่านอาจสงสัยว่า เมื่อชาวยิวต้องการดินแดนปาเลสไตน์ ก็ควรขัดแย้งกับชาวปาเลสไตน์เท่านั้นซิ แต่ทำไมชาวอาหรับทั้งหมด จึงต้องมาขัดแย้งกับชาวยิวด้วย? ความจริงมีอยู่ว่า ดินแดนปาเลสไตน์นั้น ตั้งอยู่ในภูมิภาคซึ่งปัจจุบันนี้ เรียกว่า ตะวันออกกลาง หรือ เอเชียตะวันตก เมื่อศาสนาอิสลามเกิดขึ้น ในแหลมอารเบีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และต่อมาได้ขยายไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ประชากรในภูมิภาคนั้น ต่างก็รับนับถือศาสนาอิสลาม (ซึ่งเรียกว่ามุสลิม=ผู้นับถือศาสนาอิสลาม) ชาวปาเลสไตน์ ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น และศาสนาอิสลามยึดหลักความเป็นพี่น้องกัน ระหว่างชาวมุสลิม ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด หากพี่น้องมุสลิม ณ ที่หนึ่งที่ใดได้รับความเจ็บปวด มุสลิมซึ่งอยู่ที่อื่น ก็ย่อมเจ็บปวดไปด้วย ชาวปาเลสไตน์นั้นเป็นชาวอาหรับมาตั้งแต่ต้น เดิมรับนับถือศาสนาคริสต์ แต่ได้รับการกดขี่จากชาวโรมัน จึงหันมารับนับถือศาสนาอิสลาม สังคมของชาวปาเลสไตน์ จึงมีลักษณะแบบอาหรับและมุสลิม นับเป็นครั้งแรก ที่มีชุมชนอาหรับที่แท้จริงเกิดขึ้น ในปาเลสไตน์ มีการปกครองของตนเอง แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของโลกอิสลาม ในด้านการเมืองและศาสนา

         ต่อมาอาหรับ ได้เข้ามาปกครองปาเลสไตน์ ใน ค.ศ.640 โดยเคาะลีฟะฮอุมัรที่ 1 ต่อมา ปีค.ศ.847 ตุรกีเข้ามายึดอำนาจปกครองดินแดนนี้ จนถึงศตวรรษที่ 18 แต่ในศตวรรษที่ 18 อาณาจักรตุรกี (ออตโตมาน) เริ่มเสื่อมโทรม ประเทศมหาอำนาจต่างๆ ในยุโรปหมายจะเข้ามามีอำนาจแทนที่ตุรกี เช่น กษัตริย์นโปเลียนของฝรั่งเศส แต่ก็ตีปาเลสไตน์ไม่สำเร็จ กล่าวกันว่า ตอนที่นโปเลียนจะยาตราทัพเข้าซีเรีย (ซึ่งรวมกับปาเลสไตน์) นั้น พระองค์ได้เชื้อเชิญชาวยิว ทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกามาอยู่ใต้การปกครอง ของพระองค์ เพื่อจะสร้างปาเลสไตน์ ให้เป็นอาณาจักรยิว แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง

              ใน ค.ศ.1832 อิบรอฮีม ปาชา ผู้นำอียิปต์ เข้าครองปาเลสไตน์แทนตุรกี ต่อมาอีก 8 ปีชาวปาเลสไตน์ กลับไปเข้ากับตุรกีต่อสู้กับอียิปต์ กองทัพของตุรกี อังกฤษ และรัสเซียเป็นฝ่ายมีชัย อังกฤษจึงเข้ามามีอำนาจ ในตะวันออกกลางได้ อังกฤษสนใจปาเลสไตน์เป็นพิเศษ เพราะเป็นทางเชื่อมมาถึงอินเดียได้ แต่อังกฤษต้องแข่งขันกับฝรั่งเศส และรัสเซีย ซึ่งต่างก็ต้องการมีอิทธิพลที่นั่นด้วย ในที่สุดอังกฤษ ก็ได้พบวิธีการซึ่งช่วยอังกฤษ แย่งปาเลสไตน์มาจากตุรกี และผนวกเข้าใต้การปกครองแบบอาณัติของอังกฤษได้ วิธีการนั้น มาในรูปของขบวนการ ไซออนนิสม์แห่งยุโรปนั่นเอง

    ไซออนนิสม์ คือ อะไร?

              ไซออนนิสม์ คือ ขบวนการการเมืองนานาชาติ ของชาวยิวกลุ่มหนึ่ง(มิใช่ทั้งหมด) มีวัตถุประสงค์จะผูกพันชาวยิวในโลกไว้ด้วยพันธะด้านเชื้อชาติ ให้กลายเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่ โดยมีศูนย์กลางทางการเมือง และวัฒนธรรมอยู่ที่รัฐอิสราเอล พวกไซออนนิสม์ ทำการต่อสู้ เพื่อจัดตั้งมาตุภูมิของชนชาติยิวขึ้น ในประเทศปาเลสไตน์ โดยความเชื่อที่ว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานดินแดนนั้น ให้แก่พวกตน และพวกตนเคยเป็นเจ้าของดินแดนนี้ มาแต่ครั้งโบราณ โดยไม่ยอมรับความจริงที่ว่า การที่ชาวยิวมาครอบครองดินแดนปาเลสไตน์ ในสมัยไบเบิลนั้น เป็นเพียงเหตุการณ์ตอนหนึ่ง ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศนี้ เท่านั้น และเชื้อสายของชาวยิวที่อยู่ในปาเลสไตน์ ก็เกือบจะหมดสิ้นไปแล้ว ตั้งแต่ศตวรรษที่หนึ่ง อีกทั้งยิวก็ไม่ใช่ ผู้อาศัยคนแรกในปาเลสไตน์ หรือเป็นเจ้าของปาเลสไตน์ด้วย

              ผู้ตั้งลัทธิไซออนนิสม์ มีชื่อว่า นายเธียวดอร์ เฮอร์เซิล เป็นชาวยิวสัญชาติฮังกาเรียน อาชีพของเขา คือ นักหนังสือพิมพ์ มีความคิดว่า วิธีเดียวที่จะแก้ไขปัญหา ความเป็นปรปักษ์กับชาวเซมิติค (ลัทธิแอนตี้-เซมิติสม์ คือ ลัทธิที่เกลียดชังชาวยิวและศาสนาจูดาย ซึ่งเริ่มขึ้นโดย นักหนังสือพิมพ์ ชาวเยอรมนี ผู้มีนามว่า วิลเฮล์ม มารร์) ของชาวยุโรปได้ ก็คือ การจัดตั้งรัฐมาตุภูมิของชนชาติยิวขึ้น นายเฮอร์เซิลชักชวนตัวเองให้เชื่อ (ทั้งๆ ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงเลย) ว่าปาเลสไตน์เป็นแผ่นดินที่ไม่มีผู้คน จึงเหมาะที่จะให้เป็นที่อยู่ของชนชาติที่ไม่มีดินแดนอยู่ (คือยิว) ทั้งๆ ที่ตอนนั้น ในปาเลสไตน์มีชาวอาหรับอาศัยอยู่แล้วประมาณ 700,000 คน และมีชาวยิวประมาณ 56,000 คน อันที่จริงนั้นได้มีผู้เสนอ ให้จัดตั้งรัฐยิวขึ้นที่อื่นมาแล้ว เช่น ดร.แองเจโล แรพโพพอร์ท และนายอับราฮัม กาแลนท์ เสนอให้จัดตั้งในประเทศซูดาน (ในทวีปแอฟริกา) เพราะในนั้นมีประชากรอยู่น้อย แต่องค์การไซออนนิสม์ ก็ไม่สนใจ เพราะปักใจจะเอาปาเลสไตน์อยู่แล้ว ผู้นำขบวนการไซออนนิสม์หัวรุนแรงคนหนึ่ง คือ นายยาโบตินสกี้ ได้เรียกร้องให้ตั้งรัฐยิวขนาดใหญ่ ซึ่งจะรวมเอาฝั่งตะวันออกของจอร์แดน และดินแดนโพ้นทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนถึงแม่น้ำยูเฟรติส มารวมไว้ด้วย นี่คือ ปรัชญาที่กำหนดทิศทางทาง การเมืองของอิสราเอลมาจนถึงทุกวันนี้

              ในระยะต้นๆ นั้น การที่ชาวยิวมาอยู่ร่วมกับ ชาวอาหรับในปาเลสไตน์ ก่อนหน้าจะมีลัทธิไซออนนิสม์ขึ้นนั้น ชาวอาหรับ มิได้รังเกียจรังงอนอะไร แต่ในต้นศตวรรษที่ 20 เมื่อขบวนการไซออนนิสม์ ดึงดันจะเข้ามาครอบครองปาเลสไตน์ให้ได้ ชาวอาหรับ ก็ได้คัดค้านความพยายามนั้น เป็นเสียงเดียวกัน พวกเขาถือว่า ชาวอาหรับครอบครองปาเลสไตน์ มาช้านานแล้ว และกำลังอยู่ในปาเลสไตน์ ในตอนนั้นด้วย จึงยอมให้ชาวยิวเข้ามาเป็นเจ้าของประเทศไม่ได้

              นาย เชม วีซมานน์ ผู้นำคนหนึ่งของลัทธิไซออนนิสม์ได้เที่ยวขอร้องรัฐบาลประเทศต่าง ๆ รวมทั้งผู้คนจำนวนมากโดยเน้นอย่างฉลาดถึงผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ เหล่านั้นกับองค์การไซออนนิสม์สากล และใช้ความสนิทสนมกับบุคคลสำคัญ ๆ เป็นเครื่องมือของพวกไซออนนิสม์สามารถบีบคั้นทางการเมืองแก่รัฐบาลของประเทศ ตะวันตกโดยมุ่งไปที่อังกฤษ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์และสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งรัฐบาลอังกฤษซึ่งตอนนั้นมีเซอร์ เชอร์ชิล เป็นนายกรัฐมนตรีถูกผู้แทนของประธานาธิบดีวิลสันแห่งสหรัฐอเมริการบเร้าจน ได้ประกาศคำประกาศบัลโฟร์ออกมาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 1947 เป็นคำประกาศสนับสนุนการจัดตั้งรัฐยิวขึ้นในปาเลสไตน์ และกล่าวว่ารัฐบาลอังกฤษจะพยายามอย่างดีที่สุดที่จะให้การนี้บรรลุความ สำเร็จ คำประกาศนี้มีในรูปของจดหมายซึ่งนายอาเธอร์ บัลโฟร์ รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษสมัยนั้นเขียนถึงลอร์ด นอร์ธสไชด์นายธนาคาร ชาวฝรั่งเศส ต่อมาฝรั่งเศส อิตาลีและสหรัฐอเมริกาก็รับรองคำประกาศนี้

              อังกฤษได้ส่งชาวยิวจากประเทศอังกฤษไปยังปาเลสนไตน์เพื่อทำให้คำประกาศบัลโฟร์เป็นผลสำเร็จขึ้นมา นอกจากนั้นก็มีชาวยิวจากประเทศอื่น ๆ อพยพเข้ามาอีก เช่น จากรัสเซียเป็นจำนวนมาก อังกฤษได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับการอพยพเข้าประเทศขึ้น ทำให้มีโควต้าชาวยิวที่จะอพยพเข้ามาได้ปีละ 16,500 คน และยังได้ออกกฎหมายแบ่งสันที่ดินและตั้งหลักแหล่งชาวยิวขึ้น นอกจากนั้น อังกฤษยังออกกฎหมายให้ชาวยิวใช้ทรัพยากรสินแร่และจัดทำโครงสร้างพื้นฐานขึ้นได้ ชาวยิวจึงมีอำนาจควบคุมการชลประทาน การไฟฟ้า และการใช้สินแร่ที่สำคัญที่สุดของประเทศมากขึ้นทุกที มาตรการเหล่านี้เป็นการเอาเปรียบประชากรส่วนใหญ่คือชาวอาหรับซึ่งเดิมมีจำนวนร้อยละ 80 ของประชากรในประเทศ (1922) ประธานาธิบดีทรูแมนแห่งสหรัฐอเมริกาได้ส่งสาส์นถึงนายเชอร์ชิล คัดค้านการจำกัดโควต้ายิวอพยพ และได้ใช้อิทธิพลหว่านล้อมเชอร์ชิลให้ช่วยเหลือ พวกไซออนนิสม์ ชาวยิวบางส่วนก็ได้ลักลอบเดินทางเข้าปาเลสไตน์โดยความช่วยเหลือของอเมริกา องค์กรที่เป็นตัวแทนของชาวยิวได้เรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษประกาศว่าปาเลสไตน์เป็นดินแดนของยิว และชาวปาเลสไตน์ควรจะเป็นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ภายใต้การควบคุมของยิว
บันทึกการเข้า
น้องมิลค์
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 10
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 183



« ตอบ #155 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 03:18:15 AM »

พวกไซออนนิสม์ในปาเลสไตน์ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากชาวยิวที่ร่ำรวยในประเทศอื่น ๆ และยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศตะวันตกที่มีอิทธิพลอีกด้วย ในเดือนเมษายน 1918 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการไซออนนิสม์ในปาเลสไตน์ขึ้น อ้างตนว่าเป็นตัวแทนของชาวยิวทั่วโลก มีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่รัฐบาลอังกฤษในปัญหาทุกอย่างเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐยิว คณะกรรมการนี้ได้รับความสนับสนุนจากองค์กรไซออนิสต์สากล ซึ่งเกิดขึ้นในเมืองบาเซิลเมื่อปี ค.ศ. 1897 ในไม่ช้าองค์การตัวแทนชาวยิวนี้ก็ได้กลายเป็นรัฐบาลที่สองคู่กับรัฐบาลอังกฤษในปาเลสไตน์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ในยุโรปและอเมริกา เป็นผู้พิจารณาอนุมัติในเรื่องที่ชาวยิวจะเข้ามาอยู่ในประเทศ ได้จัดตั้งระบบการศึกษาและสุขาภิบาลขึ้นเพื่อชาวยิวโดยเฉพาะ ยิ่งกว่านั้นนายยาโบตินสกี้ ผู้นำฝ่ายขวาขององค์กรไซออนนิสท์ ยังได้จัดตั้งกองทัพใต้ดินของยิวขึ้นมีชื่อว่าหน่วยฮากานาห์ ตอนนี้อังกฤษพยายามเกลี้ยกล่อมสหรัฐอเมริกาให้ช่วยรับผิดชอบทางทหารและทางการเงินในปาเลสไตน์ด้วย การคัดค้านของชาวอาหรับในการที่ยิวอพยพเข้ามาอย่างมากมาย และการที่ชาวอาหรับต่อสู้กับชาวยิว รวมทั้งองค์กรใต้ดินของยิวต่อสู้กับอังกฤษ เพราะอังกฤษไม่ยอมเพิ่มโควต้าชาวยิวอพยพตามที่อเมริกาขอร้อง ทำให้รัฐบาลหนักใจมาก จึงประกาศจะถอนตัวไปจากปาเลสไตน์ในวันที่ 15 พฤษภาคม 1948 ทิ้งให้ปาเลสไตน์อยู่ในการดูแลของสหประชาชาติ

              สหรัฐ อเมริกาซึ่งถูกขนานนามว่า“เจ้าโลก” นั้นช่วยเหลือสนับสนุนอิสราเอลอยู่ตลอดมานับตั้งแต่ตอนที่อังกฤษประกาศ “ คำประกาศบัลโฟร์ ” แล้ว เช่นยอมรับรองคำประกาศนั้นและออกเงินสนับสนุนให้ชาวยิวอพยพเข้าประเทศ ปาเลสไตน์ (สมัยประธานาธิบดีทรูแมน) ทั้งนี้เพราะอเมริกาไม่อยากให้ชาวยิวเข้าไปอยู่ในสหรัฐอเมริกามากนัก เมื่อยิวตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นแล้วอิสราเอลได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐสองทาง ด้วยกันคือ ความช่วยเหลือจากรัฐบาลหรือองค์การที่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลโดยตรง กับความช่วยเหลือทางอ้อมคือความช่วยเหลือจากสถาบันและองค์การไซออนนิสม์อเม ริกันและจากประชาชนอเมริกัน รวมทั้งความช่วยเหลือจากรัฐบาลอื่น ๆ และสถาบันอื่น ๆ ภายใต้ความกดดันของรัฐบาลสหรัฐ

              สำหรับ ด้านทหารและอาวุธยุทธภัณฑ์ มีประจักษ์พยานอยู่มากมายที่แสดงให้เห็นว่าก่อนที่จะตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นใน ปี 1948 นั้น รัฐบาลสหรัฐแสร้งทำเป็นมองไม่เห็นการลักลอบขนอาวุธยุทธภัณฑ์จากประเทศต่าง ๆ เพื่อให้พวกผู้ก่อการร้ายไซออนนิสม์ในปาเลสไตน์ และยอมให้เงินซึ่งมีผู้อุทิศให้ชาวยิวออกจากประเทศได้โดยไม่ต้องเสียภาษี เงินเหล่านั้นอิสราเอลนำไปซื้ออาวุธผิดกฎหมายจากเชคโกสโลวาเกีย และประเทศคอมมิวนิสต์อื่น ๆ เมื่ออิสราเอลก่อกำเนิดมาจนถึงปี 1962 สหรัฐได้ให้อาวุธแก่อิสราเอลโดยใช้นโยบายดังต่อไปนี้ (1) แอบให้อาวุธแก่อิสราเอลอย่างลับ ๆ (2) สหรัฐให้ แคนนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนีตะวันตกส่งอาวุธให้อิสราเอล ในสมัยนายเคนเนดีเป็นประธานาธิบดีนั้น สหรัฐได้เลิกนโยบายที่จะส่งอาวุธให้อิสราเอลอย่างลับ ๆ เป็นส่งให้อย่างเปิดเผย โดยอ้างว่าโซเวียตรัสเซียได้ส่งอาวุธให้ฝ่ายอาหรับ “เพื่อให้อิสราเอลมีอาวุธสมดุลกับฝ่ายอาหรับ” แต่ความเป็นจริงนั้นสหรัฐต้องการใช้อิสราเอลเป็นเครื่องค้ำจุนนโยบาย จักรวรรดินิยมใหม่ของสหรัฐนั่นเอง อิสราเอลจะถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อต้านอาหรับ เมื่อฝ่ายอาหรับต่อต้านผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา

              ปัญหาเรื่องการปกครองปาเลสไตน์ต่อไปได้กลายเป็นที่ถกเถียงกันในสมัชชาสหประชาชาติ คณะกรรมาธิการพิเศษของสหประชาชาติเกี่ยวกับปัญหาปาเลสไตน์ ได้เสนอแผนการให้แบ่งปาเลสไตน์ออกเป็นส่วน ๆ โดยมีรัฐอาหรับ รัฐยิว และส่วนที่ไม่เป็นของใครสำหรับกรุงเยรูซาเล็มเมืองหลวงนั้นให้อยู่ในความดูแลของสหประชาชาติ รัฐอาหรับและรัฐยิวจะมีความสัมพันธ์กันด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ชาวอาหรับคัดค้านข้อเสนอนี้ โดยอ้างว่าไม่สอดคล้องกับกฎหมาย, ความยุติธรรมและหลักการประชาธิปไตย การ แบ่งประเทศไม่เป็นที่ต้องการของประชาชนส่วนใหญ่แต่สหประชาชาติก็ตัดสินด้วย การลงคะแนนเสียง 33 ต่อ 13 (มีผู้ไม่ออกเสียง 30 คน) ให้แบ่งปาเลสไตน์ดังนี้ การที่สหประชาชาติตัดสินเช่นนี้เป็นเพราะอิทธิพลทางการเมืองขององค์การไซออ นนิสม์นั่นเอง และเป็นความอยุติธรรมต่อประชาชนอาหรับผู้อยู่ในประเทศนี้เป็นอย่างยิ่ง ในปีนั้น (1947) มีชาวยิวที่อยู่มาแต่ดั้งเดิมอยู่เพียง 1 ใน 10 เท่านั้นเอง ถ้าไม่นับชาวยิวที่อยู่มาก่อนหน้านี้แล้ว ชาวยิวที่อยู่ในปาเลสไตน์ตอนนั้นก็เป็นชาวต่างประเทศ คืออพยพมาจากประเทศอื่น ๆ ทั้งนั้น นอกจากนั้นตามมติของสหประชาชาติที่จะยกที่ดินจำนวน 14,500 ตารางกิโลเมตร จากที่ดินทั้งหมด 26,323 ตารางกิโลเมตร (คือร้อยละ 57) ให้แก่รัฐยิว โดยชาวอาหรับจะเหลือที่ดินอยู่เพียงร้อยละ 43 นั้นนับว่าเป็นการไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง มิหนำซ้ำที่ดินที่ชาวยิวได้รับยังเป็นที่ดินอันอุดมสมบูรณ์ในขณะที่ที่ดิน ที่ชาวอาหรับได้รับล้วนแต่เป็นภูเขาและทะเลทรายไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้

              ด้วย เหตุข้างต้นนี้ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างชาวอาหรับกับชาวยิว ทั้ง ๆ ที่ชาวยิวมีการผนึกกำลังทางการเมืองเข้มแข็งกว่าฝ่ายอาหรับ ฐานะทางการเงินก็ดีกว่าเพราะได้รับการสนับสนุนจากชนชาติยิวจากแหล่งต่าง ๆ และจากสหรัฐอเมริกาด้วย ด้านการฝึกฝนด้านการทหารก็ดีกว่าและมีอาวุธที่ดีกว่าด้วย หลังจากชาวยิวเปลี่ยนองค์การใต้ดินฮากานาห์มาเป็นกองทัพแห่งชาติแล้ว ก็ได้เกิดสงครามระหว่างยิวกับประเทศอาหรับ 4 ประเทศคือปาเลสไตน์ อียิปต์ ซีเรีย และเลบานอนขึ้นในปี 1948 ในระหว่างการต่อสู้นี้ ชาวปาเลสไตน์อาหรับต้องทิ้งถิ่นที่อยู่ลี้ภัยไปมากกว่าครึ่ง สงครามครั้งนี้ยุติลงในเวลาอันสั้นโดยคำสั่งของคณะมนตรีความมั่นคงของสห ประชาชาติ การตั้งรัฐยิวขึ้นครั้งนี้จึงมีผล 2 ประการคือ เกิดสงครามระหว่างรัฐอิสราเอลกับกลุ่มประเทศอาหรับ และทำให้เกิดปัญหาผู้ลี้ภัยขึ้นถึง 9 แสนคน ส่วนใหญ่หนีไปทางประเทศจอร์แดนและฉนวนกาซา นอกนั้นก็ไปยังประเทศซีเรียและเลบานอน

    การขับไล่ชาวอาหรับออกจากปาเลสไตน์

              ใน ประวัติศาสตร์สมัยใหม่นั้นไม่ใคร่จะได้มีการอพยพโยกย้ายโดยถูกบังคับหรือถอน รากถอนโคนของชนชาติใด ๆ เท่ากับของชาวปาเลสไตน์ ในปี 1948 ชาวปาเลสไตน์ต้องทิ้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน รวมทั้งทรัพย์สินสมบัติของตนไปเป็นผู้ลี้ภัยซึ่งไม่มีทางทำมาหากินเกือบล้าน คน นอกจากนั้นผู้นำของชาวอิสราเอลยังมีแผนการบีบบังคับให้ชาวปาเลสไตน์ต้องออก จากดินแดนของพวกเขาไป เพื่อตนจะได้เข้าไปครอบครองแทนที่เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของลัทธิไซ ออนนิสม์ ซึ่งตั้งใจจะให้ประเทศนั้นกลายเป็นชาวยิวโดยเฉพาะเท่านั้น ดังที่ ดร.เชม วีซมานน์ ประธานาธิบดีคนแรกของอิสราเอลกล่าวว่า “จุดมุ่งหมายของไซออนนิสม์ก็คือ ชาวยิวควรยึดประเทศปาเลสไตน์ให้ได้ ส่วนนายเธียวดอร์ เฮอร์เซิล ก็มีความคิดว่า “การแก้ปัญหาให้ปาเลสไตน์ก็คือต้องกำจัดชาวอาหรับออกไปจากมาตุภูมิของพวกเขา ให้หมดสิ้น” ดังนั้นความคิดในเรื่อง “การถ่ายเทประชากร” จึงมีอยู่ในสมองของพวกไซออนนิสม์เสมอ นายโยเซฟ วีทซ์ ชาวยิวได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า” “…ต้องเป็นที่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในหมู่พวกเราว่าในประเทศนี้ไม่มีเหลือพอ ที่คนสองชาติจะอยู่ร่วมกันได้… เราย่อมจะไม่บรรลุถึงเจตนาของเราที่จะเป็นอิสระชนได้ถ้ามีชาวอาหรับอยู่ด้วย ในประเทศเล็ก ๆ นี้ วิธีแก้ปัญหาวิธีเดียวก็คือต้องไม่ให้มีคนอาหรับอยู่ด้วย ไม่มีวิธีอื่นที่จะทำได้มากไปกว่าต้องย้ายชาวอาหรับจากที่นี่ไปยังประเทศ เพื่อนบ้าน ย้ายไปให้หมด ไม่ให้เหลือแม้แต่หมู่บ้านเดียวหรือเผ่าเดียว หลังจากการโยกย้ายนี้เท่านั้น ประเทศนี้จึงจะสามารถดูดซึมเอาพี่น้องนับล้าน ๆ คนของเราได้ ไม่มีทางออกอย่างอื่นอีกเลย…”

              พวก ไซออนนิสม์ใช้วิธีการหลายอย่างสำหรับการ “ถ่ายเทประชากร” เช่นการทำสงคราม การก่อการร้าย การขับไล่โดยใช้กำลัง และนโยบายให้ชาวยิวมาตั้งหลักแหล่งในเขตที่อิสราเอลยึดครองไว้ ในปลายปี 1947 ผู้ก่อการร้ายชาวยิวได้ทำร้ายชาวอาหรับอย่างรุนแรง ทิ้งระเบิดลงในกลุ่มคน ทำลายหมู่บ้านเพื่อไม่ให้ชาวอาหรับกลับมาอีก นายยิตซ์ฮัก ราบิน ผู้ที่ต่อมาไปได้เป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลยังได้กล่าวไว้ เมื่อเดือนตุลาคมปี 1956 ว่า “ด้วยการบดขยี้ หมู่บ้านชาวอาหรับให้ราบเรียบและขับไล่ผู้อยู่อาศัยออกไป เราจึงจะแน่ใจได้ว่าจะไม่มีหมู่บ้านเหลืออยู่ให้ชาวอาหรับหวนกลับมาได้” และในปี 1993 เขาผู้นี้ยังได้ตั้งคำถามด้วยว่า “ในเมื่อชาวอาหรับมีประเทศที่เป็นอิสระถึง 21 ประเทศ แล้วการที่ยิวจะมีสักประเทศหนึ่งน่ะ มักมากเกินไปหรือ?” จนถึงเดือนพฤศจิกายน 1953 หมู่บ้านชาวอาหรับถูกทำลายไป 161 แห่ง การกระทำที่โหดเหี้ยมที่สุดคือการฆ่าคนเกือบทั้งหมู่บ้านเดรยัสซีน ทำให้ชาวอาหรับต้องหนีออกจากประเทศไปอย่างมากมายในปี 1948 ส่วนการตั้งหลักแหล่งของชาวยิวคือนโยบายที่จะทำให้ชาวยิวมาตั้งบ้านเรือน ล้อมที่อยู่ของชาวอาหรับไว้ เพื่อป้องกันมิให้ชาวอาหรับรวมตัวกันได้ และตั้งใจจะผนวกฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนและฉนวนกาซา เข้าเป็นของอิสราเอล ชาวยิวมีวิธียึดครองที่ดินเช่นนี้มากมาย เช่น ออกกฎหมายยึดเอาที่ดิน เนรเทศเจ้าของเดิมออกไป ออกกฎหมายให้ที่ดินนั้นเป็นเขตต้องห้าม ทำลายบ้านเรือนชาวปาเลสไตน์ ใช้วิธีควบคุมบีบคั้นทางเศรษฐกิจและการกดขี่ปราบปรามชาวปาเลสไตน์ ฯลฯ ในด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ทางการอิสราเอลก็ใช้วิธีสั่งห้ามและเข้าควบคุมการตัดสินใจทุกอย่างในด้านการ ศึกษาของชาวปาเลสไตน์ รวมทั้งการขู่เข็ญมิให้นักศึกษาหนุ่มสาวของชาวปาเลสไตน์กล้าแข็งต่อต้าน อิสราเอล

              การเข้ายึดครองของอิสราเอลจึงทำให้ชาวปาเลสไตน์กลายเป็นคนต่ำต้อยถูกกดขี่ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ชาวปาเลสไตน์อาหรับจะรู้สึกว่าพวกไซออนนิสม์เป็นศัตรูตัวร้าย พวกเขาพยายามรวมตัวกันทางการเมืองเพื่อต่อต้านชาวอิสราเอล แต่ก็เสียเปรียบในด้านการเงินและอาวุธ ดังนั้นขบวนการกู้ชาติของอาหรับในปาเลสไตน์จึงเกิดขึ้นอย่างมากมายแต่ก็ถูกปราบปรามลงอย่างรวดเร็ว จำต้องใช้การต่อสู้แบบไม่เปิดเผย (หรือแบบจรยุทธ์ขึ้นมา)

              เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1956 แนวหน้ารวมกำลังแห่งชาติ อัล-ฟาตะฮ ได้ ถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมาย ที่จะสร้างแนวร่วมของชาวปาเลสไตน์ทั้งหมดขึ้นมาโดยรวมเอาขบวนการต่อต้านของ ชาวปาเลสไตน์เข้าด้วยกันโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของความคิดทางการเมืองของ แต่ละกลุ่มในปี 1964 ได้มีการจัดตั้งองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์(พีแอลโอ) ขึ้นเพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ให้เป็นอิสระ โดยมีนายยาซิร อารอ ฟัต ถูกรับเลือกให้เป็นประธานของคณะกรรมการบริหารพีแอลโอ อัล-ฟาตะฮกลายเป็นหน่วยที่มีพลังมากที่สุดในองค์การพีแอลโอ ชาวปาเลสไตน์ได้ประกาศความมุ่งหมายของพวกเขาออกมา คือพวกเขาจะต่อสู้เพื่อกลับไปสู่ประเทศที่เป็นมาตุภูมิของตน และจะจัดตั้งปาเลสไตน์ซึ่งเป็นอิสระและเป็นประชาธิปไตยขึ้น ซึ่งชาวยิว คริสเตียนและมุสลิมจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

              แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ยังต้องเผชิญกับการต่อสู้และสงครามอีกหลายครั้ง เช่นการต่อสู้กับยิวในปี 1965 สงครามหกเจ็ดวันในปี 1967, การโจมตีของชาวจอร์แดน ต่อค่ายผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ที่ตำบลฮุสเซ็นและอัชเราะฮในปี 1968, จนกระทั่งรัฐบาลจอร์แดนทำลายหน่วยต่อต้านของชาวปาเลสไตน์ในจอร์แดน หน่วยปฏิบัติการใต้ดินพีแอลโอจึงต้องมารวมตัวกันใหม่ที่เทือกเขาเลบานอน ซึ่งถูกทหารอิสราเอลโจมตีอีก จนต้องย้ายที่ทำการไปอยู่ที่เมืองแอลเจียร์ ประเทศแอลจีเรีย ในสงครามเดือนตุลาคมปี 1973 สหรัฐอเมริกาได้แสดงตัวให้เห็นว่ามีอคติเข้าข้างอิสราเอล และเกลียดชังพีแอลโออยู่ตลอดเวลา (ตอนนั้นเป็นรัฐบาลของนายเรแกน*) จนกระทั่งสั่งปิดสำนักงานของพีแอลโอในนครนิวยอร์คและอายัติบัญชีเงินฝากของพีแอลโอเสียด้วย

    ข้อตกลงแคมป์เดวิด

              เหตุการณ์ สำคัญอย่างหนึ่งในระหว่างนั้นคือเรื่องที่ประธานาธิบดีซาดัดแห่งอียิปต์ ได้เดินทางไปพบปะกันนายเมนาเฮม เบกิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอลและประธานาธิบดีคาร์เตอร์แห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อเจรจา สันติภาพกันเมื่อวันที่ 5 กันยายน 1978 โดยมิได้ปรึกษาหารือกับโลกอาหรับเลย ทั้งสามได้ลงนามในเอกสารฉบับเมื่อวันที่ 17 กันยายน คือโครงการสันติภาพในตะวันตะวันออกกลางและโครงการข้อสรุปแห่งสนธิสัญญา สันติภาพระหว่างอียิปต์กับอิสราเอล เอกสารฉบับแรกเป็นคำประกาศร่วมระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ถึงความตั้งใจที่จะ บรรลุถึงการตกลงในปัญหาทุกด้านของตะวันออกกลาง ส่วนเอกสารฉบับที่สองมีใจความว่า ทั้งสองประเทศ (อียิปต์กับอิสราเอล) จะยอมรับซึ่งกันและกัน สนธิสัญญาฉบับนี้ลงนามกันอย่างเป็นทางการในกรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 1979 การที่ซาดัททำลงไปเช่นนี้ทำให้โลกอาหรับไม่พอใจเพราะจะทำให้โลกอาหรับแตกแยก กัน ชาวปาเลสไตน์ก็เกรงว่าอียิปต์จะทอดทิ้งพวกเขาเพราะไปรับรองอิสราเอล พีแอลโอได้ปฏิเสธข้อตกลงนี้อย่างแข็งขันโดยถือว่าเป็นการปฏิเสธสิทธิตาม กฎหมายของชาวปาเลสไตน์ ประเทศมุสลิมและประเทศเป็นกลางก็ปฏิเสธ แม้กระทั่งสหประชาชาติก็ยังปฏิเสธ จุดหมายที่สำคัญของอิสราเอลคือจะใช้สนธิสัญญานี้เป็นเครื่องกีดกันมิให้มี การจัดตั้งรัฐบาลปาเลสไตน์อิสระขึ้นได้ หลังจากนั้นไม่นาน อิสราเอลได้เข้าโจมตีเลบานอนใต้อันเป็นที่อยู่ของพีแอลโออย่างหนักและได้ ผนวกกรุงเยรูซาเล็มเข้าเป็นของยิวอีกด้วย ในวันที่ 6 มิถุนายน 1981 สงครามที่ใหญ่ที่สุดและยาวนานที่สุดระหว่างอิสราเอลกับชาวปาเลสไตน์ก็เกิด ขึ้นในเลบานอน ครั้งนี้อิสราเอลมีจุดประสงค์คือ (1) ทำลายกำลังทางการเมืองและการทหารของพีแอลโอ (2) จัดตั้งรัฐบาลเลบานอนที่เข้มแข็งเพื่อช่วยเหลืออิสราเอล (3) สร้างอิสราเอลขึ้นเป็นมหาอำนาจเพื่อควบคุมการพัฒนาทุกอย่างด้านการเมืองและ เศรษฐกิจได้ในกำมือตน ฝ่ายสหรัฐอเมริกามีความยินดีในการกระทำของอิสราเอล แต่แสร้งเสนอตัวเข้าไกล่เกลี่ย แต่กลับวีโต้เรื่องที่อิสราเอลต้องถอนทหารไป และรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาก็ไม่ยอมเดินทางไปประท้วงการรุกรานที่ กรุงเยรูซาเล็มด้วย แต่ชาวโลกกลับให้ความสนใจแก่คำเรียกร้องของชาวปาเลสไตน์มากกว่าแต่ก่อน การสร้างสงครามครั้งนี้ปรากฏว่ามีคนตายถึง 15,000 คนซึ่งแน่ละส่วนใหญ่ต้องเป็นชาวปาเลสไตน์

              พีแอลโอได้ไปตั้งสำนักงานใหญ่ขึ้นใหม่ในเมืองตูนิซประเทศตูนิเซีย ในปี 1982 ต้องทำงานอย่าง-รีบเร่ง เพื่อสร้างโครงสร้างสำคัญ ๆ ด้านการเมืองและสังคมขึ้นมาใหม่หลังจากถูกทำลายไปแล้ว หน่วยต่อสู้ของพีแอลโอก็ต้องกระจายไปอยู่ตามประเทศอาหรับต่าง ทำให้รวมตัวกันได้ลำบากความพยายามใฝ่หาสันติภาพ

              เมื่อ วันที่ 6-9 กันยายน 1982 ได้มีการประชุมสุดยอดของกลุ่มประเทศอาหรับ ครั้งที่ 12 ในเมืองเฟซ ประเทศโมร็อกโก ที่ประชุมได้ออก “กฎบัตรเฟซ” ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญดังนี้ (1) จัดตั้งรัฐบาลปาเลสไตน์โดยมีเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวง (2) ถอนกำลังทหารของอิสราเอลออกจากเขตยึดครองทั้งหมดซึ่งเดิมเป็นของอาหรับก่อน สงครามปี 1967 (3) รื้อถอนถิ่นฐานที่อิสราเอลสร้างขึ้นในปี 1967 (4) ยืนยันสิทธิ์ของชาวปาเลสไตน์ในการจะตัดสินใจด้วยตนเองและสามารถใช้สิทธิ์ใน ประเทศปาเลสไตน์ภายใต้การนำของพีแอลโอ (5) ให้ฉนวนกาซาและดินแดนฝั่งตะวันตก (ของแม่น้ำจอร์แดน) อยู่ในความดูแลของสหประชาชาติไปก่อน และให้สภาความมั่นคงรับประกันต่อสันติภาพในระหว่างชนชาติต่างๆ ในแถวนั้น แต่รัฐบาลอิสราเอลปฏิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอเฟซนี้โดยสิ้นเชิง กลุ่มประเทศอาหรับได้ยื่นข้อเสนอนี้ไปยังรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีแรแกนจึงได้เรียกร้องให้ยุตินโยบายสร้างถิ่นฐานใหม่ของอิสราเอล เสียทันที แต่เขาก็ยังปฏิเสธเรื่องการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์อิสระ และมิได้กล่าวเลยว่าจะเกลี้ยกล่อมให้ถอนทหารอิสราเอลจากเขตยึดครองได้อย่าง ไร และเขายังบอกปัดข้อเสนอของชาวอาหรับที่จะเอากรุงเยรูซาเล็มคืนด้วยนายเบรส เนฟประธานาธิบดีรัสเซียได้เสนอแผนสันติภาพ 6 ข้อ ให้แก่นายเรแกนมีเนื้อหาว่าให้อิสราเอลคืนดินแดนยึดครองทั้งหมดให้แก่ชาว ปาเลสไตน์ ชาวปาเลสไตน์มีสิทธิ์จัดตั้งรัฐอิสระของพวกเขาเองขึ้นในเขตแดนอิสราเอล และอิสราเอลต้องคืนกรุงเยรูซาเล็มตะวันออกให้ชาวปาเลสไตน์ด้วย แต่ในระหว่างนั้นอิสราเอลกลับท้าทายด้วยการสร้างชุมชนชาวยิวขึ้นใหม่อีก 5 แห่งที่แถบตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน นับตั้งแต่ปลายสงครามเดือนมิถุนายน 1967 เป็นต้นมา อิสราเอลเริ่มโฆษณาว่าตนต้องการสันติภาพ โดยเน้นให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขความขัดแย้งด้วยการเจรจากันโดยตรง ระหว่าง 2 ฝ่ายในการประชุมสุดยอดที่เมืองคาร์ทูม เมื่อวันที่ 1 กันยายน 1967 นั้นกลุ่มประเทศอาหรับได้ตัดสินใจ 3 ข้อคือ จะไม่ยอมรับรองประเทศอิสราเอล จะไม่เจรจาต่อรองกับอิสราเอล และจะย้ำถึงสิทธิของชาวปาเลสไตน์ที่จะกลับไปยังบ้านเกิดของพวกเขา ได้มีอุปสรรค 3 ประการที่ขวางกั้นหนทางแห่งสันติภาพอยู่ นั่นคือ (1) การที่อิสราเอลแย่งชิงดินแดนซึ่งไม่ใช่ของตนตามกฎหมายไป (2) อิสราเอลได้ขับไล่ประชากรเดิมออกไปจากแผ่นดินบ้านเกิดของพวกเขา (3) การถือเชื้อชาติรวมทั้งลัทธิขยายอาณาเขตด้วยการรุกรานของลัทธิไซออนนิสม์ ฉะนั้นการแสวงหาสันติภาพย่อมจะไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะสันติภาพมิอาจมีได้หากปราศจากความยุติธรรม หลายครั้งแล้วที่อิสราเอลไม่เคยทำตามมติของสหประชาชาติ เช่นไม่ยอมถอนทหารออกไปจากเขตที่ตนยึดครองไว้ อิสราเอลต้องการใช้การบีบบังคับจากการยึดครองด้วยกำลังทหาร เพื่อให้ฝ่ายอาหรับยอมรับว่าดินแดนเหล่านั้นเป็นของอิสราเอล นอกจากนั้นอิสราเอลยังต้องการยุติข้อพิพาทก็เพื่อผลประโยชน์ของตนเองคือตน ต้องการจะเดินเรือใน “น่านน้ำของนานาชาติ” (ซึ่งเป็นของอาหรับนั่นเองไม่ใช่ของชาติอื่น) สิ่งที่เรียกว่าข้อเสนอเพื่อสันติภาพของอิสราเอลนั้นมิได้เป็นไปตามมติของสห ประชาชาติ หรือเรื่องการจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้ลี้ภัยหรือการบูรณะสิทธิเสรีภาพขั้นพื้น ฐานแก่ผู้ลี้ภัยเลย

              คำ ว่าสันติภาพของอิสราเอลมิได้รวมเอาการแก้ไขความอยุติธรรมอย่างหนักหนาสาหัส ที่ตนทำไว้กับชาวปาเลสไตน์เลย อิสราเอลต้องการแต่เพียงทำให้ความมุ่งหวังด้านการเมืองและอาณาเขตของตนสม ปรารถนาเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงยากที่ฝ่ายอาหรับจะยอมตามได้ การกดขี่ที่เหี้ยมโหดซึ่งชาวอิสราเอลกระทำต่อชาวปาเลสไตน์นั้นย่อมสร้างความ เกรี้ยวโกรธและเจ็บช้ำแก่ฝ่ายที่ตกเป็นเหยื่อต่อไป แต่การต่อสู้กันอยู่ทุกวันยังมีอยู่ต่อไป โดยก้อนหินของฝ่ายปาเลสไตน์และโดยปืนและระเบิดของฝ่ายอิสราเอล เราจะได้ฟังข่าวอยู่ทุกวันว่าผู้ที่ล้มตายลงทุกวันนั้นคือชาวปาเลสไตน์ทั้ง เด็กและผู้ใหญ่ รวมทั้งคนแก่ชรา การต่อสู้แบบนองเลือดของอิสราเอลนั้นแทนที่จะสร้างสันติภาพและความเป็น ระเบียบขึ้นในตะวันออกกลาง กลับขยายความเกลียดชังเจ็บแค้นของชาวอาหรับให้เพิ่มพูนขึ้นเท่านั้น ตราบใดที่ชาวอิสราเอลยังยึดอยู่กับหลักการของไซออนนิสม์อยู่อย่างนี้ก็ อาจกล่าวได้ว่า ความขัดแย้งระหว่างยิวกับอาหรับก็จะต้องมีอยู่ตลอดไป ไม่ว่าจะมีการเจรจาสันติภาพกันกี่ครั้ง ไม่ว่าผู้นำของชาติมหาอำนาจจะทำท่าสนับสนุนอย่างไรก็ตาม แต่ถ้าไม่ได้เป็นไปด้วยความจริงใจแล้ว การเจรจานั้น ๆ ก็ย่อมไร้ผล

              ดร.จอห์น เอ็ชเดวิส อดีตกรรมาธิการทั่วไปของ UNRWA ได้แสดงความคิดเห็นว่า “เมื่อเวลามาถึง ทั่วโลกและแม้แต่ชาวอิสราเอลด้วยจะได้เห็นว่าไซออนนิสม์ คือสาเหตุแห่งความขัดแย้ง” และนายแมคโชเวอร์ ศาสตราจารย์วิชาปรัชญาชาวยิวได้พูดออกมาอย่างตรงไปตรงมาว่า “สันติภาพในดินแดนนั้น ขึ้นอยู่กับการปลดปล่อยตัวเองของอิสราเอล จากลัทธิไซออนนิสม์ และเมื่อการปกครองของไซออนนิสม์ยุติลง”
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #156 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 07:56:17 PM »

update...

ยิวตาย ๑๓  ฮามาส ๘๐๐... คน



ในรูปเป็นฝ่ายไหนครับ ใช้พลแม่นปืนสู้กันเลยหรอครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
คูณ 3 superแก๊งค์
Sr. Member
****

คะแนน 40
ออฟไลน์

กระทู้: 790



« ตอบ #157 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 07:58:07 PM »

update...

ยิวตาย ๑๓  ฮามาส ๘๐๐... คน



ในรูปเป็นฝ่ายไหนครับ ใช้พลแม่นปืนสู้กันเลยหรอครับ  ไหว้

คล้ายในหนังเรื่อง shooter เลย  แต่สงสัยว่าทำไมตัวใหญ่โตจัง คล้ายเอาอะไรยัดไว้ในเสื้อเลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2009, 08:08:50 PM โดย คูณ 3 superแก๊งค์ » บันทึกการเข้า

***....จงมีและใช้ธรรมะ    เป็นเครื่องมือ เป็นอาวุธ ....***
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #158 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 08:06:43 PM »

ในรูปเป็นฝ่ายไหนครับ ใช้พลแม่นปืนสู้กันเลยหรอครับ 

ผมเดาว่าน่าจะเป็นพลแม่นปืนอิสราเอล   เพราะปืนคู่มือดูเหมือนจะเป็นเรมิงตัน
บันทึกการเข้า
C.J. - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 314
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5383


ขอ...นัดเดียว


เว็บไซต์
« ตอบ #159 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 08:15:18 PM »

ในรูปเป็นฝ่ายไหนครับ ใช้พลแม่นปืนสู้กันเลยหรอครับ  ไหว้

ยิวครับ...

วันนี้ ฮามาสตายเพิ่มเป็น ๘๕๔ คนแล้ว...
บันทึกการเข้า

ธรรมของสัตบุรุษ

๑. ธัมมัญญุตา - รู้จักเหตุ ๒. อัตตัญญุตา - รู้จักผล ๓. อัตตัญญุตา - รู้จักตน ๔. มัตตัญญุตา - รู้ประมาณ ๕. กาลัญญุตา - รู้จักกาล ๖. ปริสัญญญุตา - รู้จักประชุมชน ๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา - รู้จักเลือกบุคคล

http://www.dopaservice.com/eservice/content.do?ctm_id=gun&function=document&gro
...อภิสิทธิ์ ...
จะรักและซื่อสัตย์ต่อลูกโม่ S&W ตลอดไปชั่วฟ้าดินสลาย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 652
ออฟไลน์

กระทู้: 3595



« ตอบ #160 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 08:59:52 PM »

ขอบคุณครับท่านtk_mpt  เป็นข้อเท็จจริงที่หลายคนลืมไปแล้วว่าเดิมที่ตรงนั้นเป็นของปาเลสสไตน์เขาบวก1
บันทึกการเข้า

There are experienced shooters who are just die-hard fans of revolvers. They do practice regularly and have had plenty of training, and for whatever reason they just prefer revolvers over semi-autos. And for the record, no, not all of them are dudes with gray hair.
C.J. - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 314
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5383


ขอ...นัดเดียว


เว็บไซต์
« ตอบ #161 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 09:15:36 PM »

ปืน..??



รถ...??

บันทึกการเข้า

ธรรมของสัตบุรุษ

๑. ธัมมัญญุตา - รู้จักเหตุ ๒. อัตตัญญุตา - รู้จักผล ๓. อัตตัญญุตา - รู้จักตน ๔. มัตตัญญุตา - รู้ประมาณ ๕. กาลัญญุตา - รู้จักกาล ๖. ปริสัญญญุตา - รู้จักประชุมชน ๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา - รู้จักเลือกบุคคล

http://www.dopaservice.com/eservice/content.do?ctm_id=gun&function=document&gro
ART
ชีวิตคิดบวก แล้วจะ Happy
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 552
ออฟไลน์

กระทู้: 10809



« ตอบ #162 เมื่อ: มกราคม 12, 2009, 05:46:18 AM »

ยิวนี้ อาวุธ ครบครัน จริงๆๆนะครับเหมือนเปิดโชว์รูม อาวุธ เลย ฮามาสมีอะไรสู้บ้างครับ
บันทึกการเข้า

krajong
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 453
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2875



« ตอบ #163 เมื่อ: มกราคม 12, 2009, 07:49:21 AM »

ยิวนี้ อาวุธ ครบครัน จริงๆๆนะครับเหมือนเปิดโชว์รูม อาวุธ เลย ฮามาสมีอะไรสู้บ้างครับ

มันไม่ใช่สงครามครับ  มันคืองาน "แสดงสินค้า" 

ปู๊ดโธ่ มันจะขายของมันหลอกใช้เวลาสำนักข่าวต่างประเทศโปรโมทสินค้ามันครับ 555

(แซวนิดนะครับ อย่าเคืองเลยนะครับ)
บันทึกการเข้า

ความจริงไม่มีวันตาย แต่คนพูดความจริงตายไปหลายแล้ว
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #164 เมื่อ: มกราคม 12, 2009, 11:27:33 AM »

ในภาพเป็นรถอะไรครับท่าน JongRakN  ไหว้
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
หน้า: 1 ... 8 9 10 [11] 12 13 14 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.118 วินาที กับ 22 คำสั่ง