เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 29, 2024, 09:45:51 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 4 5 6 [7] 8 9 10 ... 15
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องเล่าจากชาวปืนแฝด Perazzi MX 8 และประวัติความเป็นมา  (อ่าน 139411 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ลูกซองสั้น
Shotgun lover
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 112
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1047


side by side


« ตอบ #90 เมื่อ: มกราคม 10, 2009, 02:22:26 PM »




ปืนกระบอกนี้ forend เป็นแบบ semi beavertail  ปืนกระบอกนี้ต้องเป็น Pigeon gun แน่นอนครับ

ปืนกระบอกนี้มีตัวตนจริงๆนะครับ คุณหมอที่ยันฮีไม่เคยได้ลงมีดหรือเสกคาถาอาคมปลุกวิญญาณ เอ้ย ปลอมแปลงสาวน้อยคนนี้ขึ้นมาจากสำนักไหน
ใครสนใจอยากเป็นเจ้าของ ส่ง pm มา  อุ้ย ไม่เอาดีกว่า ให้ link ไปเลย เราจะได้สบายตัวไป ไปทำคลอดกันเอาเองนะครับ
ค่าสินสอดของน้องแค่ สามหมื่นห้าครับ บ้านของน้องอยู่ที่ Texas  พ่อตาใจดีด้วย คนเมืองนั้นเวลาขี่รถไถ Ford ไปทำไร่ มักจะพกลูกโม่ .44 Magnum ติดเอวไว้ นัยว่ากันตกรถ

http://www.basspro.com/webapp/wcs/stores/servlet/CFPageC?storeId=10151&catalogId=10001&langId=-1&appID=36&viewMode=thumbnails&catID=109&direction=DESC&gunid=493&mode=viewGun
บันทึกการเข้า
ลูกซองสั้น
Shotgun lover
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 112
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1047


side by side


« ตอบ #91 เมื่อ: มกราคม 10, 2009, 04:33:54 PM »

หลังจากที่สองหนุ่ม Daniele Perazzi กับ Ivo Fabbri ร่วมกับผลิตปืน Perazzi-Fabbri DHO ออกขายได้ไม่นาน Ivo ก็มีความเห็นว่าน่าจะทำปืนแบบแฝดซ้อน over/under ออกขายด้วย เพราะว่านักยิงปืนในยุคนั้นเริ่มพบว่า การเล็งยิงของปืนแบบแฝดซ้อนให้สมดุลที่ดีกว่า

ทั้งสองคนยังคงมีความเห็นเหมือนเดิม คือยังไงก็จะต้องเป็นแบบ แหนบหลัง back action ก็เลยร่วมกันออกแบบปืนรุ่น SHO ขึ้นมาครับ

Perazzi SHO เป็นปืนแฝดซ้อนที่มีกลไกนกสับแบบ sidelock และ SHO ก็คือปืนที่ Matterelli ร่วมแก้ไข จนออกมาสมใจนึกของ Matterelli และ Matterelli ก็ได้ใช้ปืนรุ่นนี้แหละ ไปยิงแข่งโอลิมปิคที่โตเกียวในปี 1964 ได้เหรียญทอง ด้วยคะแนน 198 จาก 200
 
ปัจจุบันโรงงาน Perazzi เลิกสายการผลิต SHO ไปนานแล้วครับ สาเหตุหลักก็เพราะต้นทุนการผลิตที่สูงมาก ใช้เวลาในการทำแต่ละกระบอกนาน แม้นว่าในปัจจุบันที่โรงงานจะมีเครื่องมือเครื่องจักรดีๆ หรือควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ แต่ Daniele ไม่ผลิตอีกแล้วครับ




side plate แบบ sidelock มีหัวหมุดโผ่ลมาให้เห็นเป็นสัญญาลักษณ์ครับ
บันทึกการเข้า
ลูกซองสั้น
Shotgun lover
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 112
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1047


side by side


« ตอบ #92 เมื่อ: มกราคม 10, 2009, 04:37:08 PM »







ดูความงามที่หาฝีมือช่างจากประเทศอื่นเทียบยาก
บันทึกการเข้า
ลูกซองสั้น
Shotgun lover
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 112
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1047


side by side


« ตอบ #93 เมื่อ: มกราคม 10, 2009, 04:44:00 PM »




เห็นคำว่า SHO ไหมครับ ถ้าไปเจอปืนแบบนี้ที่ไหน ให้รีบสมัครเป็นลูกหลานทันทีนะครับ

ยุคนั้น Perazzi เขียนคำว่า SHO เป็นชื่อรุ่น แต่ในปัจจุบัน Perazzi ใช้เนื้อที่ตรงตำแหน่งเดียวกันแกะคำว่า SCO เป็นเกรดของปืนครับ ไม่เป็นชื่อรุ่นแล้ว
บันทึกการเข้า
ลูกซองสั้น
Shotgun lover
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 112
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1047


side by side


« ตอบ #94 เมื่อ: มกราคม 10, 2009, 04:45:42 PM »




ดูตรงไหนก็สวยไปหมด
บันทึกการเข้า
ลูกซองสั้น
Shotgun lover
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 112
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1047


side by side


« ตอบ #95 เมื่อ: มกราคม 10, 2009, 04:47:01 PM »




โกร่งไก สวยด้วยช่างครับ หมอแถวยันฮีก็สู้ไม่ได้
บันทึกการเข้า
ลูกซองสั้น
Shotgun lover
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 112
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1047


side by side


« ตอบ #96 เมื่อ: มกราคม 10, 2009, 04:48:10 PM »




ดูพานท้ายไม้สวยๆซิครับ สมควรอนุรักษ์ไว้จริงๆ มีนักนิยมปืนลูกซองท่านหนึ่งเคยให้ความเห็นกับผมว่า
ถ้าจะมีปืนไว้สะสมจริงๆ ไม่คิดจะเอาออกมายิงมากมายอะไร ก็ไม่ควรจะใส่ยาง recoil pad
เพราะว่า ยาง recoil pad มีอายุการใช้งาน และจะแข็งกระด้างได้ เป็นไปตามกาลเวลา
ปืนกระบอกนี้คงจะไม่ค่อยได้ยิงนะ
บันทึกการเข้า
ลูกซองสั้น
Shotgun lover
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 112
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1047


side by side


« ตอบ #97 เมื่อ: มกราคม 10, 2009, 04:53:10 PM »

ผมลืมบอกชื่อเต็มของ SHO ไปครับ  SHO ย่อมาจาก Sovrapposto, Holland, Oro ครับ

Perazzi-Fabbri  SHO เป็นโมเดลที่โด่งดังมาก และต้องถือว่าเป็นโมเดลที่มีความต้องการซื้อสูงสุด (ในยุคนั้นครับ) แต่ ความสามารถของโรงงาน Perazzi-Fabbri ในปี 1964 ที่จะผลิตปืน SHO ออกมาขายตามความต้องการของนักยิงปืนก็น้อยมาก ทำไม่ทันขาย  SHO มีต้นทุนในการผลิตสูงมาก และผลิตได้ช้า ทำออกมาเท่าไหร่ก็ไม่พอกับความต้องการของนักยิงปืน   

Daniele Perazzi เคยมีความคิดที่จะเป็นเจ้าของโรงงานปืนแข่งที่ดีที่สุด มองเห็นเหตุการณ์ในปี 1964 ปีที่นักยิงปืนทั่วโลกเรียกร้องหาซื้อปืนแข่งสุดยอดของตน เป็นเรื่องที่ไม่ควรจะพลาดโอกาส น้ำขึ้นให้รีบตัก ถ้ามีคนอยากซื้อปืนของตัวเองสัก 100 กระบอก ก็อยากเนรมิตออกมาให้ได้แบบทันตาเห็น ขืนมัวแต่ชักช้าประดิบประดอย คนซื้อก็เซ็งหายอยากกันเท่านั้น เรื่องอย่างนี้ Daniele เลยมีความคิดอยากขยายโรงงานครับ ยิ่งทำได้มาก ก็ยิ่งกำไรมาก

Ivo Fabbri ในปี 1964 ยังไม่รวยนะครับ แต่ว่ามีอุดมการณ์สูงสุด ตนเองเป็นเด็กวิศว รักที่จะเห็นความก้าวหน้าแห่งวงการปืนแฝด อยากจะผลิตปืนที่ดีเลิศ ยิงได้ตลอดชาติ ไม่มีวันพัง ของดีไม่เห็นจะต้องมีมากๆ  ปืนของตนต้องไม่ใช่ปืนโหล พวกสินค้า mass product ไม่อยู่ในความคิดของตน

อันที่จริง เรื่องความเห็นทางธุรกิจไม่ค่อยตรงกัน มีมาตั้งแต่รู้จักกันแล้วครับ แต่ว่า Ivo เอง ต้องการใช้โรงงานของ Daniele เป็นสถานที่ทำปืนสุดยอดในความคิดของตน ซึ่งตอนที่โรงงานของพวกเขาเกิดใหม่ๆ ไม่ต้องรีบผลิตปืนแบบตอนนี้นี่ครับ นี่มันชักไม่ค่อยถูกใจของ Ivo ซะแล้ว

บันทึกการเข้า
ลูกซองสั้น
Shotgun lover
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 112
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1047


side by side


« ตอบ #98 เมื่อ: มกราคม 10, 2009, 04:59:35 PM »

ผมคิดว่า คงจะมีหลายคนอยากรู้ว่าปืน perazzi-Fabbri ที่บอกว่าผลิตออกมาน้อยมากหนะ ทำออกมาขายได้กี่กระบอกกัน จากข้อมูลทะเบียนของโรงงาน พบว่าปืนที่ถูกบันทึกไว้ ว่าตีตรา Perazzi-Fabbri ถูกผลิตออกมาเพียง 335 กระบอกเท่านั้นครับ โดยการผลิตปืนในชื่อของ Perazzi-Fabbri หยุดลงในปี 1965

ทำไมเอ่ย? 

อย่างที่ได้เล่าให้ฟังแล้วครับ Daniele อยากขยายโรงงาน แล้วปั้มปืนออกมาขายให้มากที่สุด โอ  ใช้เงินมากโขนะ จะมาใช้มือช่าง ยืนถูตะไบ หรือมาขัดไม้เหลาพานท้ายทีละกระบอก ไม่ทันกินแน่ๆ มันต้องลงทุนซื้อเครื่องกลึงเจ๋งๆ แล้วจ้างช่างฝีมือมามากขึ้น ออกแบบ ออกรุ่นมากๆรุ่นเข้าไว้ เวลานักยิงปืนเดินเข้าโรงงงานมา แล้วอยากได้ปืนที่ยิงแม่นเป็นตาเลเซอร์ มันสมควรต้องมีเครื่องจักรเครื่องมือพร้อมให้บริการทันที ทำปืนเสร็จในวันเดียวเลย เรียกว่า มาถึงโรงงานแล้วสามารถรับปืนในฝันกลับบ้านได้ในวันนั้นเลย 

ในปี 1965 Mattarelli กำลังดังสุดขีดครับ ยิ่งมี order สั่งซื้อปืนแชมป์เข้ามามากมาย อยากจะทำอะไรก็ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก สองสหายเลยได้มีโรงงานใหญ่ในฝัน ก็คือโรงงานที่ตั้งอยู่ ณ. สถานที่ปัจจุบันนี้แหละครับ โดย Mattarelli นั่นแหละ เป็นคนไปหาเงินกู้มาให้

เอ๊ะ อย่างนี้ เราควรจะเรียกว่า โรงงาน Perazzi ใครสร้างนะ ถ้า Mattarelli ไม่ออกหน้าหาเงินกู้มาให้ โรงงานของ Daniele Perazzi น่ากลัวยังอยู่ชั้นใต้ดินมั่ง

เดือนกันยายน ปี 1965 สามสหายชาวอิตาเลี่ยน เลยร่วมหุ้นกันตั้งโรงงานทำปืนใหม่ โดยมีหุ้นส่วนเท่าๆกัน คนละหนึ่งในสาม และได้ตั้งชื่อโรงงานใหม่ว่า MAP อ่านแวบแรก ใครๆก็ต้องเข้าใจไปว่า M ต้องย่อมาจาก Mattarelli แน่ๆเลย อันที่จริง ในตอนนั้น Daniele กับ Ivo ต้องการจะมอบเกียรติยศอันนั้นให้กับ Mattarelli จริงๆ แต่ Mattarelli ไม่เอา บอกว่า ปืนสุดยอดของพวกเรา (พวกเขาสามคนไง) กำเนิดที่ห้องใต้ดินบ้านของ Daniele ก็น่าให้เกียรติอันนี้กับ Daniele แฮะๆ ก็เป็นที่ถูกใจของ Daniele ไปครับ  ดังนั้นโรงงานใหม่ของพวกเขาเลยได้ชื่อว่า MAP/Daniele Perazzi

MAP ย่อมาจาก Manifattura Armi Perazzi
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2009, 06:25:37 AM โดย ลูกซองสั้น » บันทึกการเข้า
ลูกซองสั้น
Shotgun lover
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 112
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1047


side by side


« ตอบ #99 เมื่อ: มกราคม 10, 2009, 05:01:17 PM »

โรงงาน MAP ในช่วงแรกๆ ปี 1965 ก็ผลิตแต่ปืน sidelock ล้วนๆครับ ทั้ง DHO และ SHO อย่างที่บอกไว้แล้ว ปืน sidelock มีกลไกชุดลั่นไกอยู่ในแผ่น side plate ซึ่งแม้นจะสามารถถอดออกมาได้ แต่ก็ยังใช้เวลาในการถอดใส่นาน
 
Mattarelli เอง อยากได้ปืนแข่งที่สามารถถอดชิ้นส่วนภายในและสามารถซ่อมได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะในการแข่งขันยิงเป้าบินในโอลิมปิค นักกีฬาสามารถซ่อมแซมปืนของตนได้ ในกรณีที่ปืนเสีย และต้องซ่อมให้เสร็จภายในสิบนาทีเท่านั้น ความคิดอันนี้เอง นำพาให้ทั้งสามคนร่วมกันออกแบบปืนแฝดซ้อนแข่งขันรุ่นใหม่ ปืนรุ่นนี้สามารถถอดชุดลั่นไกออกมาได้ง่ายๆ MAP เริ่มผลิตปืนรุ่นนี้ออกขายตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 1966

ปืนแข่งรุ่นใหม่นี้ เกิดมาเพื่อเป็นปืนแข่งโดยตรง และมีเป้าหมายคือส่งลงแข่งในโอลิมปิคปี 1968 ที่ Mexico เลยได้รับชื่อรุ่นว่า MX 8 ครับ
บันทึกการเข้า
o/uboy
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #100 เมื่อ: มกราคม 10, 2009, 11:59:57 PM »

เรียนท่านพี่ทั้งสองตามตรง จิตใจผมนั้นสงบจากเรื่องปืนสวยๆมานานแล้ว ทำไมหรือครับ เพราะยิ่งคิดไปก็ไม่มีหวังได้เป็นเจ้าของเป็นแน่ หลังจากผมตามอ่านเรื่องมาถึงหน้านี้ ผมเลยต้องกลับไปเปิดหนังสือ Modern Engravings Real Book อ่านใหม่อีกเที่่ยวเลยครับ
บันทึกการเข้า
Been
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #101 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 07:42:27 AM »

เรียนท่านพี่ทั้งสองตามตรง จิตใจผมนั้นสงบจากเรื่องปืนสวยๆมานานแล้ว ทำไมหรือครับ เพราะยิ่งคิดไปก็ไม่มีหวังได้เป็นเจ้าของเป็นแน่ หลังจากผมตามอ่านเรื่องมาถึงหน้านี้ ผมเลยต้องกลับไปเปิดหนังสือ Modern Engravings Real Book อ่านใหม่อีกเที่่ยวเลยครับ
อย่าลืมเก็บเงิน แล้วก็เพิ่มวงเงินในบัตรเครดิตด้วย ตกใจหน้าซีด รูดปรืดๆ... Grin
บันทึกการเข้า
o/uboy
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #102 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 11:07:44 AM »

ตอนนี้มันดัง ฝืดๆๆครับ
บันทึกการเข้า
ลูกซองสั้น
Shotgun lover
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 112
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1047


side by side


« ตอบ #103 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 06:57:58 PM »

MX8 ถือกำเนิดมาเป็นปืนแข่งเต็มตัวเลยครับ ไม่ใช่เอาปืนยิงนก ล่าสัตว์ มาดัดแปลงแก้ไข ต้องเรียกว่า MX8 มี DNA มาจาก Perazzi-Fabbri SHO (sidelock ในฝันของผม) มาดูโครงสร้างที่มีต้นตระกูลมาจากพ่อพันธุ์ Boss & co. และ แม่พันธุ์ Labeau-Courally

Side lump ในโครงปืน แท่งขัดกลอนกับข้างลำกล้อง ใหญ่และแข็งแรง
ข้อดีของการทำ แท่งกลอนขัดลำกล้องไว้ด้านข้างของ Recaiver ก็คือ ทำให้ปืนมีโครงปืนที่เตี้ย และแนวลำกล้องวางอยู่ในแนวที่ต่ำ ปืนจะเตะปากลำกล้องน้อยกว่า


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2009, 07:04:09 PM โดย ลูกซองสั้น » บันทึกการเข้า
ลูกซองสั้น
Shotgun lover
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 112
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1047


side by side


« ตอบ #104 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 07:06:15 PM »

side lump มีทั้งสองข้างนะครับ รูปของอีกข้าง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 6 [7] 8 9 10 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.122 วินาที กับ 24 คำสั่ง