เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 17, 2024, 07:27:56 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมพระต้องถือตาลปัตร  (อ่าน 2328 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 8 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คูณ 3 superแก๊งค์
Sr. Member
****

คะแนน 40
ออฟไลน์

กระทู้: 790



« เมื่อ: มกราคม 09, 2009, 08:52:48 PM »

ทำไมพระต้องถือตาลปัตร?
 
ธ.ค. ๔๙

                  เมื่อเราไปทำบุญที่วัดหรือนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีกรรมต่างๆไม่ว่าที่บ้าน ที่ทำงานหรือที่ใด เรามักจะเห็น “ ตาลปัตร ” อยู่คู่กับการสวดของพระอยู่เสมอ ซึ่งส่วนใหญ่คงจะเคยชิน แต่คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบว่า เหตุใดพระสงฆ์จึงต้องใช้ตาลปัตรปิดหน้าเวลาสวด ดังนั้น กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอเรื่องของตาลปัตรมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นความรู้ ดังนี้

                 คำว่า “ ตาลปัตร ” หรือ ตาลิปัตร เป็นคำภาษาไทยที่นำมาจากภาษาบาลีว่า ตาล ปตฺต แปลว่า ใบตาล ซึ่งใบตาลนี้เป็นสิ่งที่คนทั่วไปใช้บังแดดและใช้พัดลมมาตั้งแต่โบราณ และเป็นเครื่องใช้ที่จำเป็นอย่างหนึ่งในประเทศเมืองร้อน ดังนั้น ตาลปัตร จึงหมายถึง พัดที่ทำจากใบตาลนั่นเอง โดยคำว่า “ พัด ” ที่ภาษาบาลีเรียกว่า “ วิชนี ” นี้ มีความหมายว่า เครื่องโบกหรือเครื่องกระพือลม และไทยได้นำมาแปลงเป็น “ พัชนี ” ต่อมาคงเรียกกร่อนคำให้สั้นลงเหลือเพียง “ พัช ” ออกเสียงว่า “ พัด ” แล้วก็คงใช้เรียกและเขียนกันจนลืมต้นศัพท์ไป

                 “ ตาลปัตร ” หรือบางแห่งก็ใช้คำว่า “ วาลวิชนี ” (ที่เดิมหมายถึง เครื่องพัดโบกสำหรับผู้สูงศักดิ์)นี้ ดั่งเดิมคงหมายถึง สิ่งที่ใช้พัดวีเช่นเดียวกัน จะต่างกันก็ตรงวัสดุที่ใช้ คือ ตาลปัตรทำด้วยใบตาล แต่ วาลวิชนีอาจจะทำด้วยวัสดุอื่นๆ เช่น ผ้าแพร ขนนก ขนหางสัตว์ เป็นต้น ซึ่งสมัยก่อน “ พัด ” ที่พระถือกันอยู่สมัยแรกทำด้วยใบตาลจึงเรียกว่า “ ตาลปัตร ” ต่อมาแม้จะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเป็นวัสดุอื่นหรือตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดารอย่างไร ก็ยังเรียก “ ตาลปัตร ” อยู่เช่นเดิม และถือเป็นสมณบริขารอย่างหนึ่งของพระสงฆ์

                 สำหรับ สาเหตุที่พระสงฆ์นำ “ ตาลปัตร ” มาใช้ นั้น ได้มีผู้ให้ความเห็นต่างๆกันไป บางท่านก็ว่า การใช้ตาลปัตรครั้งแรกดั่งเดิมนั้น มิใช่เพื่อบังหน้าเวลาเทศน์ แต่ใช้ เพื่อกันกลิ่นเหม็นของศพที่เน่าเปื่อย เนื่องจาก พระสงฆ์ในสมัยโบราณจะต้องบังสุกุลผ้าห่อศพไปทำจีวร ดังนั้น ท่านจึงต้องใช้ใบตาลขนาดเล็กมาบังจมูกกันกลิ่น จากนั้นต่อมาก็เลยกลายเป็นประเพณีของสงฆ์ที่จะถือตาลปัตรไปทำพิธีต่างๆโดยเฉพาะในพิธีปลงศพ บางท่านก็ว่าการที่พระถือตาลปัตรในระหว่างการแสดงธรรมเทศนาหรือสวดพระปริตร ก็ เพราะพระพุทธเจ้าทรงถือตาลปัตรเมื่อเสด็จไปโปรดพระพุทธบิดา คือพระเจ้าสุทโธทนะ พระสงฆ์จึงได้ปฏิบัติตาม นอกจากนี้ยังมีผู้สันนิษฐานว่า เกิดจากเนื่องจาก สภาพจิตใจของผู้ฟังธรรมมีหลายระดับ จึงต้องมีการป้องกันไว้ก่อน ดังเรื่องเล่าที่ว่า พระสังกัจจายน์ พระสาวกที่สำคัญรูปหนึ่ง ท่านมีรูปงามหรือพูดง่ายๆว่าหล่อมาก ขณะที่แสดงธรรมโปรดอุบาสก อุบาสิกาอยู่นั้น ทำให้สตรีบางคนหลงรักท่านอย่างมาก และด้วยภาวะจิตที่ไม่บริสุทธิ์ของสตรีเหล่านี้ จึงก่อให้เกิดบาปขึ้น เมื่อท่านรู้ด้วยญาณ จึงได้อธิษฐานจิตให้ตัวท่านมีรูปร่างอ้วนใหญ่พุงพลุ้ยกลายเป็นไม่งามอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน และเป็นเหตุให้พระสงฆ์ต้องหาเครื่องกำบังหน้าเวลาเทศน์ หรือประกอบพิธี เพราะ ต้องการให้ผู้ฟัง ได้ฟังแต่ธรรมจากท่านเท่านั้น มิใช่มัวแต่มองหน้าหลงรูป

                 อย่างไรก็ดี แม้ว่าต้นกำเนิดของการที่พระสงฆ์ต้องถือตาลปัตร จะยังไม่แน่ชัดว่าแท้จริงเป็นมาอย่างไร แต่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงประทานความเห็นไว้ว่า ความคิดที่ให้พระสงฆ์ถือตาลปัตรคงมาจากลังกา เพราะมีพุทธประวัติปรากฏใน “ ปฐมสมโพธิ ” ซึ่งต้นฉบับเขียนขึ้นในลังกาโดยพระพุทธรักขิตาจารย์ กล่าวถึงเทพบริวารสององค์ที่ขนาบองค์พระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ คือ สันดุสิตเทวราชจะถือพัด ที่เรียกว่า วิชนี ที่มีรูปร่างคล้ายพัดใบตาลอยู่เบื้องขวา และสยามะเทวราชทรงถือจามร (แส้)อยู่เบื้องซ้ายเพื่ออยู่งาน และอาจเป็นเครื่องแสดงดุจเป็นเครื่องสูงที่ใช้ถวายพระสมณศักดิ์แห่งพระพุทธองค์ด้วย และเมื่อลัทธิลังกาวงศ์ได้แพร่หลายและเป็นที่เลื่อมใสกันในยุคนั้นทั้งในประเทศพม่า ลาว กัมพูชาและไทย จนเป็นที่เชื่อกันว่าพระสงฆ์ที่ได้บวชเรียนในลัทธิลังกาวงศ์จะต้องมีความรู้ทางพระศาสนาลึกซึ้งมากกว่าพระสงฆ์ที่บวชในลัทธิอื่นที่มีมาแต่เดิม ดังนั้น พุทธศาสนิกชนในไทยที่เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนาจากลังกาวงศ์ก็ย่อมรับเอาพิธีกรรมและประเพณีต่างๆที่เกี่ยวกับสังฆพิธีมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นการถือตาลปัตรหรือการตั้งสมณศักดิ์ เพราะท่านว่าจากตรวจสอบศึกษาศิลปะอินเดียโบราณสมัยต่างๆ โดยเฉพาะจากประติมากรรม ยังไม่พบรูปพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ หรือพระสมณะถือตาลปัตรเลย ดังนั้น การที่พระสงฆ์ถือตาลปัตรจึงไม่น่าจะเป็นคติดั่งเดิมจากอินเดีย แต่น่าจะมาจากลังกาตามหลักฐานที่ว่าข้างต้น ส่วนนักบวชที่มิได้เป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาก็ปรากฏว่ามีการถือตาลปัตรด้วยเช่นกัน ดังจิตรกรรมฝาผนังที่วัดช่องนนทรี อันเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย เขียนเป็นภาพทศชาติตอนชาดก เรื่อง พรหมนารถ ก็มีภาพพระเจ้าอังคติกำลังสนทนากับเดียรถีย์ ซึ่งแสดงตนเป็นบรรชิตนั่งอยู่เหนือพระองค์ เดียรถีย์ในภาพจะถือพัดขนาดเล็กรูปร่างคล้ายตาลปัตร จึงทำให้ สันนิษฐานได้ว่า ตาลปัตรสมัยโบราณอาจจะเป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นนักบวชก็ได้ เพราะแม้แต่ฤษีก็ยังถือพัด ซึ่งบางครั้งก็มีรูปร่างคล้ายวาลวิชนี และบางครั้งก็คล้ายพัดขนนกซึ่งพระสงฆ์ไทยก็เคยใช้เป็นตาลปัตรอยู่ระยะหนึ่งเช่นกัน

                 และจากความศรัทธาที่ฆราวาสถือว่า ตาลปัตร เป็นของใช้อย่างหนึ่งของพระสงฆ์ จึงได้เกิดความคิดนำไปถวายพระ โดยชั้นแรกคงเป็นใบตาลตามคติเดิม ต่อมาใบตาลอาจจะเสื่อมความนิยมเพราะเป็นของพื้นบ้านหาง่าย ไม่เหมาะจะถวายพระ เลยอาจนำพัดของตนที่ทำด้วยไม้ไผ่สาน หรือขนนกไปถวายให้พระใช้แทนใบตาล โดยอาจจะถวายด้วยตนเอง หรือให้ทายาทนำพัดของบิดามารดาผู้ล่วงลับไปถวายเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บิดามารดาของตนก็ได้ จึงทำให้ตาลปัตรมีการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ และมีพัฒนาการเช่นเดียวกับศิลปกรรมประเภทอื่นๆ ดังจะได้เห็นว่านอกจากทำจากใบตาลเดิมแล้ว ยังทำจากวัสดุอื่นที่คิดว่างามและหายาก เช่น ไม้ไผ่สาน งาสาน ผ้าแพรอย่างดี ขนนก หรือมีการปักดิ้นเงินดิ้นทอง หรือประดับด้วยอัญมณีต่างๆสุดแต่กำลังศรัทธาที่จะถวาย ซึ่งตาลปัตรนี้ถือว่าเป็นของมงคลอย่างหนึ่งใน ๑๐๘ มงคลที่ปรากฏในรอยพระพุทธบาทด้วย

                 โดยทั่วๆไป เมื่อพูดถึง ตาลปัตร ในความหมายของพระสงฆ์จะเรียกว่า “ พัดรอง ” คือ พัดที่เราเห็นพระใช้กันอยู่ในงานกุศลพิธีทั่วไป มักทำเป็น พัดหน้านาง คือ พัดที่มีลักษณะรูปไข่ คล้ายเค้าหน้าสตรี มีด้ามยาวตรงกลาง ยาวประมาณ ๗๐ ซม. ส่วนพัดที่มีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า “ พัดยศ ” นั้นเป็นพัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่พระสงฆ์พร้อมกับพระราชทานสมณศักดิ์ เพื่อเป็นสิ่งประกาศเกียรติคุณหรือบอกชั้นยศที่พระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานนั้นว่า เป็นชั้นอะไร คล้ายๆกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ข้าราชการหรือประชาชนได้รับ ซึ่งพัดยศที่เราเห็นจะมี ๔ ลักษณะ คือ

                 ๑.พัดหน้านาง มีลักษณะอย่างที่กล่าวข้างต้น เป็นพัดยศสมณศักดิ์ระดับพระครูฐานานุกรมขึ้นไป รวมทั้งเป็นพัดยศเปรียญด้วย ๒.พัดพุดตาน มีลักษณะเป็นวงกลม รอบนอกหยักเป็นแฉกคล้ายกลีบบัว เป็นพัดยศสมณศักดิ์ตั้งแต่ระดับพระปลัด พระครูปลัด ขึ้นไปจนถึงชั้นพระครูสัญญาบัตร ๓.พัดแฉกเปลวเพลิง ใบพัดจะมีลักษณะทรงพุ่มเข้าบิณฑ์ มีแฉกคล้ายเปลวเพลิง เป็นพัดยศสมณศักดิ์ระดับพระครูเจ้าคณะจังหวัด และพระครูเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ๔.พัดแฉก ใบพัดมีลักษณะเป็นแฉกทรงพุ่มเข้าบิณฑ์ มีกลีบอย่างน้อย ๕-๙ กลีบ เป็นพัดยศตั้งแต่ระดับพระราชาคณะถึงสมเด็จพระราชาคณะ สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอย่างหนึ่งของพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะหรือราชาคณะ เมื่อได้รับพระราชทาน “ ตาลปัตรแฉก ” เป็นพัดยศ เมื่อได้รับนิมนต์ให้เข้าไปถวายพระธรรมเทศนาในงานพระราชพิธีต่างๆ จะต้องนำพัดเข้าไป ๒ เล่ม คือ “ พัดยศ ” ประกอบสมณศักดิ์เล่มหนึ่ง และ “ พัดรอง ” อีกเล่ม เมื่อขึ้นธรรมาสน์ถวายศีลนั้น กำหนดให้ใช้พัดรอง ครั้งจบพระธรรมเทศนาแล้ว เมื่อจะถวายอนุโมทนาและถวายอดิเรกจึงจะใช้พัดยศ

                 สำหรับ “ ตาลปัตร ” ที่เราทำถวายพระไม่ว่าจะเนื่องใตวันเกิด วันสถาปนาหน่วยงาน หรือในพิธีการต่างๆ ส่วนใหญ่ก็คือ “ พัดรอง ” ที่กล่าวถึงข้างต้นนั่นเอง

........................................................... ..............

อมรรัตน์ เทพกำปนาท

กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

เรียบเรียงจากหนังสือตาลปัตรและเครื่องประกอบสมณศักดิ์ ของณัฎฐภัทร จันทวนิช

และประวัติ สมณศักดิ์และพัดยศโดยวิเชียร อากาศฤกษ์และสุนทร สุภูตะโยธิน


© ลิขสิทธิ์ของ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
Copyright by Office of the National Culture Commission in Ministry of Culture

 
  ไหว้ ไหว้ ไหว้

ที่มา http://www.culture.go.th/study.php?&YY=2549&MM=12&DD=5


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 09, 2009, 09:05:25 PM โดย คูณ 3 superแก๊งค์ » บันทึกการเข้า

***....จงมีและใช้ธรรมะ    เป็นเครื่องมือ เป็นอาวุธ ....***
วัฒน์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4114
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17223


เนรเทศยกโคตรดีกว่านิรโทษยกเข่ง


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 09, 2009, 09:12:03 PM »

 ไหว้ ขอบคุณครับ สำหรับเนื้อหาสาระที่นำมาเผยแพร่ +1 ให้ครับ
บันทึกการเข้า

ฟ้าและดินไม่เห็นไม่เป็นไร ไม่ได้หวังให้ใครจดจำ
แม้ยากเย็นแค่ไหน ไม่เคยบ่นสักคำ ไม่มีใครจดจำ แต่เราก็ยังภูมิใจ

จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา จะยอมรับโชคชะตาไม่ว่าดีร้าย
ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ถึงเวลาก็ต้องไป เหลือไว้แต่คุณงามความดี
คูณ 3 superแก๊งค์
Sr. Member
****

คะแนน 40
ออฟไลน์

กระทู้: 790



« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 09, 2009, 09:19:26 PM »

ไหว้ ขอบคุณครับ สำหรับเนื้อหาสาระที่นำมาเผยแพร่ +1 ให้ครับ

ขอบคุณครับพี่วัฒน์ +1ตอบแทนเช่นกันครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า

***....จงมีและใช้ธรรมะ    เป็นเครื่องมือ เป็นอาวุธ ....***
ตึก
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 150
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2042


บิดามารดาคือพระประจำตัวลูก


« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 09, 2009, 09:25:58 PM »

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
บันทึกการเข้า
Choro - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 214
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3853



« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 07:34:00 PM »

 ไหว้  ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

สุดท้ายชีวิตไม่ขอรวย ขอแค่ไม่ป่วยก็พอแล้ว
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #5 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 07:46:19 PM »

ขอบคุณครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
Sticker
Hero Member
*****

คะแนน 90
ออฟไลน์

กระทู้: 2160



« ตอบ #6 เมื่อ: มกราคม 12, 2009, 07:02:37 AM »

ขอบคุณครับ. ไหว้
บันทึกการเข้า

ความจำสั้น     แต่รักฉันยาว ...
สีอำพัน-รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 258
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4432



« ตอบ #7 เมื่อ: มกราคม 12, 2009, 09:56:10 AM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

อันวันใดไม่สำคัญเท่าวันนี้ เป็นวันที่สำคัญกว่าวันไหน
อันวันนี้สำคัญกว่าวันใด  วันไหนไหนไม่สำคัญเท่าวันนี้
thitipun-รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 108
ออฟไลน์

กระทู้: 846


c.a.s.c. "changaut alumni shooting club"


« ตอบ #8 เมื่อ: มกราคม 12, 2009, 10:01:16 AM »

ขอบคุณสำหรับความรู้ เพื่อเป็นวิทยาทานครับ
บันทึกการเข้า

หัวใจหนุ่มในร่างที่แก่ ดีกว่า หัวใจท้อแท้ในร่างที่หนุ่ม
dechdee
Jr. Member
**

คะแนน 7
ออฟไลน์

กระทู้: 71



« ตอบ #9 เมื่อ: มกราคม 12, 2009, 12:58:05 PM »

ขอบพระคุณมากครับ.....Smiley
บันทึกการเข้า
จินตา <Jinta>
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 89
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2373


« ตอบ #10 เมื่อ: มกราคม 12, 2009, 08:05:10 PM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
ผู้น้อย
Full Member
***

คะแนน 13
ออฟไลน์

กระทู้: 276



« ตอบ #11 เมื่อ: มกราคม 21, 2009, 11:20:17 PM »

ได้ความรู้ดีครับ Grin
บันทึกการเข้า
visith
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 474
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9438



« ตอบ #12 เมื่อ: มกราคม 22, 2009, 08:28:04 AM »

..ขอบคุณครับ..
..ประโยชน์อีกอย่าง..ผมเห็นพระบางองค์จดคำสวดแปะไว้หลังตาลปัตร..
บันทึกการเข้า



"ร่วมส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิการใช้อาวุธปืนของประชาชน"
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 22 คำสั่ง