กรณีถูกเลิกจ้าง
จาก พระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑
ใน หมวด ๑๑
ค่าชดเชย
มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา ๑๒๑ และลูกจ้างนั้น
ทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา
๑๑๘ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของ
การทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย
คำนวณเป็นหน่วย แต่ค่าชดเชยตามมาตรานี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหก
สิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม
ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ กรณีระยะเวลาทำงานไม่ครบหนึ่งปี
ถ้าเศษของระยะเวลาทำงานมากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี
เรียนท่านผู้รู้ช่วยตีความให้หน่อยครับ ในส่วนของ "ทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา
๑๑๘ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของ
การทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย
คำนวณเป็นหน่วย"
คำนวณโดยการนับตั้งแต่ปีที่เจ็ดเลยหรือเปล่าครับ
เช่น ทำงานมา 15 ปีนอกจากได้รับค่าชดเชยตามมาตรา
๑๑๘ แล้วจะต้องได้รับค่าชดเชยพิเศษอีกเท่าไรครับ
เพิ่งเข้ามาครับ...
ก่อนอื่นต้องดูสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม ม.๑๒๒ ก่อนนะครับ
เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด ลูกจ้างมีสิทธิรับค่าชดเชยตาม ม.๑๑๘ อันนี้คงเข้าใจแล้วนะครับ
กรณีที่ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม ม.๑๒๒ นั้น ต้องเข้าองค์ประกอบถูกเลิกจ้างอันเนื่องมาจากเหตุตาม ม.๑๒๑ เท่านั้น
คือ..นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้าง
การพิจารณาเมื่อลูกจ้างมีสิทธิรับค่าชดเชยพิเศษเฉพาะลูกจ้างทำงานเกิน 6 ปีเท่านั้นครับ จะได้รับตามสิทธิ ม. ๑๒๒ มาตรา ๑๒๑ ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้าง ห้ามมิให้นำมาตรา ๑๗ วรรคสอง มาใช้บังคับ และให้นายจ้างแจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้างและรายชื่อลูกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง
ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะได้รับค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยด้วย
ในกรณีที่มีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย
มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา ๑๒๑ และลูกจ้างนั้นทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย แต่ค่าชดเชยตามมาตรานี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ กรณีระยะเวลาทำงานไม่ครบหนึ่งปี ถ้าเศษของระยะเวลาทำงานมากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี ก็ + เพิ่มเข้าไปจากที่ได้เดิม ตามกฎหมายกำหนด

พ.ร.บ. นี้ผมเข้าใจว่าใช้มานานแล้วแต่ที่ผ่านมาเมื่อถูกเลิกจ้างเหมือนไม่ได้รับสิทธิตรงนี้

ต้องขออภัยท่านที่เป็นนายจ้างในที่นี้ด้วยไม่ได้มีเจตนาที่จะปลุกระดมหรือเรียกร้องแต่เมื่อเห็นในตัวกฏหมายแล้ว
มันควรจะเป็นเช่นนั้น ควรที่จะได้รับสิทธิ ยิ่งในสถานการปัจจุบันมีการเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก อย่างที่บริษัทผมเร็วๆนี้จะปลดพนักงาน
ประมาณ 1500 คน ผมจึงหวังว่าจากคำตอบของท่านสมาชิกคงจะเป็นวิทยาทาน และให้ความเข้าใจในกรณีดังกล่าว ครับ

ถูกต้องครับ ม. ๑๒๒ นี้ใช้มาพร้อมกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ๒๕๔๑ แล้วนะครับ
แต่ปรากฎว่าไม่ค่อยมีคดีขึ้นมาสู่ศาล ผมเข้าใจว่า การเลิกจ้างของนายจ้างคงไม่อ้างเหตุการเลิกจ้างด้วยวิธีนี้
ซึ่งจะทำให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้น ส่วนมากอ้างเหตุขาดทุน หรือกิจการไปไม่รอด
วิธีนี้จะทำให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตาม ม.๑๑๘ เท่านั้นครับ