เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 15, 2024, 11:22:31 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ช่วยตีความให้หน่อยครับ  (อ่าน 2514 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น้องมิลค์
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 10
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 183



« เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 02:38:17 AM »

กรณีถูกเลิกจ้าง

จาก พระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑
ใน หมวด ๑๑
ค่าชดเชย
มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา ๑๒๑ และลูกจ้างนั้น
ทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา
๑๑๘ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของ
การทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย
คำนวณเป็นหน่วย
แต่ค่าชดเชยตามมาตรานี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหก
สิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม
ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ กรณีระยะเวลาทำงานไม่ครบหนึ่งปี
ถ้าเศษของระยะเวลาทำงานมากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี

เรียนท่านผู้รู้ช่วยตีความให้หน่อยครับ ในส่วนของ  "ทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา
๑๑๘ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของ
การทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย
คำนวณเป็นหน่วย"
คำนวณโดยการนับตั้งแต่ปีที่เจ็ดเลยหรือเปล่าครับ
เช่น ทำงานมา 15 ปีนอกจากได้รับค่าชดเชยตามมาตรา
๑๑๘ แล้วจะต้องได้รับค่าชดเชยพิเศษอีกเท่าไรครับ

บันทึกการเข้า
USP40
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 05:51:50 AM »

ท่านนาจางานเข้าครับ
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 07:52:23 PM »

ก็ + เพิ่มเข้าไปจากที่ได้เดิม  ตามกฎหมายกำหนด  Cheesy
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
น้องมิลค์
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 10
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 183



« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 11, 2009, 11:24:54 PM »

ก็ + เพิ่มเข้าไปจากที่ได้เดิม  ตามกฎหมายกำหนด  Cheesy

พ.ร.บ. นี้ผมเข้าใจว่าใช้มานานแล้วแต่ที่ผ่านมาเมื่อถูกเลิกจ้างเหมือนไม่ได้รับสิทธิตรงนี้
 ไหว้ต้องขออภัยท่านที่เป็นนายจ้างในที่นี้ด้วยไม่ได้มีเจตนาที่จะปลุกระดมหรือเรียกร้องแต่เมื่อเห็นในตัวกฏหมายแล้ว
มันควรจะเป็นเช่นนั้น ควรที่จะได้รับสิทธิ ยิ่งในสถานการปัจจุบันมีการเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก อย่างที่บริษัทผมเร็วๆนี้จะปลดพนักงาน
ประมาณ 1500 คน ผมจึงหวังว่าจากคำตอบของท่านสมาชิกคงจะเป็นวิทยาทาน และให้ความเข้าใจในกรณีดังกล่าว ครับ ไหว้
บันทึกการเข้า
นาจา™รักในหลวง
คุณธรรม...นำสู่ยุติธรรม
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 268
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11147



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 12, 2009, 09:00:26 PM »

กรณีถูกเลิกจ้าง

จาก พระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑
ใน หมวด ๑๑
ค่าชดเชย
มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา ๑๒๑ และลูกจ้างนั้น
ทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา
๑๑๘ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของ
การทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย
คำนวณเป็นหน่วย
แต่ค่าชดเชยตามมาตรานี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหก
สิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม
ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ กรณีระยะเวลาทำงานไม่ครบหนึ่งปี
ถ้าเศษของระยะเวลาทำงานมากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี

เรียนท่านผู้รู้ช่วยตีความให้หน่อยครับ ในส่วนของ  "ทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา
๑๑๘ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของ
การทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย
คำนวณเป็นหน่วย"
คำนวณโดยการนับตั้งแต่ปีที่เจ็ดเลยหรือเปล่าครับ
เช่น ทำงานมา 15 ปีนอกจากได้รับค่าชดเชยตามมาตรา
๑๑๘ แล้วจะต้องได้รับค่าชดเชยพิเศษอีกเท่าไรครับ



เพิ่งเข้ามาครับ...
ก่อนอื่นต้องดูสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม ม.๑๒๒ ก่อนนะครับ
เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด ลูกจ้างมีสิทธิรับค่าชดเชยตาม ม.๑๑๘ อันนี้คงเข้าใจแล้วนะครับ

กรณีที่ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม ม.๑๒๒ นั้น ต้องเข้าองค์ประกอบถูกเลิกจ้างอันเนื่องมาจากเหตุตาม ม.๑๒๑ เท่านั้น
คือ..นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้าง


การพิจารณาเมื่อลูกจ้างมีสิทธิรับค่าชดเชยพิเศษเฉพาะลูกจ้างทำงานเกิน 6 ปีเท่านั้นครับ จะได้รับตามสิทธิ ม. ๑๒๒


มาตรา ๑๒๑  ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้าง ห้ามมิให้นำมาตรา ๑๗ วรรคสอง มาใช้บังคับ และให้นายจ้างแจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้างและรายชื่อลูกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง

ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะได้รับค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยด้วย

ในกรณีที่มีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย

มาตรา ๑๒๒  ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา ๑๒๑ และลูกจ้างนั้นทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย แต่ค่าชดเชยตามมาตรานี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ กรณีระยะเวลาทำงานไม่ครบหนึ่งปี ถ้าเศษของระยะเวลาทำงานมากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี 



ก็ + เพิ่มเข้าไปจากที่ได้เดิม  ตามกฎหมายกำหนด  Cheesy

พ.ร.บ. นี้ผมเข้าใจว่าใช้มานานแล้วแต่ที่ผ่านมาเมื่อถูกเลิกจ้างเหมือนไม่ได้รับสิทธิตรงนี้
 ไหว้ต้องขออภัยท่านที่เป็นนายจ้างในที่นี้ด้วยไม่ได้มีเจตนาที่จะปลุกระดมหรือเรียกร้องแต่เมื่อเห็นในตัวกฏหมายแล้ว
มันควรจะเป็นเช่นนั้น ควรที่จะได้รับสิทธิ ยิ่งในสถานการปัจจุบันมีการเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก อย่างที่บริษัทผมเร็วๆนี้จะปลดพนักงาน
ประมาณ 1500 คน ผมจึงหวังว่าจากคำตอบของท่านสมาชิกคงจะเป็นวิทยาทาน และให้ความเข้าใจในกรณีดังกล่าว ครับ ไหว้

ถูกต้องครับ ม. ๑๒๒ นี้ใช้มาพร้อมกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ๒๕๔๑ แล้วนะครับ
แต่ปรากฎว่าไม่ค่อยมีคดีขึ้นมาสู่ศาล ผมเข้าใจว่า การเลิกจ้างของนายจ้างคงไม่อ้างเหตุการเลิกจ้างด้วยวิธีนี้
ซึ่งจะทำให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้น ส่วนมากอ้างเหตุขาดทุน หรือกิจการไปไม่รอด
วิธีนี้จะทำให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตาม ม.๑๑๘ เท่านั้นครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 12, 2009, 09:25:34 PM โดย นาจา » บันทึกการเข้า

อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
น้องมิลค์
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 10
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 183



« ตอบ #5 เมื่อ: มกราคม 13, 2009, 02:31:43 AM »

กรณีถูกเลิกจ้าง

จาก พระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑
ใน หมวด ๑๑
ค่าชดเชย
มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา ๑๒๑ และลูกจ้างนั้น
ทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา
๑๑๘ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของ
การทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย
คำนวณเป็นหน่วย
แต่ค่าชดเชยตามมาตรานี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหก
สิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม
ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ กรณีระยะเวลาทำงานไม่ครบหนึ่งปี
ถ้าเศษของระยะเวลาทำงานมากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี

เรียนท่านผู้รู้ช่วยตีความให้หน่อยครับ ในส่วนของ  "ทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา
๑๑๘ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของ
การทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย
คำนวณเป็นหน่วย"
คำนวณโดยการนับตั้งแต่ปีที่เจ็ดเลยหรือเปล่าครับ
เช่น ทำงานมา 15 ปีนอกจากได้รับค่าชดเชยตามมาตรา
๑๑๘ แล้วจะต้องได้รับค่าชดเชยพิเศษอีกเท่าไรครับ



เพิ่งเข้ามาครับ...
ก่อนอื่นต้องดูสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม ม.๑๒๒ ก่อนนะครับ
เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด ลูกจ้างมีสิทธิรับค่าชดเชยตาม ม.๑๑๘ อันนี้คงเข้าใจแล้วนะครับ

กรณีที่ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม ม.๑๒๒ นั้น ต้องเข้าองค์ประกอบถูกเลิกจ้างอันเนื่องมาจากเหตุตาม ม.๑๒๑ เท่านั้น
คือ..นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้าง


การพิจารณาเมื่อลูกจ้างมีสิทธิรับค่าชดเชยพิเศษเฉพาะลูกจ้างทำงานเกิน 6 ปีเท่านั้นครับ จะได้รับตามสิทธิ ม. ๑๒๒


มาตรา ๑๒๑  ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้าง ห้ามมิให้นำมาตรา ๑๗ วรรคสอง มาใช้บังคับ และให้นายจ้างแจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้างและรายชื่อลูกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง

ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะได้รับค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยด้วย

ในกรณีที่มีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย

มาตรา ๑๒๒  ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา ๑๒๑ และลูกจ้างนั้นทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย แต่ค่าชดเชยตามมาตรานี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ กรณีระยะเวลาทำงานไม่ครบหนึ่งปี ถ้าเศษของระยะเวลาทำงานมากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี 



ก็ + เพิ่มเข้าไปจากที่ได้เดิม  ตามกฎหมายกำหนด  Cheesy

พ.ร.บ. นี้ผมเข้าใจว่าใช้มานานแล้วแต่ที่ผ่านมาเมื่อถูกเลิกจ้างเหมือนไม่ได้รับสิทธิตรงนี้
 ไหว้ต้องขออภัยท่านที่เป็นนายจ้างในที่นี้ด้วยไม่ได้มีเจตนาที่จะปลุกระดมหรือเรียกร้องแต่เมื่อเห็นในตัวกฏหมายแล้ว
มันควรจะเป็นเช่นนั้น ควรที่จะได้รับสิทธิ ยิ่งในสถานการปัจจุบันมีการเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก อย่างที่บริษัทผมเร็วๆนี้จะปลดพนักงาน
ประมาณ 1500 คน ผมจึงหวังว่าจากคำตอบของท่านสมาชิกคงจะเป็นวิทยาทาน และให้ความเข้าใจในกรณีดังกล่าว ครับ ไหว้

ถูกต้องครับ ม. ๑๒๒ นี้ใช้มาพร้อมกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ๒๕๔๑ แล้วนะครับ
แต่ปรากฎว่าไม่ค่อยมีคดีขึ้นมาสู่ศาล ผมเข้าใจว่า การเลิกจ้างของนายจ้างคงไม่อ้างเหตุการเลิกจ้างด้วยวิธีนี้
ซึ่งจะทำให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้น ส่วนมากอ้างเหตุขาดทุน หรือกิจการไปไม่รอด
วิธีนี้จะทำให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตาม ม.๑๑๘ เท่านั้นครับ


ขอเรียนถามอีกนิดหนึ่งครับ
ถ้านายจ้างอ้างเหตุขาดทุน หรือกิจการไปไม่รอด
ค่าชดเชยตาม มาตรา ๑๒๑ และ มาตรา ๑๒๒ เราก็จะไม่ได้รับ
และนายจ้างก็ทำได้โดยถูกต้องตามกฏหมายด้วย ใช่ใหมครับ 

บันทึกการเข้า
นาจา™รักในหลวง
คุณธรรม...นำสู่ยุติธรรม
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 268
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11147



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: มกราคม 13, 2009, 07:12:51 AM »

ขอเรียนถามอีกนิดหนึ่งครับ
ถ้านายจ้างอ้างเหตุขาดทุน หรือกิจการไปไม่รอด
ค่าชดเชยตาม มาตรา ๑๒๑ และ มาตรา ๑๒๒ เราก็จะไม่ได้รับ
และนายจ้างก็ทำได้โดยถูกต้องตามกฏหมายด้วย ใช่ใหมครับ 


สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทน...
การเลิกจ้าง นายจ้างจะอ้างเหตุ หรือไม่อ้างเหตุ เมื่อมีการเลิกจ้างโดยไม่ใช่ความผิดของลูกจ้าง
เมื่อเลิกจ้าง นายจ้างก็ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายครับ
กรณีใดบ้างถือว่าเป็นการเลิกจ้าง เช่น
1. เลิกจ้างโดยตรง คือ การกระทำที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้
2. เลิกจ้างโดยปริยาย คือ การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน และไม่ได้รับค่าจ้าง เพราะเหตุนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
เช่นนี้ ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย ตาม ม. ๑๑๘ , ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นต้น

มาตรา ๑๑๘   ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(๑) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๒) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๓) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๔) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๕) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น

การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 13, 2009, 07:15:46 AM โดย นาจา » บันทึกการเข้า

อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
จินตา <Jinta>
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 89
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2373


« ตอบ #7 เมื่อ: มกราคม 13, 2009, 07:36:32 AM »

ตามมาเก็บความรู้ครับ สงสัยอยู่เหมือนกันครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
STeelShoTS
Mossy Oak Duck Blind
Hero Member
*****

คะแนน 534
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6303


If you heard my shot. You were not the target.


« ตอบ #8 เมื่อ: มกราคม 13, 2009, 09:59:10 AM »

 สรุปง่ายๆว่า... ถ้านายจ้างจ่ายค่าชดเชยตาม ม.122  ตามลักษณะการเลิกจ้าง ม. 121   

    .... ถ้า จขกท. ทำงานเกิน 6 ปี ขึ้นไป จะได้รับค่าชดเชย ปีละ ครึ่งเดือน (15 วัน)
      กรณี จขกท. ทำงานมา 15 ปี  นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มอีก 7.5 เดือน.......

                      น่าจะแบบนี้...............

  ปล.   ถึงแม้ว่าอายุงานแก่กว่านี้ เช่นเกิน 24 ปี  ยังไงก็จ่ายไม่เกิน 12 เดือน ( 360 วัน)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 13, 2009, 10:24:15 AM โดย STeelShoTS » บันทึกการเข้า

Natural resources is sufficient for human's need,but not for human's greed
น้องมิลค์
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 10
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 183



« ตอบ #9 เมื่อ: มกราคม 13, 2009, 09:08:59 PM »

สรุปง่ายๆว่า... ถ้านายจ้างจ่ายค่าชดเชยตาม ม.122  ตามลักษณะการเลิกจ้าง ม. 121   

    .... ถ้า จขกท. ทำงานเกิน 6 ปี ขึ้นไป จะได้รับค่าชดเชย ปีละ ครึ่งเดือน (15 วัน)
      กรณี จขกท. ทำงานมา 15 ปี  นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มอีก 7.5 เดือน.......

                      น่าจะแบบนี้...............

  ปล.   ถึงแม้ว่าอายุงานแก่กว่านี้ เช่นเกิน 24 ปี  ยังไงก็จ่ายไม่เกิน 12 เดือน ( 360 วัน)

ถ้านายจ้างอ้างเหตุขาดทุน หรือกิจการไปไม่รอด  ตามที่ท่านนาจาแนะนำ เราคงไม่ได้รับค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา ๑๒๑ และ มาตรา ๑๒๒ แน่ครับ
บันทึกการเข้า
น้องมิลค์
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 10
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 183



« ตอบ #10 เมื่อ: มกราคม 13, 2009, 09:11:30 PM »

ขอบคุณท่านนาจาครับ ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 21 คำสั่ง