เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 04, 2024, 04:21:20 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมนายทะเบียนแต่ละพื้นที่มีดุลพินิจต่างกัน  (อ่าน 4599 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
k1
Jr. Member
**

คะแนน 8
ออฟไลน์

กระทู้: 50


« เมื่อ: มกราคม 31, 2009, 03:34:34 PM »

ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในหมวด3เรื่องสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยก็ระบุชัดเจนแล้วว่า
ชนชาวไทยทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่ทำไมเวลาท่านสมช.ยื่นคำร้องขออนุญาตซื้ออาวุธปืนถึงต้องมีสาเหตุต่างๆนาๆ
จากนายทะเบียนอาวุธทั้งๆที่คุณสมบัติของผู้ยื่นคำร้องก็สามารถตรวจสอบได้ว่าขาดหรือไม่ขาดคุณสมบัติของพรบ.อาวุธ
ปืนปี2490และฉบับแก้ใขเพิ่มเติมและบางพื้นที่ก็มีเจ้าหน้าที่แอบอ้างหาผลประโยชน์จากท่านสมช.บางทีก็อ้างหนังสือ
สังการอ้างถึงกรณีสั้น1ยาว1แถมนายทะเบียนยังไม่อนุญาตขนาด.357และขนาด.45โดยอ้างว่าเป็นอาวุธที่ร้ายแรงและ
เป็นอาวุธสงครามไม่สามารถให่ประชาชนมีไว้ครอบครองได้แต่ทราบว่าในส่วนกลางให้ไปขอใบรับรองว่าเพื่อเป็นการกีฬา
ก็สามารถจะอนุญาต ที่ผมโพสน์มานี่ไม่ใช่ผมได้รับผลกระทบจากการขออนุญาตไม่ได้นะครับผมอ่านข้อมูลต่างๆนี้แทบทุกวัน
ผมเห็นใจท่านสมช.ทุกๆท่านที่รักอาวุธปืนที่ประสบกับปัญหาจากดุลพินิจของนายทะเบียนตัวผมเองเล่นและสะสมอาวุธ
มากว่า30ปีมีมาแล้วเกือบทุกขนาดเดี๋ยวนี้เหลือสะสมเพียง5กระบอกเท่านั้นและ2ใน5ก็เป็นขนาดที่นายทะเบียนอ้างเป็น
อาวุธร้ายแรง ผมอยากให้ท่านสมช.ช่วยกันคิดช่วยกันหาแนวทางแก้ใขการขออนุญาตที่ยากลำบากแสนเข็ญต่อไป




บันทึกการเข้า
-Joke-
Vive la liberté de parole et d'opinion!
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน -459
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4225


^_^


« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 31, 2009, 04:24:57 PM »

คงจะเป็นเพราะ

ความรู้ การศึกษา ทัศนคติ สิ่งแวดล้อม และความแตกต่างระหว่างบุคคล ครับ
บันทึกการเข้า

A la volonté du peuple
Et à la santé du progrès,
Remplis ton cœur d'un vin rebelle
Et à demain, ami fidèle.
Nous voulons faire la lumière
Malgré le masque de la nuit
Pour illuminer notre terre
Et changer la vie.
Mr.pom
คุณไม่อาจอยู่เหนือโลกได้ หากคุณแบกโลกไว้บนบ่า
Full Member
***

คะแนน 22
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 295



« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 31, 2009, 05:15:08 PM »

แต่ละท่านมีความคิดไม่เหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า

-'๑'- อย่าไล่สุนัขให้จนตรอก อย่าต้อนคนให้จนมุม -'๑'-
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 31, 2009, 05:30:01 PM »

เพราะท่านเหล่านั้นเข้าใจผิด คิดว่าเป็น"ดุลยพินิจ"ไงครับ...

ตามหลักการแล้วการจำกัดสิทธิของประชาชน ต้องมีกฏหมายรองรับเสมอ... หากไม่ห้าม แปลว่าทำได้ครับ แบบเดียวกับป้ายห้ามจอดข้างทาง หากไม่เห็นป้ายห้ามฯ แปลว่าจอดได้...

การใช้"ดุลยพินิจ"นั้น...
เพื่อให้พิจารณาว่า"คุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่?" แต่ไม่ใช่ให้พิจารณาว่าจะ"อนุญาตหรือไม่?"... เพราะการจำกัดสิทธิ ต้องทำได้ด้วยการออกกฏหมายเท่านั้น โดยไม่สามารถใช้ดุลยพินิจของบุคคล(ข้าราชการ)จำกัดสิทธิประชาชนครับ...

นายทะเบียนทั้งหลายต่างสำคัญผิดครับ... รายละเอียดอยู่ในคำพิพากษาศาลปกครองของพี่เสกฯ ในเว็บนี้แหละครับ... ลองค้นดูเถิด....

ที่มหาดไทยยังดื้อทำเช่นนี้อยู่ เป็นเรื่องของการดึงเรื่องให้ผู้ขออนุญาตชั่งน้ำหนักว่าจะยอมยุ่งยากฟ้องศาลหรือไม่...

นายสมชายอยากเปรียบเทียบว่า... ก็ทำนองเดียวกับบริษัทประกันรถยนต์ชอบถ่วงเรื่องกับคนเอาประกันเพื่อกดค่าสินไหม ค่าเสียหายให้ต่ำๆ กับคนที่กำลังเดือดร้อน... หากไม่ยอมให้ไปฟ้องศาลเอา...
บันทึกการเข้า
ต้นหนาว
CE KKU
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1397
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9433



« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 31, 2009, 05:42:13 PM »

ผมเคยเจอกับตัวเองแล้วครับ...
นาย..พูดว่า  มันอยู่ที่ ดุลยพินิจ ของผมว่าให้ใครหรือไม่ให้ใคร... ยี๊ ยี๊ ยี๊
บันทึกการเข้า

  
atom_99_atom
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 350
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2172



« ตอบ #5 เมื่อ: มกราคม 31, 2009, 09:12:43 PM »

มาจากสำคัญๆ สามส่วนครับ
ส่วนแรกเรื่อง ยีนส์หรือพันธุกรรม ติดมาอย่างไรส่วนใหญ่ก็จะไปอย่างนั้น
ส่วนสองเรื่อง สิ่งแวดล้อม ใกล้อย่างไร เป็นไปอย่างนั้น
ส่วนสามเรื่อง การศึกษา หากหล่อหลอมดี สามารถเบี่ยงเบนส่วนแรกกับส่วนสองได้ กลายเป็นคนดีครับ
บันทึกการเข้า
ธำรง
Hero Member
*****

คะแนน 1727
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8568


.....รักในหลวง.....


« ตอบ #6 เมื่อ: มกราคม 31, 2009, 09:13:02 PM »

ผมเคยเจอกับตัวเองแล้วครับ...
นาย..พูดว่า  มันอยู่ที่ ดุลยพินิจ ของผมว่าให้ใครหรือไม่ให้ใคร... ยี๊ ยี๊ ยี๊

เสียดายผมไม่เคยได้เจอนายทะเบียนฯพูดแบบนี้ซักที...... ขำก๊าก

ขอเสริมท่านสมชายในข้อกฎหมายว่า พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ บัญญัติว่า ....
     มาตรา ๓๗  คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย

    (๑)  ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
    (๒)  ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
    (๓)  ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
....................

หมายความว่า การใช้ดุลพินิจออกคำสั่งทางปกครองใดๆต้องให้เหตุผลสามข้อนี้
ขาดข้อใดไป ก็เป็นการออกคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

มันไม่ใช่เรื่องดุลพินิจ.........มันเป็นเรื่องของความไม่รู้ ประกอบกับความกล้าความขลาด ต่างหาก   ไหว้






บันทึกการเข้า
Ki-jang-aey
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 62
ออฟไลน์

กระทู้: 363


« ตอบ #7 เมื่อ: มกราคม 31, 2009, 09:27:09 PM »

ขอบคุณจขกท. ที่ยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดคุยกันครับ......
ขอบคุณพี่สมชาย(ฮา), พี่ธำรง และท่านอื่นๆ ที่จะโพสต์เข้ามากันอีก...

ผมมีความเห็นเพิ่มอีกอย่างหนึ่งว่า น่าจะมีบทลงโทษยึดอาวุธทั้งหมดที่มีเสียด้วยซ้ำถ้าผู้ที่ได้รับอนุญาติรายใด นำอาวุธไปทำผิดที่ไม่ใช่เป็นการป้องกันชีวิตหรือทรัพย์สิน ...อย่างเช่นของนายแรมบ้า เมื่อครั้งที่เอาอาวุธสงครามไปถล่มโรงพักครั้งก่อน....หรืออย่างวันนี้ล่าสุดที่มีตำรวจระดับรองผบ.หมู่ นายหนึ่งขณะที่อยู่นอกเครื่องแบบ ดันไปยิงพลทหาร (ทอ.) ตาย หลังจากที่มีอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกันเล็กน้อย Cheesy Cheesy Cheesy

นั่นหมายถึงว่า...ถ้าผมหรือท่านอื่นๆได้รับอนุญาติให้มีและครองครองอาวุธได้ (ไม่ว่าจะกี่กระบอกก็ตาม) แต่ต่อมาเกิดไปกระทำผิดโดยอาวุธ โดยทีไม่ใช่เป็นการป้องกันชีวิตหรือทรัพย์สิน (คือใช้อาวุธไประรานชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาวุธที่ได้รับอนุญาตหรืออาวุธที่ไม่ได้รับอนุญาต) ก็ให้แถมด้วยโทษยึดอาวุธทั้งหมดไปด้วยเลย........

เพราะจะเป็นไปในทำนองของการยึดทรัพย์ของพวกที่ทำผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน หรือยาเสพติด...อะไรทำนองนี้ Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า
ManStopper
Hero Member
*****

คะแนน 89
ออฟไลน์

กระทู้: 1316



« ตอบ #8 เมื่อ: มกราคม 31, 2009, 09:30:04 PM »

เพราะท่านเหล่านั้นเข้าใจผิด คิดว่าเป็น"ดุลยพินิจ"ไงครับ...

ตามหลักการแล้วการจำกัดสิทธิของประชาชน ต้องมีกฏหมายรองรับเสมอ... หากไม่ห้าม แปลว่าทำได้ครับ แบบเดียวกับป้ายห้ามจอดข้างทาง หากไม่เห็นป้ายห้ามฯ แปลว่าจอดได้...

การใช้"ดุลยพินิจ"นั้น...
เพื่อให้พิจารณาว่า"คุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่?" แต่ไม่ใช่ให้พิจารณาว่าจะ"อนุญาตหรือไม่?"... เพราะการจำกัดสิทธิ ต้องทำได้ด้วยการออกกฏหมายเท่านั้น โดยไม่สามารถใช้ดุลยพินิจของบุคคล(ข้าราชการ)จำกัดสิทธิประชาชนครับ...

นายทะเบียนทั้งหลายต่างสำคัญผิดครับ... รายละเอียดอยู่ในคำพิพากษาศาลปกครองของพี่เสกฯ ในเว็บนี้แหละครับ... ลองค้นดูเถิด....

ที่มหาดไทยยังดื้อทำเช่นนี้อยู่ เป็นเรื่องของการดึงเรื่องให้ผู้ขออนุญาตชั่งน้ำหนักว่าจะยอมยุ่งยากฟ้องศาลหรือไม่...

นายสมชายอยากเปรียบเทียบว่า... ก็ทำนองเดียวกับบริษัทประกันรถยนต์ชอบถ่วงเรื่องกับคนเอาประกันเพื่อกดค่าสินไหม ค่าเสียหายให้ต่ำๆ กับคนที่กำลังเดือดร้อน... หากไม่ยอมให้ไปฟ้องศาลเอา...

ผมเคยเจอกับตัวเองแล้วครับ...
นาย..พูดว่า  มันอยู่ที่ ดุลยพินิจ ของผมว่าให้ใครหรือไม่ให้ใคร... ยี๊ ยี๊ ยี๊

เสียดายผมไม่เคยได้เจอนายทะเบียนฯพูดแบบนี้ซักที...... ขำก๊าก

ขอเสริมท่านสมชายในข้อกฎหมายว่า พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ บัญญัติว่า ....
     มาตรา ๓๗  คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย

    (๑)  ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
    (๒)  ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
    (๓)  ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
....................

หมายความว่า การใช้ดุลพินิจออกคำสั่งทางปกครองใดๆต้องให้เหตุผลสามข้อนี้
ขาดข้อใดไป ก็เป็นการออกคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

มันไม่ใช่เรื่องดุลพินิจ.........มันเป็นเรื่องของความไม่รู้ ประกอบกับความกล้าความขลาด ต่างหาก   ไหว้








อยากให้นายทะเบียนมาเห็นจัง จะได้เข้าใจกันบ้างว่าจริงๆมันเป็นอย่างไร   เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม ไหว้
บันทึกการเข้า
วุธ อุดร -รักในหลวง~
เชื่อเขา เราเจริญ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 198
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2896



« ตอบ #9 เมื่อ: มกราคม 31, 2009, 09:32:56 PM »

นิ้วมือคนยังสั้นยาวไม่เท่ากันเลยครับ
แล้วจะให้ดุลพินิจ หรือความคิดของทุกคนเท่ากันหรือครับ Undecided
บันทึกการเข้า

ลูกต้นแม่น้ำเจ้าพระยา  มาติดปลาร้าอยู่อุดร
kai850
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 38
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678


เรารักในหลวงครับ


« ตอบ #10 เมื่อ: มกราคม 31, 2009, 09:33:54 PM »

อยู่ที่จิตสำนึกของนายทะเบียนแต่ละคนครับ หลงรัก หลงรัก
บันทึกการเข้า

<a href="http://graphics-comment.blogspot.com" target="_blank">Goodnight comments" title="Goodnight comments[/url]<p><a href="http://graphics-comment.blogspot.com" target="_blank">comments hi5 ฮิต![/url]
ธำรง
Hero Member
*****

คะแนน 1727
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8568


.....รักในหลวง.....


« ตอบ #11 เมื่อ: มกราคม 31, 2009, 09:45:59 PM »

นิ้วมือคนยังสั้นยาวไม่เท่ากันเลยครับ
แล้วจะให้ดุลพินิจ หรือความคิดของทุกคนเท่ากันหรือครับ Undecided

ไม่ใช่นิ้วมือ ... กฎหมายปฎิบัติต่อบุคคลโดยเท่าเทียมและเสมอหน้า
ดุลพินิจ ถูกกำหนดไว้โดยกรอบของกฎหมาย ต้องใช้อำนาจในกรอบนี้เท่านั้น
อำนาจมีตามกฎหมาย....ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด....ก็คือไม่มีอำนาจ

การใช้ดุลพินิจโดยชอบ ..... อยู่คนละขั้วกับการทำตามอำเภอใจครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า
วุธ อุดร -รักในหลวง~
เชื่อเขา เราเจริญ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 198
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2896



« ตอบ #12 เมื่อ: มกราคม 31, 2009, 09:53:38 PM »

นิ้วมือคนยังสั้นยาวไม่เท่ากันเลยครับ
แล้วจะให้ดุลพินิจ หรือความคิดของทุกคนเท่ากันหรือครับ Undecided

ไม่ใช่นิ้วมือ ... กฎหมายปฎิบัติต่อบุคคลโดยเท่าเทียมและเสมอหน้า
ดุลพินิจ ถูกกำหนดไว้โดยกรอบของกฎหมาย ต้องใช้อำนาจในกรอบนี้เท่านั้น
อำนาจมีตามกฎหมาย....ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด....ก็คือไม่มีอำนาจ

การใช้ดุลพินิจโดยชอบ ..... อยู่คนละขั้วกับการทำตามอำเภอใจครับ  ไหว้

ขอบคุณครับ ไหว้

ถึงได้มีคดีค้างอยู่ในศาลปกครองเยอะแยะเลยครับ Smiley



บันทึกการเข้า

ลูกต้นแม่น้ำเจ้าพระยา  มาติดปลาร้าอยู่อุดร
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: มกราคม 31, 2009, 11:45:12 PM »

ผมเคยเจอกับตัวเองแล้วครับ...
นาย..พูดว่า  มันอยู่ที่ ดุลยพินิจ ของผมว่าให้ใครหรือไม่ให้ใคร... ยี๊ ยี๊ ยี๊

เสียดายผมไม่เคยได้เจอนายทะเบียนฯพูดแบบนี้ซักที...... ขำก๊าก

ขอเสริมท่านสมชายในข้อกฎหมายว่า พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ บัญญัติว่า ....
     มาตรา ๓๗  คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย

    (๑)  ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
    (๒)  ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
    (๓)  ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
....................

หมายความว่า การใช้ดุลพินิจออกคำสั่งทางปกครองใดๆต้องให้เหตุผลสามข้อนี้
ขาดข้อใดไป ก็เป็นการออกคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

มันไม่ใช่เรื่องดุลพินิจ.........มันเป็นเรื่องของความไม่รู้ ประกอบกับความกล้าความขลาด ต่างหาก   ไหว้

ขอบพระคุณพี่ธำรงครับ...

นับเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงของนายสมชายที่ไม่ได้แจ้งตั้งแต่แรก... ให้ จขกท. ค้นเรื่องนี้จากความเห็นของพี่ธำรง กับท่านผู้การฯ ในเว็บนี้ครับ...

ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา ทั้งในเว็บ ในหนังสือ อวป. และ"ของจริง"... พี่ธำรงและผู้การฯ ได้ต่อสู้เรื่องนี้มาตลอด โดยให้ความรู้แก่สมาชิกและผู้สนใจฯ มาตลอดตามรายทางแห่งระยะเวลาที่ผ่านมายาวนานครับ...

โดยเฉพาะข้อมูลในเว็บนี้จากหลายกระทู้ทั้งตรงๆ และพาดพิงถึง... มีความสมบูรณ์จนสามารถใช้ประกอบการศึกษาเพื่อต่อสู้กับการใช้อำนาจทางปกครองที่ไม่ถูกต้อง ทั้งในชั้นที่ว่าการอำเภอและในชั้นศาลครับ...
บันทึกการเข้า
E_mail
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2009, 01:16:19 AM »

ใช่ว่าปลัดฯทุกคนจะได้เป็นนายอำเภอ

ใช่ว่านายอำเภอทุกคนจะได้เป็นผู้ว่าฯ

ใช่ว่าผู้ว่าทุกคนจะได้เป็นปลัดกระทรวง.....

นายอำเภอหลายคน ดูหน้า,ดูท่าทาง,ดูการพูดการจาแล้ว ชาติหน้าก็ไปไม่ถึงผู้ว่าฯ  คิก คิก
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.1 วินาที กับ 21 คำสั่ง