เรือทำด้วยแมีกนีเซียม อลูมิเนียม สองอย่างนี่ติดไฟได้
อลูมิเนี่ยมจะติดไฟต้องเป็นผงละเอียดครับ
ไม่จำเป็นครับ ถ้าความร้อน สูงเกิน 1,000 'C อย่างเรือ รบ เชฟฟิล ที่โดน จรวต เอ็กโซเซ่ ยิงแล้ว จมลง เนื่องจาก ไม่สามารถ ดับไฟได้ เพราะ อลูมิเนียม ที่ใช้เป็นส่วนประกอบตัวเรือ ลูกติดไฟ
อีกตัวอย่าง คือ เครื่องบินโดยสาร ที่ ลุกติดไฟ นอกจาก เชื้อเพลิงแล้ว ผนัง และ โครงสร้างหลัก ล้วนแล้วแต่ มีส่วนผสม ของ อลูมิเนียม ทำให้ เวลาเกิดเพลิงใหม้ ถ้า อุณภูมิสูงพอ ชิ้นส่วน อลูมิเนียม เอง ก็ติดไฟได้ ครับ
http://www.debunking911.com/moltensteel.htm1. อลูมิเนียมมีจุดหลอมเหลวประมาณ 660ํc ถ้ามันติดไฟได้อย่างที่ว่าจะหลอมแร่ดิบมาใช้ได้อย่างไร???
แล้วงานเชื่อมอลูมิเนียมจะทำได้อย่างไร???
2. อุตสาหกรรมที่ต้องเน้นความปลอดภัยสูงสุด เช่นเรือ ,เครื่องบิน ,รถไฟ ,รถยนต์ มีการใช้อลูมิเนียมเป็นวัตถุดิบในหลายส่วน
ไม่ต้องดูไกลเครื่องยนต์ดีเซลมีอุณหภูมิการทำงานสูงกว่า 550ํc ทำไมลูกสูบเสื้อสูบที่ทำจากอลูมิเนียมถึงไม่ติดไฟ???
ถ้าอลูมิเนียมไม่ปลอดภัยอย่างที่ว่า เหตุใดวิศวกรจึงเลือกอลูมิเนียมมาเป็นวัสดุสำคัญในการผลิต???
3. วัสดุกันไฟ เช่นแผ่นอลูมิเนียม คอมโพสิท (Aluminium Composite Material) ประกอบขึ้นจากชั้นวัสดุที่มีไส้กลางอยู่ภายใน และมีแผ่นอลูมิเนียมประกบอยู่ด้านนอก
วัสดุไส้กลางเป็นสารประกอบที่ไม่ติดไฟโดยมีส่วนประกอบของแร่ทนไฟ อลูมิเนียม ไตรไฮดรอกไซด์ 70% จึงเป็นวัสดุที่ให้ความปลอดภัยสูงเมื่อเกิดเพลิงไหม้
ผิวนอกประกบด้วยแผ่นอลูมิเนียมเกรด 3105 H14 ความหนา 0.5 มิลลิเมตร ผิวด้านหน้าถูกเคลือบด้วยระบบสีลูมิฟลอน เบสด์ ฟลูโรคาร์บอนที่มีสมรรถภาพสูง
ส่วนผิวด้านหลังมีการเคลือบสีโพลีเอสเตอร์เพื่อรองรับการใช้งานและป้องกันการสึกกร่อนจากสนิมของโครงคร่าว และอัลคาไลน์จากซีเมนต์
นอกจากนี้ผิวภายในระหว่างชั้นอลูมิเนียมและไส้กลางยังเคลือบด้วยสารป้องกันการกัดกร่อนเพื่อป้องกันการแยกจากกันของอลูมิเนียมและไส้กลาง
4. อลูมิเนียมที่ไม่ได้อยู่ในสภาพผงละเอียด ได้รับความร้อนสูงถึงจุดหลอมเหลวจะติดไฟเองไม่ได้ ยกเว้นมีสารอื่นมาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
5. อลูมิเนียมจะถือเป็นสารไวไฟเมื่ออยู่ในสภาพผงหรือเกล็ด และสามารถรวมตัวเป็นสารระเบิดได้ในอากาศได้
นอกจากนี้ผงอลูมิเนียมยังสามารถก่อเกิดปฏิกิริยารุนแรงกับตัวเร่งปฏิกิริยาออกซิเจน (oxidants) , กรดแก่, ด่างแก่,
หรือ halogenated hydrocarbons บางชนิด เกิดไฮโดรเจนติดไฟได้ และไอพิษอันตราย
กรณีศึกษา เรื่องการระเบิดของฝุ่นอลูมิเนียม
เหตุการณ์อุบัติเหตุ
เมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. วันที่ 29 ตุลาคม 2546 ได้มีการระเบิดและเพลิงไหม้ขึ้นใน อาคารโรงงานของบริษัท Heyes Lemmerz International, Inc.
ซึ่งเป็นโรงงานหล่อหลอมอลูมิเนียมและผลิตล้อรถอลูมิเนียม (Aluminium wheel plant) ตั้งอยู่ในเมืองฮันติงตัน มลรัฐอินเดียน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา
จากการตรวจสอบพบว่าพนักงานผลิตหลังจากแกะแบบ (Mold) ออกแล้วจะนำชิ้นงานไปทำการขึ้นรูป (Machine) เช่น กลึง เจาะ ไส เจียร และขัดเงา
การขึ้นรูปชิ้นงานอลูมิเนียมในขั้นตอนต่างๆ ดังกล่าว ทำให้มีเศษอลูมิเนียม (Aluminium chips and scraps) และฝุ่นอลูมิเนียม (Aluminium dust) เป็นจำนวนมาก
พนักงานได้นำเศษอลูมิเนียมไปอบแห้ง เพื่อไล่ความชื้นก่อนที่จะทำการหลอมใหม่อีกครั้ง ในการอบแห้งนี้จะมีฝุ่นอลูมิเนียม (ซึ่งเกาะติดปะปนอยู่กับ เศษอลูมิเนียมที่ชื้น)
หลุดร่วงออกมาจำนวนมาก ระบบดูดฝุ่นทำการลำเลียงฝุ่นอลูมิเนียมไปยังถังเก็บฝุ่น (Dust Collector) ที่อยู่ด้านนอกอาคารเพื่อพักเก็บไว้ก่อนการหลอม
ปรากฎว่า ฝุ่นอลูมิเนียมละเอียด (Fine aluminium dust) ที่มีขนาดเล็กมากได้ปลิวและแขวนลอยอยู่ในอากาศอย่างหนาแน่น (High concentration)
และสามารถลุกติดไฟได้ด้วยตัวเอง (Aluminium dust ignition) เกิดการระเบิดขึ้นภายในถังเก็บฝุ่นส่งคลื่นความร้อนและเปลวไฟ ย้อนกลับเข้าสู่ตัวอาคารโรงงานผ่านทางท่อลำเลียงฝุ่น
เหตุการณ์เพลิงไหม้และระเบิดได้เกิดขึ้นต่อเนื่องทันที เนื่องจากมีฝุ่นอลูมิเนียมตกค้างสะสมอยู่ตามที่ต่างๆ เช่น ขื่อ คานโรงงาน เครื่องจักร สายไฟ และอยู่บนเตาหลอมเป็นจำนวนมาก
แรงระเบิดของฝุ่นอลูมิเนียมได้ก่อตัวเป็นลูกไฟขนาดใหญ่ (Fire ball) ทำลายสิ่งต่างๆ ภายในโรงงาน ความเสียหาย มีพนักงานเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บสาหัส 1 คน
และบาดเจ็บเล็กน้อย 4 คน ทรัพย์สินเสียหายได้แก่ เตาหลอมอลูมิเนียม เตาอบแห้ง ถังเก็บฝุ่นอลูมิเนียม และอาคารโรงงาน
สาเหตุของอุบัติเหตุ
1. สาเหตุจากการออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering design) ไม่ปลอดภัย เนื่องจากมีฝุ่นอลูมิเนียมแขวนลอย
และปลิวออกจากระบบการอบแห้ง (Drying system) เป็นจำนวนมากโดยปราศจากการควบคุม
2. สาเหตุจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe contition) เนื่องจากพื้นที่บริเวณภายในโรงงานเต็มไปด้วยฝุ่นอลูมิเนียมเกาะอยู่ตามสถานที่ต่างๆ
พร้อมที่จะเกิดอุบัติเหตุในการระเบิดของฝุ่นอลูมิเนียมได้อยู่ตลอดเวลา โดยจุดที่พนักงานเสียชีวิต อยู่ข้างๆ เตาหลอมอลูมิเนียม ซึ่งเป็นสถานที่ทำงาน