จีนเสนอเรือดำน้ำแบบ S26T ให้กองทัพเรือไทยบริษัท CSOC สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้ามาบรรยายสรุปข้อมูลเรือดำน้ำแบบ S26T (Yuan Class) โดยมี
พล.ร.อ.ธนะรัตน์ อุบล เสนาธิการทหารเรือ เป็นประธานเข้ารับฟัง เมื่อ 12 ม.ค.58
https://www.facebook.com/pages/Submarine-Squadron-กองเรือดำน้ำ-กองเรือยุทธการ/222887361082619
จีนนับเป็นประเทศแรกในปี ๒๕๕๘ นี้ที่ส่งตัวแทนบริษัทมาเสนอแบบเรือดำน้ำให้กองทัพเรือครับ
โดย CSOS(China Shipbuilding & offshore International Co., Ltd) นั้นก็เป็นบริษัทด้านการสร้างเรือรบในเครือของ
CSIC(China Shipbuilding Industry Corporation) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมต่อเรือรายใหญ่ของจีน
เรือดำน้ำแบบ S26T ก็น่าจะเป็นแบบเรือสำหรับการส่งออกโดยเฉพาะเหมือนเรือดำน้ำแบบ S20 ที่เคยมีการนำเสนอ
ข้อมูลให้กองทัพเรือไทยไปครับ โดย S26T นี่ดูจากการตั้งชื่อรุ่นแบบเรือแล้วน่าจะเป็นที่ออกแบบมาสำหรับเพื่อส่งออก
ให้กองทัพเรือไทยโดยเฉพาะ เพราะการตั้งชื่อรุ่นแบบเรือนี้เป็นอย่างเดียวกับเรือฟริเกต Type 053T ชุด ร.ล.เจ้าพระยา,
Type 053HT ชุด ร.ล.กระบุรี และ F25T ชุด ร.ล.นเรศวร เป็นต้น ซึ่ง S26T นี่ก็น่าจะเหมือนกับ S20 ที่มีพื้นฐานที่ย่อส่วน
มาจากเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าแบบ Type 039A Yuan ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน เรือชั้น Yuan เป็นเรือดำน้ำ
ลาดตระเวนเดินสมุทรขนาดใหญ่ระวางขับน้ำ 3,600 tons ยาว 75 m มี Torpedo ๖ท่อยิง กำลังพล ๖๕นาย ซึ่งใช้
Technology ขั้นสูงเช่นระบบ AIP เป็นต้น แต่คุณสมบัติแบบเรือ S26T ตอนนี้ยังค้นข้อมูลไม่ได้ครับ แต่ถ้าที่ CSOS
เสนอข้อมูลว่าคือเรือชั้น Yuan สำหรับกองทัพเรือไทย ก็ไม่แน่ใจว่าเรือแบบ S26T นี่จะมีความใกล้เคียงกับเรือชั้น Yuan
ที่จีนใช้เองมากที่สุดและก้าวหน้าที่สุดในรุ่นส่งออกหรือไม่ครับ (คงต้องรอข้อมูลเพิ่มเติมจากกองเรือดำน้ำก่อน)
ตรงนี้โดยความเห็นส่วนตัวเองแล้วมองว่ากองทัพเรือไม่ควรจะจัดหาเรือดำน้ำจากจีนครับ ด้วยสองเหตุผลหลักคือ
ประการแรกปัจจุบันจีนมีนโยบายที่จะไม่ส่งออกระบบอาวุธที่ใช้งานในกองทัพปลดปล่อยประชาชนเองให้กับประเทศอื่น
ยกเว้นมิตรประเทศที่ใกล้ชิดมากๆแต่ก็เพียงบางระบบเท่านั้น ซึ่งเฉพาะในส่วนระบบเรือดำน้ำจีนเองก็แทบจะไม่มีลูกค้า
ประเทศอื่นที่สนใจจะจัดหาไปใช้เลยแม้ว่าจะทำการตลาดประชาสัมพันธ์มานานหลายปีแล้ว ตามที่เคยรายงานไปก็มี
บังคลาเทศที่จะจัดหาเรือดำน้ำ Type 035 Ming มือสองสองลำซึ่งเก่าและล้าสมัยมากพอสมควร หรือปากีสถานที่จะ
จัดหาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าจากจีน ๖ ลำ ตอนนี้ก็ยังไม่มีการต่อและส่งมอบ การที่กองทัพเรือไทยจะเลือกจัดหาเรือดำน้ำ
จากจีนซึ่งเป็นเรือแบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีการสร้างจริงมากและที่ผ่านมาแทบจะไม่มีลูกค้าเลยเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเสี่ยงเกินไปมาก
ประการที่สองคือที่ผ่านมาตั้งแต่ที่กองทัพเรือจัดหาเรือรบจากจีนมาในช่วง ๒๕ ปี มานี้กองทัพเรือก็ประสบปัญหา
การใช้งานที่ไม่น่าพอใจของเรือรบจีนหลายชุด เช่น ชุด ร.ล.เจ้าพระยา และชุด ร.ล.กระบุรีที่ตัวเหล็กเรือคุณภาพไม่ดี
เคยมีรายงานเรือชนขยะที่ลอยในทะเลขณะเดินเรือจนเรือบุบน้ำทะเลรั่วเข้าเรือในห้องพักลูกเรือ แต่โชคดีอุดปะค้ำยัน
ได้ทันเรือจึงไม่จม ระบบอำนวยการของเรือชุด ร.ล.เจ้าพระยา และชุด ร.ล.กระบุรี เช่น ZJK-3 ก็ล้าสมัยลงอย่างรวดเร็ว
โดยในส่วนระบบควบคุมปืนใหญ่เรือของเรือชุด ร.ล.เจ้าพระยานั้นกองทัพเรือได้พัฒนาระบบ Software ควบคุมการยิง
ใหม่แทนระบบจีนเดิมที่เสื่อมสภาพใช้งานไม่ได้แล้ว ส่วนของชุด ร.ล.กระบุรีนั้นมีการปรับปรุงติดตั้งระบบใหม่ เช่น
อาวุธปล่อยนำวิถี C-802A ปืนใหญ่เรือ 100 mm แฝดสอง และปืนใหญ่กลรอง 37 mm แฝดสองระบบควบคุมการยิง
ใหม่จากจีนไปแล้ว แต่เนื่องจากเรือทั้งสองชุดเป็นเรือรุ่นเก่าจึงมีพื้นที่จำกัดติดตั้งปรับปรุงอะไรใหม่ไม่ได้มาก
ด้านเรือชุด ร.ล.นเรศวรทั้ง ๒ ลำ เองที่เดิมเป็นระบบผสมระหว่างระบบจีนและระบบตะวันตกก็มีปัญหาการบูรณาการ
ระบบที่ล่าช้ากว่าเรือจะมีความพร้อมรบหลังรับมอบเรือที่ต่อเสร็จจากจีนมา จนต่อมาจึงมีโครงการปรับปรุงเรือใหม่
เอาระบบจีนออกหมด เช่น ระบบอำนวยการรบ ZJK-5, Radar ตรวจการณ์ Type 360, ปืนใหญ่กลรอง Type 76A
37 mm แฝดสอง กับระบบควบคุมการยิง Type 347G และติดตั้งระบบตะวันตกใหม่ทั้งหมด เช่น ระบบอำนวยการรบ
SAAB 9LV, Radar ตรวจการณ์สามมิติ SAAB SEA GIRAFFE AMB, Radar ควบคุมการยิง SAAB CEROS200 CWI
ปืนใหญ่กลรอง MSI DS30MR และแท่นยิง Mk41 VLS 8-cell พร้อม RIM-162 ESSM เป็นต้น และเรือที่ใช้ระบบตะวันตก
ล้วนแต่ยังต่อที่อู่ในจีนคือเรือชุด ร.ล.ปัตตานีนั้น ก็มีรายงานว่าการเก็บงานเช่นการเดินสายไฟภายในเรือและ
คุณภาพเหล็กตัวเรือที่เป็น Mild Steel ค่อนข้างแย่มากครับทั้งสองประการที่กล่าวมาก็น่าจะเป็นเหตุผลประกอบที่กองทัพเรือน่าจะพิจารณาจากประสบการณ์ใช้งานจริงประกอบว่า
เรือรบจีนนั้นมีปัญหาเรื่องคุณภาพตัวเรือที่ยังขาดความน่าเชื่อถืออยู่ การที่จะจัดหาเรือดำน้ำซึ่งเป็นเรือรบที่มีชิ้นส่วน
จำนวนมากกว่าเรือผิวน้ำหลายเท่าและมีความซับซ้อนด้าน Technology ที่สูงด้วยแล้ว ยิ่งจำเป็นต้องพิจารณาให้
รอบคอบอย่างยิ่ง เพราะไม่เช่นนั้นเรือดำน้ำที่จะจัดหามาจะไม่มีความคุ้มค่าในการใช้งานในระยะยาวและอาจจะไม่มี
ความปลอดภัยต่อกำลังพลที่จะรับมอบเรือไปประจำการด้วยครับ
อย่างไรก็ตามก็เหมือนกับในปี ๒๕๕๗ ที่ผ่านมาแล้วว่ามีตัวแทนบริษัทจากหลายประเทศคือ
Rosoboronexport รัสเซียเสนอแบบเรือ Project 636 KILO และ AMUR 1650
DSME สาธารณรัฐเกาหลีเสนอแบบเรือ DSME1400
และ DCNS ฝรั่งเศสเสนอแบบเรือ Scropene 1000 และ Scropene 2000 นั้น
ต่างเป็นเพียงการเสนอข้อมูลให้กองทัพเรือรับทราบเท่านั้น การยื่นข้อเสนอเพื่อแข่งขันในโครงการจัดหายัง
ไม่ได้เกิดขึ้นครับ (ตรงนี้จะได้จากภาพการนำเสนอในข้างต้นที่จอภาพฉายอยู่ว่าเป็น "Proposal" หรือ "ข้อเสนอ"
เท่านั้น) ซึ่งก็ไม่ทราบว่ากองทัพเรือจะสามารถจัดตั้งโครงการจัดหาเรือดำน้ำได้ใหม่ภายในปีนี้หรือไม่ เพราะว่ามีปัจจัย
อยู่หลายประการที่จะเป็นอุปสรรคต่อโครงการอยู่ ก็หวังกองทัพเรือและกองเรือดำน้ำจะสามารถจัดตั้งโครงการจัดหา
เรือดำน้ำได้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ โดยมีการพิจารณาเลือกแบบเรือที่มีคุณสมบัติดีเหมาะสมและได้ประโยชน์สูงสุด
เพราะตามที่เคยกล่าวไปว่าถ้ากองทัพเรือมีเรือดำน้ำประจำการช้าเท่าไร ประเทศไทยจะยิ่งเสียเปรียบทางด้านยุทธศาสตร์
การป้องกันประเทศทางทะเลมากขึ้นเท่านั้นครับ
http://aagth1.blogspot.com/2015/01/s26t.html