หัวรบของตอร์ปิโดที่ไอ้กันใช้สมัยสงครามโลกมันทำงานยังไงครับ ถึงสามารถเจาะเกราะป้องกันตอร์ปิโดที่หนา 16 นิ้วของเรือมูซาชิ และยามาโต้ได้
เรื่องตอร์ปิโดนี้อาจจะให้พี่ๆที่ท่านเป็นทหารเรือมาตอบดีกว่าครับ ถ้าต้องการคำตอบในชิงรายละเอียดและถูกต้อง (ผมเองก็ต้องการเหมือนกันครับผม)
แต่จากข้อมูลที่ค้นคว้ามา เรือชั้นยามาโตะ ทั้งมูซาชิและยามาโตะเองก็มีจุดอ่อนที่ซ่อนอยู่ในความยิ่งใหญ่และล้ำหน้าโด่งดังในยุคนั้นเหมือนกันครับ อันนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาจากวิกิพีเดียกับพวกบอร์ดเรือฝรั่งที่เขาถกเถียงกันเกี่ยวกับเรือยามาโตะของญี่ปุ่นและไอโอว่าของอเมริกาน่ะครับ หลักๆเรื่องความแข็งแรงของตัวเรือก็มี
-อันดับแรก คือเทคโนโลยีอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในยุคนั้น ยังเป็นรองทางตะวันตกในบางเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องอุตสาหกรรมเหล็ก ตอนจบสงคราม อเมริกาไปเอาตัวอย่างเกราะส่วนที่หนาที่สุดจากเรือชั้นยามาโตะที่ยังสร้างไม่เสร็จมาได้ และเอามาทดสอบยิงด้วยปืนใหญ่ขนาด 16 นิ้วแบบที่เรือไอโอว่าใช้ ปรากฏว่าผลลัพธ์ก็ตามภาพข้างล่างนี้แหละครับ
-อันดับสอง ตัวเรือเองมีปัญหาเรื่องโครงสร้างตรงช่วงรอยต่อผิวน้ำ(Waterline)บริเวณลำตัวเรือ ทำให้ปริแตก หรือรั่วได้หากถูกกระทบกระแทกแรงๆเช่นโดนระเบิดหรือตอร์ปิโด
อีกเรื่องที่เป็นจุดอ่อนของยามาโตะกับมูซาชิก็คือ ระบบต่อสู้อากาศยานที่ด้อยกว่าเรือฝั่งสัมพันธมิตรค่อนข้างมากครับ ปืน ปตอ แบบ 96 ขนาด 25 มม. ที่ญี่ปุ่นใช้เป็นปืน ปตอ.หลักตลอดช่วงสงครามโลก รวมถึงติดบนเรือรบยักษ์ทั้ง 2 ลำ อานุภาพน้อยไป โดยเฉพาะกับเครื่องบินรบของอเมริกาช่วงท้ายๆสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่คล่องตัว เร็ว และทนทานต่อการถูกยิงตกกว่ามาก ทำให้ปืน ปตอ. ของญี่ปุ่นแทบจะทำอะไรไม่ได้เลย ยามาโตะตอนรอบสุดท้ายที่จม ติดปืน ปตอ. แบบแท่นสามกระบอกไป 165 กระบอก ยิงเครื่องบินอเมริกาตกไปเพียง 10 กว่าลำเท่านั้น!!!
หน้าตาของปืน ปตอ. 25 มม. แบบที่ยามาโตะกับมูซาชิติดตั้งครับ
เทียบกับปืน ปตอ. โบฟอร์ ขนาด 40 มม. ของฝั่งสัมพันธมิตรครับ
พี่ๆท่านใดมีข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำกว่านี้ มาเสริม เติม แก้ความเห็นผมให้ถูกต้องยิ่งขึ้น เป็นข้อมูงความรู้ดีๆมาแชร์กัน ผมยินดีอย่างยิ่งนะครับ
ปล.ถึงเรือจะมีจุดอ่อนแบบที่ผมอ่านเจอตอนแรกแล้วอึ้งว่าเป็นไปได้ไง แต่ผมยังยอมรับว่าเรือรบยักษ์สองลำนี้ ยังคงมีชื่อเสียงและสเน่ห์ในหน้าประวัติศาสตร์อย่างไม่จางหายจริงๆครับ