ทะเลไทยตื้นเกินไปสำหรับเรือดำน้ำเป็นสิ่งที่ควรจะเลิกพูดได้แล้วจะซื้อเรือดำน้ำไปรบกับใคร โดย ลม เปลี่ยนทิศhttp://www.thairath.co.th/content/489841เป็นความคิดที่นำกลับมากล่าวย้ำซ้ำๆบ่อยครั้งของสื่อมวลชนส่วนใหญ่ที่พยายามจะบอกเล่าให้ประชาชนที่รับทราบ
ข่าวสารมาตลอดต่อเนื่องยาวนานว่า "ทะเลไทยตื้นเกินไปสำหรับเรือดำน้ำ" และ "เรือดำน้ำไม่มีความจำเป็นสอดคล้อง
กับสภาพเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน" มันน่าตลกที่ว่าคนส่วนใหญ่มักจะเชื่อสื่อกระแสหลักมากกว่าจะที่เชื่อคำชี้แจง
ประชาสัมพันธ์จากกองทัพเรือซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลปกป้องน่านน้ำไทย
ผมจะสรุปข้อโต้แย้งของประเด็นหลักๆที่ชอบพูดถึงนี้ให้สั้นที่ที่สุดนะครับ
ภาพลายเส้นตัดขวาง เรือดำน้ำชุด ร.ล.มัจฉาณุ
ไม่เป็นความจริงที่ว่าทะเลไทยตื้นเกินไปสำหรับเรือดำน้ำมีเอกสาร บทความ ประชาสัมพันธ์ชี้แจงมาก็มากถึงเรื่องนี้
โดยในด้านอ่าวไทยนั้นช่วงอ่าวตอนกลางและตอนล่างเลยจากปากอ่าวรูปตัว ก.ของเขตน่านน้ำอ่าวไทยชั้นในนั้น
มีความลึกมากพอสำหรับการปฏิบัติการของเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าที่ระวางขับน้ำประมาณ 1,000 tons ขึ้นไปได้
ซึ่งถ้าย้อนไปในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่๒ เรือดำน้ำเดินสมุทรขนาดใหญ่ของฝ่ายสัมพันธมิตรทั้ง กองทัพเรือสหรัฐฯ
และกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ก็เคยนำเรือเข้ามาปฏิบัติการในเขตอ่าวไทยมาแล้ว เช่นการลักลอบส่งเสรีไทยขึ้นฝั่ง
หรือจมเรือต่างๆ ตัวอย่างเช่น ร.ล.สมุย(ลำที่๑) ซึ่งถูกเรือดำน้ำยิงจมใกล้เกาะโลซิน ระหว่างภารกิจลำเลียงน้ำมันจาก
สิงคโปร์มาไทย เมื่อ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๘ เรือดำน้ำอย่าง SS-315 USS Sealion ที่มีบันทึกปูมเรือว่าปฏิบัติการใน
เขตอ่าวไทยนั้นเป็นเรือดำน้ำชั้น Balao ซึ่งความยาวตัวเรือ 95 m มีระวางขับน้ำขณะอยู่บนผิวน้ำ 1,550 tons
และขณะดำใต้น้ำ 2,500 tons แล้ว
โดยในช่วงยุคปัจุบันนี้เองก็มีกองทัพเรือมิตรประเทศของไทยส่วนเรือดำน้ำมาเยี่ยมหรือร่วมฝึกกับกองทัพเรือไทยอยู่บ้าง
เช่น เรือดำน้ำชั้น Los Angeles กองทัพเรือสหรัฐฯซึ่งเป็นเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ SSN ความยาวตัวเรือ 110 m
ระวางขับน้ำสูงสุด 6,900 tons ก็เคยนำเรือเข้ามาฝึกที่อ่าวไทยมาแล้ว ซึ่งเรือดำน้ำของกองทัพเรือมิตรประเทศเหล่านี้
สามารถนำเรือดำลงใต้น้ำได้ในเขตอ่าวไทยได้ และการฝึกการค้นหาเรือดำน้ำเท่าที่เคยอ่านข้อมูลมาพบว่า ขณะนั้นหมู่เรือ
ปราบเรือดำน้ำของไทยไม่สามารถหาเรือข้าศึกสมมุติพบและผู้บังคับการเรือดำน้ำขึ้นผิวน้ำแสดงตัวเมื่อจบการฝึกซึ่งเรือ
ก็ดำอยู่ใกล้ๆกับหมู่เรือปราบเรือดำน้ำนั่นเอง
SSN-715 USS Buffalo in Thailand 2012
อีกเรื่องที่ถูกกล่าวพร้อมกันคือทะเลไทยน้ำใสและตื้นเรือดำน้ำดำลงไปมองด้วยตาเปล่าทางอากาศก็เห็นแล้ว ในความเป็นจริง
คือสภาพน้ำทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามันนั้นถ้าเรือดำน้ำดำลึกราว 5 m ลงไปก็มองอะไรไม่เห็นแล้ว ซึ่งในทะเลนั้นมีปัจจัย
เรื่องชั้นอุณหภูมิที่เกิดความแตกต่างของชั้นความเค็มเกลือในทะเล และสภาพพื้นใต้ทะเล ซึ่งเป็นปัจจัยในการรบกวนการ
สะท้อนคลื่นเสียงของ Sonar ในการค้นหาเรือดำน้ำด้วย เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าซึ่งขับเคลื่อนด้วย Motor ไฟฟ้าขณะดำใต้น้ำ
ซึ่งมีความเงียบสูงในเขตทะเลน้ำตื้นนั้นจึงทำการค้นหาได้ยาก และการฝึกปราบเรือดำน้ำหลายๆครั้งของกองทัพเรือที่ผ่านมา
ก็แสดงผลที่ว่านี้ชัดเจน
ไม่เป็นความจริงที่ว่าเรือดำน้ำไม่มีความจำเป็นเพราะประเทศไทยไม่ได้รบกับใครสั้น ๆ คือเราไม่รู้ว่าสงครามจะเกิดขึ้นเมื่อไร และถ้าเกิดสงครามขึ้นเราจะไม่สามารถชนะสงครามได้ถ้าปราศจาก
อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ดีพอ
ลักษณะสภาพภูมิศาสตร์ทางทะเลของประเทศไทยนั้นมีความใกล้เคียงกับบางประเทศในกลุ่มยุโรปเช่น นอร์เวย์ หรือ สวีเดน
ที่มีทั้งอ่าวกึ่งปิดมีทางออกมหาสมุทรใหญ่อย่างทะเล Baltic หรือ ทะเลเปิดอย่างทะเลเหนือ ซึ่งกองทัพเรือนอร์เวย์ก็มีเรือดำน้ำ
ชั้น Ula ๖ ลำ กองทัพเรือสวีเดนก็มีเรือดำน้ำชั้น Sodermanland ๒ ลำ และเรือดำน้ำชั้น Gotland ๓ลำ และกำลังจะสร้าง
เรือดำน้ำแบบ A26 ใหม่ ๒ ลำ โดยทั้งสองประเทศนี้คือสวีเดนซึ่งเป็นประเทศเป็นกลาง และนอร์เวย์ซึ่งเป็นสมาชิก NATO
ต่างเคยปรับลดกำลังกองทัพลงหลังยุคสงครามเย็นในช่วงปี 1990s-2000s แต่จากสถานการณ์ด้านความมั่นคงที่เปลี่ยนไป
รวดเร็วหลังรัสเซียแทรกแซงยูเครนและส่งกำลังรบทางอากาศและทางเรือคุกคาม สวีเดน ฟินแลนด์ ซึ่งทั้งสองเป็นประเทศ
เป็นกลาง ในเขตทะเล Baltic มากขึ้น ซึ่งในด้านเรือดำน้ำนั้นเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2014 แล้วก็มีรายงานว่าเรือดำน้ำไม่ปรากฎ
สัญชาติ(คาดว่าน่าจะเป็นเรือดำน้ำรัสเซีย)รุกล้ำน่านน้ำสวีเดน จนกองทัพสวีเดนต้องปฏิบัติการค้นหาเรือดำน้ำครั้งใหญ่
แต่ก็หาไม่พบ ปัจจุบันนี้ชาติกลุ่ม Nordic จึงได้เพิ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงในการรับมือกับภัยคุกคามจากรัสเซียรวมถึง
การเพิ่มงบประมาณด้านความมั่นคง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ปรับลดขนาดกองทัพมาตลอดเพราะคิดว่าไม่มีภัยคุกคามแล้ว
ก็อย่างที่กล่าวไปว่าเราไม่รู้ว่าสงครามจะเกิดขึ้นเมื่อไร เราจะไปรู้อนาคตได้อย่างไรว่าประเทศเพื่อนบ้านอันแสนจะน่ารัก
และอบอุ่นรอบข้างเรานั้นวันหนึ่งจะหันอาวุธมายิงใส่เราเมื่อใด การที่สนใจแต่การพัฒนาเศรษฐกิจจนตัดลดงบประมาณ
ด้านความมั่นคงเป็นสิ่งที่ประเทศต่างๆถ้าไม่จำเป็นจริงๆไม่ควรจะทำกัน (เหมือนบ้านสวยร่ำรวยทรัพย์สิน แต่รั้วห่าง
หลังคาโหว่ โจรก็เข้าบ้านได้ง่ายขึ้น)
งานของกองทัพเรือและกองเรือดำน้ำซึ่งเป็นหน่วยที่เกี่ยวข้องโดยตรงในเรือนี้ก็คงจะต้องทำหน้าที่เช่นเดิมคือ
การประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้ประชาชนและสื่อมวลชนทราบถึงข้อเท็จจริงในการจัดหาเรือดำน้ำครับ แต่โดยส่วนตัวค่อนข้าง
กังวลว่าการประชาสัมพันธ์ข้อเท็จจริงนี้จะมีอุปสรรคอีกมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงความเชื่อของประชาชนส่วนใหญ่และ
สื่อเป็นสิ่งที่ทำได้ยากด้วยวัฒนธรรมของผู้คนในกลุ่มประเทศแถบอุษาคเนย์นี้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อกองทัพเรือไทย
ตั้งกองเรือดำน้ำขึ้นมาแล้ว เราก็ต้องจัดหาเรือดำน้ำให้ได้อยู่ดี เพราะถ้ายิ่งช้าออกไปมากเท่าไรความมั่นคงทางทะเล
ของไทยก็จะตกอยู่ในความเสี่ยงมากขึ้นครับ
http://aagth1.blogspot.com/2015/03/blog-post_30.html