เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 27, 2024, 05:08:21 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 89 90 91 [92] 93 94 95 ... 165
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เรื่องเรือรบและอาวุธทางน้ำ  (อ่าน 423945 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 16 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Nero Angel01
Hero Member
*****

คะแนน 275
ออฟไลน์

กระทู้: 3048


« ตอบ #1365 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2015, 08:34:38 PM »

ผมคิดเอาเองว่าตอนลงมติจีนไม่น่าจะติดอันดับ
น่าจะเป็น ที่1สวีเดน ที่2ยอรมัน ที่3-4เกาหลีกับรัวเซียเบียดกัน จีนน่าจะที่โหล่

เฮ้ออออออ ถอนหายใจยาวๆ
บันทึกการเข้า
ART
ชีวิตคิดบวก แล้วจะ Happy
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 552
ออฟไลน์

กระทู้: 10809



« ตอบ #1366 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2015, 10:24:23 AM »

กลาโหม ชะลอ เสนอ โครงการซื้อเรือดำน้ำ จีน เข้าครม. วันนี้ หวั่นกระแส ส่งอุยกูร์ไปจีน ทำเรือดำน้ำจมหาย / ดร.สุรินทร์ บรรยายพิเศษ ห่วงปัญหาทะเลจีนใต้ ยัน จำเป็นต้องสร้างอำนาจต่อรอง ดูแลทะเล/ผบ.ทร.เปิดประชุมวิชาการ ทร. ถกบทบาทมหาอำนาจที่มีผลต่ออาเซียน-ไทย รับยุคนี้มีหลายขั้วอำนาจหวังแสดงบทบาทอาเซียนที่มีความสำคัญทั้งความมั่นคง-ศก. ทร.ต้องรักษาผลประโยชน์ชาติ /“ดร.สุรินทร์” ย้ำกองทัพต้องพัฒนาศักยภาพ ชี้ซื้อเรือดำน้ำต้องวิเคราะห์ให้ดีเพิ่มสมรรถนะ แนะแจงสังคมโลกปมอุยกูร์ ชี้ปัดความรับผิดชอบไม่ได้ เชื่อเลขาฯ สมช.ไปจีนเป็นเรื่องดี แต่ระวังกระทบกิจการภายในจีน

มีรายงานข่าวจากทร. เผย ประชุม ครม. วันนี้ โครงการซื้อแพคเกจ เรือดำน้ำจีน 3 ลำ 3.6 หมื่นล้านบาท ยังไม่เข้าครม. เพราะกลาโหม และ ทร.เห็นพ้องกันว่า อาจได้รับผลกระทบ จากกระแส ส่งอุยกูร์ ไปจีน จึงอาจรอจังหวะที่เหมาะสม ก่อน

ที่หอประชุมกองทัพเรือ พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานเปิดงาน การประชุมทางวิชาการกองทัพเรือ ครั้งที่ 8 เรื่องบทบาทมหาอำนาจที่มีผลกระทบต่อภูมิภาคเชียตะวันออกเฉียงใต้และผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลของไทย

โดยมีนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ร่วมปาฐกถาพิเศษ ด้วย

พลเรือเอก ไกรสร กล่าวว่า ปัจจุบันสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความสลับซับซ้อน รวมถึงระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีแนวโน้มว่ามีหลายขั้วอำนาจมากขึ้น ทั้งนี้ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความสำคัญต่อนานาประเทศ ทั้งความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเป็นภูมิภาคที่โอบล้อมด้วยมหาสมุทรรองรับเส้นทางการเดินเรือ ทั้งยังเป็นแหล่งพลังงานและอาหารที่สำคัญ จึงทำให้ประเทศมหาอำนาจ มุ่งเข้ามาแสดงบทบาทในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น สถานการณ์เช่นนี้นับว่าเป็นสิ่งสำคัญของกองทัพเรือ ในการปฏิบัติภารกิจเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากทะเล

นายสุรินทร์ ปาฐกถาพิเศษว่า กองทัพต้องพัฒนาศักยภาพทางทหารในอนาคต จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมตลอดเวลา ประเทศไทยมีสภาวะเศรษฐกิจในภาวะล่อแหลมต้องติดกับดักจนเป็นประเทศที่มีรายได้เศรษฐกิจปานกลาง และจะอยู่ในสภาพนี้ไปอีกนาน ประเทศไทยจึงต้องเตรียมความพร้อมโดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ เราจะขายแต่แรงงานด้อยประสิทธิภาพอีกต่อไปไม่ได้ และต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถของประเทศให้ทัดเทียมกับประเทศมหาอำนาจให้ได้

ส่วนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปลายปีนั้น สืบเนื่องจากการแข่งขันทางเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ ที่เศรษฐกิจกำลังมุ่งไปสู่จีนกับอินเดีย และเราในฐานะอาเซียนต้องเป็นหนึ่งเพื่อแย่งเอามูลค่าเศรษฐกิจและการลงทุนมาที่อาเซียนให้ได้

นายสุรินทร์กล่าวว่า จากการประชุมที่ได้เข้าร่วมที่ประเทศจีนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ทำให้ได้รับรู้ว่าอาเซียนมีความสำคัญกับเศรษฐกิจโลกมากกว่าที่คิดไว้ ทุกๆ ประเทศมหาอำนาจในโลกก็อยากมาเป็นหุ้นส่วนและมีความสำคัญในภูมิภาคอาเซียน

นายสุรินทร์ได้ให้ความเห็นตอนท้ายการปาฐกถาพิเศษว่า ประเทศไทยอยู่ในระหว่าง 2 มหาสมุทร คือ มหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก บริเวณช่องแคบมะละกา เป็นจุดสำคัญทางเศรษฐกิจที่มีการขนส่งสินค้า ที่ถืออยู่ในระดับสูงสุด ร้อยละ 58 ของเศรษฐกิจโลกอยู่ที่นี่ การดูแลพื้นที่ดังกล่าวจึงมีความจำเป็นและไทยเองอยู่ในส่วนนั้นด้วย โดยเฉพาะบริเวณอันดามัน ระยอง และประจวบคีรีขันธ์ ที่จะต้องดูแลความปลอดภัยในการขนส่งสินค้า

นอกจากนี้ทรัพยากรทางทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก มีทรัพยากรอยู่จำนวนมาก ส่วนประเทศมหาอำนาจต่างจับจ้องที่จะเข้ามามีส่วนร่วม และการประชุม 18 ประเทศอาเซียนที่มีนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เข้าร่วมประชุมเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทางอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียน ก็ได้ประกาศว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจทางทะเล เพราะเห็นว่ามีทรัพยากรทางทะเลจำนวนมากและพื้นที่เกาะมากกว่า 17,000 เกาะ

อดีตเลขาธิการอาเซียนกล่าวอีกว่า ผู้นำอาเซียนในอนาคตจะเผชิญกับประเด็นใหญ่ 2 ประเด็น คือ ปัญหาโรฮีนจา ที่มีประมาณ 1 ล้าน 5 แสนคนที่ยังไม่มีสัญชาติ ที่จะทำให้ช่องแคบมะละกาเกิดปัญหาคล้ายโจรสลัดโซมาเลียที่ดักปล้นเรือสินค้า โดยขณะนี้ต่างชาติกำลังเพ่งเล็งอาเซียนอยู่ว่าจะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร ถือเป็นบททดสอบทางด้านความมั่นคงของผู้นำอาเซียน

สำหรับปัญหาทะเลจีนใต้ที่มีปัญหาระหว่างหลายประเทศนั้น หากไม่แก้ปัญหาจะกลายเป็นปาเลสไตน์ที่มีการแย่งพื้นที่และทรัพยากรระหว่างกัน ซึ่งในเวทีอาเซียนแต่ละครั้งจีนพยายามยกเรื่องนี้ให้เป็นการพูดคุยแค่เฉพาะประเทศคู่กรณีในน่านน้ำทะเลจีนใต้เท่านั้น แต่ประเทศสมาชิกของผู้นำอาเซียนจะหยิบยกมาหารือในวงประชุมอาเซียนทุกครั้ง แม้ว่าไทยจะไม่ใช่ประเทศคู่ขัดแย้งก็ตาม แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่อาจจะได้รับผลกระทบตามมา

ในขณะที่เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ต่างเตรียมรับมือโดยมีการพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพทางกองทัพ และยุทโธปกรณ์ เช่น การมีเรือดำน้ำ เป็นต้น ส่วนไทยวันนี้ต้องถามว่าควรที่จะมีแล้วหรือไม่

นายสุรินทร์ได้เน้นย้ำว่า ประเทศไทยควรสร้างอำนาจต่อรองกับต่างประเทศทั้งความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และการสร้างทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะในเวทีระหว่างประเทศให้ความสนใจ ในการสร้างเครือข่ายหุ้นส่วนระหว่างกัน

“เราไม่มีเรื่องกับใคร แต่ต้องประคองตัวให้เรามีศักยภาพ ให้เพื่อนมีความเคารพนับถือยำเกรงเรา และสามารถมีอำนาจต่อรอง รวมถึงทำให้เห็นว่าเรารับมือได้หากมีการรบ แต่เราก็ไม่เคยคิดที่จะรุกรานใคร เพียงแต่รักษาอธิปไตยที่เรามีอยู่ให้ดีที่สุดเท่านั้น ซึ่งนี่เป็นภารกิจที่ทหารเรือตัองดำรงหน้าที่นี้ไว้ให้คงอยู่ต่อไป ถ้าเราจะให้ประเทศเดินหน้าต้องเลิกเล่นกีฬาสี การเมืองภายในประเทศต้องเลิก เราต้องมียุทธศาสตร์ในการที่จะดึงประโยชน์ของประเทศให้เทียบกับในภูมิภาคได้แล้ว คำถามคือวันนี้เราพร้อมที่จะเล่นเกมนี้ไหม ที่ทุกอย่างของโลกต่างมาบรรจบกันในเวทีอาเซียน และประเทศไทยหากจะไปถึงจุดนั้นต้องใช้ความพร้อมอย่างไรบ้าง เราห้ามไม่ให้กระแสโลกาภิวัฒน์มาที่เราไม่ได้ เราหยุดอนาคตที่ไม่แน่นอนไม่ได้ เสด็จเตี่ย บิดาแห่งกองทัพเรือ เคยบอกว่าวันนี้เราเคราะห์ดี แต่ต่อไปจะเป็นอย่างไรเราไม่รู้ แต่ถึงไม่รู้ก็ต้องเดินไป อนาคตกำลังมา เราต้องเตรียมพร้อม พัฒนาบุคลากรให้ดีเยี่ยม คนดีมีความรู้ต้องได้แสดงบทบาท พร้อมที่จะอยู่ในเวทีประชาคมโลกให้ได้อย่างสมภาคภูมิ” อดีตเลขาธิการอาเซียนกล่าว

นายสุรินทร์กล่าวต่อว่า ประเทศไทยอยู่ในระหว่าง 2 มหาสมุทรใหญ่ คือ มหาสมุทรเอเชียแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีบริเวณช่องแคบมะละกา เป็นจุดสำคัญในการส่งออกจากตะวันออกกลางไปยังญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และส่งออกจากเอเชียแปซิฟิกไปยังยุโรป จุดสำคัญจุดนี้จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะศักยภาพของกองทัพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ประเทศไทยในพื้นที่ทางทะเลตั้งแต่จังหวัดระนองจนถึงสตูล เป็นเสมือนบริเวณช่องแคบมะละกาเช่นกัน ดังนั้นกองทัพจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างเหมาะสม

ส่วนความจำเป็นที่กองทัพเรือจะต้องมีเรือดำน้ำว่าเหมาะสมแล้วหรือไม่ อดีตเลขาธิการอาเซียนกล่าวว่า เป็นเรื่องที่ทางกองทัพและหน่วยงานด้านความมั่นคงจะต้องศึกษาและวิเคราะห์ให้ดี โดยคำนึงถึงภารกิจระหว่างประเทศและเสถียรภาพว่าจะสามารถเพิ่มสมรรถนะในส่วนนี้ให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆได้อย่างไร รวมถึงความรับผิดชอบและการดูแล ซึ่งในอดีตเราเคยมีเรือดำน้ำแล้ว และนำไปต่อที่ญี่ปุ่น ซึ่งอยากให้กองทัพพัฒนาศักยภาพให้รอบด้าน โดยเฉพาะบุคลากรว่ามีความรู้ความสามารถแค่ไหน เพราะปัจจุบันโลกวิวัฒนาการไปมาก การรักษาทรัพยากรทางทะเล จึงจะต้องดูแล โดยประเทศไทยต้องสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมต่อไป

อดีตเลขาธิการอาเซียน กล่าวถึงกรณีที่ประเทศไทยส่งตัวชาวอุยกูร์ไปยังประเทศจีนว่า เรื่องนี้ประเทศไทยต้องชี้แจงให้สังคมโลกเข้าใจถึงสิ่งที่ดำเนินการไปแล้ว และเห็นด้วยที่รัฐบาลให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เข้าไปดูการปฏิบัติของจีนที่จะดำเนินการกับชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยจะต้องนำผลการปฏิบัตินั้นมาชี้แจงให้สังคมโลกเข้าใจต่อไป แต่ทั้งนี้จะต้องระวังว่าการดำเนินการดังกล่าวจะไปกระทบต่อกิจการภายในของจีนด้วย
อย่างไรก็ตาม มองว่ากระแสโลกให้ความสำคัญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ซึ่งไทยจะต้องให้ความกระจ่างและตอบสังคมโลกให้ได้

ส่วนความไม่สงบในชายแดนใต้ โดยเฉพาะช่วงเดือนรอมฎอน อดีตเลขาธิการอาเซียนกล่าวว่า ได้ติดตามการพูดคุยสันติสุขจากทั้งสองฝ่าย เห็นว่าได้หยุดชะงักไป แต่เชื่อว่าทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกลุ่มผู้เห็นต่าง เตรียมที่จะพูดคุยกันอยู่แล้ว เพราะสังคมโลกต่างจับตามองอยู่ว่าจะมีการพูดคุยหาทางออกร่วมกันอย่างไร ทั้งนี้เชื่อว่าการพูดคุยเท่านั้นเป็นทางออกที่ดีที่สุดซึ่งจะสร้างความเข้าใจในพื้นที่ให้เกิดความสงบสุขได้


บันทึกการเข้า

ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15856
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #1367 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2015, 05:55:57 PM »


555555   ยายว่าประเด็นมันอยู่ตรง    "  Timing "   ไม่เหมาะสม อ่ะ ฮา 5555

สภาวะเศรษฐกิจ  ถดถอย  " รายได้ ทุกตัว " ต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมาย อ่ะ ฮา 5555

ปัญหาเฉพาะหน้าคือ  "  กำลังซื้อ หด  "  เก็บภาษีไม่ได้  ไม่มีรายรับ เพียงพอ ต่องบประมาณ อ่ะ ฮา

55555  " จม  ก้นอ่าว "  อีกวาระหนึ่ง อ่ะ ฮา 5555555 ขำก๊าก ขำก๊าก ขำก๊าก


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1436943974


ถอยตั้งหลัก! “บิ๊กป้อม”เบรก"เรือดำน้ำ”เข้าครม.
มอบทร.กลับไปสร้างการรับรู้ปชช.


เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ที่กระทรวงกลาโหม  พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าในการเสนอโครงการจัดหาเรือดำน้ำ
เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่า คงเอาไว้ก่อน ยังไม่เข้าครม. และยังไม่ดำเนินการ

โดยระหว่างนี้ทางกองทัพเรือก็สร้างการรับรู้ไปให้มากก่อนพร้อมให้กองทัพเรือไปศึกษาให้ชัดเจน
ว่าผลประโยชน์ทางทะเลมูลค่า2 ล้านล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดหาเรือดำน้ำนั้น
มีความเหมาะสมแค่ไหนที่จะดำเนินการรวมถึงการมีผลต่อศักยภาพของกองทัพมากน้อยขนาดไหน
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #1368 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2015, 08:44:30 PM »

ผิดเวลาผิดสถานที่สร้าง
บันทึกการเข้า
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15856
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #1369 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2015, 09:13:06 PM »



ผิดเวลาผิดสถานที่สร้าง





55555  เออ  " ใช่แล้ว " อ่ะพี่ยู้ด  ฮา 55555

มาผิดเวลา  ผิดฝา  ผิดตัว  ถ้าดันตอนช่วง  " รัฐบาลพลเรือน " ฮา
ดันตอน  " มีเงิน คงคลัง " เหลือเยอะ  หลังจากจัดสรร แบ่งปันความจำเป็นเสร็จแล้ว ฮา

55555  รัฐบาลพลเรือน  ก็อยากได้  " คอมมิสชั่น  " เหมือนกัน อ่ะ ฮา 55555 ขำก๊าก ขำก๊าก ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #1370 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2015, 11:02:22 PM »

กองทัพเรือรัสเซียจะทดสอบแนวคิดแบบแผนเรือรบทรง Trimaran ใหม่

Russian Navy to Test a New Trimaran Vessel Concept Similar to LCS by Zelenodolsk Design Bureau


Zelenodolsk Design Bureau (ZPKB) Trimaran Vessel Concept (SAR) could be Russia's
future Littoral Combat Ship (LCS)


Zelenodolsk Design Bureau (ZPKB) Trimaran Vessel Concept (SAR) could be Russia's
future Littoral Combat Ship (LCS)
http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2897

สำนักออกแบบ Zelenodolsk (ZPKB: Zelenodolsk Design Bureau) ได้ทำการพัฒนาแนวคิดเรือรบผิวน้ำทรง

Trimaran สำหรับกองทัพเรือรัสเซียซึ่งพร้อมที่จะทดสอบเรือแบบจำลองย่อส่วนเพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้ของ

แนวคิดโดยแบบเรือที่มีความคล้ายคลึงกับเรือ LCS (Littoral Combat Ship) ชั้น Freedom และชั้น Independence

ของกองทัพเรือสหรัฐฯนี้ ทาง ZPKB ได้พัฒนาแบบแผนจากพื้นฐานเรือ RUSICH-2.2 ที่ใช้ในงานพลเรือน แบบเรือ

นี้ได้รับงบประมาณจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียตั้งแต่เดือนเมษายนในการออกแบบสร้างแบบจำลองทดสอบพร้อม

ระบบขับเคลื่อนความเร็วสูงในตัวที่กำหนดแบบว่า SAR โดย ZPKB  ถ้าแบบเรือนี้ได้รับการยอมรับก็อาจจะนำไปสู่

ความเป็นไปได้ในการสร้างเรือตรวจการณ์แบบใหม่ของกองทัพเรือรัสเซียและส่งออกให้ต่างประเทศที่สนใจในอนาคต


จากภาพแสดงแนวคิดแนวคิดของเรือรบทรง Trimaran แบบ SAR ของ ZPKB รัสเซียนั้น ตัวเรือมีระวางขับน้ำ

1,500 tons ทำความเร็วได้สูงสุด 35 knots  ระบบอาวุธมีปืนใหญ่เรือ A-192 ขนาด 130 mm, แท่นยิงแนวดิ่ง VLS

แบบ UKSK หรือ Redut, Torpedo แบบ Paket-NK, ระบบป้องกันระยะประชิด AK-630M-2 Duet, แท่นยิงเป้าลวง

PK-10 Radar แบบ Furke และ Mini-Poliment(จากเรือคอร์เวต Project 20385 ชั้น Gremyashchy), ระบบ Sonar

ในลำตัวเรือแบบ Zarya-2 และ Sonar ปรับความลึกได้(VDS: Variable Depth Sonar) แบบ Vinietka  Radar ความคุม

การยิง 5P-10 Puma รวมถึงลานจอดเฮลิคอปเตอร์ซึ่งมีโรงเก็บใต้ดาดฟ้าภายในลำตัวเรือรองรับ ฮ.Ka-27 หรือ

ฮ.ขนาดใกล้เคียงกันครับ

http://aagth1.blogspot.com/2015/07/trimaran.html
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
ART
ชีวิตคิดบวก แล้วจะ Happy
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 552
ออฟไลน์

กระทู้: 10809



« ตอบ #1371 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2015, 09:45:48 AM »

ฟังข่าว รมต. กลาโหมจะเลื่อนการอนุมัติจัดซื้อเรือ ดำน้ำออกไปยังไม่เสนอเข้า ครม. ให้ ทร.ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนก่อน
บันทึกการเข้า

นายฉาบฉวย
หนูจะเอา Baer
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 72
ออฟไลน์

กระทู้: 1148



เว็บไซต์
« ตอบ #1372 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2015, 09:52:57 AM »

ฟังข่าว รมต. กลาโหมจะเลื่อนการอนุมัติจัดซื้อเรือ ดำน้ำออกไปยังไม่เสนอเข้า ครม. ให้ ทร.ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนก่อน

เป็นข้ออ้างปัญญาอ่อนมาก....ไม่นึกว่าจะออกมาจากปากคนที่เป็น รมต.

ที่เคยซื้อมา ยังไม่เห็นยุคไหนที่ต้องทำความเข้าใจเลย...

ทำความเข้าใจกับคนที่ไม่เข้าใจนี่นะ...

ถ้าบอกว่า เลื่อนเพื่อรอดูสถาณการก่อน จะไม่เสียรังวัดขนาดนี้...
บันทึกการเข้า

Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #1373 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2015, 11:29:28 AM »

ต้องเข้าใจนะคนที่ติด สนิมการเมือง
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #1374 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2015, 08:08:15 PM »



บีบีซีไทย - BBC Thai

ญี่ปุ่นวิจารณ์รุนแรง กรณีจีนเข้าไปถมที่ก่อสร้างบริเวณ

หมู่เกาะพิพาทในทะเลจีนตะวันออก


กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเผยแพร่รายงานประจำปีซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์จีนอย่างรุนแรงต่อกรณีที่จีนเข้าไปถม

พื้นที่ก่อสร้างบริเวณหมู่เกาะเซ็งกะกุ หรือหมู่เกาะเตียวหยู ในทะเลจีนตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์

ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น


สมุดปกขาวฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ในวันนี้ หลังจากร่างฉบับแรกไม่ผ่านความ

เห็นชอบจากพรรคของนายอาเบะเอง เพราะไม่มีการแสดงจุดยืนที่แข็งกร้าวต่อจีนเพียงพอ โดยญี่ปุ่นได้กล่าวย้ำ

คัดค้านกิจกรรมการก่อสร้างในทะเลจีนตะวันออกที่จีนเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ 2 ปีก่อน พร้อมเรียกร้องให้จีนระงับ

การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวตามอำเภอใจ


ทั้งนี้ พื้นที่พิพาทในทะเลจีนตะวันออกของทั้งสองประเทศ อยู่ใกล้กับเส้นทางการเดินเรือที่สำคัญ และเป็นแหล่ง

การประมงที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังอยู่ใกล้กับบริเวณที่มีศักยภาพเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
หนุ่มเมืองอินทร์
ลูกสมเด็จพระนเรศ
ชาว อวป.
Jr. Member
****

คะแนน 12
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 59

ลูกนเรศ


« ตอบ #1375 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2015, 09:20:52 PM »

ขอมาลองติดตามอ่านด้วยคนครับ
บันทึกการเข้า

ข้าของแผ่นดิน
บูรพา - รักในหลวง
Sr. Member
****

คะแนน 65
ออฟไลน์

กระทู้: 752



« ตอบ #1376 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2015, 10:16:44 PM »

สมุดปกขาว  ยังขาดเกาะที่มีปัญหากับรัสเซีย ไม่เห็นประท้วงหรือประนามเลย     Grin
บันทึกการเข้า
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #1377 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2015, 11:13:31 PM »

ยังไม่อยากเปิดศึกหลายด้านมั้ง
บันทึกการเข้า
ART
ชีวิตคิดบวก แล้วจะ Happy
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 552
ออฟไลน์

กระทู้: 10809



« ตอบ #1378 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2015, 10:29:22 AM »

แง้ม'สมุดปกเขียว'แจงทุกปม'เรือดำน้ำจีน'


แง้ม'สมุดปกเขียว'กองทัพเรือแจงทุกปม'เรือดำน้ำจีน' : ทีมข่าวความมั่นคง
โครงการจัดหา "เรือดำน้ำ" ของกองทัพเรือ ที่ลงมติคัดเลือกแบบเรือดำน้ำชั้น Yuan Class S26T จำนวน 3 ลำ มูลค่า 3.6 หมื่นล้านบาท จากจีน มีอันต้องเลื่อนไปอย่างไม่มีกำหนด เพราะรัฐบาลต้องชะลอโครงการออกไปก่อน เพื่อลดกระแสต่อต้านการใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในช่วงที่ประชาชนกำลังประสบภัยแล้งขั้นรุนแรง

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จึงสั่งการให้ พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ไปจัดทำเอกสารเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจให้สาธารณชนได้รับทราบถึงเหตุผลความจำเป็นในการมีเรือดำน้ำ รวมทั้งประเด็นความคุ้มค่า และความปลอดภัยของเรือดำน้ำจากจีน

จากนั้น ผบ.ทร.ได้มอบหมายให้ พล.ร.อ.ณรงค์พล ณ บางช้าง ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำไปจัดทำเอกสารชี้แจงต่อสาธารณชน และสื่อมวลชน โดยเฉพาะการดูแลผลประโยชน์ทางทะเลที่มีมูลค่ามากกว่า 24 ล้านล้านบาทต่อปี

หนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ เปิดเผยถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับเอกสารชี้แจง หรือ "สมุดปกเขียว" ของกองทัพเรือว่า กองทัพเรือกำลังจัดทำเอกสารอยู่ โดยจะชี้แจงถึงหลักการ ความจำเป็น และเหตุผลที่กองทัพเรือจะต้องมีเรือดำน้ำในการดูแลผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่นับวันจะทวีมูลค่ามากขึ้นทุกขณะ

"การปกป้องผลประโยชน์ทางทะเลคือ การเสริมสร้างกำลังทางเรือให้ทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งการรักษาดุลคือจะต้องมีศักยภาพที่ใกล้เคียงกัน หรือเหนือกว่าก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เอาแค่ใกล้เคียงกัน กองทัพเรือจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดซื้อเรือดำน้ำมาสร้างสมดุล"

ผช.ผบ.ทร. ชี้แจงว่า ปัจจุบันประเทศในภูมิภาคนี้ได้สร้างเสริมกำลังรบโดยวางแผนล่วงหน้ามาเป็น 10 ปีแล้ว จนสามารถจัดซื้อเรือดำน้ำเข้ามาเสริมเขี้ยวเล็บกันหมดแล้ว ถ้าประเทศไทยยังรอต่อไป และยังไม่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ตอนนี้จะทำให้กำลังรบไม่ได้สมดุลกัน

"บางคนมองว่า เรามีเรือฟริเกตอยู่แล้ว แต่ที่จริงแล้วยังไม่เพียงพอ เพราะกำลังทางเรือต้องประกอบด้วยเรือผิวน้ำ ใต้น้ำ และกำลังทางอากาศ เพื่อให้มีความสมดุลทั้ง 3 มิติ ขณะนี้ถือว่าเรากำลังเสียดุล และตามหลังเขาเป็น 10 ปี"

ทั้งนี้่ เนื่องจากการซื้อเรือดำน้ำต้องรอไปถึง 5-6 ปี รวมทั้งขั้นตอนการฝึกเพื่อให้เกิดความชำนาญ ซึ่งต้องใช้เวลาอีก 2 ปี รวมแล้วก็ราวๆ 8 ปี ถึงจะทำให้มีขีดความสามารถในการรบ ซึ่งขณะที่ไทยยังไม่มีเรือดำน้ำ แต่เพื่อนบ้านกำลังจัดหาเรือดำน้ำเข้ามาเพิ่มเติม เช่น สิงคโปร์ได้สั่งต่อเรือเพิ่มจากเยอรมันอีก 2 ลำ ทั้งที่ปัจจุบันก็มีอยู่แล้ว 6 ลำ

ส่วนประเด็นโจมตีที่ว่า ระดับน้ำอ่าวไทยตื้นไม่สามารถเดินเรือดำน้ำได้นั้น ยืนยันว่า เรือดำน้ำสามารถปฏิบัติการในอ่าวไทยได้ เช่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือดำน้ำสหรัฐอเมริกาเคยเข้ามาจมเรือรบไทยมาแล้ว

"ทุกวันนี้ก็มีเรือดำน้ำของสหรัฐที่มีระวางขับน้ำถึง 5,000-6,000 ตัน ซึ่งเป็นเรือดำน้ำขนาดใหญ่เข้ามาฝึกซ้อมในอ่าวไทย ขณะที่เรือดำน้ำที่ไทยจะซื้อจากจีนมีระวางขับน้ำเพียง 2,600 ตัน จะเห็นได้ว่าสามารถปฏิบัติการได้สบาย อีกทั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ทำให้เรือสามารถดำในเขตตื้นได้ดี เพราะสามารถรักษาระดับน้ำได้อย่างเที่ยงตรง"

เรือดำน้ำสมัยใหม่สามารถเดินเรือเหนือพื้นท้องทะเล 5 เมตร ได้สบายๆ และสามารถวางกับ "พื้นทะเล" ได้เลย ซึ่งเป็นไปตามยุทธวิธีของเรือดำน้ำ เพราะเรือดำน้ำไม่จำเป็นต้องปฏิบัติการที่น้ำลึกอย่างเดียว แต่น้ำตื้นก็ต้องปฏิบัติการได้

"การปฏิบัติการในน้ำตื้นก็เป็นปฏิบัติการที่จำเป็นของเรือดำน้ำ เช่น การส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางเรือ หรือมนุษย์กบออกไปปฏิบัติการ หรือการไปวางทุ่นระเบิดทางลึกในแดนข้าศึก ซึ่งหากดำลงไปที่ระดับความลึกแค่ 20 เมตร ก็จะมองไม่เห็นแล้ว เพราะแสงสว่างลงไปไม่ถึง เราเคยฝึกซ้อมกับเรือดำน้ำของสหรัฐยังมองไม่เห็นเลย"

ส่วนกระแสโจมตีว่า เรือดำน้ำจีน "คุณภาพต่ำ" เมื่อเทียบกับของยุโรป หรือกระทั่งรัสเซียนั้น ยืนยันว่า เรือดำน้ำจีนไม่ได้มีคุณภาพต่ำอย่างที่พูดกัน เพราะจีนผลิตเรือดำน้ำใช้เองมานาน และสร้างมาแล้วมากกว่า 70 ลำ โดยพัฒนาคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง

ส่วนข้อห่วงใยเรื่อง "ความปลอดภัย" นั้น คณะกรรมการจัดซื้อเรือดำน้ำยืนยันว่า เรือดำน้ำจีนมีความปลอดภัยทั้งเรื่องการออกแบบเรือ และโครงสร้างเรือเทียบเท่ากับของยุโรป

"จีนเองก็มีความห่วงใยในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตของกำลังพลของเขาเช่นกัน ดังนั้นคงไม่ออกแบบและสร้างในสิ่งที่จะทำให้กำลังพลของเขาเสี่ยงต่อชีวิต ขณะที่อุปกรณ์ช่วยชีวิตในเรือก็ทัดเทียมกับของยุโรป แต่ที่ผ่านมามีการโจมตีกันจนเกินจริง ผมขอรับประกันในเรื่องความปลอดภัยของกำลังพล"

พล.ร.อ.ณรงค์พล กล่าวถึงกระแสโจมตีเรื่องยุทโธปกรณ์จากจีนที่เคยนำมาใช้บนเรือรบของไทยว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีเมื่อ 20 กว่าปีมาแล้ว แต่ทุกวันนี้เทคโนโลยีของจีนพัฒนาไปไกลมาก เพราะสร้างมาหมดแล้วทั้งรถไฟความเร็วสูง อากาศยาน ดาวเทียม หรือแม้แต่ "ยานอวกาศ" ซึ่งจีนผลิตสินค้าทุกประเภทตั้งแต่คุณภาพต่ำสุดจนถึงสูงสุด แล้วแต่เราที่จะเลือกซื้อมาใช้

สำหรับคุณสมบัติเด่นของเรือดำน้ำชั้น Yuan Class S26T เมื่อเทียบกับอีก 5 ประเทศที่เหลือ คือ การให้ระบบ Air-Independent Propulsion system (AIP) หรือระบบเครื่องยนต์ที่ไม่ต้องพึ่งอากาศจากผิวน้ำเพื่อยืดเวลาการอยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะทำให้เรือดำน้ำอยู่ใต้น้ำได้นานถึง 20-21 วัน โดยที่ไม่ต้องโผล่ขึ้นมา ซึ่งเป็นจุดแข็งของเรือดำน้ำยุคใหม่

เรือดำน้ำรุ่นนี้มีระวางขับน้ำ 2,600 ตัน ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับที่กองทัพเรือจีนใช้ เมื่อเป็นรุ่นเดียวกันก็จะทำให้ง่ายต่อการถ่ายทอดในการฝึก การส่งกำลังบำรุงจะง่าย อะไหล่ก็มีผลิตอย่างต่อเนื่อง เพราะจีนจะต้องพัฒนาควบคู่กันไปด้วย หากเราซื้อเรือดำน้ำรุ่น u-209 จากเยอรมัน จะลำบากในการฝึก และอัพเกรดเทคโนโลยี เพราะเยอรมันไม่ได้ใช้รุ่นนี้แล้ว

นอกจากนี้ จีนยังพ่วง "แพ็กเกจ" ที่มากับเรือดำน้ำด้วย ทั้งตอร์ปิโด จรวด ทุ่นระเบิด รวมถึงการฝึกอบรม และการสนับสนุนอะไหล่อีก 8 ปี แต่ถ้าไทยเอาเรือของยุโรปจะไม่ได้แพ็กเกจที่ครบขนาดนี้ เพราะต้องหาซื้อมาเพิ่มทั้งซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ ซึ่งเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ 3.6 หมื่นล้านบาท และในราคานี้ก็จะได้มาเพียง 2 ลำเท่านั้น

ในส่วน "งบประมาณ" ที่จะนำมาจัดซื้อจะใช้งบประมาณของ "กองทัพเรือ" ถ้าผ่อน 10 ปี จะตกปีละ 3,600 ล้านบาท ขณะที่กองทัพเรือได้งบปีละ 3 หมื่นกว่าล้านบาท

"งบประมาณในส่วนนี้ถ้ากองทัพเรือไม่ซื้อเรือดำน้ำคงต้องนำไปซื้อเรือฟริเกต หรืออากาศยาน เพื่อเสริมสร้างกำลังรบอยู่แล้ว ซึ่งงบส่วนนี้เป็นงบของกองทัพเรือและเป็นคนละส่วนกับงบประมาณที่จะนำไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ ยืนยันว่า การจัดซื้อมีความคุ้มค่า และไม่ได้ถูกล็อบบี้จากฝ่ายการเมืองแต่อย่างใด"

คณะกรรมการจัดซื้อเรือดำน้ำตั้งความหวังว่า เมื่อได้ชี้แจงครบถ้วนทุกประเด็นแล้ว ทั้งฝ่ายการเมือง และประชาชน จะมีความเข้าใจตรงกันว่า กองทัพเรือมีความตั้งใจจริงในการดูแลผลประโยชน์ทางทะเล เพราะหากมีกำลังรบที่ทัดเทียมกัน การเจรจาจะทำได้ง่ายกว่า พร้อมยืนยันว่า โครงการยังไม่ได้ยกเลิก เพียงแต่รัฐบาลต้องการให้กองทัพเรือชี้แจงให้ชัดเจนครบถ้วนเท่านั้น

http://www.komchadluek.net/detail/20150722/210220.html



บันทึกการเข้า

Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #1379 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2015, 02:30:17 PM »

สมุดปกเขียวมีคนตั้งคำถามในหลายประเด็นที่ยากจะตอบได้หรือเป็นไปไม่ได้ที่จะหาคำตอบ
เรือดำน้ำรุ่นนี้มีระวางขับน้ำ 2,600 ตัน ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับที่กองทัพเรือจีนใช้

S-26T ยังอยู่ในกระดาษอยู่เลยรุ่นที่จีนใช้ก็ใหญ่กว่านี้ และยังมีอื่นๆอีก งานเข้าซะแล้วมั้งครู
50% ของผู้ที่ไม่เห็นด้วยเพราะเรือจีนนี่แหละ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 89 90 91 [92] 93 94 95 ... 165
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.095 วินาที กับ 22 คำสั่ง