สกุลแกรมมาโตฟิลลั่ม (Grammatophyllum)
กล้วยไม้สกุลแกรมมาโตฟิลลั่มจัดอยู่ในประเภทไม้อิงอาศัย (epiphytic) พบอยู่ในป่าดิบชื้น ในแถบเอชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ประเทศพม่า ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงแถบตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก พบในธรรมชาติแล้ว 11 ชนิด
คำว่า Grammatophyllum มาจากคำในภาษากรีกคือ "Gramma" หมายถึงตัวหนังสือ และคำว่า "phyllon" หมายถึง ใบ ซึ่งหมายความว่า เป็นกล้วยไม้ที่กลีบดอกมีลักษณะเป็นลวดลายคล้ายถูกพิมพ์ตัวหนังสือลงไป
กล้วยไม้ในสกุลนี้ส่วนใหญ่จะมีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ในประเทศไทยพบในธรรมชาติเพียงชนิดเดียวคือ
Grammatophyllum speciosum ภาษาไทยเรียกว่า ว่านเพชรหึง หรือว่านหางช้าง เป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่ (Giant Orchid) และใช้กล้วยไม้ชนิดนี้เป็นตัวแทนของกล้วยไม้ในสกุลแกรมมาโตฟิลลั่ม ลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนของว่านเพชรหึงคือ มักพบขึ้นเป็นกอตามต้นไม้ใหญ่หรือขึ้นเป็นกอบนคบไม้ เนื่องจากรากที่ยึดเกาะมีลักษณะแข็งและแตกย่อยเป็นแผงเหมือนตาข่าย จึงสามารถยึดเกาะและดูดซึมสารอาหารและความชื้นจากเปลือกไม้ที่เกาะได้ดี ว่านเพชรหึงเจริญเติบโตทางยอด ลำลูกกล้วยมีขนาดใหญ่ อาจยาวได้ถึง 3 เมตร ใบเป็นแถบยาว 30-60 เซนติเมตร ผิวมัน เรียงสลับซ้านขวา โคนใบหุ้มต้นตั้งแต่กลางต้นขึ้นไป ช่อดอกตั้ง ยาว 50-100 เซนติเมตร ดอกมีสีเหลืองและมีจุดลายสีน้ำตาลเข้มกระจายทั่วกลีบดอก
ว่านเพชรหึง Grammatophyllum speciosum
หากข้อมูลผิดพลาดเรียนเชิญผู้รู้ แก้ไขขอรับ อันที่จริงกระผมชื่อ หมู ขอรับ