1. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ปัญหาที่จะตามมาหากเกิดการฟ้องร้องกันขณะเจ้ามรดกเขียนพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะหรือไม่ ใช่ลายมือเจ้ามรดกหรือไม่ มีการบังคับข่มขืนใจให้เขียนหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งข้อดีก็คือปัจจุบันเทคโนโลยีมีความทันสมัยสามารถตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อได้
2. พินัยกรรมแบบธรรมดา ต้องมีพยานสองคนลงลายมือชื่อด้วยนะครับ และที่สำคัญสองคนที่เป็นพยานต้องไม่ใช่ผู้ที่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกนั้นด้วย สำหรับความคิดเห็นของผมการทำพินัยกรรมแบบธรรมดามีข้อดีต้องที่มีพยานครับ ซึ่งคงจะต้องเป็นคนที่เจ้ามรดกไว้ใจได้ในระดับหนึ่ง ส่วนหากจะมีเหตุฟ้องร้องกันก็คงจะหนีไม่พ้นตามแบบข้อ 1
3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ไปทำต่อหน้านายอำเภอ และ 4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ซึ่งจะต้องไปทำต่อหน้านายอำเภอเช่นกัน ไม่ทราบขั้นตอนนี้ครับแต่คิดว่าหากไม่ใช่ผู้หลักผู้ใหญ่จริงๆ กว่าจะได้พบนายอำเภอคงเสียชีวิตก่อน
5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา และ 6. พินัยกรรมทำในต่างประเทศและพินัยกรรมทำในภาวการณ์รบหรือสงคราม คงไม่ต้องกล่าวถึงนะครับ
การทำพินัยกรรมแต่ละแบบมีข้อดีและเสียแตกต่างกัน ทั้งนี้ทรัพย์มรดกไม่ว่าจะมากหรือน้อยหากเกิดความแตกแยกกันในครอบครัวเรื่องยาวครับ และแม้กระทั่งทำพินัยกรรมไว้ก็ตาม ซึ่งหลายครั้งการที่เจ้ามรดกสร้างทรัพย์สินไว้มากมายหวังให้ลูกหลานอยู่สุขสบายแต่ต้องกลับกลายเป็นดาบสองคมให้ลูกหลานทะเลาะกันเอง ส่วนข้อมูลอื่นๆ รอผู้รู้มาให้ความเห็นอีกทีนะครับ