เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 15, 2024, 01:28:35 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงลาย ร้ายกว่าที่คิด  (อ่าน 2979 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2009, 11:59:59 AM »

“ชิคุนกุนยา” ไวรัสสายพันธ์ใหม่แพร่จากยุงลาย

ชี้ไม่มียารักษาแค่ประคับประคองตามอาการเท่านั้น




ระบาดอีกแล้ว!!! โรคที่มาพร้อมกับยุง.... เมื่อบอกอย่างนี้หลายคนคงนึกถึงโรคไข้เลือดออก  ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค
ไข้มาเลเรีย  ที่มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค แต่ที่น่าตกใจเพราะตอนนี้ไม่ได้มีเพียงแค่นี้เท่านั้นแต่กลับมีโรคที่มีชื่อแปลกๆ
ว่า “ชิคุนกุยา” มาทำความรำคาญและแพร่ระบาดหนักอยู่ในภาคใต้ของประเทศเราอยู่

 

สถานการณ์ล่าสุด!!! หลังจากพบผู้ป่วยที่มีอาการเหมือนติดเชื้อไวรัสชิคุกุนยา ใน 2 จังหวัดภาคใต้ คือจังหวัดนราธิวาส
และปัตตานี ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค เร่งส่งเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งทีมเจ้าหน้าที่
เข้าตรวจสอบพื้นที่และเฝ้าระวังโรคดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อหาทางยุติการแพร่ระบาดของโรคนี้

 

... เชื่อได้เลยว่าหลายคนยังคงไม่คุ้นหูกับโรคชิคุนกุนยา ไม่รู้ว่ามันเป็นโรคอะไร?Huh บ้างก็แตกตื่นคิดว่าเป็นโรคสาย
พันธ์ใหม่ แต่จริงๆ แล้วโรคนี้มีมานานแล้ว โดยถิ่นกำเนิดแรกของมันอยู่ที่ทวีปอาฟริกา และแพร่ระบาดไปหลายๆประเทศ
ทั่วโลก หนึ่งในนั้นก็รวมประเทศไทยของเราด้วย ซึ่งตรวจพบโรคชิคุนกุนยาครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาดและ
เป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย

 

น.พ.หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ออกมาบอกถึงโรคดังกล่าวว่า “ชิคุนกุนยา” เป็นโรคที่เกิดจาก
เชื้อไวรัสชิคุนกุนยา มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ ซึ่งอาการที่เด่นชัด
ในผู้ใหญ่คืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบ
ได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis) อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการ
จะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการ
ปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก ที่อาจพบ
tourniquet test ให้ผลบวก และจุดเลือดออก (petichiae) บริเวณผิวหนังได้

 

สาเหตุการติดต่อ!! โรคนี้ติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่
ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้า
สู่ต่อมน้ำลายเมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัดทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้

 

ระยะการฟักตัว!!!  โดยทั่วไปจะมีการฟักตัวประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน ระยะติดต่อคือระยะไข้สูงประมาณ
วันที่ 2-4 ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก สำหรับอาการและอาการแสดง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน
ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา
หรือมีเลือดออกตามผิวหนัง และอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว 

 

แม้อาการนำของโรคชิคุนกุนยา จะคล้ายโรคไข้เลือดออกหรือหัดเยอรมัน แต่ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นช็อก
หรือเลือดออกมาก โรคชิคุนกุนยาพบมากในฤดูฝน และทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากโรคไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่มักพบ
ในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี

 

ดูแล้วเหมือนมันอาจจะไม่ค่อยรุนแรงเหมือนโรคไข้เลือดออกสักเท่าไหร่ แต่ถึงแม้มันจะไม่สามารถคร่าชีวิตคนเราไปได้
แต่เราก็ควรที่จะระมัดระวังเอาไว้ โดยเฉพาะลูกเด็กเล็กแดงที่อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้ง่าย อีกทั้งช่วงนี้ฝนตกบ่อยทำ
ให้มีน้ำขัง เหมาะแก่การเจริญเติบโตของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคอีกด้วย

 

ส่วนวิธีป้องกันนั้น!!!  ถึงแม้ทุกวันนี้ยังไม่ยาหรือวัคซีนตัวใดที่ใช้รักษาได้โดยตรงทั้งโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา
ดังนั้นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ถ้ามีไข้สูง ก็ให้ยาลดไข้ หรือลดอาการปวดข้อ และพักผ่อนให้เพียงพอก็
สามารถบรรเทาอาการไปได้ แต่อย่างไรก็ตามการป้องกันการแพร่พันธุ์ของยุงเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ต้องหมั่นตรวจดูที่เก็บกักน้ำ ไม่ว่าจะเป็น บ่อ กะละมัง เพราะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่ จึงจำเป็นต้องมีฝา
ปิด ที่ใดที่จำเป็นต้องมีน้ำขังอยู่ก็ให้ใส่ทรายอะเบทลงไปเพื่อป้องกันการวางไข่ และควรเลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้
หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เพราะปลาจะกินลูกน้ำเป็นอาหาร

 

แต่นอกเหนือจากการป้องกันการแพร่พันธ์ของยุงแล้ว ตัวเราเองก็ต้องป้องกันตัวเราไม่ให้ถูกยุงกัดด้วย ควรติดมุ้งลวด
ในบ้าน หรือทายากันยุงขณะทำงานและออกนอกบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงกัดตอนกลางวัน และที่สำคัญต้องเฝ้าสังเกต
คนในบ้านว่ามีไข้และอาการคล้ายกับโรคชิคุนกุนยาหรือไม่ หากมีก็ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน

 

ถึงแม้ว่าวันนี้ โรคชิคุนกุนยาจะเป็นโรคใหม่ที่มีชื่อไม่คุ้นหูนัก แต่หากปล่อยให้แพร่ระบาดไปสู่วงกว้างอาจส่งผลกระทบ
ต่อสุขภาพและเศรษฐกิจได้ ... วันนี้เพียงป้องกันยุงลาย นอกจากจะป้องกันไข้เลือดออกแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคชิคุนกุนยา
ได้ด้วยนะค่ะ

 

 

เรื่องโดย : ณัฐภัทร  ตุ้มภู่  Team Content  www.thaihealth.or.th

ขอขอบคุณ
 ไหว้ ไหว้ ไหว้
http://www.thaihealth.or.th/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 31, 2009, 12:46:04 PM โดย submachine » บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2009, 12:09:13 PM »

"ชิคุนกุนยา" คืออะไร

          "โรคชิคุนกุนยา" (Chikungunya) หรือ "โรคไข้ปวดข้อยุงลาย" ไม่ใช่โรคใหม่อะไรหรอกค่ะ แต่เป็นโรคที่อุบัติขึ้นมานานแล้ว
ตั้งแต่ปี ค.ศ.1955 โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปแอฟริกา ก่อนจะแพร่ระบาดไปหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
ซึ่งผู้ที่บรรยายลักษณะของโรคชิคุนกุนยาเป็นคนแรกคือ Marion Robinson และ W.H.R. Lumsden

          การแพร่เชื้อโรคชิคุนกุนยาในทวีปแอฟริกานั้น มี 2 วงจร คือชนิด "วงจรชนบท" คน-ยุง-ลิง ซึ่งมีการระบาดเป็นครั้งคราว
ก่อนที่คนจะนำเชื้อชนิดนี้ออกมาสู่ชุมชนเมือง ทำให้เกิด "วงจรในเมือง" คน-ยุง กลายเป็นการแพร่ระบาดจากคนสู่คน โดยมียุง
เป็นพาหะนั่นเอง

          ส่วนในทวีปเอเชียวงจรที่พบคือ "วงจรในเมือง" มียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อติดต่อไปสู่คนได้ โดยเกิดการแพร่ระบาดใน
ทวีปเอเชียครั้งแรกที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ในปี ค.ศ.1963 ขณะที่ในประเทศไทยตรวจพบโรคชิคุนกุนยาครั้งแรกเมื่อ
ปี พ.ศ.2501 พร้อมๆ กับโรคไข้เลือดออกที่ระบาดเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย จากนั้นประเทศไทยก็ได้พบการแพร่ระบาดของ
โรคชิคุนกุนยามาทั้งหมด 6 ครั้ง คือในปี พ.ศ 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์, ปี พ.ศ. 2534 พบที่จังหวัดขอนแก่น และปราจีนบุรี
จากนั้นในปี พ.ศ.2536 พบว่ามีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย

          ก่อนที่ล่าสุดจะพบการระบาดอีกครั้งในช่วงต้นปี 2552 ที่จังหวัดนราธิวาส ยะลา สงขลา และปัตตานี ส่งผลให้มีผู้ป่วย
ด้วยโรคชิคุนกุนยากว่า 5,596 รายแล้ว (ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552)


ที่มาของชื่อไวรัสชิคุนกุนยา

          ชื่อของเชื้อไวรัสชิคุนกุนยานั้น มาจากคำในภาษา Makonde ซึ่งเป็นภาษาของชนพื้นเมืองในแอฟริกาที่อาศัยอยู่ทาง
ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแทนซาเนีย และทางตอนเหนือของประเทศโมแซมบิก โดยรากศัพท์พื้นเมืองเดิมเรียกว่า
kungunvala ซึ่งมีความหมายเป็นภาษาอังกฤษว่า "That which bends up" สอดคล้องกับลักษณะอาการปวดข้อของโรคนี้

สาเหตุของโรคชิคุนกุนยา

          โรคชิคุนกุนยาเกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus
และ family Togaviridae ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นจึงมักพบการระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการ
เพาะพันธุ์ของยุงลาย


การติดต่อของโรคชิคุนกุนยา

          การติดต่อของโรคชิคุนกุนยาเกิดขึ้นเมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัส
อยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสนั้นจะไปเพิ่มจำนวนมากขึ้นในตัวยุง และเมื่อยุงนั้นไปกัดคนอื่นต่อ ก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด
ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคชิคุนกุนยาได้

          ทั้งนี้โรคชิคุนกุนยามีระยะฟักตัว 1-12 วัน แต่ช่วง 2-3 วันจะพบบ่อยที่สุด ส่วนในช่วงวันที่ 2-4 จะเป็นช่วงที่มีไข้สูง
มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก และสามารถติดต่อกันได้หากมียุงลายมากัดผู้ป่วยในช่วงนี้ และนำเชื้อไปแพร่ยังผู้อื่นต่อ


อาการของโรคชิคุนกุนยา

          ผู้ที่เป็นโรคชิคุนกุนยาจะมีไข้สูงอย่างฉับพลัน ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ปวด
กล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดกระบอกตา หรือมีเลือดออกตามผิวหนัง และอาจมีอาการคันร่วมด้วย ซึ่งดูเผินๆ คล้ายกับ
โรคไข้เลือดออก หรือหัดเยอรมัน แต่จะไม่มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นช็อก หรือเลือดออกมากเช่นโรคไข้เลือดออก

          อย่างไรก็ตามโรคชิคุนกุนยาสามารถเป็นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงกว่า คือมักจะมีอาการ
ปวดข้อทั้งข้อมือ ข้อเท้า และเป็นข้ออักเสบตามมาด้วย ซึ่งมักจะเปลี่ยนตำแหน่งที่ปวดไปเรื่อยๆ บางครั้งมีอาการรุนแรง
มากจนขยับข้อไม่ได้ แต่จะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ หรือบางคนอาจจะปวดเรื้อรังอยู่เป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้


การรักษาและป้องกันโรคชิคุนกุนยา

          ทุกวันนี้ยังไม่มีวัคซีนสำหรับการรักษาและป้องกันโรคชิคุนกุนยา ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น
หากเป็นไข้ก็ให้ยาลดไข้ หรือหากปวดข้อก็ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น  แต่ล่าสุดได้มีผลการศึกษา
วิจัยพบว่า ยาคลอโรควิน (Chloroquin) สามารถบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคชิคุนกุนยาได้ผลดีเช่นกัน

          ทั้งนี้วิธีที่จะสามารถป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้ดีที่สุดก็คือ การกำจัดยุงลายอันเป็นตัวพาหะนำโรค โดยต้องหมั่นตรวจ
ดูแหล่งน้ำภายในบ้าน เช่น บ่อ กะละมัง ชาม โอ่งน้ำ ตุ่ม ฯลฯ ควรหาฝาปิดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงมาวางไข่ หรือให้
ใส่ทรายอะเบทในอัตรา 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ลงไปในน้ำก็จะสามารถป้องกันการวางไข่ของยุงลายได้ รวมทั้งให้หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องเข้ามาฉีดพ่นหมอกควันตามอาคารบ้านเรือนที่มีแหล่งน้ำขังอยู่ เพื่อเป็นการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

          นอกจากนี้ตัวเราเองก็ต้องป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยการทายากันยุง หรือใช้สารไล่ยุง และสวมเสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้
ยุงกัด รวมทั้งยังต้องเฝ้าสังเกตอาการของคนรอบข้างว่ามีอาการใกล้เคียงกับโรคชิคุนกุนยาหรือไม่ หากมีอาการคล้ายเคียง
หรือต้องสงสัยให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็ว


          จะเห็นว่าแม้โรคชิคุนกุนยาจะไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ทำให้คนป่วยได้รับความทุกข์ทรมาน และความรำคาญใจ
จากอาการปวดได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรป้องกัน และเตรียมพร้อมรับมือกับโรคชิคุนกุนยาไว้ก่อนจะดีที่สุดค่ะ

จาก

http://hilight.kapook.com/view/34749








บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2938
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31460


ช่างมันเถอะ


« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2009, 12:13:27 PM »

ขอบคุณครับพี่

ตอนนี้ระบาดในหมู่บ้านผมแล้วครับ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
 
Choro - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 214
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3853



« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2009, 12:19:20 PM »

ขอบคุณครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า

สุดท้ายชีวิตไม่ขอรวย ขอแค่ไม่ป่วยก็พอแล้ว
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2009, 01:49:32 PM »

ลำบากก็เรื่องไม่มียารักษาให้หายขาดอ่ะครับ
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

Zeus-รักในหลวง
อะฮู้.....ไฮยีน่าก็เป็นแมวนะคราบบบ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 817
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10983


I'm going to make him an offer that he can't refus


« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2009, 04:29:31 PM »

ขอบคุณครับพี่ซับฯ โดนเมียถามอยู่เหมือนกันว่าโรคพุทรา เอ๊ยชิคุนกุนยานี่มันเป็นยังไง Grin
บันทึกการเข้า

“A fear of weapons is a sign of retarded sexual and
emotional maturity.”
- Sigmund Freud

“ความกลัวอาวุธคือสัญญาณของความถดถอยทางเพศและวุฒิภาวะทางอารมณ์”
- ซิกมุนด์ ฟรอยด์
ลานดาว
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 327
ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 2420


เขาเสียคนที่รักเขามากที่สุด เราเสียคนที่ไม่รักเรา


« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2009, 05:02:04 PM »

ถ้าเป็น ..
ต้องปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ 2-3 เดือนนี่ซิ ทรมานจัง.
บันทึกการเข้า

ถ้าตกอยู่ใต้อำนาจกิเลส ตัญหา  สติปัญญาและความรู้ความสามารถที่มีก็ไร้ค่า  ความคิดอ่านทั้งหมดจะถูกนำมาใช้สนับสนุนความหลงผิด หน้ามืด ตามัว  ถ้าตั้งใจให้สัตย์ปฏิญาณกับตนเองอย่างแข็งแรงไว้ คือเป็นตายอย่างไรจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์  เราก็จะไม่มีวันสร้างเหตุแห่งความเดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นในภายหลัง
makarms
เมื่อเป้าเคลื่อนไหว สับไกทันที
Hero Member
*****

คะแนน 286
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4441


อัพเดททุกลมหายใจ


« ตอบ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2009, 05:57:00 PM »

ผมไม่ได้อ่านข้างบนนะครับ ตอบตามที่เคยสัมผัสมา...  Cheesy

     ถ้าเป็นโรคนี้จะมีอาการเจ็บตามข้อก่อน...(ข้อมือ ข้อเท้า หัวเข่า)แต่ผมมีอาการปวดที่ข้อมือก่อนวันสองวัน หลังจากนั้นอาบน้ำตอนเช้าจะสังเกตุเห็นผื่นแดงๆขึ้นตามตัว  ผมเป็นอยู่สองสัปดาห์ สัปดาห์แรก... มีไข้ มีผื่นขึ้นตามตัว มีอาการคันตามตัวด้วย นอนอย่างเดียว ปากแตกเบื่ออาหาร แต่อยากกินเปรี้ยวๆ โดยเฉพาะผลไม้ ต่อมาสัปดาห์ที่สอง.... ผื่นหาย เวียนหัว ลุกขึ้นเดินไม่ได้เพราะมึน นอนทั้งวัน อาหารก็พอกินได้นิดๆ สัปดาห์ที่สามเริ่มทานอาหารได้ ร่างกายกลับมาฟิตเหมือนเดิม แต่เดินไกลๆไม่ค่อยได้ เพราะไม่มีแรง.... สรุปเดือนนึงครับ ถึงร่างกายจะกลับมาฟิตเหมือนเดิม สำหรับผมนะ  Grin

ปล.บางคนไม่ไปหาหมอ ต้องนอนปวดข้ออยู่เป็นเดือนๆ ทรมานมาก....  Tongue
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2009, 06:06:42 PM โดย makarms » บันทึกการเข้า

มิตรภาพนั้นเกิดขึ้นง่าย แต่การรักษาไว้กลับยากยิ่ง......
(จงอย่าแสวงหาความสุข บนความทุกข์ของผู้อื่น
จงเติมน้ำใจสักนิดเพื่อเป็นมิตรที่ถาวร..........)
ทิดเป้า
Hero Member
*****

คะแนน -1181
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11916



« ตอบ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2009, 08:36:16 PM »

 ไหว้ขอบคุณครับน้าซับ.รูปหล่อ

 Winkผมีใข้วิธีเขียนป้ายไว้ในบ้าน ว่า " ห้ามกัดคน ฝ่าฝืน ทั้งปรำ ทั้งจับ "
บันทึกการเข้า

odd12:รักในหลวง
Jr. Member
**

คะแนน 6
ออฟไลน์

กระทู้: 36

มารยาทดี ประเสริฐ วิชาเลิศ ยังเป็นรอง


« ตอบ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2009, 08:44:06 PM »

ขอบคุณครับ จะได้ระวังเพิ่มมากขึ้น
บันทึกการเข้า
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2009, 04:45:21 PM »

ผมไม่ได้อ่านข้างบนนะครับ ตอบตามที่เคยสัมผัสมา...  Cheesy

     ถ้าเป็นโรคนี้จะมีอาการเจ็บตามข้อก่อน...(ข้อมือ ข้อเท้า หัวเข่า)แต่ผมมีอาการปวดที่ข้อมือก่อนวันสองวัน หลังจากนั้นอาบน้ำตอนเช้าจะสังเกตุเห็นผื่นแดงๆขึ้นตามตัว  ผมเป็นอยู่สองสัปดาห์ สัปดาห์แรก... มีไข้ มีผื่นขึ้นตามตัว มีอาการคันตามตัวด้วย นอนอย่างเดียว ปากแตกเบื่ออาหาร แต่อยากกินเปรี้ยวๆ โดยเฉพาะผลไม้ ต่อมาสัปดาห์ที่สอง.... ผื่นหาย เวียนหัว ลุกขึ้นเดินไม่ได้เพราะมึน นอนทั้งวัน อาหารก็พอกินได้นิดๆ สัปดาห์ที่สามเริ่มทานอาหารได้ ร่างกายกลับมาฟิตเหมือนเดิม แต่เดินไกลๆไม่ค่อยได้ เพราะไม่มีแรง.... สรุปเดือนนึงครับ ถึงร่างกายจะกลับมาฟิตเหมือนเดิม สำหรับผมนะ  Grin

ปล.บางคนไม่ไปหาหมอ ต้องนอนปวดข้ออยู่เป็นเดือนๆ ทรมานมาก....  Tongue

คุณมะขามเป็นกับเขาด้วยเหรอครับ

 ตกใจ ตกใจ ตกใจ
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

makarms
เมื่อเป้าเคลื่อนไหว สับไกทันที
Hero Member
*****

คะแนน 286
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4441


อัพเดททุกลมหายใจ


« ตอบ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2009, 08:03:37 AM »

ไม่มีเหลือครับ น้าซับ  คิก คิก
บันทึกการเข้า

มิตรภาพนั้นเกิดขึ้นง่าย แต่การรักษาไว้กลับยากยิ่ง......
(จงอย่าแสวงหาความสุข บนความทุกข์ของผู้อื่น
จงเติมน้ำใจสักนิดเพื่อเป็นมิตรที่ถาวร..........)
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #12 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2009, 11:43:28 AM »

แถวละแวกบ้านน้ามะขามเป็นกันเยอะไหม

แล้วปีนี้ มาลาเรีย เยอะป่าวครับ
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

สหายแป๋ง คนดง
ถึงตัวเจ้าจะจากไปแต่ชื่อและความดีของเจ้าจะอยู่ในใจพี่เสมอ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2284
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 53136


ป่าสร้างคนแต่คนกลับสร้างป่า ด้วยลมปาก


« ตอบ #13 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2009, 12:08:52 PM »

  ตั้งใจจะไปนราธิวาสพอหนุ่มน้อยmakarms  มาเป้นโรคนี้เลยระงับโปรแกรมไว้ก่อนลำพังไม่เป็นโรค"ชิคุนกุนยา"  ผมก็นอนปวด...มาหลายปี
บันทึกการเข้า

รักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์ 
ยืนหยัดในความเป็นไทย


  เกิดเป็นเซื้อซาดแฮ้ง  อย่าเหม็นสาบกุยกัน.......
  ข้าราษฎรประจำไทยควรคำนึง
http://www.youtube.com/watch?v=gM1D0xIwLVo
ต้นคระกูลไทย
http://www.youtube.com/watch?v=
sorrachat - รักในหลวง
HS 7 FVZ
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 63
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 577



« ตอบ #14 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2009, 12:20:30 PM »

ขอบคุณครับสำหรับมูล น่ากลัวนะครับมีโรคแปลกๆมาอยู่บ่อยๆเลย
บันทึกการเข้า

ผึ้งน้อย พเนจร ศรีษะนี้มอบให้พระเจ้าแผ่นดิน
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 21 คำสั่ง