เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 13, 2024, 11:28:36 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7 8
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เครื่องแอร์ฟรานซ์ หายจากจอเรดาร์  (อ่าน 14915 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Ki-jang-aey
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 62
ออฟไลน์

กระทู้: 363


« ตอบ #45 เมื่อ: มิถุนายน 08, 2009, 05:01:48 PM »

ความเห็นส่วนตัวของผม ในฐานะที่ผมทำงานกับเครื่องบินรุ่นนี้ (A330-200) ผมให้นำหนักกับการโดนวินาศกรรมครับ...ซึ่งผมอาจจะหน้าแตกในภายหลังก็ได้ แต่ขณะนี้ผมเชื่ออย่างนี้เพราะเหตุผลดังต่อไปนี้ครับ
1. ข่าวที่ว่าโดนฟ้าผ่าแล้วตกนั้น ยากครับ เพราะการบินข้ามบริเวณเส้นศูนย์สูตรแล้วเจอเมฆเยอะๆ น่ะ เป็นเรื่องธรรมดาครับ เหมือนทางแถบเกาะบอร์เนียว, สิงคโปร์, มาเลย์, ฟิลิปปินส์ เป็นต้น  ไม่มีนักบินคนไหนหรอกครับที่เห็นเมฆที่เป็นเมฆแบบอันตรายแล้วจะไม่หลบ หลบเมฆกันทีละ 30-50 ไมล์ ก็ทำกันเป็นประจำครับ ทั้งนักบินและผู้ควบคุมการจราจรของประเทศแถบเขตร้อนคุ้นเคยกันดี ถ้านักบินของแอร์ฟรานซ์ลำดังกล่าว แล้วตั้งใจไม่หลบ กะลุยเต็มที่ (ก็ต้องบ้าแน่ๆ ครับ) มันฝืนความรู้สึกจริงๆ ครับ
2. เครื่องบินโดนฟ้าผ่า ผมว่าก็โดนกันออกบ่อยนะครับ แต่ก็ไม่เห็นเป็นอะไร แต่ก็นั่นหละครับ  เราโดนกันในระดับที่ถือว่าเป็นหางๆ ของสายฟ้าแล้ว (แบบที่ว่า หลบแล้วนะ)ไอ้ที่จะโดนเต็มๆ แบบกลางก้อนเมฆ ก็ขอให้ย้อนไปอ่านข้อหนึ่งอีกที (ต้องบ้าแน่ะๆ) เพราะเครื่องบินมีระบบ กระจายประจุไฟฟ้าออกไปรอบๆ ตัว เท่าที่ผมเคยโดน ก็จะมีอาการเบลอไปบ้าง ไม่กีวินาที แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้ระบบไฟฟ้าขัดข้องเสียทั้งหมด
3. เครื่องบินรุ่นนี้ ได้รับการรับรองเรื่องการบินในแบบฉุกเฉิน (เช่น เครื่องยนต์ดับไปหนึ่งเครื่อง เหลือแค่เครื่องเดียว, ระบบปรับความดันเสีย, ระบบไฟฟ้าเหลือจำกัด, ไฮดรอลิกเหลือ 1 ใน 3 ฯลฯ ) โดยยังสามารถบินต่อไปได้อีก 3 ชั่วโมงครับ (ย้ำ 3 ชั่วโมง) นั่นคือสามารถบินกับไปหาสนามบินที่ใกล้ที่สุดที่อยู่ในระยะที่ใช้เวลาบินไม่เกิน 3 ชั่วโมง คือคร่าวๆ ประมาณ 2,700 กม. จากจุดที่เกิดเหตุนั้นครับ

(เดี๋ยวมีต่อ)


ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
ผมสงสัยเล็กน้อยครงกรณีเครื่องยนต์ดับ เครื่องบินสามารถบินได้ด้วยเครื่องยนต์เดียว 3 ชั่วโมง หรือ 2,700 กม.
เครื่องยนต์ของ A330 มีแรงขับเครื่องละประมาณ 70,000 ปอนด์ (เทียบเท่า 70,000 แรงม้า)
ปกติความเร็วเดินทางประมาณ 900 กม. ต่อ ชั่วโมง
ถ้าเครื่องดับหมายถึงเสียกำลังขับไป 50% เครื่องบินสามารถยังสามารถบินได้ด้วยความเร็วเท่าเดิมหรือครับ
แล้วมีหลักประกันอะไรไหมที่เครื่องยนต์ที่เหลืออีกหนึ่ง จะ "ไม่" ดับตามเครื่องแรกไป
มันมีที่มาครับ คือเวลาที่บินระดับปรกติเครื่องยนต์ทั้งสองข้างจะทำงานทีระดับประมาณ 70-80% ของกำลังสูงสุดที่สามารถทำได้ครับ (เพื่อการประหยัดเชื้อเพลิงและเพื่อลดการสึกหรอ) ซึ่งในระดับนี้ก็สามารถทำให้ได้ความเร็วที่ค่า มัค 0.82 แล้ว (True air speed ประมาณ 480 น็อต) พอเวลาที่เหลือเครืองยนต์เดียว เราจะใช้ให้เครื่องยนต์ที่เหลือเพิ่มกำลังไปทำงานที่สูงขึ้นไป คือที่ Maximum continueous thrust (ก็เกือบเต็มร้อยละครับ) คือไม่ได้ให้ทำงานแบบผ่อนกำลังอีกต่อไป ซึ่งก็จะทำให้ได้ True air speed ที่ใกล้เคียง 480 อยู่เหมือนเดิมครับ และในขณะเดียวกันเวลาที่เครื่องยนต์ดับไป จะต้องลดระดับลงมาบินที่ระดับต่ำกว่าอีกด้วย จึงทำให้การทำความเร็วไม่ใช่ปัญหาครับ (เปรียบเหมือนให้รถรักษาความเร็วในขณะที่ขับลงเนินน่ะครับ) หนึ่งชั่วโมงสามารถทำได้ 420-430 ไมล์ทะเล ไม่ใช่เรื่องยากครับ ขออย่างเดียวคือ ขอให้ปีก, หาง ชิ้นส่วนต่างๆ อยู่ครบก็แล้วกัน เครื่องรุ่นนี้พร้อมจะเป็นเครื่องร่อนอยู่ตลอดเวลา (ตัวเลข 900 กม.ต่อชั่วโมงของผมอาจจะเวอร์ไปนิดหน่อย)
ส่วนที่ถามว่าจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเครื่องที่เหลือจะไม่ดับตามไปอีก อันนี้ไม่มีใครในแวดวงการบินตอบได้ว่ามั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์หรอกครับ เพียงแต่ว่าก่อนที่เขาจะได้รับการ certify จากผู้ควบกฏของแต่ละประเทศ ผู้ผลิตเครื่องยนต์แต่ละรายก็จะต้องโชว์สถิติให้เห็นละครับว่า เครื่องยนต์ของเขารุ่นนั้นรุ่นนี้ อยู่ในตลาดมากี่ปีแล้ว ทำการบินไปกี่แสนหรือกี่ล้านชั่วโมงแล้ว มีสถิติของการดับในอากาศกี่เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นการให้ความมั่นใจต่อหน่วยงานที่จะให้การรับรอง เช่น FAA, JAA หรือกรมการขนส่งทางอากาศของแต่ละประเทศที่เครื่องบินลำนั้นๆ จดทะเบียนอยู่
สายการบินที่ผมทำงานด้วย เรามีเส้นทางบินที่จำเป็นต้องได้รับการรับรอง ETOPS 180 mins. อยู่ ทางสายการบินก็ต้องโชว์ว่ามีการบำรุงรักษาที่ดีเยี่ยมนะ, สถิติอัตราการดับในอากาศที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ภายในเปอร์เซ็นต์ที่รับได้มั้ย, ผู้ผลิตเครื่องยนต์และเครื่องบินเป็นอย่างไงบ้าง แน่นอนหละครับ สองรายหลังเขาเป็นผู้ผลิตสินค้าขายเขาก็ต้องมีการบินทดสอบและเก็บสถิติส่งให้ทั้ง FAA และ JAA ดูว่า เครื่องของฉันทำได้จริงนะจ๊ะนาย (ล่าสุดเมื่อประมาณสัก 2-3 ปีทีผ่านมา โบอิ้งได้ทดสอบเครื่องบินแบบ B777-200/300ER โดยเมื่อบินระดับแล้ว ดับเครื่องยนต์ไปเลยหนึ่งเครื่องแล้วบินเครื่องที่เหลือไปอีกประมาณ 5 ชั่วโมง เพื่อส่งให้ FAA รับรอง)
ในใจผู้ผลิต คงอยากจะได้รับการรับรองให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะมันเป็นชื่อเสียงของเขา (ขายได้ดี, แพงขึ้น) แต่ในแง่ของผู้ให้การรับรองก็คิดถึงความปลอดภัยเป็นหลัก ก็เลยดึงๆ กันไว้ที่ 180 นาทีก่อนแล้วกัน ทีนี้กรมการขนส่งของประเทศอื่น เช่นของไทย ก็ต้องตามแบบประเทศใหญ่ๆ เขาละครับ เขารับรองก็เลยรับรองตาม โดยมีข้อกำหนดต่างๆ มากมาย ปัจจุบันนี้ผมไม่แน่ใจว่าการบินไทยได้ยื่นของการรับรอง ETOPS 180 นาทีหรือยัง แต่ 120 นาที่ผมมั่นใจว่าเขามีแน่ๆ เพราะเส้นทางของการบินไทยอาจจะยังไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ 180 นาที เพราะขอสูงไปเกินความจำเป็นก็จะเป็นภาระทางด้านการบำรุงรักษาไปเสียเปล่าๆ  และถ้าเมื่อใดเกิดมีเครื่องดับบนอากาศก็จะทำให้สถิติเสีย และอาจจะทำให้ถูกยกเลิกการรับรองในท้ายที่สุดไปอีก ทำให้การรับรองต้องลดลงมาที่ 120 นาทีอีก

โอกาสที่เครื่องยนต์จะดับพร้อมกันทั้งหมดก็ยังมีครับ เช่นบินเข้ากลุ่มควันภูเขาไฟ เป็นต้น




บันทึกการเข้า
menkmenk รักในหลวง
Happy Shooting , Happy Fishing
Sr. Member
****

คะแนน 63
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 806



« ตอบ #46 เมื่อ: มิถุนายน 08, 2009, 05:16:00 PM »

พอดีไปอ่านเจอมาครับ
ETOPS
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aquarious&group=11&month=09-2008&date=30
บันทึกการเข้า

รักในหลวง
-Joke-
Vive la liberté de parole et d'opinion!
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน -459
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4225


^_^


« ตอบ #47 เมื่อ: มิถุนายน 08, 2009, 05:43:50 PM »

Grin ใช่กรณีกิบลิไกลดิงหรือเปล่าครับท่านกบ Grin

ใช่ครับเป็นกรณีศึกษาที่ดีกรณีหนึ่งครับ เป็นความผิดพลาดอันใหญ่หลวงของสายการบินแอร์แคนาดา เปลี่ยนระบบชั่งตวงวัดใหม่ นักบินสั่งน้ำมันเป็นกิโล ช่างเติมน้ำมันเป็นปอนด์ ผลออกมา.....น้ำมันหายไปกว่าครึ่งครับ บินๆอยู่ดีๆน้ำมันหมดกลางอากาศ โชคดีที่กัปตันเคยบินลงสนามบินแห่งนี้..แต่ก็ความบังเอิญอีกครับที่วันนั้นสนามบินนี้พึ่งจะเสร็จสิ้นการแข่งรถไปไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา และสนามบินนี้ได้ยกเลิกการบินมานานแล้ว.... เครื่อง 767 ลำนั้นเลยได้ถูกตั้งชื่อว่า กิปลิ ครับตามชื่อสนามบิน
ยังมีกรณีศึกษาของเลาด้าร์แอร์ด้วยครับที่ระเบิดกลางอากาศที่สุพรรณบุรีด้วย...ตัว Thrust Reverser มันตีมือแทบพังเลยครับ..ตบแทบไม่ทัน..ไม่งั้นเครื่องยนต์ระเบิดครับ


กรณี เครื่องยนต์ดับไปหนึ่งเครื่อง จากสองเครื่อง 
ต้องทิ้งสัมภาระที่โหลดทิ้งไปหรือเปล่าครับ เพื่อให้เครื่องยนต์ที่เหลือรับภาระน้อยลง
(เคยเจอแต่ ยางล้อเครื่องบินแตก นักบิน ต้องทิ้งโหลดสัมภาระลงทะเลหมด เพื่อให้เครื่องเบา หนักกว่านั้น
ต้องทิ้งน้ำมันบางส่วนด้วย)

ในปัจจุบันนี้เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินและจะต้องนำเครื่องบินกลับมาลงให้เร็วที่สุด และน้ำหนักสูงสุดที่จะทำการร่อนลงนั้นเกินกว่าน้ำหนักที่ให้ไว้ มีสามกรณีที่จะต้องตัดสินใจคือ
1. บินไปทิ้งน้ำมันเชื้อเพลิง จะมีเฉพาะเครื่องบินบางแบบเช่น B747 All serries, MD-11 ส่วนเครื่องบินพิสัยกลางและพิสัยใกล้จะไม่มีการทิ้งน้ำมันเชื้อเพลิงกลางอากาศ การทิ้งน้ำมันเชื้อเพลิงทางอากาศ สายการบินจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตามมาคือการรักษาสภาพแวดล้อมที่เสียไป ในแต่ละสนามบินจะมีพื้นที่และความสูงที่ให้เครื่องบินบินไปทิ้งน้ำมันเชื้อเพลิง
2. บินวนเวียนจนกว่าน้ำหนักจะลดลงมาเท่ากับน้ำหนักสูงสุดที่สามารถร่อนลงได้ นานจนน่าเบื่อ
3. ลงมันทั้งอย่างนั้น (ภาษาชาวบ้านครับ) (Over weight landing) ซึ่งเครื่องบินแต่ละแบบจะมีข้อกำหนดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เช่นลดอัตราร่อนในระยะ 500 ฟุตสุดท้ายให้เหลือต่ำกว่า 300 Ft/min เป็นต้น ซึ่งอัตราร่อนนี้จะใช้ระยะทางในการร่อนมากกว่าปรกติ และอาจจะกินระยะทางของทางวิ่งลงไปบ้าง.... แต่ถึงอย่างไรก็ตามไม่ว่าจะร่อนลงด้วยอัตราเท่าไหร่.......ความปลอดภัยต้องมาก่อน หลังจากเครื่องลงถึงพื้นเรียบร้อย...เป็นหน้าที่ของกัปตันที่จะสั่งให้อพยบฉุกเฉิน (Emergency Evacuation Procedure) หรือไม่ เพราะหากสั่งให้มีการอพยพความโกลาหลย่อมเกิดขึ้นอาจจะมีผู้ได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างสายการบิน Qantas B747-300 หลุดออกนอกทางวิ่งที่ดอนเมืองเนื่องจากลงตามลมและไมาสามารถหยุดเครื่องบินได้ ล้อหน้าไปจมในสนามกอล์ฟ แต่กัปตันตัดสินใจให้รถบันไดมารับผู้โดยสาร..จึงไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บมาก ทุกอย่างขึ้นกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นครับ



ผมนึกถึง Case JAL123 ครับพี่กบ ที่ตรงส่วนหางหลุดไปแทบทั้งกระบิ แถมไฮดรอลิคพัง นักบินฝืนต่อไปได้ 30 นาทีแล้วชนภูเขา น่าเศร้ามากครับ พอทดสอบในซิมให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ยังไม่มีใครฝืนได้นานขนาดนั้นเลยครับ
บันทึกการเข้า

A la volonté du peuple
Et à la santé du progrès,
Remplis ton cœur d'un vin rebelle
Et à demain, ami fidèle.
Nous voulons faire la lumière
Malgré le masque de la nuit
Pour illuminer notre terre
Et changer la vie.
flyingkob-รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 361
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2396


"สุวิชาโน ภวัง โหติ" ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ


« ตอบ #48 เมื่อ: มิถุนายน 08, 2009, 07:14:54 PM »

Grin ใช่กรณีกิบลิไกลดิงหรือเปล่าครับท่านกบ Grin

ใช่ครับเป็นกรณีศึกษาที่ดีกรณีหนึ่งครับ เป็นความผิดพลาดอันใหญ่หลวงของสายการบินแอร์แคนาดา เปลี่ยนระบบชั่งตวงวัดใหม่ นักบินสั่งน้ำมันเป็นกิโล ช่างเติมน้ำมันเป็นปอนด์ ผลออกมา.....น้ำมันหายไปกว่าครึ่งครับ บินๆอยู่ดีๆน้ำมันหมดกลางอากาศ โชคดีที่กัปตันเคยบินลงสนามบินแห่งนี้..แต่ก็ความบังเอิญอีกครับที่วันนั้นสนามบินนี้พึ่งจะเสร็จสิ้นการแข่งรถไปไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา และสนามบินนี้ได้ยกเลิกการบินมานานแล้ว.... เครื่อง 767 ลำนั้นเลยได้ถูกตั้งชื่อว่า กิปลิ ครับตามชื่อสนามบิน
ยังมีกรณีศึกษาของเลาด้าร์แอร์ด้วยครับที่ระเบิดกลางอากาศที่สุพรรณบุรีด้วย...ตัว Thrust Reverser มันตีมือแทบพังเลยครับ..ตบแทบไม่ทัน..ไม่งั้นเครื่องยนต์ระเบิดครับ


กรณี เครื่องยนต์ดับไปหนึ่งเครื่อง จากสองเครื่อง 
ต้องทิ้งสัมภาระที่โหลดทิ้งไปหรือเปล่าครับ เพื่อให้เครื่องยนต์ที่เหลือรับภาระน้อยลง
(เคยเจอแต่ ยางล้อเครื่องบินแตก นักบิน ต้องทิ้งโหลดสัมภาระลงทะเลหมด เพื่อให้เครื่องเบา หนักกว่านั้น
ต้องทิ้งน้ำมันบางส่วนด้วย)

ในปัจจุบันนี้เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินและจะต้องนำเครื่องบินกลับมาลงให้เร็วที่สุด และน้ำหนักสูงสุดที่จะทำการร่อนลงนั้นเกินกว่าน้ำหนักที่ให้ไว้ มีสามกรณีที่จะต้องตัดสินใจคือ
1. บินไปทิ้งน้ำมันเชื้อเพลิง จะมีเฉพาะเครื่องบินบางแบบเช่น B747 All serries, MD-11 ส่วนเครื่องบินพิสัยกลางและพิสัยใกล้จะไม่มีการทิ้งน้ำมันเชื้อเพลิงกลางอากาศ การทิ้งน้ำมันเชื้อเพลิงทางอากาศ สายการบินจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตามมาคือการรักษาสภาพแวดล้อมที่เสียไป ในแต่ละสนามบินจะมีพื้นที่และความสูงที่ให้เครื่องบินบินไปทิ้งน้ำมันเชื้อเพลิง
2. บินวนเวียนจนกว่าน้ำหนักจะลดลงมาเท่ากับน้ำหนักสูงสุดที่สามารถร่อนลงได้ นานจนน่าเบื่อ
3. ลงมันทั้งอย่างนั้น (ภาษาชาวบ้านครับ) (Over weight landing) ซึ่งเครื่องบินแต่ละแบบจะมีข้อกำหนดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เช่นลดอัตราร่อนในระยะ 500 ฟุตสุดท้ายให้เหลือต่ำกว่า 300 Ft/min เป็นต้น ซึ่งอัตราร่อนนี้จะใช้ระยะทางในการร่อนมากกว่าปรกติ และอาจจะกินระยะทางของทางวิ่งลงไปบ้าง.... แต่ถึงอย่างไรก็ตามไม่ว่าจะร่อนลงด้วยอัตราเท่าไหร่.......ความปลอดภัยต้องมาก่อน หลังจากเครื่องลงถึงพื้นเรียบร้อย...เป็นหน้าที่ของกัปตันที่จะสั่งให้อพยบฉุกเฉิน (Emergency Evacuation Procedure) หรือไม่ เพราะหากสั่งให้มีการอพยพความโกลาหลย่อมเกิดขึ้นอาจจะมีผู้ได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างสายการบิน Qantas B747-300 หลุดออกนอกทางวิ่งที่ดอนเมืองเนื่องจากลงตามลมและไมาสามารถหยุดเครื่องบินได้ ล้อหน้าไปจมในสนามกอล์ฟ แต่กัปตันตัดสินใจให้รถบันไดมารับผู้โดยสาร..จึงไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บมาก ทุกอย่างขึ้นกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นครับ



ผมนึกถึง Case JAL123 ครับพี่กบ ที่ตรงส่วนหางหลุดไปแทบทั้งกระบิ แถมไฮดรอลิคพัง นักบินฝืนต่อไปได้ 30 นาทีแล้วชนภูเขา น่าเศร้ามากครับ พอทดสอบในซิมให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ยังไม่มีใครฝืนได้นานขนาดนั้นเลยครับ

ถ้าหากได้ดูกรณ๊ศึกษาของ JAL-123 แล้วจะพบว่าสิ่งที่ผิดปรกติเกิดขึ้นที่ผนังด้านท้ายของเครื่องบิน เมื่อเครื่องบินเริ่มมีการอัดแรงดันอากาศจึงปริแตกและเกิดการระเบิดขึ้นทำให้เศษของโลหะไปตัดสาย Hydraulic จึงทำให้น้ำมัน Hydraulic หมดและบังคับเครื่องไม่ได้การบินจึงอยู่ได้ด้วยกำลังเครื่องยนต์ และเมื่อเครื่องชนกับเขาก่อนที่จะถึงสนามบิน.ยังมีผู้โดยสารจำนวนหนึ่งที่รอดชีวิต.....แต่การค้นและกู้ภัยทำได้ลำบากกว่าจะขึ้นไปถึงบริเวณเครื่องตกใช้เวลาร่วมๆสี่วัน จึงเหลือผู้โดยสารรอดชีวิตเพียง 4 คนเท่านั้นบางคนยังมีเวลาเพียงพอที่จะเขียนจดหมายลาตายครับ เป็นเหตุการณ์ที่เศร้าที่สุดในกรณีอุบัติเหตุทางอากาศ
ยังมีอีกกรณีศึกษาของสายการบิน China Airline B747 บินจากไทเปไปยังซานฟราซิสโก โดนกระแสอากาศแปรปรวน ทำให้เครื่องยนต์ดับทั้งหมดสามเครื่อง นักบินต้องลดระดับลงมาอย่างรวดเร็วเพราะต้องใช้อากาศเป็นตัวผลักดันกังหันใบพัดให้มีแรงอัดเพียงพอที่จะติดเครื่องยนต์....กว่าจะติดได้เหลือระยะสูงแค่ 7000 ฟุตเหนือแปซิฟิก.....จึงติดเครื่องยนต์ได้หมด..นำเครื่องลงจอดฉุกเฉินที่ซานฟรานฯ...แต่ผลการสอบสวนปรากฎว่านักบินทำผิดขั้นตอนการปฏิบัติ....เลยถูกสั่งให้งดบินนานพอสมควร ที่บริเวณ Rudder เป็นรอยโหว่ฉีกขาดอย่างชนิดที่ทุกคนถามว่า "รอดมาได้ยังไง"

ยังมีกรณีศึกษาอีกเยอะครับ..ที่นักบินสายการบินต้องศึกษาทำความเข้าใจจากอุบัติเหตุิว่ามันเกิดจากอะไร เพราะอะไร และทำไม และต่อไปเราจะทำอย่างไรเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นนักบินสายการบินระดับห้าดาว หรือนักบินระดับ Low cost airline มาตรฐานการฝึกแต่ละสายการบินเท่ากันหมด....เพียงแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้น...

ส่วนเรื่อง ETOP นั้นมันมีที่มาคือ ปัจจุบันเครื่องบินโดยสารสองเครื่องยนต์นั้นได้ออกแบบมาให้สามารถบินได้ไกลเกือบเท่ากันกับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ แต่บรรทุกจำนวนผู้โดยสารได้น้อยกว่าเพราะขนาดของมัน ดังนั้นเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะบางเส้นทางนั้นทำอย่างไรก็ไม่สามารถหาจำนวนผู้โดยสารให้ได้เต็ม..จึงเอาเครื่องบินเหล่านี้มาบิน..ในระยะเริ่มแรกต้องลงจอดกลางทางเพื่อเติมน้ำมันเชื้อเพลิง..ทั้งนี้เพื่อให้ถูกต้องตามกฎการบินสากล..แต่ค่าใช้จ่ายก็ยังสูงอยู่และทำให้เวลาของการเดินทางเพิ่มขึ้น จึงเป็นที่มาของการบินด้วย ETOP (Extra Range Twin-Engine Operations)
ซึ่งการบินภายใต้ระเบียบ ETOP มีสิ่งต่างๆอีกเยอะไม่ใช่แค่ระบบการซ่อมบำรุงเพียงอย่างเดียว การฝึกนักบินก็มีผลด้วย รวมทั้งการวางแผนการบินแต่ละเที่ยวบินซึ่งจะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของการบิน ส่วนการจะได้มาซึ่ง ETOP 75 นาที, 90 นาที, 120 นาที, 138 นาที, 180 นาที นั้นขึ้นกับขีดความสามารถของแต่ละสายการบิน..ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติการบินเพื่อให้องค์กรการบินรับรอง...และต้องรักษามาตรฐานตลอดไป


ความเห็นส่วนตัวของผม ในฐานะที่ผมทำงานกับเครื่องบินรุ่นนี้ (A330-200) ผมให้นำหนักกับการโดนวินาศกรรมครับ...ซึ่งผมอาจจะหน้าแตกในภายหลังก็ได้ แต่ขณะนี้ผมเชื่ออย่างนี้เพราะเหตุผลดังต่อไปนี้ครับ
1. ข่าวที่ว่าโดนฟ้าผ่าแล้วตกนั้น ยากครับ เพราะการบินข้ามบริเวณเส้นศูนย์สูตรแล้วเจอเมฆเยอะๆ น่ะ เป็นเรื่องธรรมดาครับ เหมือนทางแถบเกาะบอร์เนียว, สิงคโปร์, มาเลย์, ฟิลิปปินส์ เป็นต้น  ไม่มีนักบินคนไหนหรอกครับที่เห็นเมฆที่เป็นเมฆแบบอันตรายแล้วจะไม่หลบ หลบเมฆกันทีละ 30-50 ไมล์ ก็ทำกันเป็นประจำครับ ทั้งนักบินและผู้ควบคุมการจราจรของประเทศแถบเขตร้อนคุ้นเคยกันดี ถ้านักบินของแอร์ฟรานซ์ลำดังกล่าว แล้วตั้งใจไม่หลบ กะลุยเต็มที่ (ก็ต้องบ้าแน่ๆ ครับ) มันฝืนความรู้สึกจริงๆ ครับ
2. เครื่องบินโดนฟ้าผ่า ผมว่าก็โดนกันออกบ่อยนะครับ แต่ก็ไม่เห็นเป็นอะไร แต่ก็นั่นหละครับ  เราโดนกันในระดับที่ถือว่าเป็นหางๆ ของสายฟ้าแล้ว (แบบที่ว่า หลบแล้วนะ)ไอ้ที่จะโดนเต็มๆ แบบกลางก้อนเมฆ ก็ขอให้ย้อนไปอ่านข้อหนึ่งอีกที (ต้องบ้าแน่ะๆ) เพราะเครื่องบินมีระบบ กระจายประจุไฟฟ้าออกไปรอบๆ ตัว เท่าที่ผมเคยโดน ก็จะมีอาการเบลอไปบ้าง ไม่กีวินาที แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้ระบบไฟฟ้าขัดข้องเสียทั้งหมด
3. เครื่องบินรุ่นนี้ ได้รับการรับรองเรื่องการบินในแบบฉุกเฉิน (เช่น เครื่องยนต์ดับไปหนึ่งเครื่อง เหลือแค่เครื่องเดียว, ระบบปรับความดันเสีย, ระบบไฟฟ้าเหลือจำกัด, ไฮดรอลิกเหลือ 1 ใน 3 ฯลฯ ) โดยยังสามารถบินต่อไปได้อีก 3 ชั่วโมงครับ (ย้ำ 3 ชั่วโมง) นั่นคือสามารถบินกับไปหาสนามบินที่ใกล้ที่สุดที่อยู่ในระยะที่ใช้เวลาบินไม่เกิน 3 ชั่วโมง คือคร่าวๆ ประมาณ 2,700 กม. จากจุดที่เกิดเหตุนั้นครับ

(เดี๋ยวมีต่อ)


ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
ผมสงสัยเล็กน้อยครงกรณีเครื่องยนต์ดับ เครื่องบินสามารถบินได้ด้วยเครื่องยนต์เดียว 3 ชั่วโมง หรือ 2,700 กม.
เครื่องยนต์ของ A330 มีแรงขับเครื่องละประมาณ 70,000 ปอนด์ (เทียบเท่า 70,000 แรงม้า)
ปกติความเร็วเดินทางประมาณ 900 กม. ต่อ ชั่วโมง
ถ้าเครื่องดับหมายถึงเสียกำลังขับไป 50% เครื่องบินสามารถยังสามารถบินได้ด้วยความเร็วเท่าเดิมหรือครับ
แล้วมีหลักประกันอะไรไหมที่เครื่องยนต์ที่เหลืออีกหนึ่ง จะ "ไม่" ดับตามเครื่องแรกไป
มันมีที่มาครับ คือเวลาที่บินระดับปรกติเครื่องยนต์ทั้งสองข้างจะทำงานทีระดับประมาณ 70-80% ของกำลังสูงสุดที่สามารถทำได้ครับ (เพื่อการประหยัดเชื้อเพลิงและเพื่อลดการสึกหรอ) ซึ่งในระดับนี้ก็สามารถทำให้ได้ความเร็วที่ค่า มัค 0.82 แล้ว (True air speed ประมาณ 480 น็อต) พอเวลาที่เหลือเครืองยนต์เดียว เราจะใช้ให้เครื่องยนต์ที่เหลือเพิ่มกำลังไปทำงานที่สูงขึ้นไป คือที่ Maximum continueous thrust (ก็เกือบเต็มร้อยละครับ) คือไม่ได้ให้ทำงานแบบผ่อนกำลังอีกต่อไป ซึ่งก็จะทำให้ได้ True air speed ที่ใกล้เคียง 480 อยู่เหมือนเดิมครับ และในขณะเดียวกันเวลาที่เครื่องยนต์ดับไป จะต้องลดระดับลงมาบินที่ระดับต่ำกว่าอีกด้วย จึงทำให้การทำความเร็วไม่ใช่ปัญหาครับ (เปรียบเหมือนให้รถรักษาความเร็วในขณะที่ขับลงเนินน่ะครับ) หนึ่งชั่วโมงสามารถทำได้ 420-430 ไมล์ทะเล ไม่ใช่เรื่องยากครับ ขออย่างเดียวคือ ขอให้ปีก, หาง ชิ้นส่วนต่างๆ อยู่ครบก็แล้วกัน เครื่องรุ่นนี้พร้อมจะเป็นเครื่องร่อนอยู่ตลอดเวลา (ตัวเลข 900 กม.ต่อชั่วโมงของผมอาจจะเวอร์ไปนิดหน่อย)
ส่วนที่ถามว่าจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเครื่องที่เหลือจะไม่ดับตามไปอีก อันนี้ไม่มีใครในแวดวงการบินตอบได้ว่ามั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์หรอกครับ เพียงแต่ว่าก่อนที่เขาจะได้รับการ certify จากผู้ควบกฏของแต่ละประเทศ ผู้ผลิตเครื่องยนต์แต่ละรายก็จะต้องโชว์สถิติให้เห็นละครับว่า เครื่องยนต์ของเขารุ่นนั้นรุ่นนี้ อยู่ในตลาดมากี่ปีแล้ว ทำการบินไปกี่แสนหรือกี่ล้านชั่วโมงแล้ว มีสถิติของการดับในอากาศกี่เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นการให้ความมั่นใจต่อหน่วยงานที่จะให้การรับรอง เช่น FAA, JAA หรือกรมการขนส่งทางอากาศของแต่ละประเทศที่เครื่องบินลำนั้นๆ จดทะเบียนอยู่
สายการบินที่ผมทำงานด้วย เรามีเส้นทางบินที่จำเป็นต้องได้รับการรับรอง ETOPS 180 mins. อยู่ ทางสายการบินก็ต้องโชว์ว่ามีการบำรุงรักษาที่ดีเยี่ยมนะ, สถิติอัตราการดับในอากาศที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ภายในเปอร์เซ็นต์ที่รับได้มั้ย, ผู้ผลิตเครื่องยนต์และเครื่องบินเป็นอย่างไงบ้าง แน่นอนหละครับ สองรายหลังเขาเป็นผู้ผลิตสินค้าขายเขาก็ต้องมีการบินทดสอบและเก็บสถิติส่งให้ทั้ง FAA และ JAA ดูว่า เครื่องของฉันทำได้จริงนะจ๊ะนาย (ล่าสุดเมื่อประมาณสัก 2-3 ปีทีผ่านมา โบอิ้งได้ทดสอบเครื่องบินแบบ B777-200/300ER โดยเมื่อบินระดับแล้ว ดับเครื่องยนต์ไปเลยหนึ่งเครื่องแล้วบินเครื่องที่เหลือไปอีกประมาณ 5 ชั่วโมง เพื่อส่งให้ FAA รับรอง)
ในใจผู้ผลิต คงอยากจะได้รับการรับรองให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะมันเป็นชื่อเสียงของเขา (ขายได้ดี, แพงขึ้น) แต่ในแง่ของผู้ให้การรับรองก็คิดถึงความปลอดภัยเป็นหลัก ก็เลยดึงๆ กันไว้ที่ 180 นาทีก่อนแล้วกัน ทีนี้กรมการขนส่งของประเทศอื่น เช่นของไทย ก็ต้องตามแบบประเทศใหญ่ๆ เขาละครับ เขารับรองก็เลยรับรองตาม โดยมีข้อกำหนดต่างๆ มากมาย ปัจจุบันนี้ผมไม่แน่ใจว่าการบินไทยได้ยื่นของการรับรอง ETOPS 180 นาทีหรือยัง แต่ 120 นาที่ผมมั่นใจว่าเขามีแน่ๆ เพราะเส้นทางของการบินไทยอาจจะยังไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ 180 นาที เพราะขอสูงไปเกินความจำเป็นก็จะเป็นภาระทางด้านการบำรุงรักษาไปเสียเปล่าๆ  และถ้าเมื่อใดเกิดมีเครื่องดับบนอากาศก็จะทำให้สถิติเสีย และอาจจะทำให้ถูกยกเลิกการรับรองในท้ายที่สุดไปอีก ทำให้การรับรองต้องลดลงมาที่ 120 นาทีอีก

โอกาสที่เครื่องยนต์จะดับพร้อมกันทั้งหมดก็ยังมีครับ เช่นบินเข้ากลุ่มควันภูเขาไฟ เป็นต้น







ในการบินปรกตินั้นมันไม่ใช่ว่าใช้ความเร็ว .82M แล้วกำลังเครื่องยนต์จะต้องอยู่ที่ 70-80% ของกำลังเครื่องยนต์สูงสุด.... ความเร็วที่ใช้เดินทางปรกติจะขึ้นกับความสูงที่เกี่ยงข้องกับน้ำหนักเครื่องบิน ณเวลานั้น ซึ่งสามารถคำนวณได้จากแผนการบินก่อนบิน และคำนวณในระหว่างบินโดยตัว FMS จะเป็นตัวคำนวณให้ ซึ่งอาจจะไม่ถึงหรือเกินกว่านั้นมันไม่มีอะไรแน่นอนที่จะต้องเป๊ะๆขนาดนั้น แค่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง 1 องศาทุกอย่างก็เปลี่ยนแล้วครับ

ในความเป็นจริง......หากเกิดกรณีฉุกเฉิน...ไม่ว่าเครื่องยนต์ดับ เครื่องยนต์ระเบิด ระบบปรับความดันเสียหาย ลำตัวฉีกขาด เกิดผู้โดยสารหัวใจวาย ลมชัก เบาหวานกำเริบ ฯลฯ ไม่มีนักบินคนไหนที่จะมาบิน 180 นาทีอ้อยอิ่งอยู่บนฟ้าหรอกครับ และเครื่องบินไม่สามารถรักษาระดับเพดานบินได้หากเครื่อยนต์ดับหนึ่งเครื่องต้องร่อนลงมาบินในระดับที่เครื่องบินสามารถบินได้ด้วยเครื่องยนต์เดียว และต้องหาสนามบินที่เหมาะสมลงให้เร็วที่สุด ดังนั้นต้องทำความเข้าใจให้มากกว่านี้ครับว่า Land at the nearest suitable airport หมายความว่าอะไร

สำหรับกรณีของสายการบิน Air France ที่เกิดอุบัติเหตุเหนือมหาสมุทรแอตแลนติกนั้น ผมได้คาดคะเนมาในหน้าแรกๆซึ่งการก่อวินาศกรรมอาจจะเป็นไปได้ และอุบัติเหตุจากวัตุถุอันตรายที่บรรทุกมาเกิดการสันดาปกันในห้องเก็บสินค้า หรือแม้กระทั่งอาจจะเกิดจากการรั่วไหลของเชื้อเพลิงในอากาศในขณะที่บินผ่ากระแสอากาศแปรปรวน
กระแสอากาศแปรปรวนนั้นในห้วงอากาศจะมีประจุไฟฟ้าทั้งบวกและลบกระจายอยู่ทั่วบริเวณ และที่เรียกกันทั่วๆไปคือ ฟ้าร้องฟ้าแลบและฟ้าผ่า ถึงแม้ว่านักบินจะบินหลบสภาพอากาศที่มองเห็นในเรดาร์ตรวจอากาศ หรือมองด้วยตาเปล่าก็ตาม บางครั้งอาจจะมีฟ้าผ่าในแนวนอนวิ่งเข้าหาเครื่องบินซึ่งเป็นไปได้ (เคยโดนมาแล้วครับ..มันวิ่งมาหาในระยะสี่สิบไมล์...ขี้ขึ้นสมองเลยครับ)

อะไรก็เป็นไปได้ครับเมื่อเท้าพ้นพื้น

บันทึกการเข้า

ตึกยาวหลังนี้ สอนให้เรารู้สำนึกถึงบุญคุณของแผ่นดิน
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #49 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2009, 02:26:22 AM »

ขอบคุณความรู้และประสบการณ์ที่มีคุณค่ามากครับ  ไหว้ ไหว้


บันทึกการเข้า
ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
มืออ่อน หมัดแข็ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 857
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6569


เตสาหัง สิรสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตเม


« ตอบ #50 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2009, 08:07:56 AM »

พี่ๆให้ข้อมูลไว้ครบถ้วนแล้วครับ.....

ถ้าฟ้าผ่าธรรมดา หรือสตอล  เครื่องยนต์ดับ ยังแก้ไขได้ไม่ยากนัก

หากเกิด Explosive Decompression หรือการระเิบิดฉีกขาดของลำตัวที่ความสูงมากๆ

ต้องนำเครื่องลงสู่ความสูงปลอดภัยอย่างรวดเร็ว คือประมาณ 10000 ฟุต

หากตัวเครื่องมีความเสียหายมากจนไม่อาจทำการบินต่อได้ ก็ต้องทำการลงจอดในน้ำ

แต่ความเสี่ยงที่เ ครื่องจะฉีกขาดในขณะที่ลงใน้นำสูงมากครับ....

เมื่อ จนท พบซากเครื่องและกล่องดำ ก็จะสามารถสอบสวนหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป




บันทึกการเข้า

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
      
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #51 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2009, 08:13:50 AM »

เรียนถามท่านกัปตันทั้งหลายครับ บ้านผม(ถนนพระยาสุเรนท์)เครื่องบินผ่านทุกวัน(ตรงบ้านพอดี) ส่วนมากเสาร์-อาทิตย์ ผมชอบล้างรถเองพร้อมขัดสีจนเงาวับ แต่พอตกเย็นมาดูอีกครั้ง บนตัวรถจะเป็นคราบละอองน้ำมันเต็มไปหมด ไม่ทราบว่าสาเหตุมาจากละอองน้ำมันท้ายเครื่องหรือปล่าวครับ Grin
บันทึกการเข้า

dig5712
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 119
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1801



« ตอบ #52 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2009, 08:15:29 AM »

 ไหว้ ขอขอบคุณสำหรับความรู้ที่พี่ๆกล่าวไว้ครับ

และขอแสดงความเสียใจเหตุการณ์ครั้งนี้... เป็นเรื่องเศร้าที่ยังค้นพบร่างผู้เสียชีวิตเป็นส่วนน้อย และไกลสุดดิ่งลึกถึงก้นมหาสมุทร
บันทึกการเข้า
ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
มืออ่อน หมัดแข็ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 857
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6569


เตสาหัง สิรสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตเม


« ตอบ #53 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2009, 08:17:31 AM »

เรียนถามท่านกัปตันทั้งหลายครับ บ้านผม(ถนนพระยาสุเรนท์)เครื่องบินผ่านทุกวัน(ตรงบ้านพอดี) ส่วนมากเสาร์-อาทิตย์ ผมชอบล้างรถเองพร้อมขัดสีจนเงาวับ แต่พอตกเย็นมาดูอีกครั้ง บนตัวรถจะเป็นคราบละอองน้ำมันเต็มไปหมด ไม่ทราบว่าสาเหตุมาจากละอองน้ำมันท้ายเครื่องหรือปล่าวครับ Grin

ไม่แน่ใจครับพี่จอย ว่าจะลองออกไปดูควันท้ายเครื่องสักหน่อย

ประตูเครื่องมันก็ไม่ยอมเปิดให้ อิอิอิ
บันทึกการเข้า

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
      
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
C.J. - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 314
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5383


ขอ...นัดเดียว


เว็บไซต์
« ตอบ #54 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2009, 08:33:12 AM »

ขอบคุณครับ... ไหว้

อ่านจากข่าว บอกว่าเป็นเพราะ ตัววัดความเร็ว (Pitot tube) มีน้ำแข็งเกาะ ทำให้การคำนวณความเร็วผิดพลาด...



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 09, 2009, 03:40:19 PM โดย JongRakN » บันทึกการเข้า

ธรรมของสัตบุรุษ

๑. ธัมมัญญุตา - รู้จักเหตุ ๒. อัตตัญญุตา - รู้จักผล ๓. อัตตัญญุตา - รู้จักตน ๔. มัตตัญญุตา - รู้ประมาณ ๕. กาลัญญุตา - รู้จักกาล ๖. ปริสัญญญุตา - รู้จักประชุมชน ๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา - รู้จักเลือกบุคคล

http://www.dopaservice.com/eservice/content.do?ctm_id=gun&function=document&gro
ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
มืออ่อน หมัดแข็ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 857
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6569


เตสาหัง สิรสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตเม


« ตอบ #55 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2009, 08:46:08 AM »

ขอบคุณครับ... ไหว้

อ่านจากข่าว บอกว่าเป็นเพราะ ตัววัดความเร็ว (Pitot tube) มีน้ำแข็งเกาะ ทำให้การคำนวณความเร็วผิดพลาด...


มีความเป็นไปได้ แต่ก็ยากครับ เพราะโดยปรกติ Pitot probe พวกนี้จะมีระบบป้องกันน้ำแข็งและละลายน้ำแข็งที่ตัวมันอยู่แล้วครับ

ยกเว้นว่าจะมีอะไรไปอุดตั้งแต่ก่อนทำการบิน ซึ่งก็น่าจะมีสัญญาณเตือน เช่น ค่าความเร็วผิดปรกติตั้งแต่ตอนเทคออฟ

หรือถ้าระบบทำความร้อนที่ตัว Probe ไม่ทำงาน ก็จะมีสัญญาณเตือนมายังที่นักบินครับ....

ต่อให้ระบบวัดค่าพวกนี้ไม่ทำงานเลย หรือทำงานผิดพลาด....

เราก็สามารถบินโดยรักษา มุมปะทะหรือ Attitude ของเครื่องและรอบของเครื่องยนต์ที่สัมพันธุ์กันได้

โดยไม่สนใจความเร็วที่อ่านได้ครับ เรียกว่า บินโดยอาศัย Attitude และ Thrust Setting

ซึ่งจะมีค่ามาตรฐานในทุกๆเฟสของการบินให้ใช้อ้างอิงได้ และในความเป็นจริงก็ไม่ต่างจากตารางเท่าไร

เครื่องจะดีแค่ไหน แต่สุดท้ายนักบินมีหน้าที่บินครับ รักษามุมปะทะแล้วเครื่องยังมีอาการหล่น เราก็เติมพาวเวอร์ไป

หรือกรณีร่อนลงจอดแต่ทำไมเครื่องเหมือนบินระดับ ก็กดหัวแล้วลด Thrust ลงเป็นต้นครับ

เรียกว่า แก้ไปตามอาการเครื่อง.....


กลับมาเรื่องถ้าเกิดจากระบบการอ่านค่าความเร็วผิดพลาดจริงๆ จะทำให้เกิดการ สตอล ...

แต่การสตอลไม่ใช่ปัญหายากครับ สามารถแก้ไขได้ ยิ่งมีความสูงเดินทางสูงๆ ก็ยิ่งมีระยะทางให้แก้ได้มากขึ้น.....

ยกเว้นในการเกิด Hi speed Stall อันนี้ยากมาก.


หรือถ้าเป็นอีกรูปแบบคือ ความเร็วสูงกว่าที่แสดง...จนเข้าสู่ความเร็วสูงสุดของโครงสร้าง

โครงสร้างอาจแตกร้าวหรือแยกออกจากกัน.....

หรือที่นักข่าวบางท่านให้ข้อมูลว่า บินชนสภาพอากาศนั้น..... ยากมาก

เพราะคงไม่มีนักบินคนไหนวิ่งเข้าหาเมฆ....


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 09, 2009, 09:34:36 AM โดย ทัดมาลา » บันทึกการเข้า

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
      
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #56 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2009, 08:52:07 AM »

เรียนถามท่านกัปตันทั้งหลายครับ บ้านผม(ถนนพระยาสุเรนท์)เครื่องบินผ่านทุกวัน(ตรงบ้านพอดี) ส่วนมากเสาร์-อาทิตย์ ผมชอบล้างรถเองพร้อมขัดสีจนเงาวับ แต่พอตกเย็นมาดูอีกครั้ง บนตัวรถจะเป็นคราบละอองน้ำมันเต็มไปหมด ไม่ทราบว่าสาเหตุมาจากละอองน้ำมันท้ายเครื่องหรือปล่าวครับ Grin

ไม่แน่ใจครับพี่จอย ว่าจะลองออกไปดูควันท้ายเครื่องสักหน่อย

ประตูเครื่องมันก็ไม่ยอมเปิดให้ อิอิอิ
จะเอาอย่างนั้นเลยหรือครับกัปตัน ผมว่าเอาท่านซับผูกใว้ท้ายเครื่องดีกว่า พอเครื่องลงถ้าท่านซับหน้าดำก็แสดงว่าใช่ ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

C.J. - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 314
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5383


ขอ...นัดเดียว


เว็บไซต์
« ตอบ #57 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2009, 09:03:56 AM »

Brazilian Air Force officer Henry Nunhoz shows a picture during a press conference to announce the recovery of more bodies of the 228 victims of the of the Air France A330 aircraft lost in midflight over the Atlantic ocean June 1st, in Recife, Brazil on June 8, 2009. Seventeen bodies now have been recovered from the debris of the jet that plunged into the Atlantic nearly a week ago, as investigators probe whether a defective speedometer caused the tragedy. Fifteen more bodies were snatched from the waves 1,150 kilometers (600 miles) off Brazil's northeastern coast, when search teams battled "unfavorable" weather conditions to recover other bodies spotted floating among seats and other plane debris, Brazilian military officials said.


บันทึกการเข้า

ธรรมของสัตบุรุษ

๑. ธัมมัญญุตา - รู้จักเหตุ ๒. อัตตัญญุตา - รู้จักผล ๓. อัตตัญญุตา - รู้จักตน ๔. มัตตัญญุตา - รู้ประมาณ ๕. กาลัญญุตา - รู้จักกาล ๖. ปริสัญญญุตา - รู้จักประชุมชน ๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา - รู้จักเลือกบุคคล

http://www.dopaservice.com/eservice/content.do?ctm_id=gun&function=document&gro
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #58 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2009, 12:05:33 PM »

ขอบคุณสำหรับทุกความรู้ครับ
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

ART
ชีวิตคิดบวก แล้วจะ Happy
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 552
ออฟไลน์

กระทู้: 10809



« ตอบ #59 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2009, 02:32:13 PM »

ข่าวเพิ่มเติมครับ จาก nation breaking news
นักบินแอร์ฟรานซ์จะไม่ยอมขึ้นบินกับเครื่องแอร์บัส
 9 มิย. 2552 13:26 น.


มีรายงานว่าสหภาพนักบินของสายการบินแอร์ฟรานซ์ ได้มีหนังสือเวียนถึงนักบินเมื่อวานนี้ขอร้องไม่ให้ขึ้นบินกับเครื่องบินแอร์บัส เอ 330 และเอ 340 จนกว่าจะมีการเปลี่ยนไพล็อต ทูปส์ ซึ่งอุปกรณ์ตรวจวัดความเร็วของเครื่องบิน อย่างน้อย 2 ใน 3 ตัวที่ติดอยู่กับเครื่องบินแต่ละลำเสียก่อน แม้จะยังไม่มีการสรุปว่าไพล็อต ทูปส์เป็นสาเหตุของเครื่องบินตกครั้งนี้หรือไม่

แม้เจ้าหน้าที่สอบสวนจะยังไม่สามารถค้นหากล่องดำมาช่วยไขปริศนาสาเหตุที่ทำให้เครื่องบินแอร์บัส 330-200 ของสายการบินแอร์ฟรานซ์ประสบเหตุตกกลางมหาสมุทรแอตแลนติคพร้อมกับผู้โดยสารและลูกเรือ 228 ชีวิต เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา แต่เจ้าหน้าที่ค่อนข้างเชื่อในสมมุติฐานที่ว่า เครื่องบินประสบเหตุตกเนื่องจาก ไพล็อต ทูปส์ ที่ติดอยู่ด้านนอกลำตัวเครื่องถูกน้ำแข็งจับจนทำให้คอมพิวเตอร์ตั้งค่าความเร็วของเครื่องบินขณะบินฝ่าพายุฝนฟ้าคะนองผิดพลาด จนเป็นเหตุให้เครื่องบินตก ซึ่งมีรายงานว่าทางสายการบินได้แจ้งไปยังนักบินก่อนหน้านี้ว่ากำลังเปลี่ยนอุปกรณ์ชิ้นนี้ในเครื่องบินแอร์บัสทุกลำซึ่งจะแล้วเสร็จภายในเวลาในกี่สัปดาห์

เจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศสกำลังเร่งค้นหากล่องดำที่เป็นกล่องบันทึกข้อมูลการบิน และกล่องบันทึกเสียงสนทนาในห้องนักบิน ที่เชื่อว่าตกอยู่ใต้ทะเลลึก 6 กิโลเมตร เนื่องจากหากเวลาผ่านไปนานเกิน 30 วัน ข้อมูลในกล่องดำจะเริ่มลบเลือน ซึ่งคาดว่าเรือดำน้ำเอเมอร์โร้ดของฝรั่งเศสจะเดินทางถึงจุดเกิดเหตุในปลายสัปดาห์นี้ เพื่อช่วยค้นหาสัญญานกล่องดำ นอกจากนี้กองทัพเรือสหรัฐยังส่งอุปกรณ์ตรวจหาคลื่นเสียงใต้น้ำ ลึก ที่เคยช่วยหากล่องดำจากเครื่องบินโดยสารของสายการบินอดัมแอร์ ของอินโดนีเซียที่ประสบเหตุตกกลางทะเลเมื่อ 2 ปีก่อน จนพบหลังเครื่องบินตกได้ 25 วัน มาช่วยหากล่องดำอีกแรงด้วย  
 
 
 

บันทึกการเข้า

หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 22 คำสั่ง