ตรงไหนเซ็นเซอร์ความร้อนจับไม่ได้ก็ไม่ฉกอีกนั้นแหละครับพี่
โห งูมันเหนือเมฆจริงๆ อิ อิ ยอมแพ้เห็นเขี้ยวขนาดนี้ทางใครทางมันเลยชาตินี้อย่าได้เจอ ลาขาด
งูเป็นสัตว์ที่เกิดมาเพื่อเป็นนักล่าครับ การที่งูพิษและงูไม่มีพิษขนาดใหญ่ยืนอยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร แสดงถึงศักยภาพในการล่าของพวกมันเป็นอย่างดี
ประสาทสัมผัส :
จากการที่งูวิวัฒนาการมาจากสัตว์ที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดิน จึงทำให้ประสาทสัมผัสของพวกมันพัฒนาที่แตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ มาก ปัจจัยเหล่านี้ทำให้หลายสายพันธุ์ มีประสาทตาที่ไม่ที่ไม่ดีนักในการมองเห็น ในสายพันธุ์ Burrowing แทบจะมองไม่เห็น เพราะมันอาศัยอยู่ในโพรงมืด แต่มันกลับพัฒนาประสาทสัมผัสอื่นขึ้นมาทดแทน คือ ประสาทในการรับฟังเสียงแทน
ตาของงู Burrowing Snakesใช้การได้ไม่ดีนัก มันแยกได้เฉพาะแสงสว่างจากความมืดเท่านั้น และงูวงศ์สายพันธุ์โบราณ เช่น Leptotyphlopids Anomalepids และ Typhlopids ก็จะเป็นเหมือนกัน
ลักษณะรูม่านตาจะมี 3 รูปแบบ คือ รูม่านตาเป็นวงกลม รูม่านตาเป็นเส้นแนวนอน รูม่านตาเป็นเส้นแนวตั้ง
งูที่รูม่านตาเป็นวงกลม งูส่วนมากงูจะมีรูม่านตาเป็นวงกลม งูตัวเล็กรูม่านตาเป็นวงกลมหากินในเวลากลางคืน ต่างจากงูขนาดใหญ่ รูม่านตาเป็นวงกลมจะหากินกลางวันและมีสายตาที่ดีกว่า พบในพวก Water snakes และ garter snakes whip-snakes และ Racers of North America Europe และในเอเชียจะมีตาที่มีขนาดใหญ่ รูม่านตาเป็นวงกลม
รูม่านตาแนวตั้งจะเป็นชนิดที่หากินกลางคืน เช่น งูพิษและ Tropical colubrids รูม่านตาจะปรับขยายในที่แสงสว่างน้อย เพื่อรับแสง และในที่ที่แสงสว่างมาก รูม่านตาจะย่อเพื่อป้องกันเยื่อในลูกตาที่ทำหน้าที่รับภาพ
รูม่านตาแนวนอน พบได้มีน้อยมาก ส่วนมากจะอยู่ในแถบเอเชีย คือ งูเขียวปากจิ้งจก และใน African คือ Thelotornis เพราะลักษณะของรูม่านตา ขนาด และตำแหน่างของตา ในแนวนอน ทำให้มันมองเห็นและรับภาพได้ดีในระยะไกล
การได้กลิ่น งูจะมีจมูกที่เชื่อมไปที่ประสาทรับกลิ่นที่สมอง พวกมันจะมีอวัยวะพิเศษที่เรียกว่า Jacobson's organ ประกอบด้วยบ่อคู่ หรือ รูด้านหลังเพดานปากซึ่งสอดไปกับท่อ ของง่ามลิ้น งูจะแลบลิ้นเร็ว ๆ เพื่อจับกลิ่นจากบรรยายกาศรอบ ๆ ตัวของมัน แล้วนำลิ้นที่จับกลิ่นเข้าไปในปากผ่าน Jacobson's organ อวัยวะนี้ทำหน้าที่แยกแยะกลิ่นและส่งผ่านไปที่สมอง งูจะแลบลิ้นบ่อย ๆ เพื่อสำรวจบริเวณรอบ ๆ ตัว
การได้ยิน แม้ว่างูจะไม่มีหู แต่โครงสร้างภายในของหูงู จะเริ่มตั้งแต่กระดูกเล็ก ๆ ที่เป็นเส้นประสาทรับแรงสั่นสะเทือนภายในหู โดยงูได้ยินเสียงก็ต่อเมื่อ คางแนบกับพื้น รับแรงสั่นสะเทือน ตลอดจนความถี่ต่ำที่มากับอากาศได้ แล้วถูกส่งผ่านโดยกระดูกขากรรไกร ไปประสาทรับแรงสั่นสะเทือน
ประสาทรับความร้อน งูจะมีอวัยวะที่ไม่เหมือนใครที่เรียกว่าช่องรับความร้อน (heat pits) พบได้ใน 3 วงศ์ คือ Boas Python และ Pit Viper งูวงศ์Boas จะมีช่องรับความร้อน ระหว่างเกล็ดของขอบขากรรไกร Python จะอยู่ข้างในเกล็ด ส่วน Pit Vipers ช่องรับความร้อนจะอยู่ระหว่างตากับจมูก
ในทุกสายพันธุ์ อวัยวะรับความร้อนเป็นเส้น อยู่บนชั้นแรกของเซลล์ ซึ่งเชื่อมไปยังสมอง งูสามารถรับรู้อุณหภูมิที่สูงขึ้นได้รวดเร็ว ดังเช่นความร้อนในตัวของสัตว์เลือดอุ่นซึ่งเป้นเหยื่อที่ดีของมัน
ส่วนเหยื่อที่เป็นสัตว์เลื้อยคลานแม้ว่าจะเป็นสัตว์เลือดเย็นแต่มันก็ต้องอาบแดเพื่อปรับอุณหภูมิในร่างกายให้สูง จึงทำให้ช่องรับความร้อนของงู ตรวจจับได้เช่นเดียวกัน ทำให้มันสามารถจู่โจมเหยื่อได้อย่างแม่นยำแม้ว่าอยู่ในที่มือหรือตอนกลาคืน (ช่องรับความร้อนของงู สามารถตรวจจับได้อุณหภูมืที่เปลี่ยนแปลงเพียงแค่ 0.2 องศาเซลเซียส )
สัตว์อีกชนิดหนุ่งที่จัดเป็นสุดยอดนักล่า ก็คือ ฉลามครับ วันหลังจะมาเล่าให้ฟัง