เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ธันวาคม 01, 2024, 02:08:10 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7 ... 11
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 9 ม.ม. หัวรู กับ .45  (อ่าน 26655 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
-Joke-
Vive la liberté de parole et d'opinion!
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน -459
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4225


^_^


« ตอบ #45 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2009, 01:18:37 AM »

โอ้เพิ่งทราบ... .357 มัน เหนือกว่า .44 แม็กนั่ม อย่างนี้นี่เอง แต่เท่าที่ลอง ยิงดิน ยิงต้นไม้เล่นดู .44 เข้าตรงในกระจุยตรงนั้น
ไหนๆก็มากันตั้งไกลแล้ว ..อย่าเพิ่งแปลความหมายของผมผิดก็แล้วกัน ผมไม่ได้บอกว่า .357 มีแรงปะทะ-อำนาจทำลายล้างมากกว่า .44 แต่ทว่าเมื่อใช้ยิง"คน" .357 มีเปอร์เซนต์นัดเดียวจอดที่สูงกว่า อีกทั้งมีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่ามาก เพราะมีการบันทึกหรือความถี่ใช้งานที่มากโดยขณะเดียวกันมีเปอร์เซนต์นัดเดียวจอดที่สูงอย่างสม่ำเสมอ
 คิก คิก คิก คิก คิก คิก

ทั้งหมดเขาเทียบเป็น 100 และจาก sample ของเขา เคสคนถูกยิงด้วย .357 เยอะกว่า .44 อยู่แล้วครับ sample มาแบบนี้แล้ว ค่าที่ออกมาก็ต่างแล้วครับ หลังสถิติและการวิจัยอย่างง่ายๆเลย

 สำหรับผม .44 ยังงัยก็เหนือกว่าครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 02, 2009, 01:26:51 AM โดย helldiver » บันทึกการเข้า

A la volonté du peuple
Et à la santé du progrès,
Remplis ton cœur d'un vin rebelle
Et à demain, ami fidèle.
Nous voulons faire la lumière
Malgré le masque de la nuit
Pour illuminer notre terre
Et changer la vie.
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #46 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2009, 01:35:55 AM »

เออ..อ่านที่คุณเทียบข้ามไปข้ามมาแล้วงงๆแฮะ
  1.คุณเอา 9*19 ไปเทียบกับ .357 อันนี้พอเทียบเคียงได้บ้างในเรื่อง หน้าตัด น้ำหนักกระสุน และความเร็ว
  2.เอา .45 เทียบกับ .44 ถ้าหน้าตัดน่ะพอได้ แต่ความเร็ว และแรงปะทะปากลำกล้อง คนละเรื่องเลย น้ำหนักหัวกระสุนก็ต่างกันอยู่พอสมควร
  3.แต่พอเอามาเทียบกลับจับคู่ 9*19 กับ .45 และ .357 กับ .44 ซะงั้น
........ในกระสุนหัวบอล 9*19 กับ .45 ไม่ได้มีอำนาจหยุดยั้งสูงส่งอะไรและไม่ทิ้งกันมาก .45 ดูดีกว่าเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะ 9 นั้นนอกจากลูกจะเล็กหัวจะแหลมแล้วความเร็วยังสูงอีกต่างหาก ทำให้ลุกมักทะลุและไม่ได้สร้างโพรงบาดแผลทั้งถาวรและชั่วคราวที่ใหญ่พอ ไม่ได้สร้างภาวะช็อคจากแรงกระทำของของเหลวให้เกิดแก่อวัยวะภายใน ผิดกับ .45 ที่ถึงจะวิ่งช้ากว่า แต่มีหัวที่มนกว่าและมีหน้าตัดที่ใหญ่กว่า เจาะลึกกำลังดีแถมถ่ายเทพลังงานสู่เป้าหมายได้เยอะ จึงให้ผลดังที่กล่าวมาแล้วได้มากกว่า แต่เมื่อเป็นกระสุนหัวรูไม่ว่าจะเป็นขนาดไหนผลดังที่ว่ายิ่งเกิดอานุภาพต่อเป้าหมายมากขึ้น ดังนั้นเมื่อเป็นกระสุนตามมาตรฐานผมจึงบอกว่า 9 หัวรูมีอำนาจหยุดยั้งมากกว่า .45 หัวบอลเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งหมดทั้ง 100 เปอร์เซนต์ ส่วน .357 กับ .44 ผมเดาความเห็นว่าเป็นความ"ลงตัว"ของหลายๆปัจจัยกระสุนตามที่กล่าวมาแล้วครับ

ผมอาจจะเรียบเรียงไม่ค่อยดีนัก ทำให้งง หรือหลงประเด็นต้องขออภัยครับ  ไหว้ ไหว้
ลองอ่านบรรทัดแรกที่ผมโพสนะครับอาจจะช่วยให้หายงง
ถ้าอย่างนั้น 9 mm. ก็ต้องได้อำนาจหยุดยั้งสูงกว่า .45 สิครับ  เพราะปัจจัยของคู่กระสุน 9 mm. กับ .45   เมื่อเทียบแล้ว ก็จะคล้ายๆ .357 กับ .44

ที่ผมต้องการถามคือ ถ้าหาก .357 ให้อำนาจหยุดยั้ง มากกว่า .44 ทั้งๆที่หน้าตัดเล็กกว่า หัวเบากว่า ในขณะที่ความเร็วพอๆกัน
ในคู่ ของ 9 mm. กับ .45 ซึ่งปัจจัยคล้ายกันคือ 9 mm. หน้าตัดเล็กกว่า หัวเบากว่า แถมด้วยความเร็วสูงกว่า เหตุใดจึงให้อำนาจหยุดยั้งด้อยกว่า .45
ไหว้ ไหว้ 


ทั้งนี้เพราะ 9 นั้นนอกจากลูกจะเล็กหัวจะแหลมแล้วความเร็วยังสูงอีกต่างหาก ทำให้ลุกมักทะลุและไม่ได้สร้างโพรงบาดแผลทั้งถาวรและชั่วคราวที่ใหญ่พอ ไม่ได้สร้างภาวะช็อคจากแรงกระทำของของเหลวให้เกิดแก่อวัยวะภายใน ผิดกับ .45 ที่ถึงจะวิ่งช้ากว่า แต่มีหัวที่มนกว่าและมีหน้าตัดที่ใหญ่กว่า เจาะลึกกำลังดีแถมถ่ายเทพลังงานสู่เป้าหมายได้เยอะ จึงให้ผลดังที่กล่าวมาแล้วได้มากกว่า แต่เมื่อเป็นกระสุนหัวรูไม่ว่าจะเป็นขนาดไหนผลดังที่ว่ายิ่งเกิดอานุภาพต่อเป้าหมายมากขึ้น
จากที่พี่ your โพสว่า 9mm. หัวบอลมักจะทะลุ  ต่างกับ .45 ที่หน้าตัดใหญ่ทำให้ถ่ายเทพลังงานสู่เป้าหมายได้ดีกว่า
แล้วหากเป็น .357 หัวบอลเช่นกัน ผลมันจะไม่เป็นแบบเดียวกันหรือครับ  เพราะหน้าตัดเท่ากับ 9 mm. แถมความเร็วสูงกว่า มันจะไม่ยิ่งทะลุเหรอครับ 
 ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า
your-ประชาธิปไตย
Sr. Member
****

คะแนน 925
ออฟไลน์

กระทู้: 509


« ตอบ #47 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2009, 02:12:44 AM »

เอ่อ..อ้างทีละส่วนของข้อความทำยังไงครับ Shocked ทำไม่เป็นขอกอปมาวางแล้วตอบเฉพาะส่วนนี้ก็แล้วกัน เพราะส่วนอื่นอ่านแล้วก็ยังงงอยู่ดี..ขออภัยด้วยครับ

อ้างจาก: your ที่ วันนี้ เวลา 12:54:20 AM
ทั้งนี้เพราะ 9 นั้นนอกจากลูกจะเล็กหัวจะแหลมแล้วความเร็วยังสูงอีกต่างหาก ทำให้ลุกมักทะลุและไม่ได้สร้างโพรงบาดแผลทั้งถาวรและชั่วคราวที่ใหญ่พอ ไม่ได้สร้างภาวะช็อคจากแรงกระทำของของเหลวให้เกิดแก่อวัยวะภายใน ผิดกับ .45 ที่ถึงจะวิ่งช้ากว่า แต่มีหัวที่มนกว่าและมีหน้าตัดที่ใหญ่กว่า เจาะลึกกำลังดีแถมถ่ายเทพลังงานสู่เป้าหมายได้เยอะ จึงให้ผลดังที่กล่าวมาแล้วได้มากกว่า แต่เมื่อเป็นกระสุนหัวรูไม่ว่าจะเป็นขนาดไหนผลดังที่ว่ายิ่งเกิดอานุภาพต่อเป้าหมายมากขึ้น

จากที่พี่ your โพสว่า 9mm. หัวบอลมักจะทะลุ  ต่างกับ .45 ที่หน้าตัดใหญ่ทำให้ถ่ายเทพลังงานสู่เป้าหมายได้ดีกว่า
แล้วหากเป็น .357 หัวบอลเช่นกัน ผลมันจะไม่เป็นแบบเดียวกันหรือครับ  เพราะหน้าตัดเท่ากับ 9 mm. แถมความเร็วสูงกว่า มันจะไม่ยิ่งทะลุเหรอครับ 
      ถ้าเป็น .357 หัวบอลเชื่อว่าทะลุครับ แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปอีกลักษณะของกระสุนทั้ง 2 ขนาดไม่เหมือนกันซะทีเดียว ถึงแม้หน้าตัดจะเท่าหรือใกล้เคียงกันก็ตาม โดยในหัวกระสุนมาตรฐานขนาด 9*19 นั้นมัลักษณะเรียวแหลมกว่าเล็กน้อย และนี่ก็เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งในการเจาะลึก ถ่ายเทพลังงาน สร้างโพรงบาดแผลถาวร-ชั่วคราว สภาวะช็อคฯ ที่ต่างกัน และถ้าเป็นกระสุนหัวรู-ลูกโม่ไม่เลือกหัวกระสุน เป็นความได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งที่จะออกแบบให้หัวรูกว้างขนาดไหนก็ได้ ผิดกับ 9*19 ที่ออกแบบให้ผิดไปจากสเปคมากไม่ได้ไม่งั้นจะมีปัญหาในเรื่องการป้อนกระสุน ตอนนี้เราคุยกันถึงเรื่องลักษณะหัวกระสุนอย่างเดียวนะครับ ดังนั้นเมื่อหัวกระสุน .357 ป้านหรือมนกว่าจึงทำให้เกิดโพรงบาดแผลชั่วคราวที่กว้างกว่า(ผ่าตรวจพิสูจน์ไม่พบเนื่องจากเนื้อเยื่อมีการให้ตัวเมื่อกระสุนวิ่งผ่านและคืนตัวเมื่อกระสุนวิ่งพ้นไป) และทำให้เกิดภาวะช็อคฯที่สูงกว่าครับ ทั้งนี้บางท่านอาจนำเรื่องความเร็วกระสุนมาพิจารณาถึงการสร้างโพรงบาดแผล ต้องขอบอกว่าความเร็วหัวกระสุนในชั้นปืนพกมีผลบ้างแต่น้อยในการสร้างโพรงบาดแผล เพราะแม้จะเป็น .44 แม็กฯก็ถือว่าความเร็วยังต่ำไป เมื่อเทียบกับปืนไรเฟิลจู่โจมที่มีความเร็วสูงจนสร้างโพรงถาวร-ชั่วคราวได้กว้างจนไม่ต้องใช้กระสุนแบบหัวรู
    ...นอนดึกจริงๆ พรุ่งนี้ทำงานรึเปล่าครับ รักษาสุขภาพด้วย อีกสักครู่ผมขออนุญาตไปนอนแล้วล่ะ
บันทึกการเข้า

"ข้าพเจ้าต่อสู้เพื่อคุณธรรมที่อยู่ในใจของข้าพเจ้า ใครที่ขัดขวางคุณธรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใด เราจะถือว่าเป็นศัตรู"
ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ...
your-ประชาธิปไตย
Sr. Member
****

คะแนน 925
ออฟไลน์

กระทู้: 509


« ตอบ #48 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2009, 02:17:39 AM »

เอ้า..ไหนๆก็ไหนๆแล้วแถมอีกนิดนึงก็แล้วกัน ในการสร้างอำนาจหยุดยั้งนั้นควรพิจารณาเรื่องโพรงบาดแผลชั่วคราวที่ยิ่งกว้างยิ่งทำให้เกิดภาวะช็อคฯ มากกว่าที่จะพิจารณาโพรงบาดแผลถาวรอย่างเดียวครับ
บันทึกการเข้า

"ข้าพเจ้าต่อสู้เพื่อคุณธรรมที่อยู่ในใจของข้าพเจ้า ใครที่ขัดขวางคุณธรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใด เราจะถือว่าเป็นศัตรู"
ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ...
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #49 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2009, 02:42:04 AM »

พี่ your ลืมตอบคำถามของผมนะครับ  ไหว้ ไหว้
ที่ผมต้องการถามคือ ถ้าหาก .357 ให้อำนาจหยุดยั้ง มากกว่า .44 ทั้งๆที่หน้าตัดเล็กกว่า หัวเบากว่า ในขณะที่ความเร็วพอๆกัน
ในคู่ ของ 9 mm. กับ .45 ซึ่งปัจจัยคล้ายกันคือ 9 mm. หน้าตัดเล็กกว่า หัวเบากว่า แถมด้วยความเร็วสูงกว่า เหตุใดจึงให้อำนาจหยุดยั้งด้อยกว่า .45
ไหว้ ไหว้  


จากที่พี่ your โพสข้อความนี้
ตอนนี้เราคุยกันถึงเรื่องลักษณะหัวกระสุนอย่างเดียวนะครับ ดังนั้นเมื่อหัวกระสุน .357 ป้านหรือมนกว่าจึงทำให้เกิดโพรงบาดแผลชั่วคราวที่กว้างกว่า(ผ่าตรวจพิสูจน์ไม่พบเนื่องจากเนื้อเยื่อมีการให้ตัวเมื่อกระสุนวิ่งผ่านและคืนตัวเมื่อกระสุนวิ่งพ้นไป) และทำให้เกิดภาวะช็อคฯที่สูงกว่าครับ
ผมขอถามต่อนะครับ  
จากข้อความสีแดง  ในเมื่อ .357 หัวป้านหรือมนกว่า ทำให้เกิดโพรงบาดแผลและและแรงช๊อคมากกว่า 9 mm.  
หากเป็นเช่นนั้น ทำไม .44 ที่หัวโตกว่าป้านกว่าความเร็วสูงกว่า จึงให้ประสิทธิภาพในการสร้างโพรงบาดแผลและแรงช๊อค ด้อยกว่า .357

ผมอยากถามความเห็นของพี่ your อีกข้อครับ  ว่าถ้าหากเราทำให้กระสุน .45 เพิ่มความเร็วขึ้นไปเท่าๆกับ .357
กระสุนแบบไหนจะให้อำนาจหยุดยั้งดีกว่ากันระหว่าง .45 ที่เราเพิ่มความเร็วขึ้นไป  กับ .357 MAG   ขอบคุณครับ  ไหว้ ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 22, 2018, 10:32:18 PM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
ozero++รักในหลวงมากค่ะ++
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1287
ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 25366


มารยาท...มีให้รักษา


« ตอบ #50 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2009, 03:20:59 AM »

มุมมองของโอ ในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินจะมีปืนขนาดไหนก็ตาม สำคัญอยู่ 3อย่าง

1 ตัวบุคคล...ความไว แม่นในนัดแรก และความชำนาญความคล่องในการใช้ปืนกระบอกนั้น

2 ปืน...กลไกดีไม่ขัดลำ

3 กระสุน...อานุภาพและคุณภาพของกระสุน

ดังนั้นอย่าไปเครียดเลยค่ะว่าแบบไหนดีกว่ากัน จขกท.ลองดูว่ามีครบ3ข้อนี้เปล่า รับรองชีวิตมีโอกาสรอดสูงค่ะ Cheesy

 
บันทึกการเข้า

เข้ามากด like กันได้นะคะ http://www.facebook.com/OAroi
และ https://www.facebook.com/SiaAke
a lone wolf
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 290
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2064



« ตอบ #51 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2009, 05:42:24 AM »

 Smiley
คุณ your ครับ
ขอบคุณสำหรับข้อเขียนที่แนะนำให้อ่านนะครับ
นอกจากสถิติของคุณอีวาน มาแชลแล้วนี่  ผมควรหางานวิจัยหรือข้อเขียนใดที่เกี่ยวกับอำนาจหยุดยั้งหรืออำนาจสังหารของกระสุนเพิ่มเติมอีกไหมครับ
หากได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมก็น่าจะเป็นประโยชน์แก่ตัวผมและเพื่อนสมาชิกท่านอื่น
ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า

It's not the years in your life but the life in your years, that counts
ชยันโต
Sr. Member
****

คะแนน 122
ออฟไลน์

กระทู้: 962



« ตอบ #52 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2009, 07:12:03 AM »

ความเห็นผม ๙ หัวรูอำนาจหยุดยั้งพอได้แต่ก็ยังสู้ .๔๕ ต้นฉบับเขาไม่ได้ แต่พวก ๙ ได้เปรียบตรงที่ปืนพวกขนาด ๙ แม็กฯลูกจะดกกว่าปืนพวก ๑๑ มม.
เรียกว่าได้เสีย ดี กันคนละอย่าง
บันทึกการเข้า

จงใช้สติและปัญญา...เป็นอาวุธ..
your-ประชาธิปไตย
Sr. Member
****

คะแนน 925
ออฟไลน์

กระทู้: 509


« ตอบ #53 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2009, 06:25:13 PM »

พี่ your ลืมตอบคำถามของผมนะครับ  ไหว้ ไหว้
ที่ผมต้องการถามคือ ถ้าหาก .357 ให้อำนาจหยุดยั้ง มากกว่า .44 ทั้งๆที่หน้าตัดเล็กกว่า หัวเบากว่า ในขณะที่ความเร็วพอๆกัน
ในคู่ ของ 9 mm. กับ .45 ซึ่งปัจจัยคล้ายกันคือ 9 mm. หน้าตัดเล็กกว่า หัวเบากว่า แถมด้วยความเร็วสูงกว่า เหตุใดจึงให้อำนาจหยุดยั้งด้อยกว่า .45
ไหว้ ไหว้ 


จากที่พี่ your โพสข้อความนี้
ตอนนี้เราคุยกันถึงเรื่องลักษณะหัวกระสุนอย่างเดียวนะครับ ดังนั้นเมื่อหัวกระสุน .357 ป้านหรือมนกว่าจึงทำให้เกิดโพรงบาดแผลชั่วคราวที่กว้างกว่า(ผ่าตรวจพิสูจน์ไม่พบเนื่องจากเนื้อเยื่อมีการให้ตัวเมื่อกระสุนวิ่งผ่านและคืนตัวเมื่อกระสุนวิ่งพ้นไป) และทำให้เกิดภาวะช็อคฯที่สูงกว่าครับ
ผมขอถามต่อนะครับ 
จากข้อความสีแดง  ในเมื่อ .357 หัวป้านหรือมนกว่า ทำให้เกิดโพรงบาดแผลและและแรงช๊อคมากกว่า 9 mm. 
หากเป็นเช่นนั้น ทำไม .44 ที่หัวโตกว่าป้านกว่าความเร็วสูงกว่า จึงให้ประสิทธิภาพในการสร้างโพรงบาดแผลและแรงช๊อค ด้อยกว่า .357

ผมอยากถามความเห็นของพี่ your อีกข้อครับ  ว่าถ้าหากเราทำให้กระสุน .45 เพิ่มความเร็วขึ้นไปเท่าๆกับ .357 กระสุนแบบไหนจะให้อำนาจหยุดยั้งดีกว่ากันระหว่าง .45 ที่เราเพิ่มความเร็วขึ้นไป  กับ .357 MAG   ขอบคุณครับ  ไหว้ ไหว้
คูณ ArjunA ก็ลืมตอบคำถามของผมว่าอ้างถึงข้อความทีละส่วนทำยังไง..อยู่นะครับ 55

1.ในคู่ของ 9*19 กับ .45 ทั้งที่ความเร็วสูงกว่าแต่หยุดยั้งได้ต่ำกว่าก็เพราะ หัวที่เล็กเรียวแหลมกว่านี่แหละครับ ทำให้หัวกระสุนมักทะลุออกไป จึงถ่ายเทพลังงานสร้างโพรางบาดแผลได้น้อยกว่า เกิดสภาวะช็อคฯที่ต่ำกว่า

2.สำหรับเป้าหมายระดับร่างกายมนุษย์ ผมเชื่อว่า .44 แมกฯนั้นมี มวลหัวกระสุนสูงเกินไปทำให้เจาะลึกและเสียรูปทรงยาก ประกอบกับความเร็วสูงเกินไปจึงมักทะลุ ไม่ได้ถ่ายเทพลังงานเข้าสู่เป้าหมายอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และแม้จะเป็นกระสุนหัวรู ด้วยมวลที่เยอะและความเร็วที่สูง ทำให้เสียรูปทรงช้าเกินไป คือมนุษย์เป็นสัตว์หนังบาง มีขนาดร่างกายที่แบนบางกว่าสัตว์ป่าอื่นๆ กระสุน .44 แมกฯนั้นถูกออกแบบมาให้ใช้สำหรับล่าสัตว์ขนาดกลางที่มีร่างกายใหญ่โตและมีความหนามากกว่าร่างกายมนุษย์ การนำ .44 แมกฯ มาใช้กับมนุษย์ด้วยกันจึงผิดวัตถุประสงค์การออกแบบไปเล็กน้อย ทำให้ถ่ายเทพลังงานได้ไม่เต็มที่ เพราะกระสุนแบะบานช้าและมักทะลุออกไป เรียกได้ว่า"เกินพอดี" งานนี้ต้องโทษอีตาแฮรี่ที่มาสร้างกระแสในภาพยนต์ด้วยภาพกระเด็นกระดอนของเหยื่อที่ถูกยิงด้วย .44 แมกฯจนคนดูหลงเข้าใจตามไปด้วย

3.ถ้าเราเพิ่มความเร็วกระสุน .45 ให้เยอะเกินไป ผมเชื่อว่าผลลัพท์ไปในแนวเดียวกับ .44 แมกฯครับ กระสุนขนาดนี้ได้ผ่านการวิจัยมาอย่างหนักหน่วงเข้มงวดพร้อมกับกระสุนขนาดอื่นๆ ที่ทั้งเร็วกว่า แรงกว่า ช้ากว่า ใหญ่กว่า เล็กกว่า ทั้งยิงใส่สัตว์ ศพมนุย์ ฯลฯ จนมาลงตัวที่ .45 ACP เป็นกระสุนสำหรับปืนกึ่งอัตโนมัติที่ให้อำนาจหยุดยั้งสูงเพื่อประจำการในกองทัพอเมริกา และพิสูจน์ตัวเองในหลายสงครามมาแล้ว
.....สำหรับ .45 กับ .357 ในเรื่องการหยุดยั้งนั้นต้องยกให้ .357 แต่เมื่อเป็นการรบติดพัน การบรรจุเร็วของปืนพกกึ่งฯมีความได้เปรียบกว่า จึงเป็นเหตุให้มีความเหมาะสมในการใช้งานมากกว่า
   
บันทึกการเข้า

"ข้าพเจ้าต่อสู้เพื่อคุณธรรมที่อยู่ในใจของข้าพเจ้า ใครที่ขัดขวางคุณธรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใด เราจะถือว่าเป็นศัตรู"
ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ...
your-ประชาธิปไตย
Sr. Member
****

คะแนน 925
ออฟไลน์

กระทู้: 509


« ตอบ #54 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2009, 06:38:06 PM »

Smiley
คุณ your ครับ
ขอบคุณสำหรับข้อเขียนที่แนะนำให้อ่านนะครับ
นอกจากสถิติของคุณอีวาน มาแชลแล้วนี่  ผมควรหางานวิจัยหรือข้อเขียนใดที่เกี่ยวกับอำนาจหยุดยั้งหรืออำนาจสังหารของกระสุนเพิ่มเติมอีกไหมครับ
หากได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมก็น่าจะเป็นประโยชน์แก่ตัวผมและเพื่อนสมาชิกท่านอื่น
ขอบพระคุณครับ
ใช้ขอบคุณหรือขอบอกขอบใจ ก็พอครับ ผมอ่านแล้วมันรู้สึกกระดาก....
        ที่อยากให้ลองศึกษาดูก็เรื่องลักษณะการเกิดโพรงบาดแผลถาวร -ชั่วคราว และลักษณะการเสียรูปทรงของกระสุนหัวบอล-หัวรูครับ เป็นความรู้ในเชิงวิชาการที่สามารถนำไปต่อยอดในเรื่องอำนาจหยุดยั้งของกระสุนได้อีกครับ พบได้ในบทความของ อ.ฉัตรชัยฯ ซึ่งอ่านง่ายเพราะเป็นภาษาไทย แต่มันอาจจะเก่าไปหน่อย ถ้าเป็นเวปไซด์ของต่างประเทศก็มีกล่าวถึง แต่ด้วยข้อจำกัดทางภาษาของผมทำให้เกิดความยากลำบากในการศึกษา ถ้ามีพื้นฐานภาษาอังกฤษก็ช่วยได้มากเลยครับ
บันทึกการเข้า

"ข้าพเจ้าต่อสู้เพื่อคุณธรรมที่อยู่ในใจของข้าพเจ้า ใครที่ขัดขวางคุณธรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใด เราจะถือว่าเป็นศัตรู"
ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ...
teerapan6-
Jr. Member
**

คะแนน 7
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 70



« ตอบ #55 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2009, 07:23:43 PM »

หัวรูนะเขาทำไว้ยิงคน อย่างเดียว คือไม่สามารถทะลุทะลวงสิ่งที่แข็งแรงกว่าได้ได้ ดังนั้นคุณก้อควรใส่สะลับไขว่หัวธรรมดาด้วย เก้ามอ สามารถควบคุบการยิงได้ดีกว่า และแมนยำกว่า สิบเอ็ดแน่นอน แต่อย่าลืม เหนือกว่ายอมมีที่เหนือกว่า สิบเอ็ดก้อมีหัวรูเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #56 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2009, 07:34:58 PM »

คูณ ArjunA ก็ลืมตอบคำถามของผมว่าอ้างถึงข้อความทีละส่วนทำยังไง..อยู่นะครับ 55
อ้างข้อความมาแล้วก็ลบที่ไม่ต้องการทิ้งไงครับ ไม่ได้ยากอะไร

2.สำหรับเป้าหมายระดับร่างกายมนุษย์ ผมเชื่อว่า .44 แมกฯนั้นมี มวลหัวกระสุนสูงเกินไปทำให้เจาะลึกและเสียรูปทรงยาก ประกอบกับความเร็วสูงเกินไปจึงมักทะลุ ไม่ได้ถ่ายเทพลังงานเข้าสู่เป้าหมายอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และแม้จะเป็นกระสุนหัวรู ด้วยมวลที่เยอะและความเร็วที่สูง ทำให้เสียรูปทรงช้าเกินไป คือมนุษย์เป็นสัตว์หนังบาง มีขนาดร่างกายที่แบนบางกว่าสัตว์ป่าอื่นๆ กระสุน .44 แมกฯนั้นถูกออกแบบมาให้ใช้สำหรับล่าสัตว์ขนาดกลางที่มีร่างกายใหญ่โตและมีความหนามากกว่าร่างกายมนุษย์ การนำ .44 แมกฯ มาใช้กับมนุษย์ด้วยกันจึงผิดวัตถุประสงค์การออกแบบไปเล็กน้อย ทำให้ถ่ายเทพลังงานได้ไม่เต็มที่

จากข้อความสีแดง ผมถามต่อ
ผมเชื่อว่าถ้าเป็นกระสุนยี่ห้อเดียวกัน แบบเดียวกัน สูตรในการผสมตะกั่วระหว่าง .357 กับ .44 นั้นก็คงไม่ต่างกัน ทำไมผลของการเสียรูปที่ว่าจึงไม่เกิดกับ .357
ทั้งๆที่ .44 มีหน้าตัดใหญ่กว่ามีแรงกระทำต่อผิวสัมผัสของเป้าหมายมากกว่าควรจะต้องเสียรูปมากกว่าเสียด้วยซ้ำ

ถามต่ออีก และในเมื่อ .357 ก็ยิงทะลุเช่นเดียวกันกับ .44 ต่อให้กระสุนเสียทรงยังไงมันก็ไม่มีทางขยายรูปทรงของตัวเองให้ใหญ่ขึ้นมาได้ยกเว้นกระสุนพิเศษทั้งหลาย  
ปัจจัยใดที่ทำให้ .357 ให้ประสิทธิภาพทั้งหลายทั้งมวล เหนือกว่า .44

3.ถ้าเราเพิ่มความเร็วกระสุน .45 ให้เยอะเกินไป ผมเชื่อว่าผลลัพท์ไปในแนวเดียวกับ .44 แมกฯครับ
 
จากข้อความสีเหลือง ผมถามต่ออีก
ในเมื่อพี่ your บอกว่าถ้าหากว่าเราเพิ่มความเร็ว .45 ขึ้นไปเทียบเท่า .44  มันจะให้ประสิทธิภาพด้อยกว่า .357  ตามเหตุผลข้อข้างบน (ข้อความสีแดง)
แต่ทำไมเมื่อเราเพิ่มความเร็วกระสุน 9 mm. ให้สูงขึ้นไป มันจึงไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าๆกับ .357 ครับ ทั้งๆที่หน้าตัด  น้ำหนัก  ความเร็ว รูปทรง เท่ากันหมด  ไหว้ ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 22, 2018, 10:33:02 PM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
your-ประชาธิปไตย
Sr. Member
****

คะแนน 925
ออฟไลน์

กระทู้: 509


« ตอบ #57 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2009, 08:37:42 PM »

คูณ ArjunA ก็ลืมตอบคำถามของผมว่าอ้างถึงข้อความทีละส่วนทำยังไง..อยู่นะครับ 55
อ้างข้อความมาแล้วก็ลบที่ไม่ต้องการทิ้งไงครับ ไม่ได้ยากอะไร

2.สำหรับเป้าหมายระดับร่างกายมนุษย์ ผมเชื่อว่า .44 แมกฯนั้นมี มวลหัวกระสุนสูงเกินไปทำให้เจาะลึกและเสียรูปทรงยาก ประกอบกับความเร็วสูงเกินไปจึงมักทะลุ ไม่ได้ถ่ายเทพลังงานเข้าสู่เป้าหมายอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และแม้จะเป็นกระสุนหัวรู ด้วยมวลที่เยอะและความเร็วที่สูง ทำให้เสียรูปทรงช้าเกินไป คือมนุษย์เป็นสัตว์หนังบาง มีขนาดร่างกายที่แบนบางกว่าสัตว์ป่าอื่นๆ กระสุน .44 แมกฯนั้นถูกออกแบบมาให้ใช้สำหรับล่าสัตว์ขนาดกลางที่มีร่างกายใหญ่โตและมีความหนามากกว่าร่างกายมนุษย์ การนำ .44 แมกฯ มาใช้กับมนุษย์ด้วยกันจึงผิดวัตถุประสงค์การออกแบบไปเล็กน้อย ทำให้ถ่ายเทพลังงานได้ไม่เต็มที่

จากข้อความสีแดง ผมถามต่อ
ผมเชื่อว่าถ้าเป็นกระสุนยี่ห้อเดียวกัน แบบเดียวกัน สูตรในการผสมตะกั่วระหว่าง .357 กับ .44 นั้นก็คงไม่ต่างกัน ทำไมผลของการเสียรูปที่ว่าจึงไม่เกิดกับ .357 ทั้งๆที่ .44 มีหน้าตัดใหญ่กว่ามีแรงกระทำต่อผิวสัมผัสของเป้าหมายมากกว่าควรจะต้องเสียรูปมากกว่าเสียด้วยซ้ำ

ถามต่ออีก และในเมื่อ .357 ก็ยิงทะลุเช่นเดียวกันกับ .44 ต่อให้กระสุนเสียทรงยังไงมันก็ไม่มีทางขยายรูปทรงของตัวเองให้ใหญ่ขึ้นมาได้ยกเว้นกระสุนพิเศษทั้งหลาย   ปัจจัยใดที่ทำให้ .357 ให้ประสิทธิภาพทั้งหลายทั้งมวล เหนือกว่า .44

3.ถ้าเราเพิ่มความเร็วกระสุน .45 ให้เยอะเกินไป ผมเชื่อว่าผลลัพท์ไปในแนวเดียวกับ .44 แมกฯครับ
 
จากข้อความสีเหลือง ผมถามต่ออีก
ในเมื่อพี่ your บอกว่าถ้าหากว่าเราเพิ่มความเร็ว .45 ขึ้นไปเทียบเท่า .44  มันจะให้ประสิทธิภาพด้อยกว่า .357  ตามเหตุผลข้อข้างบน (ข้อความสีแดง)
แต่ทำไมเมื่อเราเพิ่มความเร็วกระสุน 9 mm. ให้สูงขึ้นไป มันจึงไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าๆกับ .357 ครับ ทั้งๆที่หน้าตัด  น้ำหนัก  ความเร็ว รูปทรง เท่ากันหมด  ไหว้ ไหว้

1.เออ..จริงด้วยครับ ผมนี่ไม่ได้มีความเฉลียวเลย ขอบคุณครับ

2.อันนี้ผมเชื่อว่าเป็นคุณลักษณะเฉพาะของรูปทรงหัวกระสุน โมเมนตัมหรือพลังงานจลที่สะสมมาจากน้ำหนักและความเร็วครับ คือเมื่อ .357 ผ่านเข้าสู่เนื้อเยื่อจะลดความเร็วลงเพราะแรงต้านทานหรือความยืดหยุ่น เพื่อถ่ายเทพลังงานได้มากและรวดเร็วกว่า เพราะหัวเบากว่าและมีความเร็วต่ำกว่า ถ้าอุปมาก็น่าจะคล้ายเรากองเหรียญสูงขึ้นหลายชั้นแล้วฟาดหรือตีเหรียญล่างสุดด้วยไม้บรรทัดด้วยความเร็วน้อยทั้งกองก็จะพังลงมา แต่เมื่อเป็น .44 แมกฯเหมือนกับเราฟาดด้วยความเร็วสูงเหรียญอันล่างมันจะกระเด็นออกไป แต่อีกหลายอันที่อยู่ด้านบนก็จะเลื่อนลงมาแทนโดยที่กองเหรียญไม่ล้ม ....กระสุนเมื่อถูกยิงเข้าสู่ร่างกายนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงอยู่แล้ว มากน้อยขึ้นอยู่กับเนื้อตะกั่วหรือบิสมัส เปลือกที่หุ้ม จุดที่กระสุนวิ่งผ่านหรือสัมผัส ความหนาแน่นที่แตกต่างของเนื้อเยื่อ และหากยิงถูกกระดูกกระสุนจะบี้แบนเสียรูปทรงได้ง่ายกว่าเนื้อเยื่อธรรมดา ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า .357 ไม่ได้เหนือกว่า .44 ทุกกรณีอย่างที่กล่าว ในกระสุนบางรุ่น บางยี่ห้อ ก็ไม่ได้มีสถิติที่สูงส่งอะไร ที่ดีเยี่ยมของ .357 นั้นเป็นลูกหัวรู 125 เกรนมากกว่าครับ แต่ถึงจะ 125 เกรนเท่ากันแต่สถิตินัดเดียวจอดก็ยังต่างกันอยู่ ด้วยเหตุในเรื่องของวัสดุ ความเร็ว รูปทรง ขนาดรูบนหัวกระสุน ล้วนเป็นปัจจัย

3.อันนี้ไม่ถูกต้องครับ เพราะรูปทรงกระสุนไม่เหมือนกัน และลูก 9*19 หัวรู-น้ำหนักเบาความเร็วสูงของคอร์บอนมีสถิตินัดเดียวจอดที่สูงสูสี .357 เลยทีเดียว
บันทึกการเข้า

"ข้าพเจ้าต่อสู้เพื่อคุณธรรมที่อยู่ในใจของข้าพเจ้า ใครที่ขัดขวางคุณธรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใด เราจะถือว่าเป็นศัตรู"
ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ...
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #58 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2009, 09:59:55 PM »

อันนี้ผมเชื่อว่าเป็นคุณลักษณะเฉพาะของรูปทรงหัวกระสุน โมเมนตัมหรือพลังงานจลที่สะสมมาจากน้ำหนักและความเร็วครับ คือเมื่อ .357 ผ่านเข้าสู่เนื้อเยื่อจะลดความเร็วลงเพราะแรงต้านทานหรือความยืดหยุ่น เพื่อถ่ายเทพลังงานได้มากและรวดเร็วกว่า เพราะหัวเบากว่าและมีความเร็วต่ำกว่า
จากข้อความสีแดง
พลังงานจลน์ที่สะสมในกระสุน .44 มันต้องสูงกว่า .357 แน่นอนอยู่แล้ว  
เป็นความรู้ใหม่สำหรับผมเลยนะครับ ที่กระสุนหน้าตัดเล็กพลังงานต่ำให้อำนาจหยุดยั้งเหนือกว่ากระสุนหน้าตัดใหญ่พลังงานสูง
หากเป็นเช่นนั้น  กระสุนในขนาด .45 Long Colt , .45 Win Mag , .454 คาซูล พวกนี้ย้อมต้องด้อยกว่า .357 ทั้งหมด เพราะเป็นกระสุนหน้าตัดใหญ่ความเร็วสูงทั้งนั้น  ไหว้ ไหว้

....กระสุนเมื่อถูกยิงเข้าสู่ร่างกายนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงอยู่แล้ว มากน้อยขึ้นอยู่กับเนื้อตะกั่วหรือบิสมัส เปลือกที่หุ้ม จุดที่กระสุนวิ่งผ่านหรือสัมผัส ความหนาแน่นที่แตกต่างของเนื้อเยื่อ และหากยิงถูกกระดูกกระสุนจะบี้แบนเสียรูปทรงได้ง่ายกว่าเนื้อเยื่อธรรมดา ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า .357 ไม่ได้เหนือกว่า .44 ทุกกรณีอย่างที่กล่าว
จากข้อความสีเหลือง
หากจะเปรียบเทียบอะไรในเชิงเชิงวิทยาศาสตร์ มันต้องทำให้ตัวแปรในการเปรียบเทียบคล้ายกันที่สุด เหลือเพียงตัวแปรที่เราต้องการเปรียบเทียบเท่านั้น  
ในกรณีนี้คือ .357 กับ .44 หากจะเทียบกัน .357 หัวรูมันก็ต้องเทียบกับ .44 หัวรูด้วยถูกมั้ยครับ แล้วตัวแปรเนื้อเยื่อแบบไหนที่บ่งว่า .357 เหนือกว่า .44ครับ

3.อันนี้ไม่ถูกต้องครับ เพราะรูปทรงกระสุนไม่เหมือนกัน และลูก 9*19 หัวรู-น้ำหนักเบาความเร็วสูงของคอร์บอนมีสถิตินัดเดียวจอดที่สูงสูสี .357 เลยทีเดียว
จากข้อความสีเขียว
อ่านคำถามผมดีๆนะครับ  
ในเมื่อพี่ your บอกว่าถ้าหากว่าเราเพิ่มความเร็ว .45 ขึ้นไปเทียบเท่า .44  มันจะให้ประสิทธิภาพด้อยกว่า .357  
แต่ทำไมเมื่อเราเพิ่มความเร็วกระสุน 9 mm. ให้สูงขึ้นไป มันจึงไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าๆกับ .357 ครับ ทั้งๆที่หน้าตัด  น้ำหนัก  ความเร็ว รูปทรง เท่ากันหมด  ไหว้ ไหว้
แล้วลูกคอร์บอนหัวรูที่ว่าสูสีกับ .357 นั้น  ลูก.357 เป็นหัวรูด้วยรึเปล่าครับ


เอ้า..ไหนๆก็ไหนๆแล้วแถมอีกนิดนึงก็แล้วกัน ในการสร้างอำนาจหยุดยั้งนั้นควรพิจารณาเรื่องโพรงบาดแผลชั่วคราวที่ยิ่งกว้างยิ่งทำให้เกิดภาวะช็อคฯ มากกว่าที่จะพิจารณาโพรงบาดแผลถาวรอย่างเดียวครับ
จากข้อความสีชมพู
ในเมื่อปัจจัยในการสร้างอำนาจหยุดยั้งส่วนหนึ่งมาจากการที่กระสุนสามารถสร้างโพรงบาดแผลได้ใหญ่ขนาดไหนใช่มั้ยครับ
และในเมื่อกระสุน .44 MAG มีประสิทธิภาพในการสร้างโพรงบาดแผลที่ใหญ่กว่า ทำไมจึงมีอำนาจหยุดยั้งด้อยกว่า .357 ครับ  ไหว้ ไหว้  

แก้ไขข้อมูลภาพผิดพลาดครับ  ไหว้ ไหว้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 22, 2018, 10:34:26 PM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
vitamin a ลพบุรี
Jr. Member
**

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 24


« ตอบ #59 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2009, 10:14:51 PM »

 ไหว้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.162 วินาที กับ 22 คำสั่ง