อันนี้ผมเชื่อว่าเป็นคุณลักษณะเฉพาะของรูปทรงหัวกระสุน โมเมนตัมหรือพลังงานจลที่สะสมมาจากน้ำหนักและความเร็วครับ คือเมื่อ .357 ผ่านเข้าสู่เนื้อเยื่อจะลดความเร็วลงเพราะแรงต้านทานหรือความยืดหยุ่น เพื่อถ่ายเทพลังงานได้มากและรวดเร็วกว่า เพราะหัวเบากว่าและมีความเร็วต่ำกว่า
จากข้อความสีแดง
พลังงานจลน์ที่สะสมในกระสุน .44 มันต้องสูงกว่า .357 แน่นอนอยู่แล้ว
เป็นความรู้ใหม่สำหรับผมเลยนะครับที่ กระสุนหน้าตัดเล็กพลังงานต่ำ ให้อำนาจหยุดยั้งเหนือกว่า กระสุนหน้าตัดใหญ่พลังงานสูง
หากเป็นเช่นนั้น กระสุนในขนาด .45 Long Colt , .45 Win Mag , .454 คาซูล พวกนี้ย้อมต้องด้อยกว่า .357 ทั้งหมด เพราะเป็นกระสุนหน้าตัดใหญ่ความเร็วสูงทั้งนั้น
1.ถ้ายังจำได้..แต่แรกเลย ผมตอบโดยยึดเอาสถิติการยิงจริง เข้าบริเวณกลางลำตัวแล้วคิดเป็นเปอร์เซนต์การหยุดด้วยกระสุนนัดเดียวของมาแชลมาอ้างนะครับ .....ยังจำได้นะครับว่าในหัวบอล 9 และ .45 เปอร์เซนต์ไม่สูงและไม่ต่างกันเท่าไหร่ และเมื่อเป็นกระสุนหัวบอลในขนาดหน้าตัดอื่นเปอร์เซนต์ก็ต่ำกว่าหัวรูของขนาดนั้นๆ ดังนั้นถ้าจะถามหาประสิทธิภาพในการหยุดยั้งตอนนี้ผมจะพูดถึงกระสุนหัวรูที่ส่วนใหญ่น้ำหนักน้อยกว่าหัวบอลและความเร็วสูงกว่าอีกทั้งให้พลังานมากกว่าหัวบอล .... ในมนุษย์มีแนวโน้มเป็นอย่างที่คุณ ArjunA(อ่านออกเสียงว่า..ยังไงครับ)ว่าจริงๆครับ แต่เมื่อเป็นหัวรูก็ต้องพิมพ์ให้จบว่ากระสุนหัวรูน้ำหนักเบา หน้าตัดเล็ก ความเร็วสูง และกระสุนหัวรูหน้าตัดใหญ่ นำหนักหัวกระสุนเยอะ ความเร็วต่ำ นั้นให้ผลในเรื่องอำนาจหยุดยั้งได้ดีกว่ากระสุนหัวรู หน้าตัดใหญ่ ความเร็วสูง เหตุผลเป็นเรื่องของความพอดีของขนาดหน้าตัด มวลหัวกระสุน และความเร็ว ที่ให้เกิดผลกับร่างกายมนุษย์ .... .45 ลองฯ เป็นกระสุนต้นแบบแมนสตอปเปอร์ที่ไม่ถือว่าเป็นกระสุนความเร็วสูงครับ ส่วนที่เหลือล้วนเป็นกระสุนความเร็วสูงทั้งสิ้นและออกแบบเมื่อเพื่อการล่าสัตว์ขนาดกลาง
....กระสุนเมื่อถูกยิงเข้าสู่ร่างกายนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงอยู่แล้ว มากน้อยขึ้นอยู่กับเนื้อตะกั่วหรือบิสมัส เปลือกที่หุ้ม จุดที่กระสุนวิ่งผ่านหรือสัมผัส ความหนาแน่นที่แตกต่างของเนื้อเยื่อ และหากยิงถูกกระดูกกระสุนจะบี้แบนเสียรูปทรงได้ง่ายกว่าเนื้อเยื่อธรรมดา ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า .357 ไม่ได้เหนือกว่า .44 ทุกกรณีอย่างที่กล่าว
จากข้อความสีเหลือง
หากจะเปรียบเทียบอะไรในเชิงเชิงวิทยาศาสตร์ มันต้องทำให้ตัวแปรในการเปรียบเทียบคล้ายกันที่สุด เหลือเพียงตัวแปรที่เราต้องการเปรียบเทียบเท่านั้น ในกรณีนี้คือ .357 กับ .44 หากจะเทียบกัน .357 หัวรูมันก็ต้องเทียบกับ .44 หัวรูด้วยถูกมั้ยครับ แล้วตัวแปรเนื้อเยื่อแบบไหนที่บ่งว่า .357 เหนือกว่า .44ครับ
2.เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อมนุษย์มีความแตกต่างจากแท่งเจลาตินครับ มีทั้งชั้นผิวหนัง กล้ามเนื้อ ไขมัน โพรงอวัยวะ อวัยวะภายในต่างๆ ไม่ได้สม่ำเสมอเหมือนแท่งเจลาติน การเปรียบเทียบนี้ไม่ได้ละเอียดขนาดที่ว่าเป็นเนื้อเยื่อส่วนใด แต่เป็นเนื้อเยื่อบริเวณลำตัว-หน้าอก จึงฟันธงลงไปเลยไม่ได้ และเมื่อเป็นหัวรูก็ต้องเปรียบเทียบกับหัวรูครับ แต่เมื่อเป็นการยิงจริงกระสุนไม่ได้แบะบานสวยงามสม่ำเสมออย่างตอนทดลองยิงในแท่งเจลาตินนะครับ เพราะอย่าลืมว่าคนเรานั้นสวมเสื้อผ้า ยิ่งในต่างประเทศยิ่งสวมหลายชั้น ซึ่งเป็นการลดทอนอำนาจกระสุนส่วนหนึ่งและขัดขวางไม่ให้แบะบานได้อย่างเต็มที่ส่วนหนึ่ง
3.อันนี้ไม่ถูกต้องครับ เพราะรูปทรงกระสุนไม่เหมือนกัน และลูก 9*19 หัวรู-น้ำหนักเบาความเร็วสูงของคอร์บอนมีสถิตินัดเดียวจอดที่สูงสูสี .357 เลยทีเดียว
จากข้อความสีเขียว
อ่านคำถามผมดีๆนะครับ
ในเมื่อพี่ your บอกว่าถ้าหากว่าเราเพิ่มความเร็ว .45 ขึ้นไปเทียบเท่า .44 มันจะให้ประสิทธิภาพด้อยกว่า .357
แต่ทำไมเมื่อเราเพิ่มความเร็วกระสุน 9 mm. ให้สูงขึ้นไป มันจึงไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าๆกับ .357 ครับ ทั้งๆที่หน้าตัด น้ำหนัก ความเร็ว รูปทรง เท่ากันหมด
3.อ่านคำตอบที่ผ่านมาของผมให้ดีครับ
แล้วลูกคอร์บอนหัวรูที่ว่าสูสีกับ .357 นั้น ลูก.357 เป็นหัวรูด้วยรึเปล่าครับ
4.เป็นครับ
เอ้า..ไหนๆก็ไหนๆแล้วแถมอีกนิดนึงก็แล้วกัน ในการสร้างอำนาจหยุดยั้งนั้นควรพิจารณาเรื่องโพรงบาดแผลชั่วคราวที่ยิ่งกว้างยิ่งทำให้เกิดภาวะช็อคฯ มากกว่าที่จะพิจารณาโพรงบาดแผลถาวรอย่างเดียวครับ
จากข้อความสีชมพู
ในเมื่อปัจจัยในการสร้างอำนาจหยุดยั้งส่วนหนึ่งมาจากการที่กระสุนสามารถสร้างโพรงบาดแผลได้ใหญ่ขนาดไหนใช่มั้ยครับ
และในเมื่อกระสุน .44 MAG มีประสิทธิภาพในการสร้างโพรงบาดแผลที่ใหญ่กว่า ทำไมจึงมีอำนาจหยุดยั้งด้อยกว่า .357 ครับ
5.เพราะความเร็วสูงเกิน มีมวลมาก และเจาะได้ลึกเกินไปครับ ทำให้เสี้ยววินาทีที่เกิดการแบะบานได้เต็มที่เกิดในร่างกายมนุษย์ช้าไป
ลองดูรูปนี้นะครับ
สนใจ แค่ .357 Sig ที่หน้าตัด น้ำหนัก ความเร็วใกล้เคียงกับ .357 Mag แล้วเปรียบเทียบ กับ 10 mm. Auto ที่หน้าตัดใหญ่กว่า น้ำหนักมากกว่า ความเร็วพอๆกัน
เป็นกระสุนหัวรูเหมือนกัน เนื้อเยื่อเป้าหมายอย่างเดียวกัน
พอจะมองเห็นอะไรที่เป็นรูปธรรม ของคำว่าหน้าตัดใหญ่กว่า ความเร็วสูงกว่ามั้ยครับ
10 mm. Auto หน้าตัดใหญ่กว่า .357 แค่มิลเดียว ยังมีความต่างขนาดนี้หากเป็น .44 ที่หน้าตัดใหญ่ขึ้นไปอีกล่ะ ผลจะเป็นแบบไหน
6.แท่งเจลาตินพอได้อาศัยอ้างอิงได้บ้าง แต่ยังแตกต่างจากลักษณะในร่างกายมนุษย์ครับ และข้อเท็จจริงที่ต้องยิงผ่านเสื้อผ้า ถึงจุดนี้ผมก็ยังยืนยันว่า .44 แมกฯมีความเร็วสูงเกินไป ไม่เกิดผลเต็มที่กับร่างกายมนุษย์