ขอเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยคนครับ..ขอสรุปเป็นความคิดเห็นส่วนตัว..ผิดถูกแย้งด้วยแล้วกันครับ...
มีหลายหัวข้อแล้วที่กล่าวถึงการเลือกกระสุนปืนติดปืน โดยส่วนตัวผมเลือกเอาความน่าเชื่อถือ และความสะดวกในการหากระสุนมาครอบครองเป็นหลักมากกว่า
จากหัวข้อที่อ้างถึง ระหว่าง "กระสุน 9 มม รู และ .45 " ยังไม่ขอลงรายละเอียดน้ำหนัก ความเร็ว แรงปะทะ ของกระสุน
ถ้าดูจากตำราฝรั่งที่อ้างถึง จะพบได้ว่าไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ยกเว็นปืนแต่ละขนาด จะเหมาะสมกับลูกชนิดหรือประเภทไหนมากกว่ากัน
ผลการทดลองของเราเองก็ไม่มีเสียด้วย ดังนั่นก็คงต้องอ้างจากเอกสารของฝรั่ง นำมาพูดคุยกันเองในฐานะของคนชอบปืน แต่ไม่ใช่ฐานะของผู้เชี่ยวชาญนะครับ
ในความเห็นส่วนตัวถ้าเราดูการเก็บสถิติของฝรั่งข้างต้น ยังไรเสีย .45 มีอำนาจหยุดยั้งมากกว่า 9 มม. แต่ต่างกันไม่มาก แต่ข้อน่าสังเกตสิ่งหนึ่งเราจะเห็นได้ว่า
ข้อมูลในเรื่องของแรงปะทะไม่ได้มีผลแปรตามสถิติของอำนาจหยุดยั้ง หรือความเร็วของกระสุนทั้งหมด ผลที่ได้จะมีกระสุนอยู่ช่วงหรือกลุ่มหนึ่งเท่านั่นที่มีผล
ในแง่ของอำนาจหยุดยั้ง ณ น้ำหนักและความเร็วจุดหนึ่ง
นั่นหมายความว่า ถ้าพิจารณาการยับยั้งหรือหยุดการตอบโต้ที่ทำให้เกิดบาดแผล โดยยังไม่พิจารณาตำแหน่งที่กระสุนโดนร่างกาย ( ซึ่งจริงๆแล้วเป็นส่วนสำคัญที่สุด เมือ่เทียบตามหัวข้อนี้ )
โดยพิจารณาจาก "อำนาจการสังหาร หรือ อำนาจการหยุดยั้ง " เพียงอย่างเดียว เท่าทีเข้าใจ จุดนี้ล่ะที่จะเป็นตัวแปร ให้เกิดการเสียชวิต/ บาดแผล เนื่องจากกระสุนปืน
คงสรุปว่ากระสุนชนิดใดให้อำนาจการหยุดยั้งได้ค่อนข้างสูง ก็มีโอกาสสามารถทำให้ผู้นั่นเสียชีวิตได้มากกว่า ในทำนองเดียวกันกระสุนชนิดใดที่ให้อำนาจการสังหารที่ค่อนข้างสูง
ก็มีโอกาสสามารถทำให้ผู้นั่นเสียชีวิตได้สูงเช่นกัน หรือมิฉะนั่นทั้งสองอำนาจต้องลงตัวกันพอดีสำหรับกระสุนที่ดีที่สุด เพื่อให้เกิดการเสียชีวิตหรือหยุดยั้งได้ดีที่สุด
โดยลักษณะของบาดแผลที่ทำให้เกิดบาดเจ็บหรือเสียชีวิตนั่น จากการทดลองด้วยแท่งเจลลาตินจะพบว่าจะมีโพรงอากาศชั่วคราว ซึ่งถ้าเกิดในร่างกายเราการยุบหนอพองหนอของเนื้อเยื่อ
ในขณะกระสุนที่มีความเร็ววิ่งผ่านก็จะเกิดขึ้น และหลังจากกระสุนผ่านไปคงเหลือทิ้งร่องรอยซึ่งกลายเป็นโพรงบาดแผลหรือทางกระสุนถาวร บางตำราแพทย์เขาเขียนไว้ว่า
ถ้าขนาดโพรงชั่วคราวใหญ่ขึ้น ทางกระสุนหรือแผลถาวรที่คงอยู่จะใหญ่ขึ้นตาม และโพรงอากาศชั่วคราวจะใหญ่ขึ้นตามความเร็วของกระสุนเช่นกัน ลองดูตัวอย่าง แผลที่เกิดจากกระสุน .223 ครับ
ส่วนอีกลักษณะหนึ่งที่เรียกว่า การช๊อคของของเหลว ซึ่งเกิดผลจากการกระแทกภายในร่างกายและมีการส่งผ่านเนื้อเยือ่หรือของไหลในร่างกาย
ไอ้ตัวนี้ล่ะมั่ง ? ที่ฝรั่งพยายามออกแบบหน้าตัดของกระสุนให้ใหญ่หรือเป็นหัวรูเข้าไว้ ส่วนหนึ่งสำหรับพวกกระสุนความเร็วต่ำและน้ำหนักน้อย..?!!
แต่ช๊อคแล้ว อย่างไร?ต่อ ขอทิ้งไว้เป็นคำถามแล้วกันครับ ??
ที่เขียนมาทั้งหมดเพียงแค่อยากจะบอกว่าไม่ว่าจะเรียกเสียชีวิตหรืออำนาจหยุดยั้งอะไร?ก็ตามที ไม่อยากให้ไปยึดติดกับสเปคให้มาก เพราะจะทำให้เรายึดติดกับตัวเลข
โดยเฉพาะแรงปะทะในแง่ของทฤษฎีหรือจากผลการทดลองมากเกินไป ไม่อย่างนั่นฝรั่งคงไม่คิดอำนาจสังหาร ( Killing Power ) ขึ้นมาหรือผลิตกระสุนออกมามากเกินไปจนเราเองปวดหัวเลือกไม่ถูกกัน
แต่ถ้าเลือกแล้วมั่นใจ จงเลือกและใช้ไปเถอะครับ โดยส่วนตัว อเมริกัน เป็นชาติที่ผมชอบในเรื่องการเก็บสถิติ อเมริกันเป็นประเทศแห่งตัวเลข ข้อมูลของเขาพอจะใช้อ้างอิงได้บ้าง แต่ถ้าไปดูรายละเอียดจริงๆ จากเหตุการ์ณจริง ก็ยังไม่ใช่ทั้งหมดที่เขาสรุป แต่มันเป็นข้อมูลหนึ่งที่สร้างความมั่นใจให้กับเขาในการเลือกกระสุน ใช้งาน ตามสถิติที่เขามีอยู่..ตัวแปรยังมีอีกมากและที่สำคัญผมว่า
ฝรั่งเขาฮึดกว่าเราครับในแง่ของสรีระร่างกาย
หมายเหตุ : สำหรับผมแล้วการวางตำแหน่งยิงจริงที่ต้องการในเหตุการณ์จริงเป็นเรื่องค่อนข้างยากมากๆ ดังนั่นขอเลือกที่ไว้ใจและมั่วแยอะๆไว้ก่อน....แต่ถ้าเลือกได้ ขอลูกซองไว้ก่อนครับ