เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 17, 2024, 11:44:09 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สอบถามเรื่องปืนสเตนเลส กับการชโลมน้ำมันครับ(ขออนุญาตขุดมารายงานผลครับ)  (อ่าน 14085 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Tanate(รักในหลวง)
Hero Member
*****

คะแนน 243
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2039



« ตอบ #45 เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 09:04:01 PM »

ในโลกนี้ไม่มีวัตถุใดๆที่มีสถานะคงที่  สรุปคือ สเตนเลสมันก็เป็นสนิมได้

ใช่ครับ และปืนผมก็เป็นมาแล้ว ในสภาพน้ำมันชุมเต็มใต้ประกับ แต่สนิมแดงเถือก  ตกใจ
แต่ในกระทู้ของผม ผมตั้งประเด็นเกี่ยวกับปืนสเตนเลสกับน้ำมันว่า จำเป็นหรือเปล่า
ที่ต้องชโลมน้ำมันให้กับปืนสเตนเลสน่ะครับ

จากประสบการณ์อันน้อยนิดของผม พบว่าสเตนเลสไม่จำเป็นต้องชโลมน้ำมันครับ
เพราะหน้าที่มันคือต้านการเกิดสนิมอยู่แล้ว แต่ยังไงก็มีข้อจำกัดในการใช้งานที่ว่า ผิวปืน
จะต้องปราศจากคราบเกลือ เหงื่อไคลต่างๆ เจ้าสเตนเลสจึงจะทำหน้าที่ของมันได้ดีที่สุดครับ

ไม่ได้มาแนะให้หลายๆท่าน "ไม่ชโลม" น้ำมันแบบผมนะครับ  Cheesy 
แต่ผมจะลองพิสูจน์ทฤษฎีของผมที่ได้จากชั้นเรียน metallurgy เทอมเดียวในรั้วมหาลัย(ลืมหมดแล้ว)  Grin
ไว้ปีหน้าจะมาขุดอีกครับว่าปืนผมจะเป็นสนิมหรือเปล่าครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า

โดนแล้วครับ นายอำเภอใจกับปลัดขิก เบื่อระบบข้าราชการไทย ของดเล่นปืนไปก่อนนะครับ
fubar
Newbie
*

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 13


« ตอบ #46 เมื่อ: มกราคม 07, 2011, 04:54:19 PM »

ผิดถูกอย่างไรไม่ทราบนะครับ เคยคุยกับเพื่อนฝรั่ง เขาบอกว่า stainless steel เป็นการใช้คำที่ผิด จริงๆ แล้วต้องเป็น stain resistant steel
 Wink Wink
บันทึกการเข้า
BIG BERETTA
Sr. Member
****

คะแนน 154
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 885


Just relax


« ตอบ #47 เมื่อ: มกราคม 07, 2011, 08:26:35 PM »

 Smiley  ข้อมูลโดย อ. ภาควิชาเคมี ม.จุฬา ท่านบอกมาว่าโดยพื้นฐานแล้วสแตนเลสจะแข็งกว่าเหล็ก Shocked จึงไม่จำเป็นต้องผสมเหล็กลงในสแตนเลสเพื่อให้เกิดความเข็งแรงในการผลิตปืน น่าจะเป็นเหตุผลอื่น เช่นสะดวกในการขึ้นรูปขัดเกราเพราะปืนต้องขึ้นรูปก่อน ไม่เหมือนเครื่องครัวที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆบางๆ ทั้งการการประหยัดต้นทุน   สแตนเลสมีหลายเกรด หลายเบอร์ ถ้าอย่างดีคือที่ใช้ทำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่นแท่งสแตนเลสใช้ดามกระดูก อันนั้นจะปลอดสนิมร้อยเปอร์เซ็นแม้อยู่ในที่เปียกตลอดเวลา  เยี่ยม 
บันทึกการเข้า

ทำผิดคือมนุษย์   แต่ให้อภัยคือเทวดา       มนุษย์เราต่างเคยผิดพลาด ทุกคนควรได้โอกาสแก้ตัว
Tanate(รักในหลวง)
Hero Member
*****

คะแนน 243
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2039



« ตอบ #48 เมื่อ: มกราคม 07, 2011, 09:45:32 PM »

Smiley  ข้อมูลโดย อ. ภาควิชาเคมี ม.จุฬา ท่านบอกมาว่าโดยพื้นฐานแล้วสแตนเลสจะแข็งกว่าเหล็ก Shocked จึงไม่จำเป็นต้องผสมเหล็กลงในสแตนเลสเพื่อให้เกิดความเข็งแรงในการผลิตปืน น่าจะเป็นเหตุผลอื่น เช่นสะดวกในการขึ้นรูปขัดเกราเพราะปืนต้องขึ้นรูปก่อน ไม่เหมือนเครื่องครัวที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆบางๆ ทั้งการการประหยัดต้นทุน   สแตนเลสมีหลายเกรด หลายเบอร์ ถ้าอย่างดีคือที่ใช้ทำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่นแท่งสแตนเลสใช้ดามกระดูก อันนั้นจะปลอดสนิมร้อยเปอร์เซ็นแม้อยู่ในที่เปียกตลอดเวลา  เยี่ยม 

 เยี่ยม

ตรงสีแดงอาจจะผิดพลาดนะครับ เพราะว่าสเตนเลส ก็คือเหล็ก แต่ส่วนผสมต่างกัน (เหล็ก+โครเมี่ยม>11%? = สเตนเลส; STEEL + Cr = stainless STEEL)

ตอนเด็กผมยังเข้าใจผิดอยู่เลยว่าสเตนเลสเป็นธาตุที่ต่างจากเหล็กครับ  คิก คิก

จริงๆแล้วผมว่ามีสเตนเลสที่ดีกว่าที่นำมาผลิตปืนกันในปัจจุบัน แต่ว่าตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้วไม่คุ้มค่ากับการลงทุนครับ  Smiley
บันทึกการเข้า

โดนแล้วครับ นายอำเภอใจกับปลัดขิก เบื่อระบบข้าราชการไทย ของดเล่นปืนไปก่อนนะครับ
rathawit21 @ รักในหลวง
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 131
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 469



« ตอบ #49 เมื่อ: มกราคม 07, 2011, 09:53:18 PM »

หาจากกูเกิ้ล มาให้อ่านครับ

ความรู้เกี่ยวกับสเตนเลส

สเตนเลส หรือเหล็กกล้าไร้สนิม เป็นศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียกเหล็กในกลุ่มที่มี่ความต้านทานการกัดกร่อน ที่มีส่วนผสมของโครเมียมอย่างน้อย 10.5 % กำเนิดขึ้นในปี ค.ศ.1903 เมื่อนักโลหวิทยาพบว่า การเติมโครเมียมลงในเหล็กกล้าธรรมดาทำให้เหล็กมีความต้านทานการเกิดสนิมได้
เหตุใดสเตนเลสจึงทนการกัดกร่อนได้
โลหะทุกชนิดโดยทั่วไปจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ เกิดเป็นฟิล์มออกไซด์บนผิวโลหะ ซึ่งจะทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) ส่งผลให้เกิดสภาพพื้นผิวเหล็กผุกร่อนที่เราเรียกว่าเป็นสนิม แต่สเตนเลสมีโครเมียมผสมอยู่ 10.5 % ขึ้นไปทำให้คุณสมบัติของฟิล์มออกไซด์เปลี่ยนแปลงไป ฟิล์มโครเมียมออกไซด์ (หรือที่เรียกว่า Passive layer) เป็นฟิล์มบางๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จะทำหน้าที่เป็นชั้นป้องกันการกัดกร่อนที่มีประสิทธิภาพยิ่ง ซึ่งสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้เองทันทีหากพื้นผิวถูกขีดข่วนทำลาย

สเตนเลสแบ่งออกเป็น 4 ชนิดหลัก
1.เกรดออสเตนิติก แม่เหล็กดูดไม่ติด นอกจากส่วนผสมของโครเมียม 18% แล้ว ยังมีนิเกิลซึ่งควรจะมีไม่ต่ำกว่า 8% มาช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน เหล็กชนิดนี้ผลิตได้ง่าย จึงเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางที่สุด

2.เกรดเฟอร์ริตก แม่เหล็กดูดติด มีส่วนผสมของคาร์บอนต่ำ และมีโครเมียมเป็นส่วนผสมหลัก คือประมาณ 13% หรือ 17%

3.เกรดมาร์เทนซิติก แม่เหล็กดูดติด โดยทั่วไปจะมีโครเมียมผสมอยู่ 12% และมีส่วนผสมของคาร์บอนในระดับปานกลาง มักนำไปใช้ทำส้อม มีด เครื่องมือตัดและเครื่องมือวิศวกรอื่นๆ ซึ่งต้องการคุณสมบัติเด่นในด้านการต้านทานการสึกกร่อน และความแข็งแรงทนทาน

4.เกรดดูเพล็กซ์ แม่เหล็กดูดติด มีโครงสร้างผสมระหว่างเฟอร์ไรต์ และออสเตไนต์ มีโครเมียมผสมอยู่ประมาณ 18-28% และนิเกิล 4.5-8% เหล็กชนิดนี้มักถูกนำไปใช้งานที่มีคลอรีนสูง เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion) และช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนที่เป็นรอยร้าวอันเนื่องมาจากแรกกดดัน (Stress corrosion cracking resistance)

สเตนเลสที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ออสเตนิติกและเฟอร์ริติก ซึ่งคิดเป็น 95% ของสเตนเลสที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน



บันทึกการเข้า

SPD # 17 silver
lenno
ชาว อวป.
Jr. Member
****

คะแนน 11
ออฟไลน์

กระทู้: 87



« ตอบ #50 เมื่อ: มกราคม 07, 2011, 10:17:20 PM »

ได้ความรู้เพิ่มเยอะเลยครับ
บันทึกการเข้า
boilerman
Sr. Member
****

คะแนน 28
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 573


« ตอบ #51 เมื่อ: มกราคม 07, 2011, 10:53:29 PM »

แล้วสแตนเลส 304 นี่ คือกล่มไหนใน 4 กลุ่มข้างต้นครับ
บันทึกการเข้า
Tanate(รักในหลวง)
Hero Member
*****

คะแนน 243
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2039



« ตอบ #52 เมื่อ: มกราคม 07, 2011, 11:13:55 PM »

แล้วสแตนเลส 304 นี่ คือกล่มไหนใน 4 กลุ่มข้างต้นครับ


ถ้าจำไม่ผิดเป็น ออสเทนิติก ครับ
บันทึกการเข้า

โดนแล้วครับ นายอำเภอใจกับปลัดขิก เบื่อระบบข้าราชการไทย ของดเล่นปืนไปก่อนนะครับ
ออกญาเมรัยรำพัน
Jr. Member
**

คะแนน 21
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 92


ถ้าคิดจะเล่นปืน จงอย่าดูถูกปืน ......... !!!


« ตอบ #53 เมื่อ: มกราคม 08, 2011, 01:10:24 AM »

2.13  เหล็ก (Steel)

         2.13.1  เหล็กกล้าคาร์บอนธรรมดา เหล็กกล้าคาร์บอนธรรมดาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มเหล็กคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Steel) มีคาร์บอนผสมอยู่ระหว่าง 0.05% ถึง 0.30% เหล็กกล้าคาร์บอนปลานกลาง (Medium Carbon Steel) มีคาร์บอนผสมอยู่ระหว่าง 0.30% ถึง 0.50%  และเหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High Carbon Steel) มีคาร์บอนผสมอยู่มากกว่า 0.50% ขึ้นไป
         2.13.2  เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ มีใช้งานมากทางด้านผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและในงานโครงสร้าง เช่น ใช้ในท่อโครงสร้าง ตัวถังรถไฟ ตัวถังรถยนต์ สลักเกลียว แป้นเกลียว แผ่นเหล็กชุบสังกะสี ถ้าเหล็กกล้าชนิดนี้มีกำมะถันผสมอยู่มาก เรียกว่า เหล็กกลึงเสรี (Free Cutting Steel) ซึ่งนิยมใช้อย่างมากในเครื่องทำเกลียวอัตโนมัติ ในอุตสาหกรรมส่วนมากใช้เหล็กกล้าชนิดนี้ทั้งแบบรีดร้อนและแบบรีดเย็น เหล็กกล้าที่ผ่านการรีดเย็นจะมีความต้านแรงดี ตัดกลึงได้ดี และมีขนาดแน่นอน ถ้าต้องการใช้ผิวเหล็กทนต่อการสึกหรอก็ทำได้โดยการชุบผิวแข็ง
         2.13.3  เหล็กกล้าคาร์บอนปลานกลาง สามารถนำมาชุบหรือเทมเปอร์ได้โยกรรมวิธีทางความร้อนแบบทั่วไป ดังนั้นจึงมักใช้งานที่ต้องการความต้านแรงและทนต่อการสึกหรอ ผลิตภัณฑ์จากเหล็กกล้าผสมคาร์บอนปลานกลางคือ เพลา แกน เพลาข้อเหวี่ยง ก้านสูบและชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่ต้องการความต้านแรงสูงกว่าเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ
         2.13.4  เหล็กกล้าคาร์บอนสูงใช้มากเมื่อผลิตภัณฑ์ต้องมีความแข็งและความต้านแรงสูง พร้อมกันนั้นก็ทนต่อการสึกหรอได้ดีด้วย เหล็กกล้าชนิดนี้จะต้องผ่านกรรมวิธีทางความร้อนก่อนจึงจะมีคุณสมบัติตามต้องการ โดยปกติที่หาซื้อจากท้องตลาดจะอยู่ในสภาพที่ผ่านการแอนนีลมาแล้ว ดั้งนั้นเมื่อขึ้นรูปเรียบร้อยแล้วต้องทำกรรมวิธีทางความร้อนเพื่อให้มีความแข็งตามต้องการ เหล็กกล้าชนิดนี้ใช้ทำเครื่องมือชนิดต่างๆ เช่น ดอกสว่าน  อุปกรณ์ตัดเกลียวใน ดอกคว้านรู แบบพิมพ์และเครื่องมือต่างๆ และมักใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความคม เช่น มีด สกัด กรรไกร เป็นต้นนอกจากนั้นยังใช้ทำลวดสปริงและลวดสลิงอีกด้วย
         2.13.5 เหล็กกล้าหล่อ เหล็กกล้าหล่อมีส่วนประกอบทางเคมีคล้ายกับเหล็กกล้าเหนียว (Wrought Steel) แต่ว่าได้เพิ่มให้มีซิลิคอนและแมงกานีสมากกว่า และได้ลดก๊าซออกซิเจนและก๊าซอย่างอื่นในเนื้อเหล็ก เหล็กกล้าหล่อใช้ทำชิ้นส่วนที่มีรูปร่างซับซ้อนซึ่งต้องการให้มีคุณสมบัติทางกลใกล้เคียงเหล็กกล้าเหนียวด้วยราคาถูกกว่าการผลิตด้วยวิธีอื่น นอกจากนั้นเหล็กกล้าหล่อยังมีคุณสมบัติทางกลดีกว่าเหล็กหล่อ กรรมวิธีทางความร้อนยังช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางกลบางประการของเหล็กกล้าหล่อได้อีกด้วย
การใช้เหล็กกล้าคาร์บอนสูงมีข้อควรระวังคือ ความแข็งแรงและความต้านแรงจะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งไม่เหมาะต่อการนำไปใช้ทำเครื่องมือตัดบางชนิดที่ทำงานด้วยอุณหภูมิสูง และถ้านำไปชุบอาจเกิดการบิดเบี้ยวหรือแตกร้าวได้ ประการสุดท้ายเหล็กกล้าคาร์บอนสูงมีข้อเสียคือ เมื่อชุบแข็งจะได้ผิวแข็งที่ตื้น นอกเสียจากเป็นชิ้นงานบาง ดังนั้นจึงหวังผลจากการชุบแข็งเหล็กกล้าคาร์บอนสูงได้ไม่มากนัก


2.14  สแตนเลส (Stainless Steel)

         เหล็กกล้าไร้สนิม หรือ สแตนเลส นั้น กำเนิดขึ้นในค.ศ. 1903 เมื่อนักโลหะวิทยาพบว่าการเติมโครเมียมลงในเหล็กกล้าธรรมดาทำให้เหล็กต้านทานการเกิดสนิม ต้านทานการกัดกร่อนได้ ในทางโลหะกรรมถือว่าเป็นโลหะผสมเหล็ก ที่มีโครเมียมอย่างน้อยที่สุด 10.5% ชื่อในภาษาไทย แปลจากภาษาอังกฤษว่า Stainless Steel เนื่องจากโลหะผสมดังกล่าวไม่เป็นสนิมอันเนื่องมาจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง ออกซิเจนในอากาศกับโครเมียมในเนื้อสแตนเลส เกิดเป็นฟิล์มบางๆเคลือบผิวไว้ ทำหน้าที่ปกป้องการเกิดความเสียหายให้กับตัวเนื้อสแตนเลสได้เป็นอย่างดี ปกป้องการเกิด Corrosion และไม่ชำรุดหรือสึกกร่อนง่ายอย่างโลหะทั่วไป
สำหรับในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการบิน นิยมเรียกโลหะนี้ว่า Corrosion Resistant Steel เมื่อไม่ได้ระบุชัดว่าเป็นโลหะผสมชนิดใด และคุณภาพระดับใด แต่ในท้องตลาดเราสามารถพบเห็น สเตนเลสเกรด 18-8 มากที่สุด ซึ่งเป็นการระบุถึง ธาตุที่เจือลงในในเนื้อเหล็กคือ โครเมียมและนิเกิล ตามลำดับ สแตนเลสประเภทนี้จัดเป็น Commercial Grade คือมีใช้ทั่วไปหาซื้อได้ง่าย มักใช้ทำเครื่องใช้ทั่วไป ซึ่งเราสามารถจำแนกประเภทของสเตนเลสได้จากเลขรหัสที่กำหนดขึ้นตามมาตรฐาน AISI เช่น 304 304L 316 316L เป็นต้น ซึ่งส่วนผสมจะเป็นตัวกำหนดเกรดของสแตนเลส ซึ่งมีความต้องการในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป สแตนเลสกับการเกิดสนิม ปกติ Stainless steel จะไม่เป็นสนิมเพราะที่ผิวของมันจะมีฟิล์มโครเมียมออกไซด์ บางๆเคลือบผิวอยู่อันเนื่องมาจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง Cr ใน Stainless Steel กับ ออกซิเจนในอากาศ การทำให้ Stainless Steel เป็นสนิมคือการถูกทำลายฟิล์มโครเมียมออกไซด์ ที่เคลือบผิวออกไปในสภาวะที่ Stainless Steel สามารถเกิดสนิมได้ ก่อนที่ฟิล์มโครเมียมออกไซด์จะก่อตัวขึ้นมาอีกครั้งเช่น ถ้าสแตนเลสถูกทำให้เกิดรอยขีดข่วน แล้วบริเวณรอยนั้นมีความชื้น ซึ่งสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยากับธาตุเหล็กก่อนที่ฟิล์มโครเมียมออกไซด์จะก่อตัวขึ้นมา ก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดสนิมขึ้นได้
         2.14.1  ประเภทของสเตนเลส แบ่งออกเป็นกลุ่มพื้นฐาน ได้ 5 กลุ่มคือ ออสเทนนิติค เฟอริติค ดูเพล็กซ์ มาร์เทนซิติค และ กลุ่มเพิ่มความแข็งโดยวิธีการตกผลึก
                     (ก)  กลุ่มออสเทนนิติค (Austenitic Grade) มีคุณสมบัติไม่เป็นแม่เหล็ก (Non – Magnetic) ตัวอย่างเช่น มีส่วนผสมของโครเมียม 18% มีส่วนผสมของธาตุนิกเกิล 8% เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติในการสร้าง, ประกอบ (Fabrication) เข้าด้วยกันและเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน เป็นเกรดที่ใช้งานแพร่หลายมากที่สุด
                     (ข)  กลุ่มเฟอริติค (Ferritic grade) มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็ก (Magnetic) มีธาตุคาร์บอนผสมปริมาณที่ต่ำ และมีโครเมียมเป็นธาตุผสม หลักที่สำคัญ ตัวอย่างเช่นส่วนผสมโครเมียม 12 % และ 18 %
                     (ค)  กลุ่มมาร์เทนซิติค (Martensitic Grade) มีสมบัติเป็นแม่เหล็ก (Magnetic) ตัวอย่าง ชนิดที่มีส่วนผสมของโครเมียม 12-18% และมี ธาตุคาร์บอนผสมอยู่ปานกลาง สามารถปรับความแข็งได้ โดยการให้ความร้อนแล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว (Quenching) และอบคืนตัว (Tempering) สามารถลดความแข็งได้ คล้ายกับเหล็กกล้าคาร์บอน และพบการใช้งานที่สำคัญในการผลิตเครื่องตัด, อุตสาหกรรมเครื่อง บินและงานวิศวกรรมทั่วไป
                     (ง)  กลุ่มดูเพล็กซ์ (Duplex grade) มีโครงสร้างผสมระหว่างโครงสร้างเฟอริติค และออสเทนนิติค มีโครเมียมเป็นธาตุผสมอยู่ระหว่าง 18 - 28 เปอร์เซ็นต์ และมีนิกเกิลผสม 4.5 - 8 เปอร์เซ็นต์ พบใช้งานมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรยากาศแวดล้อมของคลอไรด์
                     (จ)  กลุ่มเพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก (Precipitation Hardening Steels) ตัวอย่างชนิดที่ มีส่วนผสมของโครเมียม 17 % และเพิ่มส่วนผสมของนิกเกิล ทองแดงและไนโอเบียม ชนิดที่มีส่วนผสมของโครเมียมต่ำสุด 17 % และมีธาตุอื่นผสม สามารถเพิ่มความแข็งแรง ได้โดยกลไกเพิ่มความแข็งจากการตกผลึก (Precipitation Hardening Mechanism) โดยสามารถเพิ่มความแข็งแรงสูงมาก มีค่าความเค้น พิสูจน์ (Proof Stress) อยู่ระหว่าง 1,000 ถึง 1,500 MPa ขึ้นอยู่กับชนิดและกรรมวิธีปรับปรุงคุณสมบัติด้วยความร้อน (Heat Treatment)
บันทึกการเข้า

ร่ำสุราเดียวดายหน่ายความคิด________ถูกผิดไร้ผู้ใดให้ปรึกษา

เพี่ยงรอวันสหายเก่ากลับคืนมา________ร่ำสุราถกความหลังดั่งวันวาน
บูรพา
Full Member
***

คะแนน 20
ออฟไลน์

กระทู้: 187



« ตอบ #54 เมื่อ: มกราคม 08, 2011, 08:46:06 AM »

นายสมชายใช้ปืนโคลท์ .45 s80 สเตนเลสได้ยี่สิบกว่าปีแล้วครับ ยิงแห้งเกือบทุกวันเดี๋ยวนี้ก็ยังเดินยิงแห้งเล่นเหมือนเดิม... นายสมชายรับทราบมาว่าสเตนเลส เกิดสนิมได้ และเคยพลาดปล่อยให้ชี๊ฟสเตนเลส 60 เกิดสนิมตามด เมื่อสมัยก่อนพกชี๊ฟติดเอวทุกวันแล้วบางวันไม่ได้เช็ดก่อนนอน มันเป็นตามดตามรอยคราบเหงื่อเลยครับ...

สำหรับม้าแก่ที่ใช้ยิงแห้งเกือบทุกวันมายี่สิบกว่าปี"ไม่เคยชโลมน้ำมันที่ผิวด้านนอก"ตั้งแต่เริ่มใช้งานแล้วครับ ไม่มีสนิมแม้แต่จุดเดียว... เวลาเอาปืนไปยิงในสนาม ก็ล้างปืนทุกครั้งตามปรกติ จากนั้นเอาปืนมาหยอดน้ำมันหล่อลื่นชิ้นส่วนเคลื่อนไหว ถัดจากนั้นเอา"ผ้าแห้ง"เช็ดน้ำมันหล่อลื่นที่เลอะผิวปืนออกหมด โดยเฉพาะที่ด้ามกับลำเลื่อน เพราะมันจะลื่น ทำให้หยิบจับถือ หรือขึ้นลำยากกว่าปืนผิวสะอาดครับ...

ม้าแก่นายสมชายใช้ยิงแห้งเกือบทุกวัน เช็ดถูภายนอกด้วยผ้าเช็ดปืนก่อนเก็บ เป็นผ้าแห้งสะอาด... ที่เช็ดเพราะต้องการล้างคราบเกลือจากเหงื่อ คราบสิ่งสกปรกที่ติดมือเวลาจับเล่น และไม่ต้องการให้ปืนลื่น เวลาจำเป็นต้องกระชากลำเลื่อนด้วยจะเหตุใดก็ตามแต่ครับ...

นายสมชายย้ำว่าจากประสบการณ์จริงหลายสิบปี ทั้งปืนนายสมชายเอง ปืนพ่อนายสมชาย(S&W 66, 60) ว่าหากผิวปืนสเตนเลสไม่มีคราบเกลือ คราบสิ่งสกปรกเช่นคราบเขม่าดินปืน แล้วไม่เคยเห็นสนิมแม้แต่ตามดเดียวครับ... ปืนนายสมชายเองเวลาเลอะคราบเหงื่อเวลาเอาปืนไปยิงแห้งเวลาจ๊อกกิ้ง จะเอาผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดคราบเค็มเหงื่อออกก่อน แล้วเอาผ้าแห็งเช็ดซ้ำก่อนเก็บครับ...

ขอแก้คำผิดนิดนึงครับ... "สเตนเลส"(แปลว่าเหล็กปลอดรอยขีดข่วนไม่ใช่"สแตนเสล"ที่แปลว่าเหล็กตั้งไม่ได้)...
โคลท์สแตนเลสของผมวิธีดูแลเหมือนพี่สมชายครับ  ล้างเสร็จเช็ดด้วยผ้าแห้งสะอาดไม่ชโลมน้ำมัน  ก่อนเก็บต้องไม่สัมผัสผิวอีกสิบห้าปีไม่เคยมีสนิม
บันทึกการเข้า
chaiwat_colt.45
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 95
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1170



« ตอบ #55 เมื่อ: มกราคม 08, 2011, 10:12:01 AM »

สแตนเลสใครว่าไม่เป็นสนิมขอเถียงหัวชนฝา ต้องชโลมนำ้ำมันครับ
บันทึกการเข้า

11 มม.
tanfog.45
Jr. Member
**

คะแนน 0
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 46



« ตอบ #56 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 12:03:38 PM »

จริงครับ..........อืม! ไหว้
บันทึกการเข้า
โทน73 -รักในหลวง-
มือปืนกาวช้าง
Hero Member
*****

คะแนน 586
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8574


« ตอบ #57 เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 12:53:16 AM »

อ่านคำตอบของพี่สมชาย นึกถึงคำพี่ชลธิต เลย ที่บอกว่ากระบอกไหนที่ใช้บ่อย มักไม่ค่อยเป็นสนิม    ....  เพราะอย่างพวกเราคนชอบปืนใช้บ่อยก้ย่อมเช็ดถูบ่อยไปด้วย
บันทึกการเข้า

....ตามล่า...อีตอแหล
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 22 คำสั่ง