Daimyo
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 924
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 9042
|
|
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2009, 10:13:40 PM » |
|
จะซื้อแต่พอเริ่มหาข้อมูลก็เริ่มงง......หลักๆมีสองระบบคือแบบใช้ยูวี กับ รีเวิร์ส ออสโมซิส....หาข้อมูลมาต่างก็มีข้อโต้แย้งกัน จนผมงงว่าอะไรดีกว่า....
อยากหาข้อมูลครับ.....แบบไหนดี.....ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ดังสายลมที่พัดผ่านลานป่า..พาใบไม้พลัดถิ่น..ดั่งสายน้ำที่ไหลรินพัดพา..นำดวงใจฉันมาใกล้เธอ.. "ความหวังดีที่เธอให้สังคม ฉันชื่นชมเธอเสมอ"
|
|
|
ต.แม่สาย
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 490
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 6544
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2009, 10:30:38 PM » |
|
ที่บ้านผมใช้ของ เพียวครับ กรอง เรซิ่น กรองถ่าน กรองเซรามิค หลังจากนั้นผ่านยูวีครับ แต่มีพี่ที่ทำน้ำดี่มเขาบอกยูวีจะให้ฆ่าเชื้อโรคได้จริงต้องเปิดไว้ 30 นาทีครับ แต่เห็นน้ำมันไหลผ่านแบบนั้นก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามันจะตายหรือเปล่าเลยเอามาต้มดื่มอีกทีครับ
ลองเลือกดูครับมีหลายยี่ห้อ ดูที่ราคาอะไหล่ตอนเปลี่ยนฟิลเตอร์ด้วยครับ ของบางยี่ห้อแพงมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ผู้ใดทำใจให้เป็นกลางได้ ผู้นั้นจะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
|
|
|
ชอลิ่วเฮียง - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 234
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1038
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2009, 11:16:02 PM » |
|
ขอข้อมูลเพิ่มหน่อยครับ........ 1. น้ำดิบก่อนที่จะผ่านเครื่องกรองท่านใช้น้ำจากไหนครับ 2. วัตถุประสงค์ที่จะนำน้ำที่กรองแล้วไปใช้ 3. ปริมาณการใช้ที่ต้องการ (กี่ลิตรต่อนาที, หรือต่อชั่วโมง หรือต่อวัน) เพื่อจะได้จัดได้ใกล้เคียงกับความต้องการครับ......
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขอเป็นข้า รองพระบาท ทุกชาติไป
|
|
|
Daimyo
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 924
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 9042
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2009, 07:27:31 AM » |
|
ตอบท่านชอฯนะครับ....
-ใช้น้าประปาครับ -เอาไปดื่มครับ -อืมม....สาหรับคน5-6คนครับ ปริมาณการกรองค่อชั่วโมงไม่ได้เน้นครับ....กรองแล้วเก็บไว้ดื่มอย่างเดียวครับ....
เรื่องตอนนี้คือว่าจะเลือกระบบไหนดีน่ะครับระหว่างROกับUV
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ดังสายลมที่พัดผ่านลานป่า..พาใบไม้พลัดถิ่น..ดั่งสายน้ำที่ไหลรินพัดพา..นำดวงใจฉันมาใกล้เธอ.. "ความหวังดีที่เธอให้สังคม ฉันชื่นชมเธอเสมอ"
|
|
|
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 3692
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 62457
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2009, 07:54:20 AM » |
|
เรื่องเครื่องกรองน้ำไม่ทราบครับน้า ..... แต่อยากทราบว่าไปนู่นเมื่อไหร่รอจนเปรี้ยวปากแล้ว อิอิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
lek
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 1594
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 13942
การแบ่งปัน ทำให้เราและคนอื่นมีความสุข
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2009, 08:58:35 AM » |
|
การใช้น้ำประปาที่ต่อตรงจากท่อ ทำให้เครื่องกรองอุดตันง่าย เพราะเวลาซ่อมท่อน้ำโคลนจะเข้าเครื่อง ควรใช้น้ำที่พักในถัง ส่วนเครื่องกรองแบบไหนนั้น ควรเลือกจากบริษัทที่มีชื่อเสียง ปัจจุบันนิยมแค่กรองแล้วผ่านรังสียูวี.ก็พอเพราะปัจจุบันน้ำประปาดื่มได้(ถ้ากล้าดื่ม) ผมเลิกใช้แบบคาร์บอนกับเรซิ่นหลายปีแล้วครับ สู้เปลี่ยนใส้กรองกับหลอดยูวี.ไม่ได้ดูดีกว่า(แต่แพงกว่า)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Earthworm
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 211
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1359
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2009, 09:20:58 AM » |
|
คำแนะนำจากคนเป็นนิ่วครับ ถ้าต้นทาง(เป็นประปา)แล้ว น่าจะอยู่ที่ความชอบครับ ลองชิมดูว่าแบบไหนที่รสชาติถูกใจกว่าก็เลือกแบบนั้น เพราะเท่าที่คุยกับคุณหมอและเพื่อนๆที่ทำแล็ป(ตู้ขายน้ำดื่ม) ส่วนมากแล้วระบบกรองจะสะอาดใกล้เคียงกัน แต่พวกเชื้อโรคมักจะเกิดหลังจากผ่านการกรองแล้วทั้งนั้นครับ เช่นพวก แบคทีเรียต่างๆมักจะเกิดตอนที่น้ำนิ่งๆค้างอยู่ในท่อกรองครับ ถึงได้มีการแนะนำให้เปิดเครื่องทิ้งน้ำก่อนที่จะนำน้ำมาใช้ ส่วนถ้ามีคนในบ้านมีอาการนิ่วแบบผม ก็ขอให้เลือกแบบที่กรองพวกสิ่งแปลกปลอมได้เล็กที่สุดครับ มิฉะนั้นมันอาจไปจับกับเม็ดที่มีอยู่เพิ่มขนาดได้ครับ อันนี้เล่าให้ฟังขำๆครับ เมื่อหลายปีก่อนจำได้ว่าเคยอ่านในหนังสือพิมพ์ มีพวกเซลล์ขายเครื่องกรองแบบเดินเคาะประตูบ้าน มั่นใจในประสิทธิภาพของเครื่องที่ตัวเองขายมาก ขนาดที่ว่าเอายาฆ่าหญ้า(ขอสงวนยี่ห้อนะครับ)ละลายน้ำ แล้วกรองออกมาดื่มโชว์ลูกค้าครับ ผลที่ได้ก็คือ...................................... ..................................................... ชักตาตั้งครับ หามส่งโรงพยาบาลกันจ้าละหวั่น แต่จำไม่ได้แล้วว่าตายหรือเปล่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
sathu 28
ชาว อวป.
Full Member
คะแนน 165
ออฟไลน์
กระทู้: 480
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2009, 10:05:11 AM » |
|
กรองชนิดอะไรก็ตามครับ ต้องหมั่นดูแลรักษา เปลี่ยนใส้กรอง ก่อนกำหนด ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำดิบ ประปาบ้านเรานี่ น่ากลัวมากครับ หินปูนเยอะมาก Ro reverse osmosis นี่ก็ดีครับ แต่ไม่รู้ว่าพอเป็นระบบเล็กๆแล้วจะมีประสิทธิภาพจริงหรือเปล่า แต่ในระบบใหญ่ๆ นี่ไม่มีค่านำไฟฟ้าเลย ถ้าจะให้ดีครับลองติดเสร็จแล้วเอาน้ำไปตรวจที่กองวิทยาศาสตร์บริการ เดี๋ยวนี้น่าจะมีที่อื่นอีก ลองให้เขาตรวจดู
เครื่องกรองน้ำสำคัญที่สุดคือดูแลรักษา หมั่นตรวจดูคุณภาพน้ำ มีน้ำยาหยอดตรวจไม่รู้ว่ามีขายทั่วไปหรือเปล่า สมัยก่อนขายเครื่องกรองน้ำ ต้องพกน้ำยาไปเทสบ้างเอาตัวอย่างกลับมาตรวจบ้าง
pure ก็ดีครับเดี๋ยวนี้เห็นมีศูนย์เต็มไปหมด หาอะไหล่ง่าย ว่าจะมาขายมั่งอยู่เหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
wag the dog
Full Member
คะแนน 151
ออฟไลน์
กระทู้: 148
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2009, 12:32:57 PM » |
|
อันนี้เล่าให้ฟังขำๆครับ เมื่อหลายปีก่อนจำได้ว่าเคยอ่านในหนังสือพิมพ์ มีพวกเซลล์ขายเครื่องกรองแบบเดินเคาะประตูบ้าน มั่นใจในประสิทธิภาพของเครื่องที่ตัวเองขายมาก ขนาดที่ว่าเอายาฆ่าหญ้า(ขอสงวนยี่ห้อนะครับ)ละลายน้ำ แล้วกรองออกมาดื่มโชว์ลูกค้าครับ ผลที่ได้ก็คือ...................................... ..................................................... ชักตาตั้งครับ หามส่งโรงพยาบาลกันจ้าละหวั่น แต่จำไม่ได้แล้วว่าตายหรือเปล่า ha ha ยาเขาดีขอรับ แต่เครื่องกรองยี่ห้อนี้ไม่ดี อย่าไปซื้อ 5555
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ข อ ก รู เ ท่ นิ ด นึ ง (・ω・`)ノ ปชป.= ปรีดี / ส ป ก / ปรส. / ปลากระป๋อง / ประปา / ปุ๋ย ha ha ชุมชนแพงเพียบ เหอ เหอ ไอ้เด็กมันโกงกันเอง โพ้มม่ายเกี่ยว อิอิ
|
|
|
ชอลิ่วเฮียง - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 234
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1038
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2009, 02:06:07 PM » |
|
หลักการของเครื่องกรองน้ำทั่วไป (ยกเว้นระบบ RO) คือใช้ตะแกรงขนาดตาเล็กมากๆ ดักอนุภาคที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ ดังนั้นถ้าสิ่งแปลกปลอมละลายมากับน้ำ เช่น เกลือ น้ำตาลทราย วิสกี้ ฯลฯ จะกรองไม่ได้ เครื่องกรองระบบ Reverse Osmosis ใช้หลักการกรองเลียนแบบการดูดซึมอาหารของเซลพืช (การกินอาหารของพืชใช้การดูดซึมแร่ธาตุที่ละลายน้ำผ่านเยื่อผนังเซลโดยกักน้ำไว้ด้านนอก แต่การกรองแบบ R O ใช้การดูดซึมน้ำผ่านเยื่อกรองโดยกักแร่ธาตุ และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ไว้ด้านนอก) ดังนั้นโดยทฤษฎีแล้ว การกรองโดยระบบ RO จะได้น้ำบริสุทธิ์ 100 % ดังนั้นสิ่งที่เป็นจุดสังเกตุของระบบนี้ก็คือ 1. จะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการกรอง และ 2. จะต้องมีน้ำส่วนหนึ่ง (ประมาณ 50%) ที่จะต้องปล่อยทิ้งไป เท่าที่ผมเคยมีประสบการณ์กับเครื่องกรองน้ำระบบ RO ที่ใช้ในบ้านหลายยี่ห้อ ประสิทธิภาพการกรองเกิน 99.9% ทั้งนั้นแหละครับ หัวใจของเครื่องกรองระบบ RO ก็คือเยื่อกรอง (Membrane) ซึ่งเท่าที่ผมทราบมีผู้ผลิตแค่ 2 ราย คือ ดูปองท์ กับ ดาวคอรริ่ง ส่วนที่ใครจะสั่งเมมเบรนมาจากโรงงานใด แล้วมาออกแบบ ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ผลิตขายติดยี่ห้อของตัวเองเข้าไปก็แล้วแต่กึ๋นของแต่ละรายแล้วละครับ....... อ้อ...ขอหมายเหตุเพิ่มเติมนะครับ..... เครื่องกรองน้ำบางยี่ห้อก็คล้ายๆ กับวงการค้าปืนเหมือนกันนะครับ...... ไส้กรองผลิตจากดาวพฤหัสฯ ตัวถังผลิตจากเหล็กดาวอังคาร หลอดยูวีมาจากใจกลางดวงอาทิตย์........ก็ฟังหู ไว้หู นะครับ.....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขอเป็นข้า รองพระบาท ทุกชาติไป
|
|
|
Daimyo
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 924
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 9042
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2009, 02:59:33 PM » |
|
หลักการของเครื่องกรองน้ำทั่วไป (ยกเว้นระบบ RO) คือใช้ตะแกรงขนาดตาเล็กมากๆ ดักอนุภาคที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ ดังนั้นถ้าสิ่งแปลกปลอมละลายมากับน้ำ เช่น เกลือ น้ำตาลทราย วิสกี้ ฯลฯ จะกรองไม่ได้ เครื่องกรองระบบ Reverse Osmosis ใช้หลักการกรองเลียนแบบการดูดซึมอาหารของเซลพืช (การกินอาหารของพืชใช้การดูดซึมแร่ธาตุที่ละลายน้ำผ่านเยื่อผนังเซลโดยกักน้ำไว้ด้านนอก แต่การกรองแบบ R O ใช้การดูดซึมน้ำผ่านเยื่อกรองโดยกักแร่ธาตุ และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ไว้ด้านนอก) ดังนั้นโดยทฤษฎีแล้ว การกรองโดยระบบ RO จะได้น้ำบริสุทธิ์ 100 % ดังนั้นสิ่งที่เป็นจุดสังเกตุของระบบนี้ก็คือ 1. จะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการกรอง และ 2. จะต้องมีน้ำส่วนหนึ่ง (ประมาณ 50%) ที่จะต้องปล่อยทิ้งไป เท่าที่ผมเคยมีประสบการณ์กับเครื่องกรองน้ำระบบ RO ที่ใช้ในบ้านหลายยี่ห้อ ประสิทธิภาพการกรองเกิน 99.9% ทั้งนั้นแหละครับ หัวใจของเครื่องกรองระบบ RO ก็คือเยื่อกรอง (Membrane) ซึ่งเท่าที่ผมทราบมีผู้ผลิตแค่ 2 ราย คือ ดูปองท์ กับ ดาวคอรริ่ง ส่วนที่ใครจะสั่งเมมเบรนมาจากโรงงานใด แล้วมาออกแบบ ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ผลิตขายติดยี่ห้อของตัวเองเข้าไปก็แล้วแต่กึ๋นของแต่ละรายแล้วละครับ....... อ้อ...ขอหมายเหตุเพิ่มเติมนะครับ..... เครื่องกรองน้ำบางยี่ห้อก็คล้ายๆ กับวงการค้าปืนเหมือนกันนะครับ...... ไส้กรองผลิตจากดาวพฤหัสฯ ตัวถังผลิตจากเหล็กดาวอังคาร หลอดยูวีมาจากใจกลางดวงอาทิตย์........ก็ฟังหู ไว้หู นะครับ.....
ขอบคุณมากครับท่านชอฯและท่านอื่นๆ.... ผมเจอยี่ห้อหนึ่งสามหมื่นกว่าๆ......แต่ดูไปดูมาก็ไม่ต่างจากหมื่นกว่าๆ......
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ดังสายลมที่พัดผ่านลานป่า..พาใบไม้พลัดถิ่น..ดั่งสายน้ำที่ไหลรินพัดพา..นำดวงใจฉันมาใกล้เธอ.. "ความหวังดีที่เธอให้สังคม ฉันชื่นชมเธอเสมอ"
|
|
|
ชอลิ่วเฮียง - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 234
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1038
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2009, 03:16:20 PM » |
|
มีเรื่องเล่าให้ฟัง....ขำ ขำ นะครับ.... ผมอยู่ที่ต่างจังหวัด ก็เคยมีเซลขายเครื่องกรองน้ำตามบ้านมาเสนอขายถึงบ้านเหมือนกัน.... บังเอิญว่าเขามาถึงบ้านผมตอนมันเลยแดดร่ม....ลมตก...ไปแล้วนะซิครับ...... เขาก็มั่นใจในคุณภาพสินค้าของเขามาก...... เพื่อน(ร่วมวง)ของผมก็เลยเสนอว่าให้ทดสอบผลิตภัณฑ์......คนขายก็ตกลง........ เพื่อนผมก็จัดแจงยกกระติกน้ำแข็งใบใหญ่ที่มีก๊อกเปิดน้ำมาวาง.......ใส่น้ำแข็งเต็มกระติก......เทวิสกี้(เรียกให้หรูไปงั้นแหละ.....ยี่ห้อแม่โขง.....อายุ 10 กว่าปี) ลงไป เทโซดาผสม ต่อท่อยางจากกระติกผ่านเครื่องกรอง....แล้วเราก็เปิดผ่านเครื่องกรองลงแก้ว.....คนขายก็ต้องทดลองสินค้าตัวเองด้วย......... ผล.....กลิ่น....รสชาด....เจือจางลงจริง แต่ปริมาณแอลกอฮอล์ไม่ลดหรอกครับ...... เพราะน้องคนขายน่ะหลับอยู่ข้างเครื่องของเขานั่นแหละครับ.......... หมายเหตุ.....เครื่องกรองแบบธรรมดา ไม่ใช่แบบ RO นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขอเป็นข้า รองพระบาท ทุกชาติไป
|
|
|
ลุงโย
Full Member
คะแนน 14
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 121
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2009, 07:10:10 PM » |
|
ผมลองให้ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับเครื่องกรองน้ำที่เห็นขายสำหรับใช้ตามบ้านนะครับ 1.) ความหมายของศัพท์เท่าที่นึกออกก่อนก็แล้วกันครับ UV = Ultra Violet ก็คือแสงยูวีสำหรับฆ่าเชื้อครับ ไม่เกี่ยวกับการกรอง Ozone = โอโซน นี่ก็ใช้ฆ่าเชื้ออย่างเดียวเหมือนกัน Carbon = คาร์บอนหรือถ่านนั่นเอง มีหน้าที่ดูดพวกสารปนเปื้อนในน้ำเช่น คอรีน กลิ่น หรือสี ที่ปนมาในน้ำ RO = Reverse Osmosis ซึ่งเป็นวิธีทำให้น้ำบริสุทธิ์ขึ้นโดยใช้ไส้กรองRO (หมายความว่าดีขึ้นกว่าก่อนกรองนะครับ ซึ่งRO สามารถทำน้ำให้ดีได้จนถึงผลิตยาฉีด ก็มีครับขึ้นอยู่กับระบบและชนิดไส้กรองRO) Resin = เรซิน ปกติจะเป็นชนิด cation คือทำให้น้ำหายกระด้างเท่านั้นครับ (จับพวกประจุ+ ดังนั้นมันจึงไม่จับคลอรีนในน้ำประปานะครับ(ไม่มีประจุ)) Ceramic = เป็นไส้กรองอีกชนืดหนึ่งซึ่งมีรูพรุนเล็กมาก ขนาดเป็นไมครอน กรองเชื้อได้(1ไมครอน ก็ประมาณ 1 มม. แบ่งเป็น 1พันส่วนแหละครับ )
2.) ดังนั้นถ้าเริ่มต้นด้วยน้ำประปา ถ้าจะใช้เครื่องกรองก็ต้องใช้แบบมีไส้กรองคาร์บอน (คลอรีนในน้ำประปาถ้าเอามาต้นหรือทำกับข้าวที่ต้องใช้ความร้อน ทำให้เกิดมะเร็งได้ครับ) ซึ่งคาร์บอนที่ใช้ก็มีหลายแบบครับ บางชนิดอัดแน่นสามารถกรองสารที่แขวนลอยในน้าได้ด้วย แต่บางชนิดเป็นเกล็ดหรือเม็ดอย่างนี้ได้แค่ ดูดจับคลอรีนหรือสีหรือกลิ่นเท่านั้น ส่วนเรซินสำหรับน้ำประปาที่สะอาดจริงๆไม่จำเป็นเท่าไหร่ครับ เพราะข้อกำหนดของไอออนของการประปาอยู่ในเกณฑ์ที่ดื่มได้อยู่แล้ว แต่สุดท้ายต้องมีการกำจัดเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำหรือฝังตัวแล้วเติบโตอยู่ที่ผิวของคาร์บอนหรือเรซินเอง ซึ่งจะใช้ UV หรือ RO หรือ Ceramic ก็แล้วแต่จะเลือกครับ ยังไงก็ดูที่น่าเชื่อถือหน่อยก็ดีครับ
3.) ถ้าเป็นน้ำบาดาล อันนี้ยากครับ เพราะต้องตรวจสอบก่อนว่ามีแร่ธาตุตัวไหนเจือปนอยู่บ้าง มากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะได้เลือกสารกรองที่เหมาะสม (ขอไม่ลงรายละเอียดนะครับ แต่ถ้าบ้านใครเป็นน้ำบาดาล เครื่องกรองที่ขายใช้ตามบ้าน ซื้อไปใช้เลยไม่ได้นะครับ น้ำผ่านแค่ครั้งเดียว ทั้ง คาร์บอน เรซิน RO อาจหมดสภาพไปเลยก็ได้)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 2953
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 23210
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2009, 07:27:38 PM » |
|
เรื่องอะไหลก็สำคัญครับ เช่น พวกหลอด UV หรือใส่กรองต่าง ๆ ดูอายุการใช้งานและค่าอะไหล่ด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
|
|
|
ชอลิ่วเฮียง - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 234
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 1038
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2009, 01:10:18 AM » |
|
ผมจะเปรียบเทียบแบบง่ายๆ นะครับ (อาจจะไม่ถูกต้องนัก แต่ก็พอให้เห็นภาพได้) คุณภาพน้ำที่ได้จากเครื่องกรองน้ำแบบทั่วไป เราอาจจะคิดเป็นเปอร์เซนต์ว่าจะลดความสกปรกลงไปได้เป็นกี่เปอร์เซนต์ เช่นกรองได้ถึง 95%.....ถ้าใช้น้ำประปา(โดยเฉพาะประปานครหลวงซึ่งสะอาดมาก)เป็นต้นทาง น้ำกรองที่ได้ก็สะอาดปลอดภัยแน่นอน....แต่ถ้าเราใช้น้ำสกปรก เช่น น้ำโคลน น้ำในคลองข้างทำเนียบฯ หรือ น้ำทะเล เป็นต้นทาง น้ำกรองที่ได้โคลนหายไป 95%แต่สีก็ยังขุ่นอยู่ สีดำๆกลิ่นเหม็นๆลดไป 95% แต่ก็ยังมีกลิ่นอยู่ ถือว่ายังคงไม่สะอาด ไม่ปลอดภัย แล้วก็ยังเค็มอยู่ 100% เพราะกรองไม่ได้.......แล้วก็น้ำต้นทาง 10 ลิตร เราก็จะได้น้ำกรอง 10 ลิตร ส่วนคุณภาพน้ำที่ได้จากเครื่องกรองน้ำระบบ RO นั้น ไม่ว่าน้ำต้นทางจะเป็นอย่างไร น้ำกรองที่ได้จะเป็นน้ำจืด สะอาดมากๆ เสมอ ไม่ว่าจะเป็นน้ำโคลน น้ำเน่า หรือน้ำทะเล ก็จะได้น้ำกรองที่สะอาด บริสุทธิ์เกือบ 100 % เท่ากันหมด ส่วนที่แตกต่างก็คือ ถ้าน้ำต้นทางเป็นน้ำประปา เมมเบรนที่ใช้กรองก็จะมีอายุการใช้งานยาวนาน น้ำต้นทาง 10 ลิตร อาจจะได้น้ำกรองถึง 7 - 8 ลิตร แต่ถ้าน้ำต้นทางเป็นน้ำสกปรก เมมเบรนก็จะอายุสั้น (แพงมากๆ ด้วย) แล้วน้ำต้นทาง 10 ลิตร อาจจะได้น้ำกรองแค่ 1 ลิตร............. แล้วที่ท่านไดเมียว บอกว่าเครื่องราคาต่างกันเกือบ 3 เท่า แต่ดูหน่วยก้านใกล้เคียงกันนั้น.......ลองถามราคาอะไหล่เมมเบรนดูสิครับ.......ผมเคยเจอ 2 ยี่ห้อ ราคาเครื่อง และอะไหล่ต่างกัน 4 เท่า แต่เหมือนกันเปี๊ยบ แถมใช้แทนกันได้ด้วย เอาเมมเบรนของตัวแพงไปใส่ตัวถูก เอาของตัวถูกไปใส่ตัวแพง ผลที่ได้ก็ยังคงเหมือนเดิมคือกรองได้สะอาดเท่ากัน.......แล้วก็ยังมีแบบราคาเครื่องต่างกันประมาณ 2.5 เท่า แต่ราคาอะไหล่เมมเบรนเท่ากันก็มี.........ที่ให้เน้นราคาเมมเบรนเป็นหลักก็เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดนะครับ ส่วนอะไหล่ตัวอื่นๆนั้นไม่น่ากลัวครับ ถึงไม่มีขาย แต่ช่างไทยทำได้สบายมากครับ....... ดังนั้นความเห็นของผมก็คือ เลือกระบบ RO ครับ.......ใช้ชนิดราคาถูกที่สุด(ไม่ต้องมี UV ไม่ต้องมีโอโซน ไม่ต้องมีไส้กรองเรซิน คาร์บอน หรืออื่นๆ ให้รกรุงรัง) แล้วก็ราคาเมมเบรนอะไหล่ถูก หาซื้อได้ง่าย และมีขายตลอดไป (กลัวตรงที่ไม่มีเปลี่ยนนี่แหละครับ เพราะว่าถึงแม้ว่าจะใช้น้ำประปาเป็นต้นทาง ก็จะต้องเปลี่ยนเมมเบรนทุก 1.5 - 2 ปี ตามกำหนดของผู้ผลิตนะครับ) ........ขอให้โชคดีในการเลือกครับ.........
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขอเป็นข้า รองพระบาท ทุกชาติไป
|
|
|
|