เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 15, 2024, 11:26:14 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธงชาติไทย  (อ่าน 4642 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 6 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
bigbang
จงใช้สติก่อนใช้ปืน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1018
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6603


รูปจากเวปผู้จัดการครับ


« ตอบ #15 เมื่อ: กันยายน 11, 2009, 07:36:52 AM »

ขอบคุณครับ 
ผมว่าธงไตรรงค์ของเราสวยนะครับ หากดูแลกันดีๆ อย่าปล่อยให้เปรอะหรือขาด
บันทึกการเข้า

อเสวนา จะ พาลานัง
จินตา <Jinta>
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 89
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2373


« ตอบ #16 เมื่อ: กันยายน 11, 2009, 07:38:20 AM »

ขอบคุณครับพี่
บันทึกการเข้า
dig5712
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 119
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1801



« ตอบ #17 เมื่อ: กันยายน 11, 2009, 08:12:05 AM »

 ไหว้ ขอบคุณครับ  Cheesy
บันทึกการเข้า
Choro - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 214
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3853



« ตอบ #18 เมื่อ: กันยายน 11, 2009, 10:46:58 AM »

ขอบคุณครับ  ไหว้ 


   รูปถ่ายได้สวยครับ  เยี่ยม เยี่ยม
บันทึกการเข้า

สุดท้ายชีวิตไม่ขอรวย ขอแค่ไม่ป่วยก็พอแล้ว
Twitter 125
Hero Member
*****

คะแนน 155
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1345



« ตอบ #19 เมื่อ: กันยายน 11, 2009, 11:23:00 AM »

ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า

ถ้าอยากดัง.    ก็อย่าหวังความสงบ..
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #20 เมื่อ: กันยายน 11, 2009, 12:41:41 PM »

ขอบคุณน้าวัฒน์ครับ...

อ้อ...
รูปประกอบของคุณ fink งดงามจริงครับ... ถ่ายเก่งมาก ย้อนแสงแล้วไม่ดำปี๋เหมือนนายสมชายถ่ายครับ...
ถ้าเป็นนายสมชายถ่ายต้องรอเช้าตรู่ หรือเย็นย่ำ แล้วก็ต้องรอถ่ายตามแสง... ยังไง๊ก็ถ่ายมุมสูงไม่ได้ เพราะจะดำปี๋... ฮา
บันทึกการเข้า
Major
ก็แค่.....?
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 255
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1636


ดวงชีวัน นั้นเรายอม พร้อมจะพลี


« ตอบ #21 เมื่อ: กันยายน 11, 2009, 01:41:11 PM »

ขอบคุณครับ ท่านวัฒน์

ขออนุญาตเก็บไว้ บรรยายความรู้ให้เด็ก ๆ นะครับ

ด้วยความเคารพครับ
บันทึกการเข้า

ผิดหวังแล้วหวังใหม่ไม่ลดละ            หวังเพื่อจะผิดหวังในครั้งใหม่
แล้วเราก็ผิดหวังสมดังใจ                 เราจึงไม่ผิดหวังสักครั้งเดียว
วัฒน์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4114
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17223


เนรเทศยกโคตรดีกว่านิรโทษยกเข่ง


เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: กันยายน 11, 2009, 02:07:29 PM »


วันนี้เพิ่งไปถ่ายมาพอดีครับ เลยเอามาฝากกันครับ


 Cheesy

 ไหว้ รูปสวยมากครับ +1 ให้ครับ ขอบคุณครับ
ธงไตรรงค์ เวลาโบกสบัดบนยอดเสา ช่างเป็นภาพที่งดงามมากครับ





  ขอบคุณครับ ไหว้

ขอประวัติเพลงชาติต่อเลยนะครับ   ขอบคุณครับ  ไหว้

 ไหว้ ได้ครับ

- เพลงชาติไทยแบบที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ถือเป็น เพลงชาติไทยลำดับที่ 7 ซึ่งประกาศใช้ในยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดย รัฐนิยมฉบับที่ 6 เมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2482  ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit) ตั้งแต่ ปี 2475 ประพันธ์เนื้อร้องโดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)

- ก่อนหน้านั้นมี เพลงชาติไทย ใช้มาแล้ว 6 เพลง เริ่มต้นระหว่าง ปี 2395 – 2414   ใช้ทำนองเพลง God Save the Queen ในการฝึกทหารของไทยสมัยนั้น ใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษ หมด ดังนั้นเพลง กอด เสฟเดอะควีน (God Save the Queen)จึงใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพต่อพระ มหากษัตริย์ ใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2395 ถึง 2414  เรียกกันว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ เป็นเพลงเกียรติยศถวายความเคารพ แด่องค์พระมหากษัตริย์โดยเรียกว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ แต่ต่อมาเมื่อ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นใหม่แล้วเรียกชื่อว่า เพลงจอมราชจงเจริญ นั่นแหละจึงถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 1 


 “ความสุขสมบัติทั้งบริวาร เจริญพละ ปฏิภาณผ่องแผ้ว จงยืนพระชน...มาน นับรอบร้อย แฮ มีพระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์ เพี้ยง จันทร”

       
- ในยุค รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ในปี พ.ศ. 2414 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เมืองสิงคโปร์ ในขณะนั้นสิงคโปร์ยังเป็นเมืองขึ้น ของประเทศอังกฤษอยู่ กองทหารดุริยางค์ สิงคโปร์ บรรเลงเพลงกอดเสฟเดอะควีน เพื่อถวายความเคารพ
       
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็น จะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติครั้นเมื่อทรง เสด็จกลับถึงพระนคร จึงได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษา หาเพลงชาต ิที่มีความเป็นไทย มาใช้แทนเพลงกอดเสฟเดอะควีน คณะครูดนตรีไทย ได้เลือก เพลงทรง พระสุบัน หรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสม เด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้มีความเป็น สากลขึ้น โดย เฮวุดเซน (Heutsen) นับเป็น เพลงชาติไทยฉบับที่สอง ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. 2414-2431
     

- เพลงชาติลำดับที่ 5 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 2475  และประพันธ์เนื้อร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) บรรเลงครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม 2475 แต่ก็ใช้อยู่เพียงระหว่าง ปี 2475 – 2477 โดยมีเนื้อร้องดังนี้

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง

ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า

สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา

รวมรักษาสามัคคีทวีไทย

บางสมัยศัตรูจู่โจมตี

ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่

เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท

สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา

อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย

น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า

เอกราชคือเจดีย์ที่เราบูชา

เราจะสามัคคีร่วมใจ

รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี

ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้

เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย

สถาปนาสยามให้เทิดไทยไชโย


- เพลงชาติลำดับที่ 3 นั้นเกิดขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 เช่นกัน โดยประพันธ์ทำนองโดย นักประพันธ์ชาวรัสเซีย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) คำร้องเป็นบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่าง ปี 2431 – 2475 ใช้มายาวนานเพราะมี ท่วงทำนองไพเราะ เนื้อหาสมบูรณ์ และทุกวันนี้ก็ใช้อยู่ในนามของ เพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นเอง
     


เพลงชาติลำดับที่ 4 เกิดขึ้นภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (24 มิถุนายน 2475) แล้ว เพลงชาติลำดับนี้เป็นเพลงชาติชั่วคราว (เนื่องจากมีการเตรียมการโดยสังเขปที่จะสร้างเพลงชาติขึ้นมาใหม่ โดยสมาชิกของคณะผู้ก่อการท่านหนึ่งมอบหมายให้ พระเจนดุริยางค์ เป็น ผู้ประพันธ์ แต่ยัง ไม่เสร็จ เลยต้องใช้ทำนองเพลงไทยเดิม คือเพลงมหาชัย ไปพลางก่อน) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นผู้ ประพันธ์เนื้อร้อง ซึ่งมีเนื้อหาปลุกใจให้คนไทยเกิดความรักชาติ และเกิดความสามัคคี ตลอดจนให้เลื่อมใสในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้


ยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ
ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย
เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน ธรรมนูญสถาปนาพรรษาใหม่
ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดินฟ้า


เพลงชาติลำดับนี้ใช้ในช่วงสั้น ๆ ไม่ถึง 1 เดือน ก็เปลี่ยนแปลงไป

- กำเนิดของเพลงชาติลำดับที่ 6 นั้น สืบเนื่องมาจากการที่ในปีพุทธศักราช 2477  รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเพลงชาติขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน และมีกรรมการท่านอื่นร่วมด้วยดังนี้คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์ พระเจนดุริยางค์ หลวงชำนาญนิติเกษตร จางวางทั่ว พาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมท คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับเพลงชาติโดยเฉพาะ

- ผลการตัดสินปรากฎว่า มีเพลงชาติแบบไทย และแบบสากล อย่างละเพลงคือ แบบไทยได้แก่เพลงชาติของจางวางทั่ว พาทยโกศลที่แต่งขึ้นจากเพลงไทยเดิมชิ่อว่า “ตระนิมิตร” ส่วนทางสากลได้แก่ เพลงของ พระเจนดุริยางค์ ที่แต่งไว้แล้ว

- ในเวลาต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ ได้พิจารณาว่า เพลงชาตินั้นควรจะมีลักษณะ ที่บ่งบอกถึงความศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามีสองเพลงอาจทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ลดลง จึงร่วมกันพิจารณาใหม่ ในที่สุดตกลงว่าให้มีทางสากลเพลงเดียวคือ แบบทำนองสากลของพระเจนดุริยางค์ จึงได้จัดให้มีการประกวดบทร้องขึ้นใหม่ คณะกรรมการได้สรุปผลให้บทร้องของนายฉันท์ ขำวิไล และบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา ได้รับรางวัล และตัดสินให้บทร้องของขุนวิจิตรมาตราได้รับรางวัลชนะเลิศ

ในปีพุทธศักราช 2482 มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจากคำว่า “สยาม” มาเป็น “ไทย” ทำให้จำต้องแก้ไขบทร้องในเพลงชาติด้วย รัฐบาลจึงได้จัดประกวดบทร้องเพลงชาติไทยขึ้นใหม่ผลการประกวด ปรากฎผู้ชนะได้แก่ นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ส่งเข้าประกวดในนามกองทัพบก และให้ใช้ทำนองขับร้องเพลงชาติไทย ของพระเจนดุริยางค์ ตามแบบที่มีอยู่เดิม (ดังได้กล่าวแล้วในย่อหน้าแรก) กลายเป็นเพลงชาติลำดับที่ 7 (ปัจจุบัน) ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้



“ ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย ”

- พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ มีความปราบปลื้มและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับได้สั่งเสียบุตร ธิดา ไว้ว่า “ฉันได้สั่งบุตรธิดาของฉันไว้ทุกคนว่า ในกาลภายหน้าเมื่อถึงวาระที่ฉันจะต้องเกษียณอายุลาโลกไปแล้ว ขณะใกล้จะขาดอัสสาสะ ขอให้หาจานเสียงเพลงชาติอันนี้ มาเปิดให้ฟังให้จงได้ เพื่อบังเกิดความชุ่มชื่นระรื่นใจ อันไม่มีเสื่อมคลายตราบสิ้นปราณ”


- เพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ. 2475
ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
คำร้อง: ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
แผ่นเสียงโอเดียนตราตึก บรรเลงเครื่องสายฝรั่งวงใหญ่ทหารเรือ

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/3/36/NationalAnthem(2475).ogg



-  เพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ. 2477 (เนื้อร้องท่อนที่ 3 และ 4)
ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
คำร้อง: ฉันท์ ขำวิไล
ขับร้องโดยนักศึกษาวิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์ ม.มหิดล ในรายการถึงลูกถึงคน วันที่ 25 พ.ค. 2548

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/f/f3/ThaiNationalAnthem(2477-Chan).ogg



- เพลงชาติไทยฉบับปัจจุบัน
ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
คำร้อง: พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/f/f2/NationalAnthem(2482).ogg


 ไหว้  ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช
และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย…..


บันทึกการเข้า

ฟ้าและดินไม่เห็นไม่เป็นไร ไม่ได้หวังให้ใครจดจำ
แม้ยากเย็นแค่ไหน ไม่เคยบ่นสักคำ ไม่มีใครจดจำ แต่เราก็ยังภูมิใจ

จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา จะยอมรับโชคชะตาไม่ว่าดีร้าย
ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ถึงเวลาก็ต้องไป เหลือไว้แต่คุณงามความดี
R2D2
ท้าเยาะเย้ยทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ
Hero Member
*****

คะแนน 366
ออฟไลน์

กระทู้: 6023



« ตอบ #23 เมื่อ: กันยายน 11, 2009, 09:14:32 PM »

เคยอ่านเจอว่าในหลวงรัชกาลที่ 6 เสด็จไปงานอะไรสักอย่างในจังหวัดแถว ๆ อ่างทอง
ธงชาติที่เขาเอามาประดับรับเสด็จนั้นมีบางผืน เป็นช้างกลับหัว(เอาหัวลง เอาเท้าขึ้น) พระองค์จึงมี
พระราชดำริว่าควรเลิกใช้ธงช้าง

บันทึกการเข้า
รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ
รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย คือสมบัติของผู้มีอารยธรรม
Hero Member
*****

คะแนน 239
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1115



« ตอบ #24 เมื่อ: กันยายน 11, 2009, 10:42:56 PM »

เคยอ่านเจอว่าในหลวงรัชกาลที่ 6 เสด็จไปงานอะไรสักอย่างในจังหวัดแถว ๆ อ่างทอง
ธงชาติที่เขาเอามาประดับรับเสด็จนั้นมีบางผืน เป็นช้างกลับหัว(เอาหัวลง เอาเท้าขึ้น) พระองค์จึงมี
พระราชดำริว่าควรเลิกใช้ธงช้าง


ไม่ใช่อ่างทองครับ แต่เป็นอุทัยธานีนี่เอง (บ้านเกิดแม่กับภรรยาผมเอง  หลงรัก ) แล้วเรื่องธงช้างกลับหัวนี้เกิดในสมัยที่ ร.5 ที่พระองค์เสด็จมาประพาสต้นที่เมืองอุทัยธานีนี่เองครับ  Smiley
บันทึกการเข้า

...การที่เราทะนุถนอมคนที่เรารัก มันเป็นเรื่องปกติ
แต่การถนอมหัวใจคนที่เราไม่ได้รัก ใครจะทำได้สักกี่คน...

คิดถึงทุกปี-บินหลา สันกาลาคีรี
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #25 เมื่อ: กันยายน 13, 2009, 11:36:04 AM »


           สุดยอดเลยครับ  ขอบคุณอาวัฒน์อีกครั้ง

บันทึกการเข้า

                
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 22 คำสั่ง