เพื่อไม่ให้เสียเวลา ผมขออนุญาตก๊อบรูปของท่าน
สมาชิก gun in ที่ใช้ชื่อว่า watch991 ได้ทำไว้มาให้อ่านเลยก็แล้วกันครับ
จากสกู๊ปข่าว จะเห็นได้ว่า
1.เรื่องสั้น 1 ยาว 1 ที่เป็นคำสั่งอัปลักษ์ ในสมัยของ รมต.มหาดไทยที่ชื่อว่า วันนอ ศาลปกครองท่านตัดสินแล้วว่าเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติภายในหน่วยงานเพื่อเป็นแนวทางในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ (นายทะเบียน) แต่มิได้มีสภาพบังคับเพื่อให้มีผลต่อเอกชน (ประชาชนทั่วไป)
2.หากเจ้าหน้าที่ (นายทะเบียน) ปฏิบัติตาม พรบ.วิธีการพิจารณาทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งผู้ขอ (ประชาชน) มีคุณสมบัติไม่ขัดต่อมาตรา 13 พรบ.อาวุธปืน การปฏิเสธจำเป็นจะต้องมีเหตุผลชัดเจน และเพียงพอ
มาวตรา 13 พรบ.อาวุธปืน มีสาระดังนี้
มาตรา ๑๓ ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในหมวดนี้แก่
(๑) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุกสำหรับความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา ดังต่อไปนี้
(ก) มาตรา ๙๗ ถึงมาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๒๐ มาตรา ๑๗๗ ถึงมาตรา ๑๘๓ มาตรา ๒๔๙ มาตรา ๒๕๐ หรือมาตรา ๒๙๓ ถึงมาตรา ๓๐๓
(ข) มาตรา ๒๕๔ ถึงมาตรา ๒๕๗ และพ้นโทษยังไม่เกิน ๕ ปี นับแต่วันพ้นโทษถึงวันยื่นคำขอใบอนุญาต เว้นแต่ในกรณีความผิดที่กระทำโดยความจำเป็นหรือเพื่อป้องกันหรือโดยถูกยั่วโทสะ
(๒) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุกสำหรับความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด และดอกไม้เพลิง พุทธศักราช ๒๔๗๗ มาตรา ๑๑ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๙ หรือมาตรา ๓๓ หรือพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗ มาตรา ๒๔ มาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๘
(๓) บุคคลซึ่งต้องโทษจำคุกตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปในระหว่างห้าปีนับย้อนขึ้นไปจากวันยื่นคำขอ สำหรับความผิดอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ใน (๑) และ (๒) เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๔) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(๕) บุคคลซึ่งไม่สามารถจะใช้อาวุธปืนได้โดยกายพิการหรือทุพพลภาพ เว้นแต่จะมีไว้เพื่อเก็บตามมาตรา ๑๑
(๖) บุคคลซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถหรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือปรากฏว่าเป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๗) บุคคลซึ่งไม่มีอาชีพและรายได้
(๘) บุคคลซึ่งไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
(๙) บุคคลซึ่งมีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันอาจกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน
สำหรับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ห้ามมิให้ออกให้แก่บุคคลซึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ที่บุคคลนั้นขออนุญาต น้อยกว่าหกเดือน
3. การจะปฏิเสธไม่ออกใบอนุญาตตามข้อ 2 จะต้องมีหลัก 3 ข้อคือ
3.1 ข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญที่ไม่อนุญาต
3.2 ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
3.3 ข้อกฎหมายอ้างอิง ซึ่งแม้กฎหมายจะระบุว่าเป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ (นายทะเบียน) แต่หากการใช้ดุลพินิจนั้นไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายระบุไว้ ก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอาจถูกฟ้องร้องได้
(รายละเอียดใน ข้อ 3 สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ใน อวป.เล่มล่าสุด ครับ)
ในการสรุปท้ายของสกู๊ป ได้ทิ้งประเด็นให้ความเห็นไว้ว่า กรณีพิพาท (การฟ้องร้องนายทะเบียน) เกิดจากตัวบุคคล (นายทะเบียนที่ไม่ใช้ดุลพินิจตามกฎหมาย) มากกว่า กฎหมาย(ที่มีไว้ให้ใช้ดุลพินิจ แบบตรงไปตรงมา)