ขอไม่โหวต และให้ความเห็นว่าแล้วแต่สถานะการณ์ ชนิดของตัวปืน และ ซองปืนด้วยครับ
1 ถ้าไม่มีซองปืนแบบมีสายคาดขวางทางเดินนกสับ จะไม่พกแบบ คล็อกแอนด์ล็อก เด็ดขาด
2 ถ้าใช้หลังอ่อนแบบ บีเวอร์เทล ทรงสูง จะไม่พกแบบขึ้นลำลดนก
3 ถ้าเป็นปืน 1911 คอมแพ็ค จะแต่งปืนตาม ข้อ 1,2 ก่อน และพกแบบ คล็อกแอนด์ล็อก เพราะพื้นที่ด้ามจับสั้น หากจับจากปลายด้ามปืนเข้ามาบีบห้ามไก ก็ทำลำบาก และถ้า ตะบบอุ้งมือไปที่ด้ามปืนตรงๆ ถ้าใช้หลังอ่อนแบบโรงงานโคลท์ หลายครั้ง ง่ามมือถูจิกตรงตะขอหลังอ่อน ส่งผลให้อุ้มมือไม่ได้ไปบีบปลดห้ามไกหลังอ่อน แม้สามารถปลดเซฟที่หัวแม่มือได้ไวกว่า แต่จะลั่นไกนัดแรก ก็ขลุกขลัก เพราะเหนี่ยวไกไมได้ต้องขยับอุ้งมือ
4 สำหรับคนที่ชอบพก ขึ้นลำลดนก ควรเลือกใช้หลังอ่อนแบบโรงงานโคลท์ แต่เดิม เพราะใช้นิ้วมือง้างนกง่ายกว่า
5 สำหรับคนถนัดซ้าย ให้เปลี่ยนเซฟห้ามไกเป็นแบบยาวขึ้นเล็กน้อย (จะเลือกแบบเซฟ ซ้าย-ขวา ก็ได้) เพราะสามารถใช้โคนนิ้วชี้ ปลดเซฟได้ทันทีเลย ส่วนท่านที่ใช้ ยูเอสอาร์มี เซฟของเดิม สามารถทำได้อย่างข้างต้น
6 สำหรับการพกแบบขึ้นลำลดนก ส่วนตัวแล้วมั่นใจการลดนกในจังหวะ นกชิดโครงปืน ( หลายท่านเลือกใช้จังหวะ ฮาฟคล็อก )
ตามข้อ 4 ครับ ใช้หลังอ่อนสั้นพอดีหางนก เป็นของเดิมโรงงานทำมาสำหรับคอมมานเดอร์ และ Officer's Model...
มีข้อพิจารณาว่าบราวนิงก์ออกแบบปืน 1911 ให้ทหารใช้งานในยุคช่วงต่อระหว่างที่เคาบอยกำลังใช้งานลูกโม่ซิงเกิ้ลแอคชั่นบนหลังมาครับ... ยุคนั้นชักปืน+ง้างนก+ยิง ทั้งหมดต้องเร็วและแม่นบนหลังม้า(หรือยานพาหนะ)...
ดังนั้นส่วนประกอบทุกอย่างสอดคล้องกับลักษณะการใช้งานแบบนี้ทั้งหมด...
ท่านที่ชอบซื้อปืน 1911 ที่ออกแบบสำหรับยิงเป้า แต่เอามาใช้งานเฝ้าบ้าน+ป้องกันตัว โดยเข้าใจว่าปืนยิงเป้าคือปืนเกรดสูงกว่าปืนต่อสู้... นั่นคือความเข้าใจผิดครับ ลองดูปืนโคลท์ New Agent รุ่นใหม่ กลับมาใช้หลังอ่อนสั้นเหมือน Officer's Model ของโคลท์(ที่ไม่ผลิตแล้ว)อีกครับ...