ผมก็ยังไม่เคลียร์เหมือนกันยังคิดเล่นๆอยู่เลย
ผืนดินก็เท่าเดิม ผืนน้ำก็เท่าเดิม
มันจะเอาที่ไหนมาท่วมนักหนา
ถ้าบอกว่าน้ำแข็งละลายก็ เอ้า ไปอยู่แทนที่น้ำแข็งเคยอยู่ซิ
มันละลายจนมาท่วมได้ขนาดนั้นมันก็ต้องมีแผ่นดินที่เหลือโผล่มามั่งแหละมันก็ไม่หนาวมากแล้วล่ะ
อ้าว จะหนาวอะไรอีก ก็ ขนาดน้ำแข็งยังละลาย
บอกตรงๆผมยังลังเลเชื่อครึ่งไม่เชื่อมากกว่าครึ่ง
อิ อิ นักวิชาการอย่าถีบผมนะ บอกแล้วผมคิดเล่นๆ
ขั้วโลกเหนือ ไม่มีแผ่นดินครับพี่ มีแต่น้ำแข็งเพราะฉะนั้นถ้าละลายหมดคนไปอยู่แทนไม่ได้ครับ
บีบีซีนิวส์-ยูเอ็นอีพีเผยข้อมูลธารน้ำแข็งหดตัวก้าวกระโดดจากปีละ 30 เซนติเมตร ขึ้นเป็นปีละ 1.5 เมตรในเวลาไม่ถึง 10 ปี
โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (ยูเอ็นอีพี) เผยข้อมูลธารนำแข็งทั่วโลกหดตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จากช่วงปี 2523-2542 ที่ธารน้ำแข็งหดตัวเฉลี่ยปีละ 30 เซนติเมตรเป็น 1.5 เมตรในปี 2549 โดยเฉพาะเทือกเขาแอลป์ส (Alps) และเทือกเขาไพรีนีส (Pyrenees) ในยุโรปที่พบการหายไปของน้ำแข็งจำนวนมาก ทั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ธารน้ำแข็งในเทือกเขา 9 แห่ง
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้เรียกร้องให้มี "ปฏิบัติการโดยฉับพลัน" เพื่อพลิกแนวโน้มการหดอย่างรวดเร้วของธารน้ำแข็งที่เกิดขึ้นนี้ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) ทั้งนี้ประมาณกันว่าในปี 2549 มีปริมาณน้ำแข็งหดตัวไป 1.4 เมตร ขณะที่ในปี 2548 หดไป 0.5 เมตร
อชิม สไตเนอร์ (Achim Steiner) ผู้อำนวยการใหญ่โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ กล่าวว่าผู้คนหลายล้านหรือไม่ก็หลายพันล้านขึ้นตรงต่อทรัพยากรน้ำที่กักเก็บไว้ในธรรมชาตินี้เพื่อดื่ม การเกษตร อุตสาหกรรมและการผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงสำคัญของปี โดยธารน้ำแข็งได้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอันเนื่องจากการเผาไหม้ถ่านหินและเราก็สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ พร้อมเผยว่าได้ดำเนินการเบื้องต้นที่จะพัฒนา "ธุรกิจเขียว" โดยการลงทุนด้านพลังงานทดแทนมากขึ้น
ดร.วิลฟรีด ฮาเบอร์ลี (Dr.Wilfried Haeberli) ผู้อำนวยการหน่วยติดตามธารน้ำแข็งโลก (World Glacier Monitoring Service) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยยูเอ็นดีพี กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดและการสูญเสียน้ำแข็งก็ยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งในช่วง 25 ปีที่ผ่านมานี้ โดยตั้งแต่ปี 2523 สูญธารน้ำแข็งไปแล้ว 10.5 เมตร โดยค่าเฉลี่ยธารน้ำแข็งที่หดไป 1 เมตรเทียบเท่ากับความหนาของน้ำแข็ง 1.1 เมตร นั่นหมายความว่ากว่า 20 ปีที่ผ่านมาความหนาของน้ำแข็งลดไปแล้ว 11.5 เมตร
ยุคน้ำแข็ง
Ice Age
ยุคน้ำแข็ง (Ice Age) คือช่วงเวลาที่ภูมิอากาศของโลกเย็นลงกว่าปกติ และปรากฏมีทุ่งน้ำแข็ง (ice sheet) ปกคลุมพื้นที่นอกเขตขั้วโลก สาเหตุของการเกิดยุคน้ำแข็ง เกิดจากมีเหตุปัจจัยทำให้หิมะที่ตกในฤดูหนาว ละลายไม่หมดในฤดูร้อน ทำให้เกิดการสะสมน้ำแข็งข้ามปี และพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นทุ่งน้ำแข็งขนาดใหญ่ปกคลุมพื้นนอกเขตขั้วโลก
โลกมียุคน้ำแข็งสำคัญทั้งหมด 4 ครั้ง คือ
1. Precambrian (Cryogenian)
2. Ordovician
3. Late Carboniferus-Permian
4. Pleistocene
ปัจจุบันเรากำลังอยู่ในยุคน้ำแข็งครั้งที่ 4 Pleistocene
ปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เกิดยุคน้ำแข็งมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ตำแหน่งของพื้นทวีป ระดับความสูงของแผ่นดิน มหาสมุทรและกระแสน้ำ รวมกันแล้วสร้างสภาวะที่เอื้ออำนวยให้เกิดการสะสมน้ำแข็งข้ามปี
พื้นทวีปบนโลกมีการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนที่ได้อย่างช้าๆ เมื่อประมาณสี่ล้านปีก่อน ปัจจัยทางภูมิศาสตร์บริเวณรอบๆขั้วโลกเหนือเริ่มเอื้อต่อการเกิดยุคน้ำแข็ง โดยในช่วงแรกยุคน้ำแข็งจะมีขนาดเล็ก และแต่ละครั้งจะกินเวลาไม่นาน แต่พอเวลาผ่านไปสภาพต่างๆก็เอื้อต่อการสะสมของน้ำแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อประมาณหนึ่งล้านปีก่อน โลกก็เข้าสู่ยุคน้ำแข็งเต็มตัว เรียกว่ายุคน้ำแข็งไพลอีสโตซีน (Pleistocene Ice Age)
ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบันโลกจะมีความหนาวเย็นเป็นธรรมชาติปกติ ธารน้ำแข็งจะแผ่ปกคลุมพื้นที่รอบๆขั้วโลกเหนือเป็นเวลาส่วนใหญ่ แต่ทว่าความหนาวเย็นไม่ได้มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทุกๆหลายหมื่นปีความผันแปรในวงโคจรของโลกสามลักษณะที่มีผลต่อฤดูกาล คือ ความรีของวงโคจร (Eccentricity) ความเอียงของแกนโลก(Obliquity) และการหมุนส่ายของแกนโลก (Precession) จะเกิดการเสริมกันในทางที่ทำให้ฤดูร้อนของซีกโลกเหนืออบอุ่นกว่าปกติ ทำให้ธารน้ำแข็งที่สะสมอยู่ ถูกละลายในฤดูร้อนมากกว่าหิมะที่ตกใหม่ในแต่ละปี จึงเกิดการถดถอยของธารน้ำแข็ง เกิดเป็นช่วงอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งขึ้น
ช่วงที่ธารน้ำแข็งปกคลุมโลกกว้างขวาง เรียกว่า glacial period ช่วงที่เกิดความอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งเรียกว่า interglacial period ในช่วงหนึ่งล้านปีที่ผ่านมาก การเสริมกันของวงโคจรจะทำให้เกิดมีช่วงอบอุ่นทุกๆ 90,000 130,000 ปี (เฉลี่ย 110,000 ปี) แต่ช่วงเวลาที่โลกอบอุ่นจะค่อนข้างสั้น ประมาณหนึ่งหมื่นถึงสองหมื่นปีเท่านั้น
ปัจจุบันเราอยู่ในยุคอบอุ่นที่เรียกว่า Holocene ซึ่งเริ่มต้นหลังจากยุคน้ำแข็ง Wisconsin (ยุโรปเรียก Weichselian) สิ้นสุดลงเมื่อ 13,000 ปีก่อน ปัจจัยทางฤดูการที่ทำให้โลกอบอุ่นขึ้นถึงจุดสูงสุดเมื่อประมาณ 9,000 ปีก่อนปัจจุบัน ทำให้เกิดเป็นช่วงเวลาที่อากาศค่อนข้างอบอุ่นต่อเนื่องเรียกว่า Holocene optimum ระหว่าง 9,000 - 5,500 ปีก่อนปัจจุบัน หลังจากนั้นโลกก็ค่อยอุ่นน้อยลงตามลำดับ ภูมิอากาศเริ่มไม่มีเสถียรภาพ เกิดเป็นช่วงที่เป็นอุ่นบ้างเย็นบ้าง เนื่องมาจากพลังธรรมชาติตัวอื่นที่มีอิทธิพลรองลงมา ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคที่ภูมิอากาศไม่คงที่ เรียกว่า Late Holocene neoglacial fluctuation โดยช่วงที่อากาศเย็นกว่าปกติเรียกว่า Stadial ช่วงที่อากาศอุ่นกว่าปกติเรียกว่า Interstadial นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในช่วง Late Holocene คือความผันแปรของพลังงานจากดวงอาทิตย์ (Solar Variation)
สาเหตุทางภูมิสตร์
การจะเกิดยุคน้ำแข็ง ในเบื้องต้น ในยุคนั้นโลกจะต้องมีโครงสร้างทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเอื้ออำนวยให้เกิดยุคน้ำแข็งเป็นพื้นฐาน ได้แก่
1. Orogenic uplift คือการยกตัวสูงขึ้นของแผ่นดิน โดยเฉพาะในเขตละติจูดสูง ช่วยให้น้ำแข็งละลายช้าลงในช่วงฤดูร้อน
2. Epeirogenic คือตำแหน่งพื้นทวีปที่อยู่ใกล้ขั้วโลก ในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการสะสมตัวของมวลน้ำแข็ง
3. Ocean Circulation รูปร่างของมหาสมุทรมีส่วน เพราะการหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร เป็นการหมุนเวียนความร้อนระหว่างขั้วโลกกับเขตร้อนอย่างสำคัญ รวมทั้งมีผลต่อปริมาณหิมะที่ตกในแต่ละปี
สาเหตุทางฤดูกาล
เมื่อโลกมีปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการเกิดยุคน้ำแข็งแล้ว ก็จะเกิดมียุคน้ำแข็ง Glacial Period และช่วงอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็ง Interglacial Period สลับกันเป็นคาบที่ค่อนข้างแน่นอน จากอิทธิพลจากความผันแปรของวงโคจรโลก ตามทฤษฎีของ Milankovitch และทฤษฎีที่เป็นอนุพันธ์ ความผันแปรของวงโคจร 3 แบบ คือ
1. Eccentricity (ความรีของวงโคจร) มีผลทำให้ความยาวของฤดูกาลระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวไม่เท่ากัน
2. Obliquity (ความเอียงของแกน) แกนโลกจะเอียงระหว่า 22.1 -24.5 การเปลี่ยนแปลงความเอียง มีผลต่อขนาดของวง arctic circle และมีผลทำให้ความอบอุ่นในฤดูร้อนเปลี่ยนแปลง
3. Precession (การส่ายของแกน) ทำให้เกิดการสลับกันข้างฤดูร้อนฤดูหนาว
ปกติทางขั้วโลกเหนือน้ำจะกลายเป็นน้ำแข็ง แล้วน้ำทะเลส่วนที่เป็นน้ำแข็งจะกลายเป็นมีเกลือเข้มข้นขึ้นและจมสู่พื้นมหา สมุทรแล้วไปผ่านใต้พื้นมหาสมุทรสู่ตอนใต้ น้ำจากเส้นศูนย์สูตรก็จะไหลขึ้นไปแทนที่เกิดเป็นกระแสน้ำอุ่นต่างๆ
กระแสน้ำอุ่นนี้มีอิทธิพลมากในการทำให้แผ่นดินต่างๆเกิดความอบอุ่น
การละลายของน้ำแข็งทำให้กระบวนการนี้หยุด สายพานที่ทำให้เกิดกระแสน้ำอุ่นหยุดลง แล้วแผ่นดินต่างๆจะหนาวเย็นยิ่งขึ้นในหน้าหนาว ต่อไปจะเกิดหิมะปกคลุมพื้นทวีปตอนบนนานขี้น สีขาวของหิมะจะสะท้อนความร้อนออกไป และจะเกิดหิมะปกคลุมมากขึ้นๆ จนโลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็งสมบูรณ์อย่างรวดเร็วในระยะเวลาแค่ทศวรรต
อธิบายเพิ่มอีกนิด
โลกร้อนสภาวะเรือนกระจก -> น้ำแข็งขั้วโลกละลาย -> น้ำทะเลไม่เป็นน้ำแข็งปล่อยน้ำทะเลเข้มข้นตกลงสู่พื้นสมุทร ->กระแสน้ำอุ่นหยุดไหลขึ้น -> แผ่นดินทวีปตอนบนหนาวเย็นขึ้นในหน้าหนาว(อย่างตอนนี้) ->หิมะปกคลุมพื้นดินมากขึ้นๆ ความร้อนสะท้อนกลับไปมากขึ้น ->โลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็งอย่างรวดเร็ว
ผมไม่ได้มาบอกให้ใครเชื่อนะครับ แต่ของที่มันเกิดเป็นวัฎจักรมาตลอด มันก็ต้องเกิดขึ้นอีกหลักฐานที่ยืนยันว่ามันเคยเกิดก็มีให้เห็น อยู่ที่ว่ามันจะเกิดช้าหรือเร็วแค่ไหนเท่านั้น