เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 16, 2024, 02:29:28 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3 4 5
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องโลกร้อนทำให้น้ำท่วมเรื่องจริงหรือโกหกครับ  (อ่าน 9338 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 8 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ART
ชีวิตคิดบวก แล้วจะ Happy
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 552
ออฟไลน์

กระทู้: 10809



« เมื่อ: ตุลาคม 03, 2009, 06:57:17 PM »

 Smiley พอดีสนใจศึกษาเรื่องนี้ ว่าโลกร้อนทำให้น้ำท่วมโลก มันมีความเป็นจริงมากน้อยหรือเป็นเรื่อง สร้างกันขึ้นมาครับและถ้าเป็นจริงจะอีกสักกี่ปีครับ  Shocked สงสัยไม่ได้เห็นแน่ Cool ดูแผนที่ตาม link ครับ www.speedplustech.com/forum/index.php?topic=92.0 เศร้า
บันทึกการเข้า

Southlander
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 5711
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 48212



« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2009, 07:05:09 PM »

ผมก็ยังไม่เคลียร์เหมือนกันยังคิดเล่นๆอยู่เลย
ผืนดินก็เท่าเดิม ผืนน้ำก็เท่าเดิม
มันจะเอาที่ไหนมาท่วมนักหนา
ถ้าบอกว่าน้ำแข็งละลายก็ เอ้า ไปอยู่แทนที่น้ำแข็งเคยอยู่ซิ
มันละลายจนมาท่วมได้ขนาดนั้นมันก็ต้องมีแผ่นดินที่เหลือโผล่มามั่งแหละมันก็ไม่หนาวมากแล้วล่ะ
อ้าว จะหนาวอะไรอีก ก็ ขนาดน้ำแข็งยังละลาย
บอกตรงๆผมยังลังเลเชื่อครึ่งไม่เชื่อมากกว่าครึ่ง


อิ อิ นักวิชาการอย่าถีบผมนะ บอกแล้วผมคิดเล่นๆ
บันทึกการเข้า

๏ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง  แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                      
                             โดย:นภาลัย สุวรรณธาดา พศ.๒๕๑๐
tinnakorn 0101
เกิดมาใช่อื่น เพื่อผืนดินไทย
Full Member
***

คะแนน 15
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 195


บาง เบา เหมือนลอลิเอะ


« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2009, 07:10:26 PM »

โดยส่วนตัวครับ ผมไม่เชื่อ
ตามข้อมูลอีก 10 ปี ท่วมหรือไม่ท่วม ผมไม่สนแล้วครับ ถือว่าอยู่จนคุ้ม อิอิ
บันทึกการเข้า

ส่วนเกินของชีวิต อุทิศแก่สังคม
อู๋ รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 143
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1666



« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2009, 07:15:10 PM »

ผมก็ยังไม่เคลียร์เหมือนกันยังคิดเล่นๆอยู่เลย
ผืนดินก็เท่าเดิม ผืนน้ำก็เท่าเดิม
มันจะเอาที่ไหนมาท่วมนักหนา
ถ้าบอกว่าน้ำแข็งละลายก็ เอ้า ไปอยู่แทนที่น้ำแข็งเคยอยู่ซิ
มันละลายจนมาท่วมได้ขนาดนั้นมันก็ต้องมีแผ่นดินที่เหลือโผล่มามั่งแหละมันก็ไม่หนาวมากแล้วล่ะ
อ้าว จะหนาวอะไรอีก ก็ ขนาดน้ำแข็งยังละลาย
บอกตรงๆผมยังลังเลเชื่อครึ่งไม่เชื่อมากกว่าครึ่ง


อิ อิ นักวิชาการอย่าถีบผมนะ บอกแล้วผมคิดเล่นๆ

มีเหตุผลครับ ผมก็คิดเหมือนกัน
เช่นเดียวกัน แก้วที่ใส่น้ำกับน้ำแข็งปริ่มๆขอบแก้ว พอน้ำแข็งละลายน้ำก็ไม่ล้นออกจากแก้วเพราะปริมาตรความหนาแน่นเท่าเดิม
บันทึกการเข้า

Life was like a box of chocolate. You never know what You're gonna get.
Middle
หัวใจมีใว้เพื่อสร้างสรรค์
Sr. Member
****

คะแนน 58
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 913



« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2009, 07:37:01 PM »

..ผมก็คิดแบบนักวิชาเกินครับ ผิดถูกอย่างไรก็ต้องขอพระอภัย... Grin น้ำเวลาที่มันอยู่ในรูปของน้ำแข็งมันก็จะเป็นก้อนอย่างที่เราเห็นและบางแห่งจะอยู่ในรูปทรงที่ยื่นขึ้นไปบนท้องฟ้าอย่างที่เราเรียกว่าภูเขาน้ำแข็งซึ่งจะเห็นมากมายในแถบขั้วโลกเหนือและใต้ แต่เมื่อไรที่มันละลายมาเป็นในรูปของเหลว ส่วนที่เป็นก้อนที่ยื่นไปบนท้องฟ้านั้นก็จะมาเพิ่มปริมาตรของน้ำในระดับปกติ... Grin
บันทึกการเข้า

ชีวิตคือการเดินทาง

http://www.youtube.com/watch?v=eosAyUE29u0
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2009, 07:44:04 PM »

ผมก็ยังไม่เคลียร์เหมือนกันยังคิดเล่นๆอยู่เลย
ผืนดินก็เท่าเดิม ผืนน้ำก็เท่าเดิม
มันจะเอาที่ไหนมาท่วมนักหนา
ถ้าบอกว่าน้ำแข็งละลายก็ เอ้า ไปอยู่แทนที่น้ำแข็งเคยอยู่ซิ
มันละลายจนมาท่วมได้ขนาดนั้นมันก็ต้องมีแผ่นดินที่เหลือโผล่มามั่งแหละมันก็ไม่หนาวมากแล้วล่ะ
อ้าว จะหนาวอะไรอีก ก็ ขนาดน้ำแข็งยังละลาย
บอกตรงๆผมยังลังเลเชื่อครึ่งไม่เชื่อมากกว่าครึ่ง


อิ อิ นักวิชาการอย่าถีบผมนะ บอกแล้วผมคิดเล่นๆ
ขั้วโลกเหนือ ไม่มีแผ่นดินครับพี่ มีแต่น้ำแข็งเพราะฉะนั้นถ้าละลายหมดคนไปอยู่แทนไม่ได้ครับ






บีบีซีนิวส์-ยูเอ็นอีพีเผยข้อมูลธารน้ำแข็งหดตัวก้าวกระโดดจากปีละ 30 เซนติเมตร ขึ้นเป็นปีละ 1.5 เมตรในเวลาไม่ถึง 10 ปี
โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (ยูเอ็นอีพี) เผยข้อมูลธารนำแข็งทั่วโลกหดตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จากช่วงปี 2523-2542 ที่ธารน้ำแข็งหดตัวเฉลี่ยปีละ 30 เซนติเมตรเป็น 1.5 เมตรในปี 2549 โดยเฉพาะเทือกเขาแอลป์ส (Alps) และเทือกเขาไพรีนีส (Pyrenees) ในยุโรปที่พบการหายไปของน้ำแข็งจำนวนมาก ทั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ธารน้ำแข็งในเทือกเขา 9 แห่ง

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้เรียกร้องให้มี "ปฏิบัติการโดยฉับพลัน" เพื่อพลิกแนวโน้มการหดอย่างรวดเร้วของธารน้ำแข็งที่เกิดขึ้นนี้ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) ทั้งนี้ประมาณกันว่าในปี 2549 มีปริมาณน้ำแข็งหดตัวไป 1.4 เมตร ขณะที่ในปี 2548 หดไป 0.5 เมตร

อชิม สไตเนอร์ (Achim Steiner) ผู้อำนวยการใหญ่โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ กล่าวว่าผู้คนหลายล้านหรือไม่ก็หลายพันล้านขึ้นตรงต่อทรัพยากรน้ำที่กักเก็บไว้ในธรรมชาตินี้เพื่อดื่ม การเกษตร อุตสาหกรรมและการผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงสำคัญของปี โดยธารน้ำแข็งได้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอันเนื่องจากการเผาไหม้ถ่านหินและเราก็สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ พร้อมเผยว่าได้ดำเนินการเบื้องต้นที่จะพัฒนา "ธุรกิจเขียว" โดยการลงทุนด้านพลังงานทดแทนมากขึ้น

ดร.วิลฟรีด ฮาเบอร์ลี (Dr.Wilfried Haeberli) ผู้อำนวยการหน่วยติดตามธารน้ำแข็งโลก (World Glacier Monitoring Service) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยยูเอ็นดีพี กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดและการสูญเสียน้ำแข็งก็ยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งในช่วง 25 ปีที่ผ่านมานี้ โดยตั้งแต่ปี 2523 สูญธารน้ำแข็งไปแล้ว 10.5 เมตร โดยค่าเฉลี่ยธารน้ำแข็งที่หดไป 1 เมตรเทียบเท่ากับความหนาของน้ำแข็ง 1.1 เมตร นั่นหมายความว่ากว่า 20 ปีที่ผ่านมาความหนาของน้ำแข็งลดไปแล้ว 11.5 เมตร



ยุคน้ำแข็ง

Ice Age

ยุคน้ำแข็ง (Ice Age) คือช่วงเวลาที่ภูมิอากาศของโลกเย็นลงกว่าปกติ และปรากฏมีทุ่งน้ำแข็ง (ice sheet) ปกคลุมพื้นที่นอกเขตขั้วโลก สาเหตุของการเกิดยุคน้ำแข็ง เกิดจากมีเหตุปัจจัยทำให้หิมะที่ตกในฤดูหนาว ละลายไม่หมดในฤดูร้อน ทำให้เกิดการสะสมน้ำแข็งข้ามปี และพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นทุ่งน้ำแข็งขนาดใหญ่ปกคลุมพื้นนอกเขตขั้วโลก

โลกมียุคน้ำแข็งสำคัญทั้งหมด 4 ครั้ง คือ
1. Precambrian (Cryogenian)
2. Ordovician
3. Late Carboniferus-Permian
4. Pleistocene
ปัจจุบันเรากำลังอยู่ในยุคน้ำแข็งครั้งที่ 4 Pleistocene

ปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เกิดยุคน้ำแข็งมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ตำแหน่งของพื้นทวีป ระดับความสูงของแผ่นดิน มหาสมุทรและกระแสน้ำ รวมกันแล้วสร้างสภาวะที่เอื้ออำนวยให้เกิดการสะสมน้ำแข็งข้ามปี

พื้นทวีปบนโลกมีการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนที่ได้อย่างช้าๆ เมื่อประมาณสี่ล้านปีก่อน ปัจจัยทางภูมิศาสตร์บริเวณรอบๆขั้วโลกเหนือเริ่มเอื้อต่อการเกิดยุคน้ำแข็ง โดยในช่วงแรกยุคน้ำแข็งจะมีขนาดเล็ก และแต่ละครั้งจะกินเวลาไม่นาน แต่พอเวลาผ่านไปสภาพต่างๆก็เอื้อต่อการสะสมของน้ำแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อประมาณหนึ่งล้านปีก่อน โลกก็เข้าสู่ยุคน้ำแข็งเต็มตัว เรียกว่ายุคน้ำแข็งไพลอีสโตซีน (Pleistocene Ice Age)

ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบันโลกจะมีความหนาวเย็นเป็นธรรมชาติปกติ ธารน้ำแข็งจะแผ่ปกคลุมพื้นที่รอบๆขั้วโลกเหนือเป็นเวลาส่วนใหญ่ แต่ทว่าความหนาวเย็นไม่ได้มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทุกๆหลายหมื่นปีความผันแปรในวงโคจรของโลกสามลักษณะที่มีผลต่อฤดูกาล คือ ความรีของวงโคจร (Eccentricity) ความเอียงของแกนโลก(Obliquity) และการหมุนส่ายของแกนโลก (Precession) จะเกิดการเสริมกันในทางที่ทำให้ฤดูร้อนของซีกโลกเหนืออบอุ่นกว่าปกติ ทำให้ธารน้ำแข็งที่สะสมอยู่ ถูกละลายในฤดูร้อนมากกว่าหิมะที่ตกใหม่ในแต่ละปี จึงเกิดการถดถอยของธารน้ำแข็ง เกิดเป็นช่วงอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งขึ้น

ช่วงที่ธารน้ำแข็งปกคลุมโลกกว้างขวาง เรียกว่า glacial period ช่วงที่เกิดความอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งเรียกว่า interglacial period ในช่วงหนึ่งล้านปีที่ผ่านมาก การเสริมกันของวงโคจรจะทำให้เกิดมีช่วงอบอุ่นทุกๆ 90,000 –130,000 ปี (เฉลี่ย 110,000 ปี) แต่ช่วงเวลาที่โลกอบอุ่นจะค่อนข้างสั้น ประมาณหนึ่งหมื่นถึงสองหมื่นปีเท่านั้น

ปัจจุบันเราอยู่ในยุคอบอุ่นที่เรียกว่า Holocene ซึ่งเริ่มต้นหลังจากยุคน้ำแข็ง Wisconsin (ยุโรปเรียก Weichselian) สิ้นสุดลงเมื่อ 13,000 ปีก่อน ปัจจัยทางฤดูการที่ทำให้โลกอบอุ่นขึ้นถึงจุดสูงสุดเมื่อประมาณ 9,000 ปีก่อนปัจจุบัน ทำให้เกิดเป็นช่วงเวลาที่อากาศค่อนข้างอบอุ่นต่อเนื่องเรียกว่า Holocene optimum ระหว่าง 9,000 - 5,500 ปีก่อนปัจจุบัน หลังจากนั้นโลกก็ค่อยอุ่นน้อยลงตามลำดับ ภูมิอากาศเริ่มไม่มีเสถียรภาพ เกิดเป็นช่วงที่เป็นอุ่นบ้างเย็นบ้าง เนื่องมาจากพลังธรรมชาติตัวอื่นที่มีอิทธิพลรองลงมา ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคที่ภูมิอากาศไม่คงที่ เรียกว่า Late Holocene neoglacial fluctuation โดยช่วงที่อากาศเย็นกว่าปกติเรียกว่า Stadial ช่วงที่อากาศอุ่นกว่าปกติเรียกว่า Interstadial นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในช่วง Late Holocene คือความผันแปรของพลังงานจากดวงอาทิตย์ (Solar Variation)


สาเหตุทางภูมิสตร์
การจะเกิดยุคน้ำแข็ง ในเบื้องต้น ในยุคนั้นโลกจะต้องมีโครงสร้างทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเอื้ออำนวยให้เกิดยุคน้ำแข็งเป็นพื้นฐาน ได้แก่
1. Orogenic uplift คือการยกตัวสูงขึ้นของแผ่นดิน โดยเฉพาะในเขตละติจูดสูง ช่วยให้น้ำแข็งละลายช้าลงในช่วงฤดูร้อน
2. Epeirogenic คือตำแหน่งพื้นทวีปที่อยู่ใกล้ขั้วโลก ในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการสะสมตัวของมวลน้ำแข็ง
3. Ocean Circulation รูปร่างของมหาสมุทรมีส่วน เพราะการหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร เป็นการหมุนเวียนความร้อนระหว่างขั้วโลกกับเขตร้อนอย่างสำคัญ รวมทั้งมีผลต่อปริมาณหิมะที่ตกในแต่ละปี

สาเหตุทางฤดูกาล
เมื่อโลกมีปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการเกิดยุคน้ำแข็งแล้ว ก็จะเกิดมียุคน้ำแข็ง Glacial Period และช่วงอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็ง Interglacial Period สลับกันเป็นคาบที่ค่อนข้างแน่นอน จากอิทธิพลจากความผันแปรของวงโคจรโลก ตามทฤษฎีของ Milankovitch และทฤษฎีที่เป็นอนุพันธ์ ความผันแปรของวงโคจร 3 แบบ คือ
1. Eccentricity (ความรีของวงโคจร) มีผลทำให้ความยาวของฤดูกาลระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวไม่เท่ากัน
2. Obliquity (ความเอียงของแกน) แกนโลกจะเอียงระหว่า 22.1 -24.5 การเปลี่ยนแปลงความเอียง มีผลต่อขนาดของวง arctic circle และมีผลทำให้ความอบอุ่นในฤดูร้อนเปลี่ยนแปลง
3. Precession (การส่ายของแกน) ทำให้เกิดการสลับกันข้างฤดูร้อนฤดูหนาว

ปกติทางขั้วโลกเหนือน้ำจะกลายเป็นน้ำแข็ง แล้วน้ำทะเลส่วนที่เป็นน้ำแข็งจะกลายเป็นมีเกลือเข้มข้นขึ้นและจมสู่พื้นมหา สมุทรแล้วไปผ่านใต้พื้นมหาสมุทรสู่ตอนใต้ น้ำจากเส้นศูนย์สูตรก็จะไหลขึ้นไปแทนที่เกิดเป็นกระแสน้ำอุ่นต่างๆ

กระแสน้ำอุ่นนี้มีอิทธิพลมากในการทำให้แผ่นดินต่างๆเกิดความอบอุ่น

การละลายของน้ำแข็งทำให้กระบวนการนี้หยุด สายพานที่ทำให้เกิดกระแสน้ำอุ่นหยุดลง แล้วแผ่นดินต่างๆจะหนาวเย็นยิ่งขึ้นในหน้าหนาว ต่อไปจะเกิดหิมะปกคลุมพื้นทวีปตอนบนนานขี้น สีขาวของหิมะจะสะท้อนความร้อนออกไป และจะเกิดหิมะปกคลุมมากขึ้นๆ จนโลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็งสมบูรณ์อย่างรวดเร็วในระยะเวลาแค่ทศวรรต

อธิบายเพิ่มอีกนิด
โลกร้อนสภาวะเรือนกระจก -> น้ำแข็งขั้วโลกละลาย -> น้ำทะเลไม่เป็นน้ำแข็งปล่อยน้ำทะเลเข้มข้นตกลงสู่พื้นสมุทร ->กระแสน้ำอุ่นหยุดไหลขึ้น -> แผ่นดินทวีปตอนบนหนาวเย็นขึ้นในหน้าหนาว(อย่างตอนนี้) ->หิมะปกคลุมพื้นดินมากขึ้นๆ ความร้อนสะท้อนกลับไปมากขึ้น ->โลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็งอย่างรวดเร็ว


ผมไม่ได้มาบอกให้ใครเชื่อนะครับ แต่ของที่มันเกิดเป็นวัฎจักรมาตลอด มันก็ต้องเกิดขึ้นอีกหลักฐานที่ยืนยันว่ามันเคยเกิดก็มีให้เห็น อยู่ที่ว่ามันจะเกิดช้าหรือเร็วแค่ไหนเท่านั้น ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า
Ruk™-รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 643
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4012



« ตอบ #6 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2009, 09:34:48 PM »

Smiley พอดีสนใจศึกษาเรื่องนี้ ว่าโลกร้อนทำให้น้ำท่วมโลก มันมีความเป็นจริงมากน้อยหรือเป็นเรื่อง สร้างกันขึ้นมาครับและถ้าเป็นจริงจะอีกสักกี่ปีครับ  Shocked สงสัยไม่ได้เห็นแน่ Cool ดูแผนที่ตาม link ครับ www.speedplustech.com/forum/index.php?topic=92.0 เศร้า
   ผมคนหนึ่งครับไม่เชื่อในทฤษฎีนี้ เพราะน้ำก็ปริมาตรเท่าเดิม พอเป็นน้ำแข็งแล้วละลาย ก็จำนวนเท่าเดิม
ถูกทั้งแดดเผา ถูกทั้งอากาศระเหย ผมเชื่อว่ามันจะน้อยลงด้วยซ้ำไป
บันทึกการเข้า

คุณอาจเผาและทำลายบ้านเมืองเราได้ แต่คุณไม่สามารถทำลายความรักชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์ของเราไปได้
HS3JBX ทองพูน นุโยนรัมย์ : (คำขวัญประจำจังหวัด) ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานต์กวี คนดีศรีอยุธยา
R2D2
ท้าเยาะเย้ยทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ
Hero Member
*****

คะแนน 366
ออฟไลน์

กระทู้: 6023



« ตอบ #7 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2009, 09:56:26 PM »

-โลกร้อนจนน้ำท่วมโลก ไม่อยากเชื่อว่าเป็นฝีมือมนุษย์ คิดว่าเป็นวัฏจักรตามธรรมชาติมากกว่า เพราะโลกสมัยยังไม่มีมนุษย์น้ำมันก็ท่วม แล้วแห้ง แล้วท่วม.. มาแล้วหลายครั้ง
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #8 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2009, 11:25:14 PM »

-โลกร้อนจนน้ำท่วมโลก ไม่อยากเชื่อว่าเป็นฝีมือมนุษย์ คิดว่าเป็นวัฏจักรตามธรรมชาติมากกว่า เพราะโลกสมัยยังไม่มีมนุษย์น้ำมันก็ท่วม แล้วแห้ง แล้วท่วม.. มาแล้วหลายครั้ง
ตรงส่วนนี้ ต้องบอกก่อนว่าเป็นมุมมองของผมเองนะครับ
ผมเชื่อครับว่ามันเป็นวัฏจักรตามธรรมชาติ แต่มนุษย์เป็นตัวแปรที่จะทำให้วัฎจักรนั้นเดินเร็วขึ้นเพราะก่อนหน้านี้ ไม่มีสัตว์โลกชนิดไหนเอาเชื้อเพลิงคาร์บอนมาใช้
ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มันเป็นตัวบ่งชี้ว่าโลกจะเข้าสู่ยุคน้ำแข็งเมื่อไหร่  ผมเชื่อตามสิ่งที่เห็นและพิจารณาแล้วว่ามันเป็นไปได้ผมจึงเชื่อ


จากภาพ จะเห็นปริมาณ CO2 ในชั้นบรรยากาศ ในช่วง 650000 ปีที่ผ่านมา ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ มีการขึ้นๆลงๆตลอด เราผ่านยุคน้ำแข็งมาแล้วประมาณ 6 ครั้ง (ช่วงที่กราฟลงต่ำ)
ซึ่งการตรวจสอบนี้ทำได้โดยการขุดชั้นน้ำแข็งออกมาหาปริมาณ CO2 ในน้ำแข็ง จึงทำให้สามารถรู้ถึง CO2 ในช่วงปีนั้นๆ


นี่คือปริมาณ CO2 ในปัจจุบัน (จุดสีเหลือง)
ซึ่งตลอด 650000 ปีที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีปริมาณ CO2 สูงกว่า 300 ppm (300 ใน ล้านส่วน) เลย จนกระทั่งปัจจุบัน

ภาพจาก An Inconvenient Truth




จากปัญหาภาวะโลกร้อน อะไรกำลังจะเกิดขึ้นตามมา

รายงานของ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาระบุว่า ในอนาคต อาจเกิดภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำ
และภัยพิบัติต่อสัตว์ป่า ระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้นระหว่าง 7-23 นิ้ว ซึ่งระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเพียง 4 นิ้วก็จะเข้าท่วมเกาะ และพื้นที่จำนวนมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผู้คนนับร้อยล้านที่อยู่ในระดับความสูงไม่เกิน 1 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล อาจะต้องย้ายถิ่น โดยเฉพาะในสหรัฐ รัฐฟลอริดา และหลุยส์เซียนาก็เสี่ยงเช่นกัน
ธารน้ำแข็งละลายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อาจส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำจืดได้ พายุที่รุนแรง ภาวะแห้งแล้ง คลื่นความร้อน ไฟป่า
และภัยธรรมชาติต่างๆ จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น จนกลายเป็นเรื่องปกติ ทะเลทรายจะขยายตัวทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารในบางพื้นที่ สัตว์นับล้านสปีชี่ส์ จะสูญพันธุ์
จากการไม่มีที่อยู่ ระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลง และน้ำทะเลเป็นกรด การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรอาจเปลี่ยนทิศทาง ส่งผลให้เกิดยุคน้ำแข็งย่อยๆ ในยุโรป
และภาวะอากาศแปรปรวนในหลายพื้นที่ ในอนาคต เมื่อภาวะโลกร้อนอยู่ในขั้นที่ควบคุมไม่ได้ จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Positive Feedback Effect
ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ถูกเก็บ อยู่ในส่วนชั้นน้ำแข็งที่ไม่เคยละลาย (Permafrost) และ ใต้ทะเลออกมา หรือคาร์บอนที่ถูกน้ำแข็งกับเก็บไว้
ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น 

พี่ๆท่านใดสนใจลองอ่านได้ที่นี่ครับ  ไหว้ ไหว้
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99




ไปไกลระดับโลกแล้ว ลองกลับมาดูที่บ้านเราบ้าง
10 กว่าปีก่อน วัดขุนสมุทรจีนอยู่ห่างจากแนวชายฝั่งทะเลประมาณ 2 กม. ปัจจุบันโดนน้ำทะเลหนุนจนท่วมหมดแล้ว








ภาพนี้ลองสังเกตุแนวเสาไฟฟ้านะครับ ตรงนั้นเคยเป็นถนนครับ







ส่วนตรงนี้เป็นปัจจัยเสริมที่จะทำให้กรุงเทพโดนน้ำท่วม
การที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม ซึ่งมีชั้นดินเหนียวที่อ่อนและหนาปกคลุม และแทรกสลับกับชั้นน้ำบาดาล ถึงแม้จะไม่มีการใช้น้ำบาดาล การทรุดตัวของพื้นดินนั้นจะยังคงต้องเกิดขึ้นต่อไป ตามปัจจัยภายในคือการอัดตัวของดินอ่อนซึ่งเกิดตามธรรมชาติ และปัจจัยภายนอก อันได้แก่ การรับน้ำหนักจากสิ่งก่อสร้าง และการสั่นสะเทือนจากการจราจร เป็นต้น

ข้อมูลจาก กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
มีให้อ่านอีกเยอะครับ
http://www.dgr.go.th/webboard/index.php?topic=51.0
บันทึกการเข้า
Southlander
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 5711
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 48212



« ตอบ #9 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2009, 11:37:13 PM »

ขอบคุณครับท่านอรชุนสำหรับข้อมูลทางวิชาการครับ+ เยี่ยม





ส่วน นักวิชาเกินอย่างผม ขอตัวไปเตรียมเรือ เตรียมพาย ครับ อิ อิ ไม่ประมาท ท่วมมาพายโลด คิก คิก คิก คิก Grin
บันทึกการเข้า

๏ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง  แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                      
                             โดย:นภาลัย สุวรรณธาดา พศ.๒๕๑๐
supreme
Hero Member
*****

คะแนน 127
ออฟไลน์

กระทู้: 1187



« ตอบ #10 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2009, 03:06:56 AM »

ดูสารคดี เขาก็ว่ามันเป็นวัฏจักรครับ แล้วเมื่อก่อนกรุงเทพก็เป็นทะเล เคยขุดพบกระดูกวาฬได้แถวบางเขน
บันทึกการเข้า

การศึกษาโดยไม่คิด ไร้ประโยชน์    การคิดโดยไม่ศึกษา เป็นอันตราย
JUNGLE
ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
Hero Member
*****

คะแนน 1204
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17188


การต่อสู้คือชัยชนะ


« ตอบ #11 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2009, 01:05:57 PM »

หาหนังเรื่อง The Day After Tomorrow มาดูครับ... ผมว่าเขาสร้างอิงหลักวิชาการดี... ถึงแม้ว่าจะโอเวอร์เกินไปนิด... แต่ก็ยังไม่ทิ้งหลัดวิชาการครับ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2009, 02:25:12 PM »

น้ำแข็งมันเป็นก้อนซ้อนกันอยู่ครับ ซ้อนกันสูงในอากาศเหมือนคอนโดฯ แต่เวลาละลายมันก็ไหลลงมาไม่ยอมอยู่ในอากาศครับ... นี่ยังไม่นับพวกที่เป็นก้อนอยู่บนภูเขาสูง เวลาร้อนมันก็ไม่เป็นก้อนอยู่บนเขา ต่างพากันไหลลงมาข้างล่างเลยท่วมข้างล่างครับ...
บันทึกการเข้า
vvv_v
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2009, 08:11:06 PM »

ดูแล้ว ฟังแล้วก็กลัวครับ  ว่าหากเกิดจริงคงแย่กันทั้งหมด  ภาวนาอย่าให้เกิดเลยครับ
บันทึกการเข้า
jakrit97 - รักในหลวง -
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 164
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5466


Dead boy can't shoot!


« ตอบ #14 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2009, 08:41:03 PM »

น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลาย ผมว่าไม่น่ากลัว แต่น้ำแข็งขั้วโลกใต้ละลาย น่ากลัวกว่า เพราะเป็นน้ำแข็งบนแผ่นดิน  ตกใจ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 22 คำสั่ง