เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 26, 2024, 11:32:40 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 5 6 7 [8] 9
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โดนด่าน ตร.ตรวจค้น อวป.ในรถ..ขอถามเพื่อนสมาชิกที่เป็น ตร./ ท. ด่วนครับ  (อ่าน 20844 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 11 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nick357 "รักในหลวง"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 197
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1843


no!!! conflict.let'sit and talk!!!!


« ตอบ #105 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2009, 08:33:31 AM »


 Cheesy ชอบใจและขอบคุณความเห็นของท่านสิงห์กลิ้ง  ไหว้  นอนดึกนะครับ หรือว่าตื่นเช้า  Wink

ขออนุญาตเติมอีกนิด ผมชอบใจมาตรา ๘ ทวิ อยู่ไม่น้อยในการที่ศาลอาจใช้กำหราบคนพาลอภิบาลคนดี
จากบทกำหนดโทษ ในมาตรา ๗๒ ทวิ ...............ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๘ ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้นั้นฝ่าฝืนมาตรา ๘ ทวิ วรรคสองด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท...........

ที่เห็นมาสำหรับคนดีที่พาปืนติดตัวด้วยเจตนาบริสุทธิเพียงเพื่อป้องกันตัว อาจได้รับโทษเพียงปรับ หากมีโทษจำ ศาลท่านก็ให้รอฯ
ขณะที่คนร้าย หรือผู้พาปืนไปก่อเหตุ นอกจากโทษจากเหตุนั้นแล้ว ยังอาจได้รับโทษจำคุกถึงห้าปี

ตัวผมเอง(เคย)มีป.๑๒ทั่วราชอาณาจักรมานานกว่า๑๐ปี มีโอกาสทดสอบว่าควรพกซ่อนอย่างไร การเจรจา กิริยาอย่างไร ให้ผลอย่างไร
รวมทั้งเคยเป็นตกเป็นผู้ต้องหาว่าฝ่าฝืนมาตรา ๘ ทวิ นี้ด้วย
ก็เห็นว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร หากถูกจับจากการพาปืนไปด้วยเจตนาสุจริต กลับเห็นดีว่าใครเอาปืนไปก่อเหตุจะได้ถูกเพิ่มโทษจำคุกได้

ที่ชาวปืนเดือดร้อนเป็นวิตกกันนักหนา มักเป็นเรื่องการประกันตัว กลัวถูกนำเข้าห้องควบคุม กับกลัวว่าปืนจะหมอง Grinกว่าจะได้คืน
ผมคิดต่างไป.... ว่าหากจำเป็นต้องพาปืนก็ไปขอป.๑๒ ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ก็พกไปโดยเหตุผลของตัวเองว่า จำเป็นและเร่งด่วน
แล้วผมใช้ปืนหลายกระบอก.....ปืนป้องกันตัวยิ่งทำใจไว้ว่าจะไปอยู่ในสภาพใดก็ได้ไม่ยึดติด   แล้วก็เตรียมเงินให้พอประกันตัว
ตั้งแต่ปี๔๖ มีการระงับป.๑๒ ค่าธรรมเนียมปีละ๑๐๐๐ผมจึงไม่ต้องจ่าย หลายปีแล้ว ถือว่าถ้าโดน..จ่ายค่าปรับก็ยังคุ้ม  Grin

คิดว่าสักวันต้องเป็นผู้ต้องหา/จำเลย ก็เตรียมการไว้พร้อมแล้ว .... แลกกับโอกาสการมีชีวิตกลับบ้านมาดูแลลูกเมีย เสียภาษีให้รัฐ
ผมกราบพระก่อนออกจากบ้านทุกวัน ..... ขอคุณพระคุ้มครองให้ได้มากราบใหม่ในวันพรุ่ง  ไหว้

การสู้ความหากตกเป็นจำเลย ผมก็คงปากแข็งไม่รับผิด ขออ้างต่อศาลท่าน ก็เพียงเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามที่เป็นจริง
อยากให้ผู้จับกุมได้ไปศาลด้วย ........ เคยเห็นศาลดุ....ว่า .... ไปจับเขาทำไม ....... แล้วรู้สึกดี  ขำก๊าก

ผมเห็นด้วยกับท่านสิงห์กลิ้ง
ว่าวันใดตกเป็นจำเลย....น่าลองสู้ด้วยบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ที่ปัจจุบันมีผลทำให้"กฎ"บางเรื่องใช้ไม่ได้อีกต่อไป
แต่จริงๆแล้วคงไม่ทำ ..... เพราะจะกลายเป็นเปิดทางให้คนไม่สุจริตพลอยได้รับประโยชน์ไปด้วย  ไหว้

เป็นอย่างนี้แหละดีแล้วครับ  Grin




+1ต่อสุจริตชน
บันทึกการเข้า
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12903



« ตอบ #106 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2009, 11:00:53 AM »

มีข้อคิด
ที่ฟลอริดา  เคยมีกรณีรถแท็กซี่ถูกปล้น แล้วทางการพยายามป้องกันด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นให้ผู้โดยสารนั่งได้เฉพาะด้านหลัง และติดกระจกกันกระสุนกั้นกลาง  ซึ่งก็ช่วยได้บ้าง แต่แต่ตำรวจไม่สามารถป้องกันให้หมดไปได้
แทนที่ตำรวจจะออกมาแก้ตัว   ตำรวจฟลอริดา กลับเสนอให้แก้กฎหมายให้แท็กซี่พกปืนได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต carry   ปรากฏว่าโจรเลิกปล้นแท็กซี่ แล้วหันไปปล้นนักท่องเที่ยวแทน
บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #107 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2009, 12:56:58 PM »

เคยอ่านบทความจากนิตยสาร อวป. หรือเปล่า จำไม่ได้ครับ ที่ต่างประเทศ รัฐให้สิทธิประชาชนสามารถพกพาอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตได้
แต่ยังอยู่ในหลักสากลที่ต้องปกปิดอย่างมิดชิด ห้ามพกพาไปโดยเปิดเผย ปรากฏว่าแทนที่จะมีการอาชญากรรมมากขึ้น แต่กลับลดลง
แม้จะมีผลข้างเคียงโดยเปลี่ยนเป้าหมาย อย่างเช่นท่านผู้การสุพินท์แนะนำไว้  Grin

ผมเคยเจอประสบการณ์ที่เด็กวัยรุ่น อายุไม่ถึง ๑๘ พร้อมพวกนั่งเมาได้ที่ในร้านข้าวต้มโต้รุ่ง ในตัวอำเภอเมือง
เดินไปปิดไฟห้องน้ำที่เพื่อนผมเข้า ถึงสองครั้ง จนเพื่อนผมเดินไปถามแกมขอร้องว่าอย่าแกล้งกัน
จากนั้นสถาณการณ์เริ่มคาดว่าน่าจะรุนแรง ผมเห็นท่าไม่ดีจึงใช้สิทธิเท่าที่ทำได้ แจ้ง ๑๙๑ ด้วยมือถือ
ได้ผล เด็กคนนั้นพร้อมพวกบางคนจึงลุกและเดินผ่านโต๊ะผมไป
แต่ก่อนจะถึงโต๊ะผมและผ่านไป มันชักปืนแบบ ๑๙๑๑ สีเลสออกจากเอว เดินผ่านหลังผมไป
ผมใจหายวูบลงถึงพื้นดิน......

ผมเลยมานั่งคิดครับว่าบ้านเราสมควรที่จะให้สิทธิประชาชนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน สามารถพกพาอาวุธปืนติดตัวไปทำงาน เดินทางนอกบ้านได้หรือยัง
เพราะข้อห้ามตรงนี้ ทำให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตมีและใช้ ส่วนใหญ่ต้องเก็บอาวุธปืนไว้ที่บ้าน

แต่เชื่อว่ากระบวนการรัฐ หรือฝ่ายนิติบัญญัติคงไม่เห็นด้วยแน่ครับ ที่จะแก้กฏหมายในเรื่องนี้
เพราะขนาด ป. ๑๒ ยังถูกระงับ ห้ามออกใบอนุญาตสำหรับปืนขนาดนู้น ขนาดนี ไม่รู้กลัวอะไรกัน

คงเหลือหนทางเดียว คือใช้สิทธิทางศาล ตามกระบวนการที่รัฐธรรมนูญให้สิทธิไว้ครับ
เพื่อให้ศาลลองพิจารณาอีกครั้งว่า สมควรที่จะให้สิทธิในการคุ้มครองตนเองของประชาชน จากเหตุร้ายรายชั่วโมงจากมิจฉาชีพ หรือผู้ไม่ประสงค์ดีได้หรือยัง

แต่มันก็อาจเกิดผลเป็นดาบสองคมอย่างท่านธำรง แนะนำมาครับ ว่า ไม่ใช่สุจริตชนเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ แต่อาจเป็นประโยชน์แก่คนไม่สุจริตด้วย
แต่ผมก็ยังเชื่อว่า สุจริตชน เท่านั้น ที่จะพกอาวุธปืนที่ถูกต้องและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนในการทำงานหรือเดินทาง

และหากมีการเก็บข้อมูลของตำหนิ รูปพรรณ ของอาวุธปืนแต่ละกระบอก และตัวอย่างรอยของกระสุนที่ออกมาจากาวุธปืน
การที่จะนำอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตไปก่อความผิด น่าจะต้องคิดกันสักยกใหญ่ แถมอาจเป็นการช่วยตามหาคนร้ายที่ก่อเหตุได้ด้วย

แต่ด้วยเหตุผลหลายๆประการ ผมก็ไม่เคยยื่นเรื่องนี้ต่อศาลสักที  Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 18, 2009, 03:13:06 PM โดย นายสิงห์กลิ้ง » บันทึกการเข้า
bamboo
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 12
ออฟไลน์

กระทู้: 243


« ตอบ #108 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2009, 05:10:06 PM »

จริงๆแล้ว กระทู้นี้ทุกท่านได้ให้ความเห็นไว้อย่างดี และความเห็นของทุกท่าน ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นประโยชน์อย่างมากครับ
จึงมาขอเก็บความรู้อย่างเดียว

แต่  กฏหมาย ก็คือกฏหมายครับ เมื่อผ่านขั้นตอนการพิจารณาและแก้ไขตามกระบวนการ
และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ย่อมมีผลบังคับต่อทุกคน ไม่ว่า ยาก ดี มี จน หรือรวยล้นฟ้า

ส่วนกระบวนการออกกฏหมายนั้น จะออกโดยฝ่ายใด แม้ไม่ถูกใจหรือไม่อย่างไร แต่เมื่อออกมาและมีผลบังคับใช้แล้ว
ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฏหมายฉบับนั้นเหมือนกัน

ยิ่งบุคคลในกระบวนการยุติธรรมด้วยแล้ว ผู้พิพากษา อัยการ ทนาย พนักงานสอบสวน ตำรวจ  แม้แต่ผู้ที่กำลังเรียนนิติศาสตร์อยู่
ก็ต้องใช้หรือศึกษา กฏหมายที่มีผลบังคับทุกฉบับ โดยไม่สามารถมานั่งเลือกใช้บังคับเฉพาะกฏหมายที่ตนเองรับได้หรือไม่ได้

หมาดๆ เลยครับ ผมเพิ่งโดนเมื่อคืนวานเอง  เเบบเต็มๆครับ ผมอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายเเดนใต้ ปรกติก็โดนเป็นตรวจประจำครับเเถวบ้าน เเต่ก็นานๆครั้งที่ผมจะเอาปืนเก็บใว้ในรถ  ส่วนใหญ่จะเก็บไว้ที่บ้านเสียมากกว่า   ก็เพราะว่ากลัวจะโดนตรวจอาวุธ  ทั้งๆที่อยากจะพามันไปด้วยทุกครั้ง  เเต่ว่าหากโดนตรวจเเละหากจนท ตรวจเจอ  ...หากเจอ จนท ที่ไม่เห็นใจเราก็เดือดร้อนเเน่..............
เเต่ก็ขอโทษด้วยครับหากว่าความรู้สึกส่วนต้วของผมอาจจะไม่ถูกไม่ควรอยู่บ้าง Cheesy

อยู่ 3 จังหวัดภาคใต้ น่าจะลองสู้คดีนะครับ   เพราะรัฐไม่สามารถคุ้มครองประชาชนได้ (ลำพังตัวเองยังเอาตัวไม่ค่อยจะรอด)   การพกอาวุธจึงเป็นความจำเป็น

ด้วยความเคารพนะครับ
หากสู้คดีโดยให้ศาลพิจารณาว่าจำเป็นหรือไม่

ลองยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๑ ให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาและวินิจฉัยไปด้วยสิครับ ว่า
มาตรา ๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ที่ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์

เป็นกฏหมายที่ขัดและแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

เมื่อ มาตรา ๓๒ ของรัฐธรรมนูญ กำหนดให้บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
และมาตรา ๒๘ กำหนดบุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน และบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้

ดังนั้น การที่เราซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนจากนายทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
ย่อมมีสิทธิใช้อาวุธปืนที่ตนได้รับอนุญาตถูกต้องจากนายทะเบียนให้มีและใช้ ปกป้องชีวิตและร่างกายของตนเองและครอบครัวจากเหตุร้ายหรือภยันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้
และสามารถนำอาวุธปืนที่ตนได้รับอนุญาตให้มีและใช้ ติดตัวเพื่อป้องกันขีวิตและร่างกายจากเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  ไม่อาจจำกัดเพียงในเคหสถาน หรือที่พักอาศัยได้

เมื่อการพกพาอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตถูกต้อง ผู้ร้องนำติดตัวไปโดยมิได้นำไปใช้ก่อเหตุใดๆ หรือนำไปละเมิดสิทธิและเสรีภาพของคนอื่น
แต่เป็นการติดตัวไว้เพื่อป้องกันสิทธิในชีวิตและร่างกายตนเองตามรัฐธรรมนูญแล้ว มาตรา ๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ จึงเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิของบุคคล
ในอันที่จะใช้สิทธิป้องกันชีวิตและร่างกายตามรัฐธรรมนูญแลัว ยังขัดต่อหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งเป็นการจำกัดการใช้สิทธิและเสรีภาพของผู้ร้อง ตามมาตรา ๓๒ และมาตรา ๒๘ อันขัดและแย้งกับรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน 

ทั้งมาตรา ๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ เป็นกฏหมายที่ใช้จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้
อันเป็นกฏหมายบัญญัติกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพอย่างร้ายแรง ซึ่งมาตรา ๒๙ บัญญัติว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ นั้นจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้
 
เมื่อมาตรา ๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ขัดและแย้งกับรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
บทบัญญัติของกฎหมายมาตรา ๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับ และลงโทษจำเลยมิได้ ตามมาตรา ๖ แห่งรัฐธรรมนูญ

อะไรแบบนี้ น่าจะดีไหมครับ  Grin เผื่อเป็นทางออกให้สุจริตชนได้บ้าง
_______________________________________

ปล. มาตรา ๒๑๑ ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา ๖ และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย ในระหว่างนั้นให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปได้แต่ให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคำโต้แย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่งไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว

 

เป็นมุมมองที่น่าคิด +1 ครับ
บันทึกการเข้า
G 99
Newbie
*

คะแนน 2
ออฟไลน์

กระทู้: 15


« ตอบ #109 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2009, 07:53:38 PM »

   ผู้ปฏิบัตหน้าีที่รักษากฏหมายต้อง
      เข้มแข็ง  แต่ไม่แข็งกระด้าง 
      อ่อนโยน  แต่ไม่อ่อนแอ
      เข้มแข็งในหลักการ
     " เอาความสุจริต เป็นเกราะคุ้มภัย "

" ขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงครับ อ่านแล้วรู้สึกดีมากครับ "
บันทึกการเข้า
khwanphet_NAVY 39
Hero Member
*****

คะแนน 129
ออฟไลน์

กระทู้: 2035


« ตอบ #110 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2009, 09:18:48 AM »

....................
เคยอ่านบทความจากนิตยสาร อวป. หรือเปล่า จำไม่ได้ครับ ที่ต่างประเทศ รัฐให้สิทธิประชาชนสามารถพกพาอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตได้
แต่ยังอยู่ในหลักสากลที่ต้องปกปิดอย่างมิดชิด ห้ามพกพาไปโดยเปิดเผย ปรากฏว่าแทนที่จะมีการอาชญากรรมมากขึ้น แต่กลับลดลง
แม้จะมีผลข้างเคียงโดยเปลี่ยนเป้าหมาย อย่างเช่นท่านผู้การสุพินท์แนะนำไว้  Grin

ผมเคยเจอประสบการณ์ที่เด็กวัยรุ่น อายุไม่ถึง ๑๘ พร้อมพวกนั่งเมาได้ที่ในร้านข้าวต้มโต้รุ่ง ในตัวอำเภอเมือง
เดินไปปิดไฟห้องน้ำที่เพื่อนผมเข้า ถึงสองครั้ง จนเพื่อนผมเดินไปถามแกมขอร้องว่าอย่าแกล้งกัน
จากนั้นสถาณการณ์เริ่มคาดว่าน่าจะรุนแรง ผมเห็นท่าไม่ดีจึงใช้สิทธิเท่าที่ทำได้ แจ้ง ๑๙๑ ด้วยมือถือ
ได้ผล เด็กคนนั้นพร้อมพวกบางคนจึงลุกและเดินผ่านโต๊ะผมไป
แต่ก่อนจะถึงโต๊ะผมและผ่านไป มันชักปืนแบบ ๑๙๑๑ สีเลสออกจากเอว เดินผ่านหลังผมไป
ผมใจหายวูบลงถึงพื้นดิน......

ผมเลยมานั่งคิดครับว่าบ้านเราสมควรที่จะให้สิทธิประชาชนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน สามารถพกพาอาวุธปืนติดตัวไปทำงาน เดินทางนอกบ้านได้หรือยัง
เพราะข้อห้ามตรงนี้ ทำให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตมีและใช้ ส่วนใหญ่ต้องเก็บอาวุธปืนไว้ที่บ้าน

แต่เชื่อว่ากระบวนการรัฐ หรือฝ่ายนิติบัญญัติคงไม่เห็นด้วยแน่ครับ ที่จะแก้กฏหมายในเรื่องนี้
เพราะขนาด ป. ๑๒ ยังถูกระงับ ห้ามออกใบอนุญาตสำหรับปืนขนาดนู้น ขนาดนี ไม่รู้กลัวอะไรกัน

คงเหลือหนทางเดียว คือใช้สิทธิทางศาล ตามกระบวนการที่รัฐธรรมนูญให้สิทธิไว้ครับ
เพื่อให้ศาลลองพิจารณาอีกครั้งว่า สมควรที่จะให้สิทธิในการคุ้มครองตนเองของประชาชน จากเหตุร้ายรายชั่วโมงจากมิจฉาชีพ หรือผู้ไม่ประสงค์ดีได้หรือยัง

แต่มันก็อาจเกิดผลเป็นดาบสองคมอย่างท่านธำรง แนะนำมาครับ ว่า ไม่ใช่สุจริตชนเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ แต่อาจเป็นประโยชน์แก่คนไม่สุจริตด้วย
แต่ผมก็ยังเชื่อว่า สุจริตชน เท่านั้น ที่จะพกอาวุธปืนที่ถูกต้องและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนในการทำงานหรือเดินทาง

และหากมีการเก็บข้อมูลของตำหนิ รูปพรรณ ของอาวุธปืนแต่ละกระบอก และตัวอย่างรอยของกระสุนที่ออกมาจากาวุธปืน
การที่จะนำอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตไปก่อความผิด น่าจะต้องคิดกันสักยกใหญ่ แถมอาจเป็นการช่วยตามหาคนร้ายที่ก่อเหตุได้ด้วย

แต่ด้วยเหตุผลหลายๆประการ ผมก็ไม่เคยยื่นเรื่องนี้ต่อศาลสักที  Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy

.............................. ไหว้...........................เห็นด้วยครับ................. ไหว้
บันทึกการเข้า
G 99
Newbie
*

คะแนน 2
ออฟไลน์

กระทู้: 15


« ตอบ #111 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2009, 01:53:40 PM »

อ้างจากคุณ  KLEAW.....ผมก็เสียใจด้วยครับ.......นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ไม่อยากให้ใครค้นเจอ อวป....ถ้าบังเอิญ ดวงเราไม่ดีอยู่แล้วดันไปเจอกับคนตรงเถร  ผมว่าคงไปตามแก้กันยาวถึงศาล...สู้ให้ไม่ต้องเจอของผมดีกว่า....เหตุผลที่สำคัญ.....ที่ผมตั้งกระทู้นี้มาไม่ได้ต้องการที่จะสร้างความแตกแยกให้  จนท.รัฐทุกท่านน่ะครับ....ยังงัยก็ขออนุญาตพูดคุยแชร์ความรู้และเหตุผลกัน  อย่าเก็บมาเป็นอารมณ์.....เพราะตอนนี้ผมเริ่มเข้าใจแล้ว......( หน้าที่เหนือสิ่งอื่นใด)
     ยินดีร่วมกับเจ้าของกระทู้นี้ครับ ผมดีใจมากที่เจ้าของกระทู้เข้าใจอย่างที่ผมอยากจะสื่อสาร   การมีกระทู้นี้ทำให้มีการแสดงข้อคิดเห็นต่างๆ  มองให้ดีผมว่าดีครับจะได้รอบรู้กันทั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่และสิทธิของประชาชน  ขอเพียงแต่ให้การปฏิบัติให้ตรงกับกฏหมาย  ในประเด็นของเจ้าของกระทู้น่าจะจบด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันและนะครับ
      ทีนี้มีประเด็นที่ต้องร่วมแสดงความคิดเห็นอีกบางส่วน
1.  ในประเด็นการตรวจค้นนั้น  ตามความเห็นของท่านธำรงค์ฯ ผมเห็นชอบด้วยคือ ตาม ป.วิ.อาญาฯ มาตรา 93  บัญญัติไว้ว่า " ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ตรวค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด"
      ผู้ปฏิบัติหน้าที่  ควรต้องทำคือ
      -  สอบถามภารกิจกับผู้บังคับบัญชาให้ดีว่า การตั้งด่านตรวจครั้งนี้เพื่อทำสิ่งใด หรือหากต้องค้นบุคคลตาม ป.วิ.อาญา ฯ มาตรา 93 คือ ค้นหาสิ่งใด
      -  เมื่อมีรถผ่านมา  ท่านต้องคำถามตัวเองในใจด้วยว่า " เหตุอันควรสงสัย " นั้นคืออะไร  เช่น กิริยา ท่าทาง ลักษณะการขับรถ แววตา คำพูดข่มขู่ เป็นต้น  ซึงคำว่าเหตุอันควรสงสัยเป็นเหตุที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติพบกับตัวเอง  กฏหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่า "เหตุอันควรสงสัย " มีอะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ วิชาความรู้ของผู้ปฏิบัติ   แต่ต้องกระทำการค้นตามระเบียบ สุภาพ และถูกต้องตามยุทธวิีธี
        -  หากท่านผู้เกียรติฯที่ต้องถูกตรวจค้น  ถามว่าท่านมีเหตุอันควรสงสัยใด  การตอบคำถามนี้ไม่ใช่เรื่องลำบาก  ก็ขอให้ตอบให้ท่านได้เข้าใจว่าเราสงสัยสิ่งใดในตัวท่าน
2.  เมื่อทำการตรวจค้นพบ " อาวุธปืน "   ให้สอบถามผู้ถูกตรวจค้นว่า
     1. อาวุธปืนมี ป.4 หรือไม่   หากมี
     2. มีใบ ป.12 หรือไม่   หากไม่มี
     3. พิจารณาสภาพแวดล้อม  และจุดที่พบปืน สภาพของอาวุธปืน ว่า"เป็นเหตุจำเป็นเร่งด่วน"  ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ หรือไม่   โดยสามารถดูแนวคำพิพากษาฎีกา และ  ตามบันทึก  ตร.ที่ 0501 /30476 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2517 กำหนดแนวทาง
ในการปฏิบัติของข้าราชการตำรวจ  ให้ใช้ดุลพินิจในการตรวจค้น  จับกุม         ว่าเป็นไปตามนั้นหรือไม่ ซึ่งสามารถดูรายดูรายละเอียดได้จาก  http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=33376.0  หากผู้มีเกียรติที่ถูกตรวจค้นได้ทำตามแนวดังกล่าวแล้ว   ก็ไม่ควรที่จะจับกุมเป็นเหตุให้ประชาชนผู้สุจริตต้องเดือดร้น  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น " เป็นดุลพินิจของท่านผู้ตรวจค้น "
     4.  เมื่อท่านใช้ดุลพินิจแล้ว และดุลพินิจของท่านคือ การจับกุมดดำเนินคดี ท่านต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 83  
           วรรคหนึ่ง " ในการจับนั้น เจาพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับ ต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับพร้อมด้วยผู้จับ.....แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป"
           วรรคสอง " ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ ...พร้อมทั้งแจ้งสิทธิด้วยว่า .... ในการนี้ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าวไว้ด้วย"
          วรรคสาม  " ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนี หรือพยายามจะหลบหนี  ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือความป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องการจับนั้น
5.   ให้นำผุ้ถูกจับไปังที่ทำการของของพนักงานสอบสวนทันที ตาม ป.วิ.อาญา ฯ ม.84 วรรค 1 และ มอบสำเนาบันทึการจับแก่ผู้ถูกจับ ตาม ป.วิ.อาญา ม.84( 1 )   ส่วนถ้อยคำหรือการลงลายมือชื่อใดๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุม....มิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน... ดังนั้นการลงลายมือชื่อรับสารภาพในชั้นจับกุมไม่ค่อยมีผลเท่าใดนัก
      ถ้าผู้ถูกจับไม่ยอมลงลายมือชื่อ ก็ให้บันทึกไว้ว่า ผู้ถูกจับไม่ลงลายมือชื่อ
       ในปัจจุบันเทคโนโลยีราคาถูก หากเป็นไปได้ให้บันทึกภาพทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวในการนั้นไว้เพื่อเป็นหลักฐานชี้แจงต่อผู้บังคับบัญชา และให้การตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
       ถ้าหากผู้ถูกจับต้องการทราบชื่อผู้ปฏิบัติ หรืออยากจดชื่อ  ก็ขอให้ยืดอก  และบอกยศ ชื่อ ตำแหน่งไป    
6.   เมื่อมาถึงที่ทำการพนักงาสอบสวน  ให้ส่งตัว และลงบันทึกประจำวัน  
       เป็นอันเสร็จขั้นตอนของผู้ถูกจับกุม


        ส่วนเมื่อมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนแล้วเป็นการดำนเินินการของพนักงานสอบสวน
1. การสอบสวน เช่น การสอบปากคำ การพิมพ์มือ การยื่นเอกสาร หลักฐาน  ต่างๆ ซึ่งหากพนักงานสอบสวนเห็นว่ามีหลักฐานพอฟ้องก็จะส่งไปยังพนักงานอัยการ
2. หากพนักงานอัยการ เห็นว่ามีหลักฐานพอฟ้อง  ก็ส่งฟ้องไปยัง ศาล
3. ศาลเห็นว่ามีความผิด ก็พิจารณาตัดสิน ซึ่งก็มีศาลชั้นต้น  อุธรณ์ ฏีกา
 
      
        
" ขอบคุณครับ " 
บันทึกการเข้า
allbad
Newbie
*

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 2



« ตอบ #112 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2009, 11:48:48 AM »

ขอบคุณมากๆๆเลยคับ
จขกท.และพี่ๆๆสมาชิก ที่ให้ความรู้แก่ผมคับ
ผมเพิ่งได้รับปืนเมือปลายเดือน ก.ย.นี้เอง
ขอบคุณมากๆๆสำหรับมือใหม่อย่างผมคับ
บันทึกการเข้า
พีระพงษ์
Full Member
***

คะแนน 59
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 173


« ตอบ #113 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2009, 01:08:25 PM »

การอ้างถึง สิทธิ ของบุคคล ในรัฐธรรมนูญ บุคคลนั้นต้องไม่ทำการ ละเมิด หรือทำผิดกฎหมาย
และ ต้องไม่กระทำละเมิดสิทธิ ของบุคคลอื่น ด้วยครับ
ถ้าได้กระทำผิดกฎหมาย ต้องใช้ สิทธิผู้ต้องหาแทนครับ เยี่ยม

หมายความว่าเมื่อเป็นผู้ต้องหาแล้ว  สิทธิบุคคลทั้งปวงได้หมดสิ้นไป  เหลือแต่สิทธิของผู้ต้องหา  หรือครับ

รอคำตอบอยู่ครับ
บันทึกการเข้า

Shoot first !
Ask question later.
SittiMP9c
เราจะปกป้องสถาบันฯ...เราจะสู้เพื่อในหลวง
Sr. Member
****

คะแนน 13
ออฟไลน์

กระทู้: 682


เรารักในหลวง


« ตอบ #114 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2009, 01:37:53 PM »

ถ้าเอาไว้กระโปรงหลังจะมีปัญหาหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า

ข้าราชการจะต้องเป็นผู้จงรักภักดีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไม่ถือเอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นของส่วนตัว อุทิศตนทำงานด้วยความซื่อสัตย์ เทิดทูนสถาบันฯ ไม่เป็นเครื่องมือของคนเลว
joedee
ลาวพลัดถิ่น
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 10
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 139



« ตอบ #115 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2009, 01:04:37 AM »

 ไหว้ ไหว้ ไหว้ อ่านกระทู้นี้ แล้ว ได้ ความรู้ มากทีเดียวครับ   ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า
พีระพงษ์
Full Member
***

คะแนน 59
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 173


« ตอบ #116 เมื่อ: ตุลาคม 22, 2009, 10:04:58 AM »

การอ้างถึง สิทธิ ของบุคคล ในรัฐธรรมนูญ บุคคลนั้นต้องไม่ทำการ ละเมิด หรือทำผิดกฎหมาย
และ ต้องไม่กระทำละเมิดสิทธิ ของบุคคลอื่น ด้วยครับ
ถ้าได้กระทำผิดกฎหมาย ต้องใช้ สิทธิผู้ต้องหาแทนครับ เยี่ยม

หมายความว่าเมื่อเป็นผู้ต้องหาแล้ว  สิทธิบุคคลทั้งปวงได้หมดสิ้นไป  เหลือแต่สิทธิของผู้ต้องหา  หรือครับ

รอคำตอบอยู่ครับ

เรื่องสิทธิของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ  และได้พยายามค้นหาข้อกฎหมายนี้ แต่ไม่พบดังที่คุณ G99 กล่าวอ้าง   พบแต่ว่าคนที่เป็นผู้ต้องหา หรือเป็นจำเลย กลับมีสิทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าบุคคลธรรมดา   เช่นจะให้การอย่างไรก็ได้  ถึงจะโกหก ก็จะไม่เป็นความผิดฐานให้การเท็จ หรือเบิกความเท็จ

ยังคงรอคำตอบจากคุณ G99 อยู่ครับ
บันทึกการเข้า

Shoot first !
Ask question later.
A2520
Newbie
*

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 17


« ตอบ #117 เมื่อ: ตุลาคม 22, 2009, 05:25:34 PM »

ผมเลิกพกปืนติดรถมาหลายเดือนแล้วครับ  ตั้งแต่มีข่าวจับยาเสพติดบ่อยๆ ยอมรับว่ากลัวครับ ไม่อยากมีปัญหา

และอีกอย่าง ไม่รู้จะให้ใครช่วยเคลียร์ให้ ถ้าโดนจับ


ปล. ชอบความเห็น พี่สิงห์กลิ้ง ครับ
บันทึกการเข้า
INTERCEPTER - รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 155
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 871


ไปช้าๆ.... มองโลกได้เยอะขึ้น


« ตอบ #118 เมื่อ: ตุลาคม 22, 2009, 05:49:35 PM »

มีข้อคิด
ที่ฟลอริดา  เคยมีกรณีรถแท็กซี่ถูกปล้น แล้วทางการพยายามป้องกันด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นให้ผู้โดยสารนั่งได้เฉพาะด้านหลัง และติดกระจกกันกระสุนกั้นกลาง  ซึ่งก็ช่วยได้บ้าง แต่แต่ตำรวจไม่สามารถป้องกันให้หมดไปได้
แทนที่ตำรวจจะออกมาแก้ตัว   ตำรวจฟลอริดา กลับเสนอให้แก้กฎหมายให้แท็กซี่พกปืนได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต carry   ปรากฏว่าโจรเลิกปล้นแท็กซี่ แล้วหันไปปล้นนักท่องเที่ยวแทน


ถ้าเป็นเมืองไทย...ผมว่าคงต้องเปิดสอบทั้งข้อเขียน...สัมภาษณ์ ...ตรวจสอบประวัติเหมือนสอบเข้าข้าราชการ...เพื่อมาทำอาชีพขับแท็กซี่ครับท่านผู้การ    เพราะเดี๋ยวจะกลายเป็นว่า  แท็กซี่จะปล้นผู้โดยสารแทน
บันทึกการเข้า
polo_p13
Jr. Member
**

คะแนน 10
ออฟไลน์

กระทู้: 34


« ตอบ #119 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2009, 11:02:00 PM »

   สงสัยคุณ G99 คงปฏิบัติหน้าที่อย่างหนัก อาจจะไม่มีเวลาเข้ามาตอบคำถามอย่างที่หลายท่านสงสัย Smiley
   ผมเลยคิดเอาเองว่า คุณ G99  นั้น เข้าใจในเรื่องสิทธิของประชาชน เป็นอย่างดี  เพียงแต่สิ่งที่อยากจะสื่อสารและลักษณะการแสดงความคิดเห็น อาจจะทำให้สมาชิกเข้าใจคลาดเคลื่อนไปบ้างหรือเกิดเป็นความสงสัย
   สิ่งที่ท่่านสมาชิกชิกถามคุณ g99 “ เมื่อเป็นผู้ต้องหาแล้ว สิทธิบุคคลทั้งปวงได้หมดสิ้นไป เหลือแต่สิทธิของผู้ต้องหา หรือไม่”
   ในความเห็นของผม
   “ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย” นั้นเป็นเรื่องสำคัญ  ซึ่งมีบัญญัติทั้ง รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550  เพียงแต่ รัฐธรรมนูญ 2550  จะมีเพิ่มเป็นพิเศษในส่วนของการเมือง การชุมนุมต่างๆ  ซึ่งผลของกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น มีผลให้กฎหมายต่างๆรวมทั้งการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต้องปรับเปลี่ยนตามไป  อาทิ ป.วิ.อาญา ที่ต้องออกตาม รัฐธรรมนูญ 2540(ฉบับประชาชน) ในเรื่องของ  การจับ  การค้น  การควบคุมตัวผู้ต้องหา  สิทธิของผู้ต้องหาต่าง ๆ  เป็นต้น
   ซึ่ง “ ในคดีอาญา  ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด  ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำผิดมิได้”
   ผู้ถูกจับ  ผู้ต้องหา  จำเลย   ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ย่อมมีสิทธิเหมือนปวงชนชาวไทยทั่วไป
   แต่เมื่อมี “ ความผิดอาญาเกิดขึ้น”  ซึ่งเกิดความเสียหายต่อชนชาวไทยท่านอื่น และรัฐ  จะต้องมีการดำเนินการกระบวนการยุติธรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้กระผิดได้รับการลงโทษตามกฏหมาย   ในการบวนการยุติธรรมส่วนหนึ่งทำให้สิทธิของชนชาวไทยที่ต้องตกเป็น  ผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา และจำเลย   ต้องเสียสิทธิบางอย่างไป  อาทิ  สิทธิในอิสรภาพ  ที่จะต้องถูกบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเหตุตาม ป.วิ.อาญา ม.66 และ78   ให้ผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา จำเลย  ต้องถูกจับ ถูกควบคุม  โดยมีสาระของเหตุดังกล่าว ประกอบด้วย
1.     เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ
2.   มีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น
3.   ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร  ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี
4.   เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า  ดังบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อาญามาตรา 80
5.   เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถใช้ในการกระทำความผิด
         แต่กฎหมายได้คำนึงถึงสิทธิในการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมของ ผู้ถูกจับ ผู้ต้องหาและจำเลย  ซึ่งยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์  ตั้งแต่ถูกจับกุมตัว  โดยบัญญัติถึงสิทธิต่างของผู้ถูกจับ  และบังคับให้พนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับ ต้องแจ้งแก่ผู้ถูกจับถึงสิทธิ ตาม ป.วิ.อาญา ม.83  อันประกอบด้วย
1.    ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
2.   ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ
3.   ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและไม่เป็นการจัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับหรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด
ซึ่งเมื่อมาถึงที่ทำการพนักงานสอบสวน  กฏหมายยังบังคับให้ดำเนินการแจ้งสิทธิต่างตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 7/1 , 84 

         ดังนั้น  สิทธิของผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา จำเลย  ไม่หมดสิ้นไป ยังคงมีสิทธิที่ชนชาวไทยมีโดยสมบูรณ์เนื่องจากยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด   แต่อาจจะต้องเสียสิทธิในอิสรภาพของตนและอื่นๆ เมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนด  ในระหว่างต่อสู้คดีพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนตามกระบวนยุติธรรม  แต่กฏหมายได้ให้ความคุ้มครอง   ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาให้ได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม  โดยกฏหมายบัญญัติให้เจ้าหน้าที่  มีหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องทราบถึงสิทธิของตนในการต่อสู้คดีตามกระบวนยุติธรรม 
          ผมรู้สึกขอบคุณ คุณ G99 ซึ่งเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่เป็นอย่างมากที่ได้ศึกษากฏหมาย  และได้ทราบถึงสิทธิของผู้ต้องหาดังกล่าว  เชื่อว่าผู้ต้องหาจะได้รัีบการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากคุณ G99 ครับ เยี่ยม
   
   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 7 [8] 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.095 วินาที กับ 22 คำสั่ง