เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 26, 2024, 11:23:44 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 6 7 8 [9]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โดนด่าน ตร.ตรวจค้น อวป.ในรถ..ขอถามเพื่อนสมาชิกที่เป็น ตร./ ท. ด่วนครับ  (อ่าน 20830 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Nu007
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 22
ออฟไลน์

กระทู้: 216


ในยามคับขัน อย่าลังเล


« ตอบ #120 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2009, 12:03:25 AM »

ครับ ผมก็เป็นคนนึงที่เป็นผู้ปฎิบัติ ส่วนมากก็จะดูสถานะภาพของคนนั้นๆ ว่า เป็นอย่างไร เช่นดูเป็นคนดีมั้ย อายุเท่าไร พูดจาเป็นอย่างไร มีพิรุจมั้ย เป็นต้น
ถ้าดูเบื้องต้นแล้วว่าผ่าน ก็จะสอบถามพูดคุย เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ( แต่ส่วนมากการซักถามมักจะมีปัญหาบ่อยเพราะ มีท่านพี่ๆที่ชอบ เบ่งเยอะ ทั้งๆที่คุยกันปกติธรรมดา ก็รู้เรื่อง ) ในกรณีที่หลักฐานถูกต้องและพูดคุยกันรู้เรื่องก็จะเชิญเดินทางต่อ  " คนเหมือนกันคุยกันรู้เรื่องครับ ไม่มีคนที่สติดีที่ไหนเอาปืนมีทะเบียนไปก่อเหตุหรอกครับ " เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติมีวิจารณญาณพอครับ ขอบคุณครับที่อ่าน และขอบคุณผู้ที่เข้าใจเจ้าหน้าที่ทุกท่านครับ   ไหว้
ขอโทษครับ เปลี่ยนรูปได้ไหมครับผมว่ารูปพระยิงปืน มันไม่เหมาะสมครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า
Skydiver_รักในหลวง
คารมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง
Hero Member
*****

คะแนน 1275
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6249


ไร้สาระโดยสิ้นเชิง


« ตอบ #121 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2009, 02:20:16 AM »

เป็นอีก1กระทู้ที่ให้ความรู้ดีมากเลย

มีเรื่องอยากจะถามผู้รู้หน่อยคับ

สรุปแล้วถ้าจะพก อวป. ในรถจะต้องทำอย่างไรดี

เพื่อป้องกันการถูกจับในกรณีที่ อวป. ถูกกฎหมาย

แล้วสามารถรับมือกับภัยที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตเรา

ในกรณีที่ผู้ไม่หวังดีประกบยิงไม่ใช่ พท.3จชต.คับ
บันทึกการเข้า

จงยิ้มสู้เมื่อความตายมาเยือน...
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #122 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2009, 06:41:16 AM »

ถ้าเอาไว้กระโปรงหลังจะมีปัญหาหรือเปล่าครับ

เป็นอีก1กระทู้ที่ให้ความรู้ดีมากเลย

มีเรื่องอยากจะถามผู้รู้หน่อยคับ

สรุปแล้วถ้าจะพก อวป. ในรถจะต้องทำอย่างไรดี

เพื่อป้องกันการถูกจับในกรณีที่ อวป. ถูกกฎหมาย

แล้วสามารถรับมือกับภัยที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตเรา

ในกรณีที่ผู้ไม่หวังดีประกบยิงไม่ใช่ พท.3จชต.คับ

ลองศึกษาจากกระทู้นี้ได้เลยครับ

http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=33376.0

หลักในการ..นำพาปืน ไปนอกบ้าน ที่ควรรู้ .และอาจจะไม่ถูกจับกุม หากปฏิบัติตาม.. ..
บันทึกการเข้า
CZ75DJ
Jr. Member
**

คะแนน 5
ออฟไลน์

กระทู้: 67


"ผู้ครองอำนาจต้องถือกฎหมายเป็นสำคัญ ไม่ทำตามกฎหมายผู้ใดจะนับถืบ"


« ตอบ #123 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2009, 11:44:20 AM »

       จะลองตอบเจ้าของกระทู้ทีละประเด็นนะครับอาจจะถูกใจบ้างไม่ถูกใจบ้าง
1.  ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ หรือประชาชน  เมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจค้นก็ต้องปฏิบัติตาม  โดยเฉพาะทหาร ตำรวจ  ผมเคยถูกตรวจค้นรถ  อาจจะเหมือนกับเจ้าของกระทู้และผมยินดีให้ตรวจค้นแต่โดยดี  แล้วค่อยยื่นบัตรให้เจ้าหน้าที่ดู ทุกคนจบด้วยรอยยิ้มพร้อมกับเจ้าหน้าที่ก็ขออภัยผมที่ตรวจค้น  ผมก็บอกยินดีทุกคนทำตามหน้าที่  และดีแล้วเพราะปัจจุบันมีทั้ง ทหาร ตำรวจ นอกแถวร่วมการกระทำความผิดเยอะ  โดยเฉพาะตำรวจ
2.  การแสดงตัวโดยการชักบัตรประเภทใดก็ตามให้กับเจ้าหน้าผู้มีหน้าที่ตรวจค้น  เป็นการสร้างค่านิยมที่ไม่ค่อยจะเหมาะสมเท่าไร  ยิ่งเป็นทหาร  ตำรวจ  ที่มีระเบียบวินัยมากกว่าพลเรือนทั่วไป  ยิ่งต้องเคารพกฏหมายบ้านเมือง ทหารก็มีวินัยทหาร ตำรวจยิ่งหนักกว่ามีวินัยตำรวจ
      - มีกรณีตัวอย่าง พ.ต.ท. แถวกาญจนบุรี  ค้ายาเสพติดซะเอง  โดยจะขนเองอาศัยการชักบัตรอย่างกรณีเจ้าของกระทู้แล้วตำรวจไม่กล้าตรวจค้น จนทำให้สามารถขนยาเสพติดจำนวนมากได้  จนกระทั่ง ด่านตรวจเมื่อตรวจค้นแสดงบัตรอีกครั้ง หัวหน้าด่านไม่ยินยอม  จึงได้ถูกจับกุม
3.  กรณีการตรวจค้นของเจ้าของกระทู้น่าจะเป็นรถที่ตรงกับสายรายงาน (อาจจะโชคร้ายหน่อย แต่ก็นะ ช่วยเห็นใจหน่อย ยาเสพติดเข้าประเทศเรามาก )
4.  หากเจออาวุธปืนดังกล่าว  เจ้าของกระทู้ก็ต้องชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ว่า  พกปืนด้วยเหตุใด เป็นเหตุยกเว้นตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ หากไม่มีเหตุแล้วย่อมต้องถูกดำเนินคดี  โดยส่งฟ้องไปยังศาลทหาร ซึ่งเจ้าของกระทู้อาจจะต้องโทษทั้งอาญา และวินัยทหาร  (โดยอาจจะแจ้ง สห. ให้ทราบ )ตามข้อตกลงกับกระทรวงกลาโหม

 ปล. ยิ่งเป็นทหารหรือตำรวจที่มีิระเบียบยวินัย  ยิ่งต้องให้ความร่วมมือกับผู้ปฏิบัติหน้าที่ครับ   ผู้ปฏิบัติหน้าที่ไม่ทราบหรอกว่าท่านใดเป็นคนดีคนร้ายประการใด  ผมเองเคยถูกตรวจค้นหลายครับ  ค้นทั้งคัน  ผมก็ยินดีให้ตรวจค้น  
    
      
  +1 นัด ครับ  ถ้าพี่ท่านนี้เป็นข้าราชการขอให้ได้ตำแหน่งสูงครับ
              ยิ่งเป็น ตร. ซึ่งทำงานใกล้ชิดประชาชน ต้องระวังเรื่องพวกนี้ครับ
บันทึกการเข้า

อันโลกนี้มิใช่ของบุคคลคนเดียว แต่เป็นของประชาชนทั้งมวล ถ้าสามารถปฏิบัติ การให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชนทั้งมวล ก็จักทำให้ประชาชนทั้งมวลสวามิภักดิ์
yingpong
Full Member
***

คะแนน 5
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 139



« ตอบ #124 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2009, 01:28:04 PM »

ผมคงทำที่ซ่อนปืนในรถ และเก็บ BB Gun ไว้ท้ายรถ เวลาโดนถามให้ไปดู BB Gun แทน
แล้วทำถ้าตกใจ "ผมมี BB Gun อยู่ท้ายรถนะครับ เอาไปแต่งมา ยังไม่ได้เอาลง เป็นอะไรรึเปล่าครับ" แทนนะ
ให้เค้ามุ้งไปที่ BB Gun แทน กลบอาการตกใจของเราด้วย
บันทึกการเข้า

G 99
Newbie
*

คะแนน 2
ออฟไลน์

กระทู้: 15


« ตอบ #125 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2009, 08:41:43 PM »

ครับ ผมก็เป็นคนนึงที่เป็นผู้ปฎิบัติ ส่วนมากก็จะดูสถานะภาพของคนนั้นๆ ว่า เป็นอย่างไร เช่นดูเป็นคนดีมั้ย อายุเท่าไร พูดจาเป็นอย่างไร มีพิรุจมั้ย เป็นต้น
ถ้าดูเบื้องต้นแล้วว่าผ่าน ก็จะสอบถามพูดคุย เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ( แต่ส่วนมากการซักถามมักจะมีปัญหาบ่อยเพราะ มีท่านพี่ๆที่ชอบ เบ่งเยอะ ทั้งๆที่คุยกันปกติธรรมดา ก็รู้เรื่อง ) ในกรณีที่หลักฐานถูกต้องและพูดคุยกันรู้เรื่องก็จะเชิญเดินทางต่อ  " คนเหมือนกันคุยกันรู้เรื่องครับ ไม่มีคนที่สติดีที่ไหนเอาปืนมีทะเบียนไปก่อเหตุหรอกครับ " เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติมีวิจารณญาณพอครับ ขอบคุณครับที่อ่าน และขอบคุณผู้ที่เข้าใจเจ้าหน้าที่ทุกท่านครับ   ไหว้
ขอโทษครับ เปลี่ยนรูปได้ไหมครับผมว่ารูปพระยิงปืน มันไม่เหมาะสมครับ  ไหว้
" เปลี่ยนให้แล้วครับผม "
บันทึกการเข้า
tidsadee
ก็คนมันชอบนี่ครับ
Jr. Member
**

คะแนน 2
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 26


« ตอบ #126 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2009, 10:50:11 PM »

มารับข้อมูลดีๆครับ  ไหว้  Shocked Shocked

บันทึกการเข้า
sanhawich
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 32
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 106



« ตอบ #127 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2009, 07:03:58 PM »

มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน และบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิ หรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้.                                                                                                                                                                          หากยึดหลักกฎหมาย รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๒ โดยไม่ดูเจตนารมณ์ของมาตรานี้ล่่ะก็คงต้องยกเลิกฎหมายอื่นๆอีกไม่น้อยกว่า700ฉบับแน่ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 25, 2009, 07:10:13 PM โดย s-a-n » บันทึกการเข้า

............วัน เวลา วารี ผ่านไปไม่ย้อนคืน...........
ช.ลิ้วเฮียง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 332
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2479



« ตอบ #128 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2009, 07:15:28 PM »

เคยอ่านบทความจากนิตยสาร อวป. หรือเปล่า จำไม่ได้ครับ ที่ต่างประเทศ รัฐให้สิทธิประชาชนสามารถพกพาอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตได้
แต่ยังอยู่ในหลักสากลที่ต้องปกปิดอย่างมิดชิด ห้ามพกพาไปโดยเปิดเผย ปรากฏว่าแทนที่จะมีการอาชญากรรมมากขึ้น แต่กลับลดลง
แม้จะมีผลข้างเคียงโดยเปลี่ยนเป้าหมาย อย่างเช่นท่านผู้การสุพินท์แนะนำไว้  Grin

ผมเคยเจอประสบการณ์ที่เด็กวัยรุ่น อายุไม่ถึง ๑๘ พร้อมพวกนั่งเมาได้ที่ในร้านข้าวต้มโต้รุ่ง ในตัวอำเภอเมือง
เดินไปปิดไฟห้องน้ำที่เพื่อนผมเข้า ถึงสองครั้ง จนเพื่อนผมเดินไปถามแกมขอร้องว่าอย่าแกล้งกัน
จากนั้นสถาณการณ์เริ่มคาดว่าน่าจะรุนแรง ผมเห็นท่าไม่ดีจึงใช้สิทธิเท่าที่ทำได้ แจ้ง ๑๙๑ ด้วยมือถือ
ได้ผล เด็กคนนั้นพร้อมพวกบางคนจึงลุกและเดินผ่านโต๊ะผมไป
แต่ก่อนจะถึงโต๊ะผมและผ่านไป มันชักปืนแบบ ๑๙๑๑ สีเลสออกจากเอว เดินผ่านหลังผมไป
ผมใจหายวูบลงถึงพื้นดิน......

ผมเลยมานั่งคิดครับว่าบ้านเราสมควรที่จะให้สิทธิประชาชนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน สามารถพกพาอาวุธปืนติดตัวไปทำงาน เดินทางนอกบ้านได้หรือยัง
เพราะข้อห้ามตรงนี้ ทำให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตมีและใช้ ส่วนใหญ่ต้องเก็บอาวุธปืนไว้ที่บ้าน

แต่เชื่อว่ากระบวนการรัฐ หรือฝ่ายนิติบัญญัติคงไม่เห็นด้วยแน่ครับ ที่จะแก้กฏหมายในเรื่องนี้
เพราะขนาด ป. ๑๒ ยังถูกระงับ ห้ามออกใบอนุญาตสำหรับปืนขนาดนู้น ขนาดนี ไม่รู้กลัวอะไรกัน

คงเหลือหนทางเดียว คือใช้สิทธิทางศาล ตามกระบวนการที่รัฐธรรมนูญให้สิทธิไว้ครับ
เพื่อให้ศาลลองพิจารณาอีกครั้งว่า สมควรที่จะให้สิทธิในการคุ้มครองตนเองของประชาชน จากเหตุร้ายรายชั่วโมงจากมิจฉาชีพ หรือผู้ไม่ประสงค์ดีได้หรือยัง

แต่มันก็อาจเกิดผลเป็นดาบสองคมอย่างท่านธำรง แนะนำมาครับ ว่า ไม่ใช่สุจริตชนเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ แต่อาจเป็นประโยชน์แก่คนไม่สุจริตด้วย
แต่ผมก็ยังเชื่อว่า สุจริตชน เท่านั้น ที่จะพกอาวุธปืนที่ถูกต้องและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนในการทำงานหรือเดินทาง

และหากมีการเก็บข้อมูลของตำหนิ รูปพรรณ ของอาวุธปืนแต่ละกระบอก และตัวอย่างรอยของกระสุนที่ออกมาจากาวุธปืน
การที่จะนำอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตไปก่อความผิด น่าจะต้องคิดกันสักยกใหญ่ แถมอาจเป็นการช่วยตามหาคนร้ายที่ก่อเหตุได้ด้วย

แต่ด้วยเหตุผลหลายๆประการ ผมก็ไม่เคยยื่นเรื่องนี้ต่อศาลสักที  Cheesy Cheesy Cheesy Cheesy

เห็นด้วยครับน้าสิงห์
บันทึกการเข้า

ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน
G 99
Newbie
*

คะแนน 2
ออฟไลน์

กระทู้: 15


« ตอบ #129 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2009, 12:53:27 PM »

   สงสัยคุณ G99 คงปฏิบัติหน้าที่อย่างหนัก อาจจะไม่มีเวลาเข้ามาตอบคำถามอย่างที่หลายท่านสงสัย Smiley
   ผมเลยคิดเอาเองว่า คุณ G99  นั้น เข้าใจในเรื่องสิทธิของประชาชน เป็นอย่างดี  เพียงแต่สิ่งที่อยากจะสื่อสารและลักษณะการแสดงความคิดเห็น อาจจะทำให้สมาชิกเข้าใจคลาดเคลื่อนไปบ้างหรือเกิดเป็นความสงสัย
   สิ่งที่ท่่านสมาชิกชิกถามคุณ g99 “ เมื่อเป็นผู้ต้องหาแล้ว สิทธิบุคคลทั้งปวงได้หมดสิ้นไป เหลือแต่สิทธิของผู้ต้องหา หรือไม่”
   ในความเห็นของผม
   “ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย” นั้นเป็นเรื่องสำคัญ  ซึ่งมีบัญญัติทั้ง รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550  เพียงแต่ รัฐธรรมนูญ 2550  จะมีเพิ่มเป็นพิเศษในส่วนของการเมือง การชุมนุมต่างๆ  ซึ่งผลของกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น มีผลให้กฎหมายต่างๆรวมทั้งการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต้องปรับเปลี่ยนตามไป  อาทิ ป.วิ.อาญา ที่ต้องออกตาม รัฐธรรมนูญ 2540(ฉบับประชาชน) ในเรื่องของ  การจับ  การค้น  การควบคุมตัวผู้ต้องหา  สิทธิของผู้ต้องหาต่าง ๆ  เป็นต้น
   ซึ่ง “ ในคดีอาญา  ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด  ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำผิดมิได้”
   ผู้ถูกจับ  ผู้ต้องหา  จำเลย   ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ย่อมมีสิทธิเหมือนปวงชนชาวไทยทั่วไป
   แต่เมื่อมี “ ความผิดอาญาเกิดขึ้น”  ซึ่งเกิดความเสียหายต่อชนชาวไทยท่านอื่น และรัฐ  จะต้องมีการดำเนินการกระบวนการยุติธรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้กระผิดได้รับการลงโทษตามกฏหมาย   ในการบวนการยุติธรรมส่วนหนึ่งทำให้สิทธิของชนชาวไทยที่ต้องตกเป็น  ผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา และจำเลย   ต้องเสียสิทธิบางอย่างไป  อาทิ  สิทธิในอิสรภาพ  ที่จะต้องถูกบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเหตุตาม ป.วิ.อาญา ม.66 และ78   ให้ผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา จำเลย  ต้องถูกจับ ถูกควบคุม  โดยมีสาระของเหตุดังกล่าว ประกอบด้วย
1.     เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ
2.   มีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น
3.   ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร  ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี
4.   เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า  ดังบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อาญามาตรา 80
5.   เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถใช้ในการกระทำความผิด
         แต่กฎหมายได้คำนึงถึงสิทธิในการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมของ ผู้ถูกจับ ผู้ต้องหาและจำเลย  ซึ่งยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์  ตั้งแต่ถูกจับกุมตัว  โดยบัญญัติถึงสิทธิต่างของผู้ถูกจับ  และบังคับให้พนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับ ต้องแจ้งแก่ผู้ถูกจับถึงสิทธิ ตาม ป.วิ.อาญา ม.83  อันประกอบด้วย
1.    ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
2.   ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ
3.   ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและไม่เป็นการจัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับหรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด
ซึ่งเมื่อมาถึงที่ทำการพนักงานสอบสวน  กฏหมายยังบังคับให้ดำเนินการแจ้งสิทธิต่างตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 7/1 , 84 

         ดังนั้น  สิทธิของผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา จำเลย  ไม่หมดสิ้นไป ยังคงมีสิทธิที่ชนชาวไทยมีโดยสมบูรณ์เนื่องจากยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด   แต่อาจจะต้องเสียสิทธิในอิสรภาพของตนและอื่นๆ เมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนด  ในระหว่างต่อสู้คดีพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนตามกระบวนยุติธรรม  แต่กฏหมายได้ให้ความคุ้มครอง   ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาให้ได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม  โดยกฏหมายบัญญัติให้เจ้าหน้าที่  มีหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องทราบถึงสิทธิของตนในการต่อสู้คดีตามกระบวนยุติธรรม 
          ผมรู้สึกขอบคุณ คุณ G99 ซึ่งเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่เป็นอย่างมากที่ได้ศึกษากฏหมาย  และได้ทราบถึงสิทธิของผู้ต้องหาดังกล่าว  เชื่อว่าผู้ต้องหาจะได้รัีบการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากคุณ G99 ครับ เยี่ยม
   
   


" ขอบคุณท่านอีกครั้งที่ตอบข้อสงสัยแทนผมให้อย่างละเอียด ชื่่นชมท่านมากครับ ผมหวังว่าท่านที่อ่านคงจะเข้าใจและได้ประโยชน์จากการอธิบายสิทธิผู้ต้องหาที่ท่านตอบกระทู้นี้"  ไหว้
 
ปล. งานไม่หนักเท่าไหรครับ แค่ตั้งด่านตรวจอาวุธ หรือ สิ่งของผิดกฎหมายแทบทุกคืนครับ ทนได้ครับเพื่อสังคมที่ดี  เยี่ยม
บันทึกการเข้า
joedee
ลาวพลัดถิ่น
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 10
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 139



« ตอบ #130 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2009, 01:01:22 AM »

   สงสัยคุณ G99 คงปฏิบัติหน้าที่อย่างหนัก อาจจะไม่มีเวลาเข้ามาตอบคำถามอย่างที่หลายท่านสงสัย Smiley
   ผมเลยคิดเอาเองว่า คุณ G99  นั้น เข้าใจในเรื่องสิทธิของประชาชน เป็นอย่างดี  เพียงแต่สิ่งที่อยากจะสื่อสารและลักษณะการแสดงความคิดเห็น อาจจะทำให้สมาชิกเข้าใจคลาดเคลื่อนไปบ้างหรือเกิดเป็นความสงสัย
   สิ่งที่ท่่านสมาชิกชิกถามคุณ g99 “ เมื่อเป็นผู้ต้องหาแล้ว สิทธิบุคคลทั้งปวงได้หมดสิ้นไป เหลือแต่สิทธิของผู้ต้องหา หรือไม่”
   ในความเห็นของผม
   “ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย” นั้นเป็นเรื่องสำคัญ  ซึ่งมีบัญญัติทั้ง รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550  เพียงแต่ รัฐธรรมนูญ 2550  จะมีเพิ่มเป็นพิเศษในส่วนของการเมือง การชุมนุมต่างๆ  ซึ่งผลของกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น มีผลให้กฎหมายต่างๆรวมทั้งการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต้องปรับเปลี่ยนตามไป  อาทิ ป.วิ.อาญา ที่ต้องออกตาม รัฐธรรมนูญ 2540(ฉบับประชาชน) ในเรื่องของ  การจับ  การค้น  การควบคุมตัวผู้ต้องหา  สิทธิของผู้ต้องหาต่าง ๆ  เป็นต้น
   ซึ่ง “ ในคดีอาญา  ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด  ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำผิดมิได้”
   ผู้ถูกจับ  ผู้ต้องหา  จำเลย   ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ย่อมมีสิทธิเหมือนปวงชนชาวไทยทั่วไป
   แต่เมื่อมี “ ความผิดอาญาเกิดขึ้น”  ซึ่งเกิดความเสียหายต่อชนชาวไทยท่านอื่น และรัฐ  จะต้องมีการดำเนินการกระบวนการยุติธรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้กระผิดได้รับการลงโทษตามกฏหมาย   ในการบวนการยุติธรรมส่วนหนึ่งทำให้สิทธิของชนชาวไทยที่ต้องตกเป็น  ผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา และจำเลย   ต้องเสียสิทธิบางอย่างไป  อาทิ  สิทธิในอิสรภาพ  ที่จะต้องถูกบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเหตุตาม ป.วิ.อาญา ม.66 และ78   ให้ผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา จำเลย  ต้องถูกจับ ถูกควบคุม  โดยมีสาระของเหตุดังกล่าว ประกอบด้วย
1.     เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ
2.   มีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น
3.   ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร  ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี
4.   เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า  ดังบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อาญามาตรา 80
5.   เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถใช้ในการกระทำความผิด
         แต่กฎหมายได้คำนึงถึงสิทธิในการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมของ ผู้ถูกจับ ผู้ต้องหาและจำเลย  ซึ่งยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์  ตั้งแต่ถูกจับกุมตัว  โดยบัญญัติถึงสิทธิต่างของผู้ถูกจับ  และบังคับให้พนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับ ต้องแจ้งแก่ผู้ถูกจับถึงสิทธิ ตาม ป.วิ.อาญา ม.83  อันประกอบด้วย
1.    ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
2.   ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ
3.   ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและไม่เป็นการจัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับหรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด
ซึ่งเมื่อมาถึงที่ทำการพนักงานสอบสวน  กฏหมายยังบังคับให้ดำเนินการแจ้งสิทธิต่างตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 7/1 , 84 

         ดังนั้น  สิทธิของผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา จำเลย  ไม่หมดสิ้นไป ยังคงมีสิทธิที่ชนชาวไทยมีโดยสมบูรณ์เนื่องจากยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด   แต่อาจจะต้องเสียสิทธิในอิสรภาพของตนและอื่นๆ เมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนด  ในระหว่างต่อสู้คดีพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนตามกระบวนยุติธรรม  แต่กฏหมายได้ให้ความคุ้มครอง   ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาให้ได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม  โดยกฏหมายบัญญัติให้เจ้าหน้าที่  มีหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องทราบถึงสิทธิของตนในการต่อสู้คดีตามกระบวนยุติธรรม 
          ผมรู้สึกขอบคุณ คุณ G99 ซึ่งเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่เป็นอย่างมากที่ได้ศึกษากฏหมาย  และได้ทราบถึงสิทธิของผู้ต้องหาดังกล่าว  เชื่อว่าผู้ต้องหาจะได้รัีบการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากคุณ G99 ครับ เยี่ยม
   
   


" ขอบคุณท่านอีกครั้งที่ตอบข้อสงสัยแทนผมให้อย่างละเอียด ชื่่นชมท่านมากครับ ผมหวังว่าท่านที่อ่านคงจะเข้าใจและได้ประโยชน์จากการอธิบายสิทธิผู้ต้องหาที่ท่านตอบกระทู้นี้"  ไหว้
 
ปล. งานไม่หนักเท่าไหรครับ แค่ตั้งด่านตรวจอาวุธ หรือ สิ่งของผิดกฎหมายแทบทุกคืนครับ ทนได้ครับเพื่อสังคมที่ดี  เยี่ยม


ถ้าผมผ่านไปทางที่ท่านตั้งด่าน อย่าจับผมนะครับ  กรุณาผมด้วย เพราะผม พก ปืน  2 กระบอก ครับ  กระบอก แรก ปืนสั่น .45 ครับ  อีก กระบอก  ปืนยาวครับ   5.56 ครับ  ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า
k_attapon
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 93



« ตอบ #131 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2009, 02:35:07 PM »

เห็นด้วยกับ ความเห็น พี่สิงห์กลิ้ง ครับ  แต่เจ้าหน้าที่จะรับฟังซักกี่คนหนอ ฮึ่มๆๆๆๆๆๆๆๆๆฮือๆๆๆๆๆๆๆ สรุปต้องระวังกันเองเน้อ
บันทึกการเข้า
atom dad
Jr. Member
**

คะแนน 2
ออฟไลน์

กระทู้: 35


« ตอบ #132 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2009, 03:16:25 PM »

เข้ามาหาความรู้ครับ ขอบคุณทุกท่านที่แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์
บันทึกการเข้า
dmesg
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 70


« ตอบ #133 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2009, 12:20:26 AM »

   สงสัยคุณ G99 คงปฏิบัติหน้าที่อย่างหนัก อาจจะไม่มีเวลาเข้ามาตอบคำถามอย่างที่หลายท่านสงสัย Smiley
   ผมเลยคิดเอาเองว่า คุณ G99  นั้น เข้าใจในเรื่องสิทธิของประชาชน เป็นอย่างดี  เพียงแต่สิ่งที่อยากจะสื่อสารและลักษณะการแสดงความคิดเห็น อาจจะทำให้สมาชิกเข้าใจคลาดเคลื่อนไปบ้างหรือเกิดเป็นความสงสัย
   สิ่งที่ท่่านสมาชิกชิกถามคุณ g99 “ เมื่อเป็นผู้ต้องหาแล้ว สิทธิบุคคลทั้งปวงได้หมดสิ้นไป เหลือแต่สิทธิของผู้ต้องหา หรือไม่”
   ในความเห็นของผม
   “ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย” นั้นเป็นเรื่องสำคัญ  ซึ่งมีบัญญัติทั้ง รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550  เพียงแต่ รัฐธรรมนูญ 2550  จะมีเพิ่มเป็นพิเศษในส่วนของการเมือง การชุมนุมต่างๆ  ซึ่งผลของกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น มีผลให้กฎหมายต่างๆรวมทั้งการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต้องปรับเปลี่ยนตามไป  อาทิ ป.วิ.อาญา ที่ต้องออกตาม รัฐธรรมนูญ 2540(ฉบับประชาชน) ในเรื่องของ  การจับ  การค้น  การควบคุมตัวผู้ต้องหา  สิทธิของผู้ต้องหาต่าง ๆ  เป็นต้น
   ซึ่ง “ ในคดีอาญา  ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด  ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำผิดมิได้”
   ผู้ถูกจับ  ผู้ต้องหา  จำเลย   ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ย่อมมีสิทธิเหมือนปวงชนชาวไทยทั่วไป
   แต่เมื่อมี “ ความผิดอาญาเกิดขึ้น”  ซึ่งเกิดความเสียหายต่อชนชาวไทยท่านอื่น และรัฐ  จะต้องมีการดำเนินการกระบวนการยุติธรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้กระผิดได้รับการลงโทษตามกฏหมาย   ในการบวนการยุติธรรมส่วนหนึ่งทำให้สิทธิของชนชาวไทยที่ต้องตกเป็น  ผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา และจำเลย   ต้องเสียสิทธิบางอย่างไป  อาทิ  สิทธิในอิสรภาพ  ที่จะต้องถูกบังคับโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเหตุตาม ป.วิ.อาญา ม.66 และ78   ให้ผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา จำเลย  ต้องถูกจับ ถูกควบคุม  โดยมีสาระของเหตุดังกล่าว ประกอบด้วย
1.     เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ
2.   มีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น
3.   ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร  ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี
4.   เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า  ดังบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อาญามาตรา 80
5.   เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถใช้ในการกระทำความผิด
         แต่กฎหมายได้คำนึงถึงสิทธิในการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมของ ผู้ถูกจับ ผู้ต้องหาและจำเลย  ซึ่งยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์  ตั้งแต่ถูกจับกุมตัว  โดยบัญญัติถึงสิทธิต่างของผู้ถูกจับ  และบังคับให้พนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับ ต้องแจ้งแก่ผู้ถูกจับถึงสิทธิ ตาม ป.วิ.อาญา ม.83  อันประกอบด้วย
1.    ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
2.   ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ
3.   ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและไม่เป็นการจัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับหรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด
ซึ่งเมื่อมาถึงที่ทำการพนักงานสอบสวน  กฏหมายยังบังคับให้ดำเนินการแจ้งสิทธิต่างตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 7/1 , 84 

         ดังนั้น  สิทธิของผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา จำเลย  ไม่หมดสิ้นไป ยังคงมีสิทธิที่ชนชาวไทยมีโดยสมบูรณ์เนื่องจากยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด   แต่อาจจะต้องเสียสิทธิในอิสรภาพของตนและอื่นๆ เมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนด  ในระหว่างต่อสู้คดีพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนตามกระบวนยุติธรรม  แต่กฏหมายได้ให้ความคุ้มครอง   ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาให้ได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม  โดยกฏหมายบัญญัติให้เจ้าหน้าที่  มีหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องทราบถึงสิทธิของตนในการต่อสู้คดีตามกระบวนยุติธรรม 
          ผมรู้สึกขอบคุณ คุณ G99 ซึ่งเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่เป็นอย่างมากที่ได้ศึกษากฏหมาย  และได้ทราบถึงสิทธิของผู้ต้องหาดังกล่าว  เชื่อว่าผู้ต้องหาจะได้รัีบการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากคุณ G99 ครับ เยี่ยม
   
   

อ่านความเห็นของท่านมาตลอด รู้สึกประทับใจมากๆครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 8 [9]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.105 วินาที กับ 22 คำสั่ง