มาแล้ว..ว....ครับ.....
แต่ละข้อที่ตั้งมาน่าจะเป็นตามที่พี่สิทธาเข้าใจทั้งหมดครับ... แต่ไอ้เกลียวทองเหลืองที่ไหลออกมานี่ ผมไม่ทราบจริงๆครับ.. 3 ใบแรก ก็ไม่เห็นครับ..ใครรู้ช่วยที...
ไอ้สีขาวๆ เป็นตัวรองตอนใส่เกจ์วัดแรงดันครับ.. เข้าใจถูกต้องแล้วครับ.. แต่ถ้าเราไม่เปลี่ยนเกจ์ ก็ไม่ต้องใช้ครับ..
ผมเอามือบิดเอาทั้งหมดครับ แม้แต่วาล์วจูบิลี่ที่หัวถัง ผมก็ใช้มือหมุนครับ.. มีที่เกจ์อย่างเดียวครับที่ใช้ประแจปากตายขันเข้าไป 1 รอบ ครับ..เพราะใช้มือหมุนเกจ์ไม่ได้ครับ เค้าว่ามันจะพัง..555
ส่วนอื่นๆ ผมเอามือบิดถ้าเปิดลมแล้วรั่ว ก็เอาประแจช่วยขันแค่พอที่จะกันไม่ให้ลมรั่วครับ..
แต่ที่เคยคุยกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านถังดำน้ำ วาล์วหัวถังควรขันให้แนน่ปึก ผิดถูกช่วยแนะนำด้วยครับ
ครั้งแรกยังเคยคิดว่า พ่อเลี้ยงจะเอาอะไรมาขันวาล์วหัวถังว่ะ
บางอ้อ... มือนี่เอง
นายช่างครับ สิ่งที่เกลียวถังแรงดันสูงไม่เหมือนกับเกลียวอุปกรณ์ทั่วไปคือ
เมื่อมันมีแรงดันอัดอยู่ มันจะล๊อกตัวของมันเองเอาประแจไปหมุนก็หมุนไม่ได้
นี่คือข้อแตกต่างจากเกลียวรถยนต์ซึ่งถ้าเราไม่อัดทอร์คไว้ วิ่งไปวิ่งมาก็คลายหลุดหายได้
ผมไม่มีความรู้เรื่องโลหะที่นำมาทำถังดำน้ำครับ ก็กลัวว่าพอใช้ประแจขัน
(คิดว่าขันได้แต่ต้องไม่เกินแรงบิดตามค่าที่กำหนดนะ) ถ้าเราขันแรงเกินไป
โลหะจะปริแตกโดยมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ซึ่งมันน่ากลัวมากตอนใส่แรงดันสูงเข้าไป
เมื่อก่อนที่สระรุจิวงศ์ เขาเรียนดำน้ำกัน ผมก็เห็นว่าเขาหมุนหัววาวล์เข้ากับถังจนสุดแล้วก็ปั๊มลมเข้าไป
ก็ไม่ทันได้สนใจว่าใช้ประแจอัดซ้ำหรือเปล่า เพราะตอนนั้นก็ไม่เคยมีอุปกรณ์ดำน้ำเลย
รอคำตอบที่แน่นอนครับว่าว่าใช้ประแจ หรือ ไม่ใช้ประแจ
ถ้าเกิดต้องใช้ประแจจะต้องใช้แรงแค่ไหน ผมว่างานนี้ต้องมีประแจทอร์คเข้ามาด้วย
ประแจตัวนี้ราคาประมาณ 20000 บาท ครับ เพราะว่าแต่ละคน
มีแรงแม้วไม่เหมือนกัน คนผอมแห้งแรงน้อยไม่เท่าไหร่
กลัวคนที่แรงแม้วเยอะครับ อัดเกลียวจนปริ พอเอาไปอัดลมระเบิดเลย
ตอนนี้ยังไม่สรุปนะครับ ช่วยกันหาข้อมูลด้วยครับ
คุณหมาน คุณหมายครูสอนดำน้ำ น่าจะเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดในตอนนี้ครับ