โอริงตัวปรับความแรงของผมไปซะแล้วครับ
รบกวนแจ้งด้วยครับว่าเป็นไงมาไงถึงเป็นเช่นนี้ได้ แล้วอาการเป็นยังไงครับ::014::
วิเคราะห์แบบ มาววว ยาดองครับ ก็โอริงมันรับแรงดันลมไม่ได้ครับ แล้วก็ปรับไปปรับมา(1-5) บอกแล้วว่า น้องสุดสวย มันชอบแบบนุ่มๆครับ
ผมคิดแบบไม่เมายาดองและไม่มีหลักวิชาการ คิดว่าถ้าปรับความแรงตอนที่ขึ้นลำแล้วน่าจะมีผลกับโอลิงครับหากจะปรับความแรงต้องปรับให้เรียบร้อยก่อนขึ้นลำครับ
แสดงว่าควรปรับแรงดันให้เรียบร้อย จากนั้นค่อยขึ้นลำ..เออ....น่าจะจริง...จะนำไปปฏิบัติดูครับ...
ตอนผมทำงานกับรถแทรกเตอร์ ซึ่งในระบบการทำงานมันจะมีระบบไฮดรอลิกที่ต้องส่งน้ำมันแรงดันสูง สูงแค่ไหน ก็สูงประมาณ
แรงอัดลมที่เราใช้อยู่นี้หละครับ เพียงแต่ไฮดรอลิกไม่มีการยุบตัวได้เหมือนอากาศ มันจึงตอบสนองกลไกงานหนักได้ดีกว่าลม
เรื่องของเรื่องก็มีลูกค้าหัวใส เอาซีลกันแรงอัดรั่วไปเทียบหาซื้อตามร้านอะไหล่รถยนต์ หาจนเจอมิติขนาดเท่ากันเป๊ะ ๆ
พี่แกซื้อมาหลายสิบตัว เพราะตัวละ 5 บาทเอง แต่ถ้าซื้อของระบบซีลโอริงกันรั่วจะมีราคาแพงมาก ตัวที่ว่าราคา
ราว 150 บาท ผลก็คือประกอบปุ๊บติดเครื่องเดินน้ำมันรั่วทันที สภาพซีลเปื่อยยุ่ยเลยครับ ไม่ใช่ซีลหมดอายุนะ
แต่แรงอัดสูงของน้ำมันดันเนื้อซีลยุ่ยจนหมดสภาพในทันที ลูกค้าแกะเข้าออกหลายครั้งจนอดรนทนไม่ไหว
จึงมาปรึกษา ก็เลยได้รับคำชี้แจงไปว่า ซีลรับแรงอัดสูงกับซีลกันรั่วทั่วไป เนื้อวัสดุคนละอย่างกันมันเหนี่ยวแน่นต่างกันมาก
ดูด้วยตาแทบไม่รู้ แต่ที่สังเกตุได้คือตัวรับแรงอัดสูงผิวจะเป็นมันวาว แข็งกว่า
สำหรับเรื่องแรงดันลมคงไม่ต่างกัน
ผมเดาเอาว่าระบบลดแรงดันลม กับ ระบบจ่ายลม มันแยกอิสระจากกัน ดังนั้นขึ้นลำแล้วจะปรับหมุนอย่างไรก็ได้
เรื่องมันน่าจะเป็นอย่างนี้
ด้วยช่องว่างระหว่างแกนเพลากับเสื้อแกนทำให้มีลมบางส่วน
อั้นและพยายามรีดตัวออกมาตามช่องว่าง เมื่อแรงดันสูงมาเจอซีลเป็นตัวขวางจึงบาดซีลให้ฉีกขาดได้
ที่นี้การยิงปืนมี 2 แบบ คือ 1 แบบยิงระดับ 5 กับ 2 ยิงแบบระดับต่ำกว่า 5 ลงมา
1. ถ้าปรับปุ่มไปที่ระดับ 5 ทำให้แรงอัดลมผ่านรูบนแกนปรับได้แบบเต็มที่ แรงอัดลมมีน้อยเพราะระบายไปทาง
ลำกล้องปืนได้สะดวก แต่ยังไงก็ตามก็ยังมีแรงอัดสูงหลังกระสุนที่กำลังวิ่งในลำกล้องพยายามดันตัวออกทาง
ซีลเพลา
2. ถ้าปรับปุ่มลดระดับแรงลมต่ำลงมาตามลำดับ จะทำให้เกิดแรงอั้นหลังเพลา และเป็นการลดแรงดันหลังกระสุน
ระหว่างวิ่งในลำกล้องลง เหมือนเปิดก๊อกน้ำไม่เต็มที่ยังไงยังงั้นเลย ที่นี้แรงดันหลังก๊อกจะมีสูงกว่าแบบที่ 1
ทำให้มีแรงอัดลมที่พยายามดันออกทางซีลสูงกว่า
ดังนั้นการยิงแบบที่ 2 ซีลน่าจะฉีกขาดได้มากกว่าการยิงแบบที่ 1
อย่างไรก็ตามผมก็ยังยืนยันที่จะยิงระดับ 2 ต่อไป เพราะซีลตรงนี้เป็นเรื่องเล็กครับ
อ้อช่วยให้ข้อมูลด้วยครับว่า ยิงไปกี่นัดแล้วครับ ซีลถึงฉีกขาด เพื่อนสมาชิกจะได้เตรียมตัวทัน
ยังไงคุณ komatsu ก็เตรียมสั่งอะไหล่เข้ามาได้เลย ผมว่าเหล่า s410 เมื่อเห็นข้อมูลตรงนี้
คงพร้อมใจกันรับของจ่ายเงินแล้วหละครับ
ตอนนี้ผมกำลังคิดว่าซีลที่เขาใช้ป้องกันรั่ว มันเป็นซีลธรรมดาก็ใช้ได้ หรือว่าต้องเป็นซีลแรงอัดสูง
ยังไงคุณ komatsu ลองเทียบซีลอะไหล่ระบบไฮดรอลิกมาใช้ก็ได้ ผมว่าน่าจะมีอายุการใช้งานนานลืมกว่าครับ
ผมเองก็ชอบยิงระดับ 2 เพราะมันเสียงเบาดีไม่รบกวนชาวบ้าน
ตอนยิงก็นึกอยู่เหมือนกันว่าจะมีแรงลมมาบาดซีลที่ปุ่มปรับหรือเปล่า แต่ก็คิดในแง่ดีกว่าโรงงานเขา
ทำวิจัยมาดีแล้วคงไม่เป็นไร
แต่พอเห็นเพื่อนสมาชิกโพสก็รู้ว่ามันเป็นแบบที่ระแวงจริง ๆ ตรงนี้ไม่เป็นปัญหาใหญ่ครับ ใครชอบยิงระดับต่ำ
ก็ซื้อซีลสำรองไว้หลาย ๆ ตัว ก็แล้วกัน อย่าไปคิดว่าเป็นปืนไม่ดี นั้นไงได้อย่างเสียอย่างอีกแล้ว
ผมถึงบอกว่ามันได้ดีที่ปรับแรงดันลมได้ แต่ก็นึกไม่ออกว่ามันจะเสียอะไร ตอนนี้ก็เห็นข้อเสียแล้วครับ