ในการใช้งานเกือบร้อยเปอร์เซน เกลียวจะล้มตอนหมุนเข้า
เปอร์เซนต์ที่เหลือจะล้มตอนหมุนออกซึ่งมีเงื่อนไขร่วมคือยังมีลมเต็มหลอด
เหตการณ์น่าจะเป็นลำดับอย่างนี้ (ผมเดาล้วนๆครับ)
1. เอาหลอดไปเติมลมเต็ม
2. เอาหลอดไปหมุนเข้าปืน
3. หมุนได้ 4 รอบ เดือยปืนยันเปิดวาวล์ที่หลอดลม (ตรงนี้เป็นเหตุผลว่าทำไมต้องตะไบเดือยให้สั้นลง)
4. แรงดันลมออกจากหลอด เกิดแรงดันถ่างตัวที่เกลียวโครงปืนกับเกลียวหลอดลม
5. ด้วยเกลียวเพิ่งหมุนเข้าได้ 4 รอบทำให้รับแรงได้ไม่ดีจึงเกิดการเอียงตัวหนีแรงดันถ่าง
จากข้อ 3 ถ้าตะไบเดือยให้สั้นลง จะทำให้หมุนเกลียวเข้าไปได้มากกว่าเดิม
และเมื่อแรงดันลมออกมา จำนวนเกลียวที่หมุนได้มากกว่าจะช่วยกันรับแรงได้ดีขึ้น
ในทำนองเดียวกันใช้ปืนไปจนแรงดันเหลือน้อย แล้วหมุนหลอดลมออกจะมีแรงดันถ่างตัวน้อยกว่า
ตอนหมุนเข้าซึ่งหลอดลมมีแรงอัดเต็มที่
ปัญหานี้ไม่เกิดกับ steyr ครับ steyrทำมาได้ดีมาก เวลาถอดท่อลมเข้าหรือออก หรือตอนถอดออกจากถังอากาศ300บาร์หลังจากเติมลมเต็ม200บาร์ก็ตาม แทบจะไม่มีแรงกดดันจากอากาศเลย หรือมีก็น้อยมากจนไม่รู้สึก เปรียบเทียบกับตัวปล่อยลมของโย้ก(ใช้กับถัง200บาร์) เวลาจะปล่อยลมทิ้งยังมีแรงต้านกระทำกับเกลียวจนรู้สึกคลายน๊อตปล่อยลมลำบาก
cz200s(s200) ก็ทำมาดีครับ
ผมไม่แน่ใจว่า ของสไตเออร์ หรือ ไฟแบกบาว จำไม่ค่อยได้ครับ
ช่วงการเติมลมเข้ากระบอกจะมีขั้นตอนแบบนี้ครับ
1. ถอดกระบอกออกจากปืน
2. นำมาหมุนเข้าที่อะแดปเตอร์ที่ต่อจากโยกบนถังดำน้ำ
3. ปล่อยลมจากถังดำน้ำ แรงอัดจะดันวาวล์ท่ออัดลมให้เปิดและเข้าไปในท่ออัดลมได้โดยไม่ต้องมีเดือยยันวาวล์
4. แรงดันเต็มหลอดแล้วก็ปิดวาวล์ถังดำน้ำ
5. หมุนวาวล์ระบายแรงดันตรงอะแดปเตอร์
6. เมื่อแรงดันในอะแดปเตอร์ลดลงก็สามารถหมุนท่ออัดลมออกได้โดยไม่มีแรงดันที่เกลียว
จากนั้นนำหลอดลมมาหมุนเข้าที่โครงปืน ซึ่งที่โครงปืนจะมีเดือยดันวาวล์
ซึ่งจะทำการยันวาวล์ตอนหมุนหลอดลมเข้าเหลืออีกไม่กี่เกลียว จึงทำให้รู้สึกว่าไม่กินแรง
และเกลียวทนทานกว่า
จากการเติมลมแบบนี้ ก็ยังแพ้การเติมลมแบบควิกฟิลด์ซึ่งสะดวกกว่าและไม่มีการสึกหรอ
แต่ก็อย่างว่าได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง การเติมลมแบบควิกฟิลด์ได้ความสะดวกและไม่มีการสึกหรอ
แต่ก็ต้องพกถังดำน้ำ ส่วนการเติมลมแบบเปลี่ยนหลอดก็แค่พกหลอดสำรองไปอีก 1 หลอด
สะดวกกว่าพกถังดำน้ำครับ