ง่า เราไม่มีโพลิเมอร์ ว่าแต่ตัวทำละลายที่มีขั้ว กับไม่มีขั้ว มันคืออะไรอ่ะก้อน....
ก้อนคงพูดถึงการแลกเปลี่ยนelectronมั้งครับพี่ซับ
โห.....จะบอกยังไงดีหว่า......
เอาเป็นว่า ลองนึกภาพน้ำกับน้ำมันครับ
น้ำ ละลายน้ำมันไม่ได้ แยกกัน ไม่ละลายรวมกัน มันจะประมาณนั้น
ตัวทำละลาย (solvent) ในโลก จะแบ่งหลักๆเป็นสองประเภท คือตัวทำละลายมีขั้ว กับตัวทำละลายไม่มีขั้ว
ผมคงไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆกันทุกคน เพราะอาจจะต้องลากไปถึงความเข้าใจในเรื่องพันธะเคมี เรื่องของประจุ
ซึ่งคนที่เคยเรียนเคมีมา จะถูกปูพื้นมาตั้งแต่ต้น น่าจะตั้งแต่ ม.ปลาย แล้วก็เป็นวิชาพื้นฐานตอนเรียนปริญญาตรี แล้วก็ลงลึกไปอีก เมื่อเรียนวิชาเฉพาะ
ผมห่างการเรียนมาเกือบสิบปีแล้ว แล้วก็ทำงานสายอุตสาหกรรม ไม่ได้เป็นอาจารย์ หรือนักวิจัย ไม่รู้จะอธิบายยังไงอ่ะพี่
แต่ถ้าลองไปถามพวกเด็กปี 4 ภาคผม ก็ไม่แน่ว่ามันจะอธิบายให้เข้าใจได้เหมือนกัน แต่รู้ว่าเป็นยังไง
แต่เอาเป็นว่า น้ำ คือตัวทำละลายที่มีขั้ว เอาไว้ละลายพวกสารประกอบที่มีประจุ หรือยึดติดกันด้วยขั้วบวก และลบ เช่นพวกเกลือ ต่างๆ (อย่าถามว่าเกลือมีประจุยังไง เพราะจะลากมาอีกยาวมาก และเกลือในโลก ไม่ได้มีแต่เกลือแกง หลายอย่างเป็นเกลือ แต่คนทั่วไปไม่คิดว่ามันคือเกลือ เพราะความหมายของเกลือทางเคมี หมายถึงสารประกอบ ที่รวมกันโดยวิธีๆนึง.....มั๊ง)
แต่สารประกอบอินทรีย์ คือไอ้ตัวที่มีคาร์บอนประกอบ มันจะยึดกันอีกแบบ และไม่แตกตัวเป็นประจุ น้ำซึ่งอาศัยการแตกตัวเป็นประจุ ในการทำละลาย จึงละลายมันไม่ได้ เลยต้องใช้สารละลายที่ไม่มีขั้ว คือพวกสารละลายอินทรีย์เหมือนกัน มาทำละลาย
งงเองอ่ะ เอาเป็นว่าประมาณนี้อ่ะพี่ ถ้ายังไม่หายข้องใจ หรืออยากรู้จริงๆ บอกมา จะลองค้นตำราเก่าๆมาให้อ่าน แต่ไม่แน่ใจว่าเก็บไว้หรือเปล่า เพราะเรื่องพวกนี้เป็นพื้นฐานอ่ะ
ที่เก็บจริงๆ คือเรื่องที่เอามาทำมาหากินอยู่ตอนนี้อ่ะพี่