เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 09, 2024, 01:26:21 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รบกวนเรื่องมรดกครับ  (อ่าน 5594 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sharker
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 9
ออฟไลน์

กระทู้: 118


« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2009, 11:40:35 AM »

คือ คุณแม่ผมตอนนี้ท่านเป็นแบบเดียวกับศรีหนุ่ม เชิญยิ้มนะครับ และมีลูกชาย 2คน คือผมกับพี่ โดยที่ท่านยังไม่ได้ทำพินัยกรรรมเลย(เป็นกระทันหัน) ผมเลยเรียนปรึกษาพี่ ๆ ครับ
ว่า  จะทำพินัยกรรมตอนนี้ได้มั๊ย มีวิธียังไง และต้องมีผู้จัดการมรดกมั๊ยครับ ถ้ามีมีร่วมพี่น้องหรือต้องคนเดียว เรื่องมรดกไม่มีปัญหาคุยกันเข้าใจว่ามีสิทธิ์คนละครึ่ง ตามมูลค่า
และมีแง่มุม อื่นๆ ที่ต้องพิจารณา หรือต้องทำอะไรอีกม๊ย ครับ รบกวนด้วยครับ
บันทึกการเข้า
นายรัก-รักในหลวง-
เลือด สี น้ำ เงิน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 203
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1646


จงภูมิใจในความเป็นตัวของตัวเอง


« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2009, 12:03:17 PM »

เข้ามาหาความรู้ด้วยคนครับ รอผู้รู้มาตอบ  ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า

"สี่คนหาม สามคนแห่ หนึ่งคนนั่งแคร่ สองคนพาไป"
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2009, 01:07:15 PM »

พินัยกรรม คือ การแสดงเจตนาเป็นคำสั่งครั้งสุดท้ายตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้
ซึ่งในพินัยกรรมนั้น ได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือ กิจการต่าง ๆของผู้ทำพินัยกรรม เพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมายในเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย

การทำพินัยกรรมจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ที่จะทำพินัยกรรม จะให้บุคคลอื่นจะทำพินัยกรรมแทนไม่ได้ครับ
นอกจากนั้น การทำพินัยกรรมเป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง ผู้ทำพินัยกรรมจึงต้องมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนในขณะทำพินัยกรรมด้วยครับ

ถ้าคุณแม่อยู่ในสภาพไม่รู้สึกตัวเสียแล้ว จึงไม่อาจทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์ของคุณแม่ได้เลยครับ
 และคงต้องรอให้ท่านกลับมามีสติสัมปชัญญะครบถ้วน จนสามารถทำพินัยกรรมได้เท่านั้นครับ

ปล. ยังไงขอให้ท่านหายป่วยไวๆครับ ส่วนเรื่องผู้จัดการมรดกหรือการแบ่งทรัพย์ผมว่าอย่างเพิ่งคิดเลยครับ ไหว้
บันทึกการเข้า
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2009, 01:13:32 PM »

พินัยกรรม คือ การแสดงเจตนาเป็นคำสั่งครั้งสุดท้ายตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้
ซึ่งในพินัยกรรมนั้น ได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือ กิจการต่าง ๆของผู้ทำพินัยกรรม เพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมายในเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย

การทำพินัยกรรมจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ที่จะทำพินัยกรรม จะให้บุคคลอื่นจะทำพินัยกรรมแทนไม่ได้ครับ
นอกจากนั้น การทำพินัยกรรมเป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง ผู้ทำพินัยกรรมจึงต้องมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนในขณะทำพินัยกรรมด้วยครับ

ถ้าคุณแม่อยู่ในสภาพไม่รู้สึกตัวเสียแล้ว จึงไม่อาจทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์ของคุณแม่ได้เลยครับ
 และคงต้องรอให้ท่านกลับมามีสติสัมปชัญญะครบถ้วน จนสามารถทำพินัยกรรมได้เท่านั้นครับ

ปล. ยังไงขอให้ท่านหายป่วยไวๆครับ ส่วนเรื่องผู้จัดการมรดกหรือการแบ่งทรัพย์ผมว่าอย่างเพิ่งคิดเลยครับ ไหว้
เคยเจอบางกรณี หลับๆรู้ๆ หากมีหนังสือรับรองจากหมอก็ได้ใช่มั้ยครับ
บันทึกการเข้า

SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2009, 03:23:19 PM »

เคยเจอบางกรณี หลับๆรู้ๆ หากมีหนังสือรับรองจากหมอก็ได้ใช่มั้ยครับ


ในกรณีที่ผู้จะทำพินัยกรรมป่วย มีอาการรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง
การมีหนังสือรับรองจากแพทย์ ในกรณีนี้ น่าจะเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งในการพิสูจน์ว่า
ผู้ทำพินัยกรรม มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนในขณะที่ทำพินัยกรรมหรือไม่ อย่างไร
และพินัยกรรมที่ผู้ป่วยทำขึ้นนั้น มีผลบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ มากกว่านะครับ

ดังนั้นจึงต้องดูความเห็นของแพทย์ว่า ในขณะที่ทำพินัยกรรม ผู้ทำมีสติรู้เรื่องหรือไม่
ถ้าแพทย์ลงความเห็นว่า ขณะทำพินัยกรรมมีสติครบ รู้เรื่องเป็นอย่างดี พินัยกรรมดังกล่าวก็อาจมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แต่ถ้าถ้าแพทย์ลงความเห็นว่า ขณะทำพินัยกรรม ผู้ทำไม่มีสติครบ รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง พินัยกรรมดังกล่าวก็ถือว่าไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาฎีกาที่  ๕๙๗๒ - ๕๙๗๓/๒๕๓๘ คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า พินัยกรรม มีผลใช้บังคับหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า  ในช่วงเวลาที่โจทก์อ้างว่านางเล็กทำพินัยกรรมนั้น นางเล็กมีอาการป่วยเจ็บด้วยอาการโรคสมองเสื่อมเนื่องจากชราภาพ มีความจำเลอะเลือน แขนข้างซ้ายไม่มีแรง ก่อนหน้านั้นเมื่อปี ๒๕๓๐ นางเล็กเริ่มมีสุขภาพอ่อนแอ ป่วยเจ็บแขนซ้ายไม่มีแรง ต้องคอยนวดอยู่เสมอ ความจำเลอะเลือน บางครั้งนางเล็กรับประทานอาหารแล้วแต่นางเล็กก็บอกว่ายังไม่ได้รับประทาน จะให้พยานหาอาหารให้รับประทานอีก
         นอกจากนี้ ยังมีนายแพทย์กีรติ เล็กสกุลชัย แพทย์ประจำ โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนผู้ทำการตรวจรักษานางเล็กผู้ตาย เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๑ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่อ้างว่า นางเล็กทำพินัยกรรม ประมาณ ๒ เดือน เบิกความประกอบหนังสือรับรองว่า คนไข้รายนี้มีอาการสมองเสื่อม ซึ่งหมายความว่าเซลล์สมองตายไปสมองส่วนที่เหลือมีจำนวนน้อย สติความรับรู้จึงมีน้อยกว่าปกติอาการของผู้ป่วยที่แขนด้านซ้ายไม่มีแรงตรวจพบว่ามีอาการสมองเสื่อมอยู่ด้วย จากการตรวจเมื่อปี ๒๕๓๑ พบว่ามีอาการสมองเสื่อม สมองขาดเลือดไปเลี้ยง อาการสมองเสื่อมเช่นนี้เป็นมานานเป็นเดือนหรือเป็นปี เห็นว่า นายแพทย์กีรติพยานจำเลยปากนี้ไม่มีส่วนได้เสียกับคู่ความฝ่ายใด ทราบข้อเท็จจริงโดยการตรวจรักษาและการเอกซ์เรย์สมองของผู้ป่วย และได้เบิกความไปตามหลักวิชาทางการแพทย์ มิใช่เป็นการคาดคะเนเอา คำเบิกความจึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้
           ที่โจทก์นำสืบว่าขณะทำพินัยกรรมนางเล็กเจ้ามรดกลงลายพิมพ์นิ้วมือลงในพินัยกรรมขณะที่มีสติสัมปชัญญะดีอยู่นั้น เห็นว่าโจทก์มีพยานที่รู้เห็นขณะที่นางเล็กทำพินัยกรรมก็ตาม แต่บุคคลทั้งสองล้วนแต่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องมีส่วนได้เสียกับโจทก์หรือมีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวกับทรัพย์มรดก
           จากพยานหลักฐานที่นำสืบมา ศาลฎีกาเห็นว่าข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน จึงเชื่อวาในขณะทำพินัยกรรม นางเล็กเจ้ามรดก ไม่มีมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์และน่าจะไม่ทราบข้อความในพินัยกรรมในขณะทำพินัยกรรม  พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย
บันทึกการเข้า
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2009, 03:32:28 PM »

ขอบคุณครับ แล้วอย่างนี้ หมอที่ให้การเป็นพยาน มีความผิดมั้ยครับ เยี่ยม
บันทึกการเข้า

salin - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1327
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2694



« ตอบ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2009, 03:35:15 PM »

ไม่ทราบข้อเท็จจริงของคุณแม่ ว่าท่านมีสภาพจนไม่สามารถจะจัดการทำงานได้ด้วยตนเองหรือไม่
หากไม่สามารถก็ไม่สามารถทำพินัยกรรมได้
น่าจะต้องเป็นการร้องต่อศาลให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และแต่งตั้งผู้พิทักษ์ ตามมาตรา ๓๒ ของ ป.พ.พ. ครับ
บันทึกการเข้า
pokka
Full Member
***

คะแนน 7
ออฟไลน์

กระทู้: 107



« ตอบ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2009, 03:45:08 PM »

เคยเจอบางกรณี หลับๆรู้ๆ หากมีหนังสือรับรองจากหมอก็ได้ใช่มั้ยครับ


ในกรณีที่ผู้จะทำพินัยกรรมป่วย มีอาการรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง
การมีหนังสือรับรองจากแพทย์ ในกรณีนี้ น่าจะเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งในการพิสูจน์ว่า
ผู้ทำพินัยกรรม มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนในขณะที่ทำพินัยกรรมหรือไม่ อย่างไร
และพินัยกรรมที่ผู้ป่วยทำขึ้นนั้น มีผลบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ มากกว่านะครับ

ดังนั้นจึงต้องดูความเห็นของแพทย์ว่า ในขณะที่ทำพินัยกรรม ผู้ทำมีสติรู้เรื่องหรือไม่
ถ้าแพทย์ลงความเห็นว่า ขณะทำพินัยกรรมมีสติครบ รู้เรื่องเป็นอย่างดี พินัยกรรมดังกล่าวก็อาจมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แต่ถ้าถ้าแพทย์ลงความเห็นว่า ขณะทำพินัยกรรม ผู้ทำไม่มีสติครบ รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง พินัยกรรมดังกล่าวก็ถือว่าไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาฎีกาที่  ๕๙๗๒ - ๕๙๗๓/๒๕๓๘ คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า พินัยกรรม มีผลใช้บังคับหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า  ในช่วงเวลาที่โจทก์อ้างว่านางเล็กทำพินัยกรรมนั้น นางเล็กมีอาการป่วยเจ็บด้วยอาการโรคสมองเสื่อมเนื่องจากชราภาพ มีความจำเลอะเลือน แขนข้างซ้ายไม่มีแรง ก่อนหน้านั้นเมื่อปี ๒๕๓๐ นางเล็กเริ่มมีสุขภาพอ่อนแอ ป่วยเจ็บแขนซ้ายไม่มีแรง ต้องคอยนวดอยู่เสมอ ความจำเลอะเลือน บางครั้งนางเล็กรับประทานอาหารแล้วแต่นางเล็กก็บอกว่ายังไม่ได้รับประทาน จะให้พยานหาอาหารให้รับประทานอีก
         นอกจากนี้ ยังมีนายแพทย์กีรติ เล็กสกุลชัย แพทย์ประจำ โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนผู้ทำการตรวจรักษานางเล็กผู้ตาย เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๑ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่อ้างว่า นางเล็กทำพินัยกรรม ประมาณ ๒ เดือน เบิกความประกอบหนังสือรับรองว่า คนไข้รายนี้มีอาการสมองเสื่อม ซึ่งหมายความว่าเซลล์สมองตายไปสมองส่วนที่เหลือมีจำนวนน้อย สติความรับรู้จึงมีน้อยกว่าปกติอาการของผู้ป่วยที่แขนด้านซ้ายไม่มีแรงตรวจพบว่ามีอาการสมองเสื่อมอยู่ด้วย จากการตรวจเมื่อปี ๒๕๓๑ พบว่ามีอาการสมองเสื่อม สมองขาดเลือดไปเลี้ยง อาการสมองเสื่อมเช่นนี้เป็นมานานเป็นเดือนหรือเป็นปี เห็นว่า นายแพทย์กีรติพยานจำเลยปากนี้ไม่มีส่วนได้เสียกับคู่ความฝ่ายใด ทราบข้อเท็จจริงโดยการตรวจรักษาและการเอกซ์เรย์สมองของผู้ป่วย และได้เบิกความไปตามหลักวิชาทางการแพทย์ มิใช่เป็นการคาดคะเนเอา คำเบิกความจึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้
           ที่โจทก์นำสืบว่าขณะทำพินัยกรรมนางเล็กเจ้ามรดกลงลายพิมพ์นิ้วมือลงในพินัยกรรมขณะที่มีสติสัมปชัญญะดีอยู่นั้น เห็นว่าโจทก์มีพยานที่รู้เห็นขณะที่นางเล็กทำพินัยกรรมก็ตาม แต่บุคคลทั้งสองล้วนแต่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องมีส่วนได้เสียกับโจทก์หรือมีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวกับทรัพย์มรดก
           จากพยานหลักฐานที่นำสืบมา ศาลฎีกาเห็นว่าข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน จึงเชื่อวาในขณะทำพินัยกรรม นางเล็กเจ้ามรดก ไม่มีมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์และน่าจะไม่ทราบข้อความในพินัยกรรมในขณะทำพินัยกรรม  พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย
ถ้าไม่มีใครค้าน ทำได้ครับ จะลดข้อยุ่งยากได้มากกรณีที่ทายาททุกท่านตกลงกันได้  แต่ถ้าเอามาตตราฐาน พอคร่าวๆนะครับ  
1 ร้องต่อศาลว่าท่านหมดความสามารถ   แนบใบแพทย์
2ร้องศาลขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน
3จัดการทรัพย์สิน
แต่ก็อย่างที่ท่านสมช.แจ้งครับ ดูแลท่านให้ดีที่สุดก่อนครับ ทรัพย์ว่ากันทีหลัง   ท่านอาจจะรู้สึกแปลกๆว่ากำลังจะทำอะไรกัน ท่านจะไม่สบายใจเอาได้ครับ และที่สำคัญท่านอาจทำไว้แล้วก็ได้ ขอให้ท่านหายไวๆ ช่วยตัวเองได้เร็วๆครับ
บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2009, 04:16:46 PM »

ขอบคุณครับ แล้วอย่างนี้ หมอที่ให้การเป็นพยาน มีความผิดมั้ยครับ เยี่ยม

ทางวิชาชีพแพทย์ผมไม่ทราบเหมือนกันครับ แต่หากลงความเห็นและออกหนังสือรับรองตามความจริงแล้ว คงไม่ผิดครับ
บันทึกการเข้า
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2009, 04:18:23 PM »

ขอบคุณครับ แล้วอย่างนี้ หมอที่ให้การเป็นพยาน มีความผิดมั้ยครับ เยี่ยม

ทางวิชาชีพแพทย์ผมไม่ทราบเหมือนกันครับ แต่หากลงความเห็นและออกหนังสือรับรองตามความจริงแล้ว คงไม่ผิดครับ
แล้วหากเป็นความเท็จล่ะ  แล้วเราจะพิสูจน์ได้อย่างไร ว่าตอนออกหนังสือ มันจริงหรือเท็จ
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2009, 04:38:42 PM »

ขอบคุณครับ แล้วอย่างนี้ หมอที่ให้การเป็นพยาน มีความผิดมั้ยครับ เยี่ยม

ทางวิชาชีพแพทย์ผมไม่ทราบเหมือนกันครับ แต่หากลงความเห็นและออกหนังสือรับรองตามความจริงแล้ว คงไม่ผิดครับ
แล้วหากเป็นความเท็จล่ะ  แล้วเราจะพิสูจน์ได้อย่างไร ว่าตอนออกหนังสือ มันจริงหรือเท็จ

คงต้องพิจารณาจากประวัติย้อนหลัง จากรักษา ประวัติทางแพทย์ของผู้ทำพินัยกรรมครับ
ว่ามีอาการมาก่อนบ้างหรือไม่ พยานบุคคลที่รู้เห็นถึงความเจ็บป่วยของผู้มำพินัยกรรม
และหลายๆอย่างรวมกัน ซึ่งระบุตายตัวยากครับ

ยิ้งถ้าต่างคนต่างมีแพทย์มาลงความเห็นยันกัน
คงต้องให้ศาลตั้งพยานผู้เชี่ยวศาล คนกลาง ลงความเห็นชี้ขาดละครับงานนี้ Smiley
บันทึกการเข้า
sharker
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 9
ออฟไลน์

กระทู้: 118


« ตอบ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2009, 09:11:21 AM »

เคยเจอบางกรณี หลับๆรู้ๆ หากมีหนังสือรับรองจากหมอก็ได้ใช่มั้ยครับ


ในกรณีที่ผู้จะทำพินัยกรรมป่วย มีอาการรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง
การมีหนังสือรับรองจากแพทย์ ในกรณีนี้ น่าจะเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งในการพิสูจน์ว่า
ผู้ทำพินัยกรรม มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนในขณะที่ทำพินัยกรรมหรือไม่ อย่างไร
และพินัยกรรมที่ผู้ป่วยทำขึ้นนั้น มีผลบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ มากกว่านะครับ

ดังนั้นจึงต้องดูความเห็นของแพทย์ว่า ในขณะที่ทำพินัยกรรม ผู้ทำมีสติรู้เรื่องหรือไม่
ถ้าแพทย์ลงความเห็นว่า ขณะทำพินัยกรรมมีสติครบ รู้เรื่องเป็นอย่างดี พินัยกรรมดังกล่าวก็อาจมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แต่ถ้าถ้าแพทย์ลงความเห็นว่า ขณะทำพินัยกรรม ผู้ทำไม่มีสติครบ รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง พินัยกรรมดังกล่าวก็ถือว่าไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาฎีกาที่  ๕๙๗๒ - ๕๙๗๓/๒๕๓๘ คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า พินัยกรรม มีผลใช้บังคับหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า  ในช่วงเวลาที่โจทก์อ้างว่านางเล็กทำพินัยกรรมนั้น นางเล็กมีอาการป่วยเจ็บด้วยอาการโรคสมองเสื่อมเนื่องจากชราภาพ มีความจำเลอะเลือน แขนข้างซ้ายไม่มีแรง ก่อนหน้านั้นเมื่อปี ๒๕๓๐ นางเล็กเริ่มมีสุขภาพอ่อนแอ ป่วยเจ็บแขนซ้ายไม่มีแรง ต้องคอยนวดอยู่เสมอ ความจำเลอะเลือน บางครั้งนางเล็กรับประทานอาหารแล้วแต่นางเล็กก็บอกว่ายังไม่ได้รับประทาน จะให้พยานหาอาหารให้รับประทานอีก
         นอกจากนี้ ยังมีนายแพทย์กีรติ เล็กสกุลชัย แพทย์ประจำ โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนผู้ทำการตรวจรักษานางเล็กผู้ตาย เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๑ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่อ้างว่า นางเล็กทำพินัยกรรม ประมาณ ๒ เดือน เบิกความประกอบหนังสือรับรองว่า คนไข้รายนี้มีอาการสมองเสื่อม ซึ่งหมายความว่าเซลล์สมองตายไปสมองส่วนที่เหลือมีจำนวนน้อย สติความรับรู้จึงมีน้อยกว่าปกติอาการของผู้ป่วยที่แขนด้านซ้ายไม่มีแรงตรวจพบว่ามีอาการสมองเสื่อมอยู่ด้วย จากการตรวจเมื่อปี ๒๕๓๑ พบว่ามีอาการสมองเสื่อม สมองขาดเลือดไปเลี้ยง อาการสมองเสื่อมเช่นนี้เป็นมานานเป็นเดือนหรือเป็นปี เห็นว่า นายแพทย์กีรติพยานจำเลยปากนี้ไม่มีส่วนได้เสียกับคู่ความฝ่ายใด ทราบข้อเท็จจริงโดยการตรวจรักษาและการเอกซ์เรย์สมองของผู้ป่วย และได้เบิกความไปตามหลักวิชาทางการแพทย์ มิใช่เป็นการคาดคะเนเอา คำเบิกความจึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้
           ที่โจทก์นำสืบว่าขณะทำพินัยกรรมนางเล็กเจ้ามรดกลงลายพิมพ์นิ้วมือลงในพินัยกรรมขณะที่มีสติสัมปชัญญะดีอยู่นั้น เห็นว่าโจทก์มีพยานที่รู้เห็นขณะที่นางเล็กทำพินัยกรรมก็ตาม แต่บุคคลทั้งสองล้วนแต่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องมีส่วนได้เสียกับโจทก์หรือมีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวกับทรัพย์มรดก
           จากพยานหลักฐานที่นำสืบมา ศาลฎีกาเห็นว่าข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน จึงเชื่อวาในขณะทำพินัยกรรม นางเล็กเจ้ามรดก ไม่มีมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์และน่าจะไม่ทราบข้อความในพินัยกรรมในขณะทำพินัยกรรม  พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย
ถ้าไม่มีใครค้าน ทำได้ครับ จะลดข้อยุ่งยากได้มากกรณีที่ทายาททุกท่านตกลงกันได้  แต่ถ้าเอามาตตราฐาน พอคร่าวๆนะครับ  
1 ร้องต่อศาลว่าท่านหมดความสามารถ   แนบใบแพทย์
2ร้องศาลขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน
3จัดการทรัพย์สิน
แต่ก็อย่างที่ท่านสมช.แจ้งครับ ดูแลท่านให้ดีที่สุดก่อนครับ ทรัพย์ว่ากันทีหลัง   ท่านอาจจะรู้สึกแปลกๆว่ากำลังจะทำอะไรกัน ท่านจะไม่สบายใจเอาได้ครับ และที่สำคัญท่านอาจทำไว้แล้วก็ได้ ขอให้ท่านหายไวๆ ช่วยตัวเองได้เร็วๆครับ
ในกรณีคุณแม่ผม เป็นสโตรค เส้นเลือดในสมองตีบ ซึ่งไปถึง ร.พ. ช้าไป 1 วัน ทำให้ การบำบัดทางยาไม่ทัน ส่งผลให้มีอาการเป็นอัมพาตซีกซ้าย แต่มีความทรงจำ สื่อสารได้ แต่ไม่เป็นภาษาพูด เนื่องจากสมองส่วนภาษาถูกทำลาย สื่อสารด้วยการส่งเสียงอือๆ อาๆ พยักหน้า รับรู้ จำบุคคล ที่เป็นลูก หลาน และญาติได้ทุกคน โดยเฉพาะลูก คือตัวผมกับพี่ชาย ตอนนี้พี่ชายดูแลอยู่ใกล้ชิดที่ กทม.  เนื่องจากตกงานพอดี ตัวผม อยู่ไกล ถึงพะเยา ไปเยี่ยมได้เดือนละครั้ง เลยคุยกันว่ากลัวจะยุ่งหลังจากแม่เสีย ควรจะทำอะไรให้เรียบร้อนโดยแม่รับรู้ อนุญาต ดีกว่ามั๊ย เพราะที่บ้านก็พูดคุยกันตรงๆ อยู่แล้วเรื่องทรัพย์สมบัติว่าแบ่งให้ลูกทั้งสองคนเท่าๆกันตามความจริง เพียงแต่ยังไม่ทันทำอะไร เพราะก่อนหน้าคุณแม่มีสุขภาพ แข๊งแรงดีเที่ยวทั่วไทย เพียงแต่ก่อนจะเป็นความจำเริ่มไม่ดีขี้ลืมบ่อยๆ แม้แต่เรื่องที่เพิ่งทำ เคยทักให้แม่ไปหาหมอ แต่แม่ไม่ยอม พอเป็นขึ้นมาก็อยู่ ร.พ. ประสาทอยู่ ประมาณเดือนนึง หมอ ให้กลับบ้านได้ และก๊รับรู้ โต้ตอบ สื่อสารได้ กรณีนี้จะทำได้ไม๊ครับ หรือต้องทำตามที่ท่าน pokka แนะนำหลังสุดครับ  อ้อ ขอบคุณ และ+ทุกท่านครับ
บันทึกการเข้า
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2009, 09:20:35 AM »

หากเป็นลักษณะนี้ น่าจะทำพินัยกรรมได้ครับ ถ้าจำไม่ผิดเรียกพินัยกรรมเมือง โดยทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ทางราชการมีพยานต่างๆที่เป็นเจ้าหน้าที่ครับ
บันทึกการเข้า

SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2009, 01:18:03 PM »

ในกรณีคุณแม่ผม เป็นสโตรค เส้นเลือดในสมองตีบ ซึ่งไปถึง ร.พ. ช้าไป 1 วัน ทำให้ การบำบัดทางยาไม่ทัน ส่งผลให้มีอาการเป็นอัมพาตซีกซ้าย แต่มีความทรงจำ สื่อสารได้ แต่ไม่เป็นภาษาพูด เนื่องจากสมองส่วนภาษาถูกทำลาย สื่อสารด้วยการส่งเสียงอือๆ อาๆ พยักหน้า รับรู้ จำบุคคล ที่เป็นลูก หลาน และญาติได้ทุกคน โดยเฉพาะลูก คือตัวผมกับพี่ชาย ตอนนี้พี่ชายดูแลอยู่ใกล้ชิดที่ กทม.  เนื่องจากตกงานพอดี ตัวผม อยู่ไกล ถึงพะเยา ไปเยี่ยมได้เดือนละครั้ง เลยคุยกันว่ากลัวจะยุ่งหลังจากแม่เสีย ควรจะทำอะไรให้เรียบร้อนโดยแม่รับรู้ อนุญาต ดีกว่ามั๊ย เพราะที่บ้านก็พูดคุยกันตรงๆ อยู่แล้วเรื่องทรัพย์สมบัติว่าแบ่งให้ลูกทั้งสองคนเท่าๆกันตามความจริง เพียงแต่ยังไม่ทันทำอะไร เพราะก่อนหน้าคุณแม่มีสุขภาพ แข๊งแรงดีเที่ยวทั่วไทย เพียงแต่ก่อนจะเป็นความจำเริ่มไม่ดีขี้ลืมบ่อยๆ แม้แต่เรื่องที่เพิ่งทำ เคยทักให้แม่ไปหาหมอ แต่แม่ไม่ยอม พอเป็นขึ้นมาก็อยู่ ร.พ. ประสาทอยู่ ประมาณเดือนนึง หมอ ให้กลับบ้านได้ และก๊รับรู้ โต้ตอบ สื่อสารได้ กรณีนี้จะทำได้ไม๊ครับ หรือต้องทำตามที่ท่าน pokka แนะนำหลังสุดครับ  อ้อ ขอบคุณ และ+ทุกท่านครับ

การร้องขอแต่งตั้งผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์ของบุคคลอื่นต่อศาลนั้น จะต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้ด้วยว่า กรณีใดที่สามารถร้องขอต่อศาลด้วย มิฉะนั้นแล้ว ศาลจะไม่รับคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์ไว้พิจารณา ซึ่งเท่าที่รวบรวมได้คือ

๑. การร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์มรดก
๒. การร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์ที่พิพาทในระหว่างพิจารณาคดี เพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๖๔
๓. การร้องขอแต่งต้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์
๔. การร้องขอแต่งตั้งจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ (สาบสูญ) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๘
๕. การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ แทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๓๐๗ และ
๖. กรณีสามีหรือภรรยาร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสโดยลำพัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๘๕

นอกนั้นแล้ว การแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สิน สามารถทำได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาล คือให้เจ้าของทรัพย์มอบอำนาจให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สิน (การมอบอำนาจทั่วไป) นั้นเอง ซึ่งต้องอยู่ในหลักการเดียวกันกับพินัยกรรม ก็คือขณะทำหนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทรัพย์แทนตน ต้องมีสติสัมปชัญญะ และรู้เรื่องในขณะมอบอำนาจด้วย

จุดสำคัญที่สุด แม้คุณแม่จะพูดไม่ได้  แต่หากยังมีสติครบถ้วน รับรู้รับทราบเรื่องที่เกิดขึ้นได้ และประสงค์จะทำพินัยกรรมจริงๆ
ถ้าคุณแม้สามารถลงลายมือชื่อในพินัยกรรม หรือ สามารถยกมือของท่านปั๊มลายนิ้วมือในพินัยกรรมได้ด้วยตนเอง โดยที่ไม่มีใครพยุงมือ ต่อหน้าพยานคนอื่น ก็ยังมีวิธีทางครับ

แต่ในฐานะที่ท่านเจ้าของกระทู้เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกใน ลำดับที่ ๑ ตามกฎหมาย
ซึ่งตัดทายาทอื่นๆ เช่น พี่น้องคุณแม่ ลุงป้า น้า อา โดยบุคคลเหล่านั้นไม่มีสิทธิที่จะมาขอแบ่งปันมรดกของคุณแม่ได้เลย
หากบิดา มารดาของคุณแม่ (ตายาย) คู่สมรส (พ่อ) เสียชีวิตไปก่อนแล้ว ทรัพย์มรดกทั้งหมดย่อมตกแก่ท่านทั้งสองคน โดยไม่ต้องแบ่งให้คนอื่น

หากท่านไม่มีปัญหาและสามารถตกลงกันได้ ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องกลัวและไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องทำพินัยกรรมเลย
เพราะแม้จะทำพินัยกรรมได้ก็ตาม แต่ความสุ่มเสี่ยงที่จะมีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านว่าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ก็มีสูง

ส่วนตามที่ท่านคิดว่าภายหลังจะยุ่งยากนั้น ผมมองว่าไม่น่าจพยุ่งยากใดๆครับ
เพราะหากที่บ้านไมมีปัญหาตาร้อน ทั้งทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตรของคุณแม่ทุกคนเท่ากันตามกฎหมายแล้ว
ก็สามารถจูงมือไปขอรับมรดก ได้เลยโดยไม่ต้องดำเนินการทางศาลใดๆ

แต่ก็มีบ้างครับ ในบางครั้งการแบ่งมรดกต้องเกี่ยวพันกับหน่วยงานราชการบางหน่วยงาน เช่น ที่ดิน (ที่ดินจังหวัด หรือ สปก. หรือ นิคมสหกรณ์) รถยนต์ (ขนส่ง)
อาจจะอิดออนที่จะให้ทายาทต้องไปร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลก่อน แม้จะมีพินัยกรรมก็ตาม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธนาคาร จะต้องตรวจสอบกันยกใหญ่เลยทีเดียวครับ และมักแนะนำว่าให้ไปร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกจากศาลก่อน
เพื่อตัดปัญหาหากจ่ายเงินของผู้ตายให้แก่ทายาทที่มาขอรับ ปรากฏภายหลัง มีทายาทโผล่เข้ามาฟ้องภายหลังได้

ทั้งการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาล ก็ไม่ยุ่งยากใดๆ ใช้เวลาไม่เกิน ๓ เดือนต่อเรื่องหากไม่มีผู้ใดคัดค้าน แถมสะดวกเพราะสามารถเอาคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกไปดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายได้ทุกประเภท และไม่มีการปฏิเสธไม่รับดำเนินการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แต่ยังไงดูแลท่านให้ดีๆ ฟื้นฟูจนพอแข็งแรง และท่านพาไปโอนด้วยตนเองจะสมบูรณ์ที่สุดครับ Cheesy

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 24, 2009, 01:22:02 PM โดย นายสิงห์กลิ้ง » บันทึกการเข้า
sharker
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 9
ออฟไลน์

กระทู้: 118


« ตอบ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2009, 02:38:11 PM »

ในกรณีคุณแม่ผม เป็นสโตรค เส้นเลือดในสมองตีบ ซึ่งไปถึง ร.พ. ช้าไป 1 วัน ทำให้ การบำบัดทางยาไม่ทัน ส่งผลให้มีอาการเป็นอัมพาตซีกซ้าย แต่มีความทรงจำ สื่อสารได้ แต่ไม่เป็นภาษาพูด เนื่องจากสมองส่วนภาษาถูกทำลาย สื่อสารด้วยการส่งเสียงอือๆ อาๆ พยักหน้า รับรู้ จำบุคคล ที่เป็นลูก หลาน และญาติได้ทุกคน โดยเฉพาะลูก คือตัวผมกับพี่ชาย ตอนนี้พี่ชายดูแลอยู่ใกล้ชิดที่ กทม.  เนื่องจากตกงานพอดี ตัวผม อยู่ไกล ถึงพะเยา ไปเยี่ยมได้เดือนละครั้ง เลยคุยกันว่ากลัวจะยุ่งหลังจากแม่เสีย ควรจะทำอะไรให้เรียบร้อนโดยแม่รับรู้ อนุญาต ดีกว่ามั๊ย เพราะที่บ้านก็พูดคุยกันตรงๆ อยู่แล้วเรื่องทรัพย์สมบัติว่าแบ่งให้ลูกทั้งสองคนเท่าๆกันตามความจริง เพียงแต่ยังไม่ทันทำอะไร เพราะก่อนหน้าคุณแม่มีสุขภาพ แข๊งแรงดีเที่ยวทั่วไทย เพียงแต่ก่อนจะเป็นความจำเริ่มไม่ดีขี้ลืมบ่อยๆ แม้แต่เรื่องที่เพิ่งทำ เคยทักให้แม่ไปหาหมอ แต่แม่ไม่ยอม พอเป็นขึ้นมาก็อยู่ ร.พ. ประสาทอยู่ ประมาณเดือนนึง หมอ ให้กลับบ้านได้ และก๊รับรู้ โต้ตอบ สื่อสารได้ กรณีนี้จะทำได้ไม๊ครับ หรือต้องทำตามที่ท่าน pokka แนะนำหลังสุดครับ  อ้อ ขอบคุณ และ+ทุกท่านครับ

การร้องขอแต่งตั้งผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์ของบุคคลอื่นต่อศาลนั้น จะต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้ด้วยว่า กรณีใดที่สามารถร้องขอต่อศาลด้วย มิฉะนั้นแล้ว ศาลจะไม่รับคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์ไว้พิจารณา ซึ่งเท่าที่รวบรวมได้คือ

๑. การร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์มรดก
๒. การร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์ที่พิพาทในระหว่างพิจารณาคดี เพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๖๔
๓. การร้องขอแต่งต้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์
๔. การร้องขอแต่งตั้งจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ (สาบสูญ) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๘
๕. การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ แทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๓๐๗ และ
๖. กรณีสามีหรือภรรยาร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสโดยลำพัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๘๕

นอกนั้นแล้ว การแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สิน สามารถทำได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาล คือให้เจ้าของทรัพย์มอบอำนาจให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สิน (การมอบอำนาจทั่วไป) นั้นเอง ซึ่งต้องอยู่ในหลักการเดียวกันกับพินัยกรรม ก็คือขณะทำหนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทรัพย์แทนตน ต้องมีสติสัมปชัญญะ และรู้เรื่องในขณะมอบอำนาจด้วย

จุดสำคัญที่สุด แม้คุณแม่จะพูดไม่ได้  แต่หากยังมีสติครบถ้วน รับรู้รับทราบเรื่องที่เกิดขึ้นได้ และประสงค์จะทำพินัยกรรมจริงๆ
ถ้าคุณแม้สามารถลงลายมือชื่อในพินัยกรรม หรือ สามารถยกมือของท่านปั๊มลายนิ้วมือในพินัยกรรมได้ด้วยตนเอง โดยที่ไม่มีใครพยุงมือ ต่อหน้าพยานคนอื่น ก็ยังมีวิธีทางครับ

แต่ในฐานะที่ท่านเจ้าของกระทู้เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกใน ลำดับที่ ๑ ตามกฎหมาย
ซึ่งตัดทายาทอื่นๆ เช่น พี่น้องคุณแม่ ลุงป้า น้า อา โดยบุคคลเหล่านั้นไม่มีสิทธิที่จะมาขอแบ่งปันมรดกของคุณแม่ได้เลย
หากบิดา มารดาของคุณแม่ (ตายาย) คู่สมรส (พ่อ) เสียชีวิตไปก่อนแล้ว ทรัพย์มรดกทั้งหมดย่อมตกแก่ท่านทั้งสองคน โดยไม่ต้องแบ่งให้คนอื่น

หากท่านไม่มีปัญหาและสามารถตกลงกันได้ ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องกลัวและไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องทำพินัยกรรมเลย
เพราะแม้จะทำพินัยกรรมได้ก็ตาม แต่ความสุ่มเสี่ยงที่จะมีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านว่าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ก็มีสูง

ส่วนตามที่ท่านคิดว่าภายหลังจะยุ่งยากนั้น ผมมองว่าไม่น่าจพยุ่งยากใดๆครับ
เพราะหากที่บ้านไมมีปัญหาตาร้อน ทั้งทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตรของคุณแม่ทุกคนเท่ากันตามกฎหมายแล้ว
ก็สามารถจูงมือไปขอรับมรดก ได้เลยโดยไม่ต้องดำเนินการทางศาลใดๆ

แต่ก็มีบ้างครับ ในบางครั้งการแบ่งมรดกต้องเกี่ยวพันกับหน่วยงานราชการบางหน่วยงาน เช่น ที่ดิน (ที่ดินจังหวัด หรือ สปก. หรือ นิคมสหกรณ์) รถยนต์ (ขนส่ง)
อาจจะอิดออนที่จะให้ทายาทต้องไปร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลก่อน แม้จะมีพินัยกรรมก็ตาม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธนาคาร จะต้องตรวจสอบกันยกใหญ่เลยทีเดียวครับ และมักแนะนำว่าให้ไปร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกจากศาลก่อน
เพื่อตัดปัญหาหากจ่ายเงินของผู้ตายให้แก่ทายาทที่มาขอรับ ปรากฏภายหลัง มีทายาทโผล่เข้ามาฟ้องภายหลังได้

ทั้งการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาล ก็ไม่ยุ่งยากใดๆ ใช้เวลาไม่เกิน ๓ เดือนต่อเรื่องหากไม่มีผู้ใดคัดค้าน แถมสะดวกเพราะสามารถเอาคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกไปดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายได้ทุกประเภท และไม่มีการปฏิเสธไม่รับดำเนินการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แต่ยังไงดูแลท่านให้ดีๆ ฟื้นฟูจนพอแข็งแรง และท่านพาไปโอนด้วยตนเองจะสมบูรณ์ที่สุดครับ Cheesy



จริงๆ เคยคุยกับพี่แล้วครับว่า ถ้าเเม่เสียจริงๆ (ซึ่งก็คงต้องสักวัน) กฎหมายจะคุ้มครองเพราะระบุไว้ชัดเจน เรื่องผู้สืบสันดาน ซึ่งก็ไม่มีใคร แต่พี่มีความกังวล ว่าจะยุ่งยากจากญาติ ที่เป็นน้องแม่ ในเรื่องอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจ้องอยู่ถึงขนาดเคยไปขโมย โฉนดจากที่บ้านไปเก็บไว้ จนผมต้องไปทวงคืนเมื่อ ซัก 10กว่าปีก่อน ตอนนี้ก็มาเลียบๆเคียงออกอาการมาเป็นห่วงดูแล แบบเก็บอาการไม่ค่อยอยู่ ถ้าอย่างนี้ผมไม่ต้องทำอะไรจะดีกว่าใช่มัยครับ เพราะเกิดมีพินัยกรรมขึ้นมา สามารถคัดค้านได้จากเหตุผมเรื่องความไม่สมบูรณ์ของเจ้ามรดก
และถ้าถึงเวลาที่ต้องรับมรดกหลังแม่เสีย  ต้องมีผู้จัดการมัยครับในการเป็นตัวแทนทำนิติกรรมต่างๆของทรัพย์สิน หรือสามารถเซ็นร่วมกันกับพี่น้องได้เลยครับ
ขอบคุณ และ +1ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.136 วินาที กับ 21 คำสั่ง