เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 29, 2024, 01:54:52 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ลำกล้องเหล็กกับลำกล้องสแตนเลส  (อ่าน 16654 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ppk/s7.65
Sr. Member
****

คะแนน 48
ออฟไลน์

กระทู้: 678


« ตอบ #15 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 01:46:56 PM »

ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้วครับทั่น

   หากอยากได้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับปืนสั้น อ่านใน inside pistol 2 edition

วางแผงทั่วไป เล่ม 350 บ. ดีมากๆ อ่านแล้วจะรู้ ตอนแรกก้อไม่กล้าซื้อเหมือนกัน(รู้สึกว่าแพง) เดินวน 3 รอบ

พอเอาไปอ่าน...โอว คิดว่ารู้ดีพอควรแล้ว รู้สึกเรารู้แค่เสี้ยว (ไม่ได้ค่าโฆษณานะครับ) เพียงอยากแนะนำ

 350 บ. ยังน้อย ผมว่าอย่างน้อยควรตั้งราคา 500 ด้วยซ้ำ
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #16 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 01:56:23 PM »

พี่ban.cha ขอมาผมจัดให้ครับ  ไหว้ ไหว้

จริงๆแล้วสแตนเลสกับเหล็กปลอดสนิมก็คือโลหะชนิดเดียวกันนะครับเพียงแต่ว่าจะแบ่งตามเกรดหรือแบ่งว่าใช้อะไรผสมส่วนใญ่ที่เราๆคุ้นกันก็คือเหล็กผสมโครเมียมครับก็ช้อนส้อมที่เรากินข้าวกันน่ะแหละครับแต่จะเป็นโลหะประเภทผสมต่ำส่วนที่เอามาทำอาวุธหรือชิ้นส่วนอากาศยานเป็นโลหะผสมสูง

                                                      ผลของธาตุผสม
           ธาตุผสมในเหล็กกล้ามีผลต่อคุณสมบัติของเหล็กกล้าต่างๆ กัน ผลของธาตุผสมหนึ่งๆ ในเหล็กกล้าอาจกระทบโดยธาตุผสมอื่น โดยทั่วไป ผลของธาตุผสมต่อคุณสมบัติของเหล็กกล้าสามารถสรุปได้ดังนี้

คาร์บอน (C) อลูมิเนียม (Al)  ตะกั่ว (Pb)  วาเนเดียม (V)
แมงกานีส (Mn) แคลเซี่ยม (Ca) โครเมี่ยม (Cr) โบรอน (B)
ซิลิคอน (Si)  คอปเปอร์ (Cu)  โมลิดินั่ม (Mo) ไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส (P) นิกเกิล (Ni) ไทเทเนียม (Ti)  ออกซิเจน
ซัลเฟอร์ (S) ดีบุก (Sn) ไนโอเบียม (Nb)   


คาร์บอน (C)
      คาร์บอนเป็นธาตุผสมหลักในเหล็กและมีผลต่อคุณสมบัติเชิงกลของเหล็กอย่างมาก จึงได้มีการแบ่งชนิดของเหล็กตามปริมาณคาร์บอนที่ผสมโดย

      เหล็กกล้า (Steel) C <= 2 %
      เหล็กหล่อ (Iron)   C > 2%

     คาร์บอนช่วยเพิ่มความแข็งแรง (Strength), ความแข็ง (Hardness) และความต้านทานการสึกหรอ (Wear resistance) ของเหล็กแต่ลดเปอร์เซ็นต์การยืดตัว (Percentage of elongation)

      คาร์บอนมาจาก Pig iron และเศษเหล็ก (Scrap) การควบคุมปริมาณคาร์บอนในเหล็กทำได้ขณะที่น้ำเหล็กอยู่ที่ Electric arc furnace (EAF) โดยการพ่นออกซิเจนเพื่อเข้าไปรวมตัวเป็นก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์

     C + 1/2O2 --> CO + Heat
 

แมงกานีส (Mn)
      แมงกานีสมาจากเศษเหล็ก แมงกานีสมีผลให้เพิ่ม Yield strength ของเหล็ก แมงกานีสมีประสิทธิภาพเป็น 1/6 เท่าของคาร์บอนในการเพิ่มความแข็งแรงให้เหล็ก แมงกานีสสามารถรวมกับซัลเฟอร์ (Sulphur) เป็นสารประกอบ MnS ซึ่งให้ผลดีกว่าที่ซัลเฟอร์รวมกับเหล็กเป็น FeS

     แมงกานีสสามารถควบคุมได้ขณะที่น้ำเหล็กอยู่ที่ EAF โดยรวมตัวกับออกซิเจนที่พ่นเข้าไปเป็น MnO ซึ่งเบากว่าน้ำเหล็กและลอยไปรวมกับ Slag

     Mn + O --> MnO (Low density) --> Slag

     เราสามารถเติมแมงกานีสให้เหล็กได้ระหว่างที่น้ำเหล็กอยู่ที่ LHF ในหลายลักษณะ เช่น Ferromanganese และ Silicomanganese

 

ซิลิคอน (Si)
      ใน Silicon killed steel จะใช้ Si เพื่อเป็นตัวกำจัดออกซิเจน ซิลิคอนมาได้ทั้งจากเศษเหล็กและจากการ Pick up จากอิฐทนความร้อน (Refractory) ในกรณีที่น้ำเหล็กถูกเก็บไว้ใน Ladle นาน
ซิลิคอนเพิ่มความแข็งแรง (Strength) ให้เหล็ก ปริมาณซิลิคอนยังมีผลต่อความสามารถของการชุบสังกะสีด้วย ปริมาณซิลิคอนที่สูงนี้จะทำให้ผิวเหล็กหยาบ อย่างไรก็ตาม ในเหล็กบางเกรดจะมี Si ประมาณ 0.25% เพื่อเพิ่มความแข็งแรง (Strengthening) และความสามารถในการอบชุบความร้อน (Heat treatability)
ซิลิคอนสามารถควบคุมได้ที่ EAF โดยจะรวมกับออกซิเจนฟอร์ม Slag
Si + O2 --> SiO2

 


ฟอสฟอรัส (P)
     ฟอสฟอรัสเป็นสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการในเหล็ก ฟอสฟอรัสสามารถมาได้จาก Pig iron, เหล็กบางชนิด, สี, น้ำมันที่ติดมากับเศษเหล็ก

     ฟอสฟอรัสทำให้เหล็กเปราะและง่ายต่อการเกิดรอยแตก (Cracking) ในเหล็กบางเกรดมีการเติมฟอสฟอรัสเพื่อเพิ่มความแข็งแรง, ความสามารถในการตัดกลึง (machinability) และความสามารถในการทาสีติด (Paintability)

     การลดฟอสฟอรัสทำได้ง่ายใน EAF โดยจะรวมกับออกซิเจนและ Lime (CaO) เกิดเป็นสารประกอบที่มีความถ่วงเฉพาะต่ำ (Low density) และลอยไปรวมกับ Slag ดังสมการ

     FeO + P --> P2O5 + Fe
     P2O5 + CaO --> CaO.P2O5 (Low density) --> Slag

สำหรับเหล็กบางเกรดจะมีการเติม P เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน

 

ซัลเฟอร์ (S)
     ซัลเฟอร์เป็นสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการในเหล็ก (นอกจากกรณีที่ต้องการความสามารถในการตัดกลึงสูง (Machinability)) ซัลเฟอร์มาจากน้ำมัน, เหล็กโครงสร้าง เช่น I-beams

ซัลเฟอร์ลดความแกร่ง (Toughness) ของเหล็กและทำให้เกิดการแตก (Cracking) ของเหล็กระหว่าง Casting

     เหล็กที่มีซัลเฟอร์ (S) สูงและแมงกานีสต่ำ S จะรวมกับเหล็ก (Fe) เป็น FeS ซึ่งจะแยกตัวออกมาตามขอบเกรน สารประกอบ FeS มีจุดหลอมเหลวต่ำทำให้มีปัญหา Hot shortness เวลาที่ทำการแปรรูปที่อุณหภูมิสูงโดยเฉพาะเมื่อรับแรงดึงด้วย
     เหล็กที่มีซัลเฟอร์ (S) ต่ำและแมงกานีส (Mn) สูง S จะรวมกับ Mn เป็น MnS สารประกอบ MnS มีความสามารถในการยืดตัวสูงสามารถยืดตัวตามเนื้อเหล็กได้ขณะแปรรูป

ซัลเฟอร์สามารถควบคุมได้ที่ Ladle heating furnace (LHF) โดยการเติม Lime (CaO) และอลูมิเนียม (Al)

     3CaO + 2Al + 3S --> 3CaS + Al2O3



อลูมิเนียม (Al)
      อลูมิเนียมเป็นตัวไล่ออกซิเจนได้ดีและใช้ปรับรูปร่างของ Inclusion เพื่อเพิ่มความสามารถในการหล่อ (Castability)
      หมายเหตุ เหล็กที่มีความสามารถในการหล่อดีหมายถึงน้ำเหล็กสามารถลื่นไหลไปใน Mold ได้ดี ทำให้สามารถใช้ Mold ที่มีรูปร่างซับซ้อนได้ โดยน้ำเหล็กจะหล่อได้เต็ม Mold


แคลเซี่ยม (Ca)
     แคลเซี่ยมที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กมีหลายรูปแบบ แคลเซี่ยมในรูป Lime (CaO) ใช้สำหรับเป็น Flux (สารที่ใช้เพื่อจับกับสิ่งสกปรกไปฟอร์ม Slag) แคลเซี่ยมในรูป Calcium carbide (Ca2C), CaSi, CaFe wire ใช้เพื่อขจัดออกซิเจน, ขจัดซัลเฟอร์และควบคุมรูปร่างของ Inclusion

 


คอปเปอร์ (Cu)
      คอปเปอร์เป็นธาตุที่ไม่สามารถขจัดออกไปได้จากขบวนการผลิตเหล็ก คอปเปอร์ (หรือทองแดง) ติดมากับเศษเหล็ก, Electric motors, Wiring จากเศษชิ้นส่วนรถยนต์ Shreded cars, เหล็กโครงสร้าง

     ข้อเสียของทองแดง คือ สามารถทำให้เกิดรอยแตกเป็นขนที่ผิวเหล็กหลังจากการทดสอบดัดโค้งและรอยแตกที่ขอบ (Edge cracks)
ข้อดีของทองแดงคือ เพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน (Corrosion resistance) ให้เหล็ก



Edge crack

     Cu ไม่สามารถขจัดจากน้ำเหล็กระหว่างขบวนการผลิต การควบคุมปริมาณ Cu ทำโดยการเลือก/ผสมเศษเหล็กต่างๆ, การผสม Pig iron การผสม Ni ในเหล็กที่มี Cu สูงจะช่วยลดผลเสียของ Cu ต่อเหล็กกล้าได้ส่วนหนึ่ง

 

นิกเกิล (Ni)
     นิกเกิลเป็นธาตุที่เพิ่มความแข็งแรง, ความแข็ง, ความแกร่งและความต้านทานการกัดกร่อนของเหล็ก นิเกิลมาจากเศษเหล็ก (โดยเฉพาะจากเศษเหล็ก Stainless) Ni สามารถเติมได้ในระหว่างที่เหล็กอยู่ที่ LHF และเหมือนกับ Cu คือ Ni ไม่สามารถขจัดจากน้ำเหล็กได้ระหว่างขบวนการผลิตเหล็ก

นิเกิลช่วยลดผลเสียของทองแดง (โดยการเพิ่มความสามารถในการละลายของทองแดงในเหล็ก)

 

ดีบุก (Sn)
      ดีบุกติดมากับเศษเหล็กที่ใช้ทำกระป๋องน้ำอัดลมโดยเป็นชั้นเคลือบที่ด้านใน ดีบุกขจัดได้ยากเหมือนกับทองแดง
ข้อเสียของดีบุก คือ ทำให้เหล็กเปราะและง่ายต่อการเกิดรอยแตก (Cracking) และเป็นอันตรายต่อการขึ้นรูปร้อนโดยลดความสามารถในการละลายของธาตุอื่นในเหล็ก Sn ในน้ำเหล็กไม่สามารถขจัดออกได้ระหว่างขบวนการผลิตเหล็ก ปริมาณของ Sn ควบคุมโดยการเลือก/ผสมเศษเหล็ก

 

ตะกั่ว (Pb)
     ตะกั่วมาจากเศษเหล็กและบางครั้งเติมเข้าไปในเหล็กเพื่อเพิ่มความสามารถในการตัดกลึง ตะกั่วมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำจึงไม่เป็นปัญหาต่อการขจัดออกในขบวนการผลิตเหล็ก

 

โครเมี่ยม (Cr)
     โครเมี่ยมเป็นธาตุที่เพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน, ความต้านทานการสึกกร่อนและยังเพิ่มความแข็งแรง เหล็กที่เรียกว่า Stainless steel มี Cr ผสมมากกว่า 10.5 % ต่างจาก Cu และ Ni โครเมี่ยมสามารถควบคุมได้โดยการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดังสมการ

     2Cr + 3O --> Cr2O3

 

โมลิดินั่ม (Mo)
      โมลิดินั่มเป็นธาตุที่เพิ่มความแข็งแรง, ความแข็งและความต้านทานการสึกกร่อน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนในเหล็กกล้าไร้สนิม Mo มาจากเศษเหล็กกล้าเครื่องมือ เมื่อมี Mo ในน้ำเหล็กแล้วไม่สามารถขจัดออกได้
 


ไทเทเนียม (Ti)
      ไทเทเนียมเป็นธาตุที่เพิ่มความแข็งแรงโดยรวมตัวกับคาร์บอน ช่วยลดการกัดกร่อนที่ขอบเกรน (Intergranular corrosion) ในเหล็กกล้าไร้สนิมเกรดออสเตนนิติค นอกจากนี้ในเหล็กกล้าบางเกรดใช้เติมเพื่อจับไนโตรเจน



ไนโอเบียม (Nb)
     ไนโอเบียมเป็นธาตุที่เพิ่มความแข็งแรงและความต้านทานการสึกหรอ



วาเนเดียม (V)
     วาเนเดียมเป็นธาตุที่เพิ่มความแข็งแรงและความต้านทานการสึกหรอ



โบรอน (B)
      โบรอนเป็นธาตุผสมที่ใช้ในปริมาณต่ำมาก (~0.0005%) เพื่อเพิ่มความแข็งในเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำและใช้จับไนโตรเจน, ออกซิเจนและ/หรือซัลเฟอร์

     โบรอนสามารถเติมได้ขณะที่น้ำเหล็กอยู่ที่ LMF ในรูป Ferroboron

 

ไนโตรเจน
     ไนโตรเจนเป็นเป็นสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการในเหล็ก ไนโตรเจนทำให้เหล็กเปราะ (Embrittlement) และลดความสามารถในการขึ้นรูปเป็นผลให้เกิดการแตกเมื่อนำไปขึ้นรูป

 

ออกซิเจน
     เหล็กที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำจะหมายถึงเหล็กสะอาด ออกซิเจนจะรวมกับธาตุอื่นๆ เป็น Inclusion

     เราขจัดออกซิเจนโดยการเติม Deoxidizers ระหว่าง Tap และที่ LMF ธาตุที่เป็น Deoxidizer ได้แก่ Al, Si, C, Mn โดยที่ Al เป็นธาตุ Deoxidizer.ที่แรงที่สุดในกลุ่ม

     ธาตุที่สามารถขจัดได้ด้วยการพ่นออกซิเจนเข้าไปในเตาได้แก่ C, Mn (บางส่วน), P (ได้ถ้าสภาพ Slag ดี), Si, Cr (บางส่วน), Pb (บางส่วน), Ca, Al, V (บางส่วน), Nb (บางส่วน), Ti, B.

     ธาตุที่ไม่สามารถขจัดได้ด้วยการพ่นออกซิเจนเข้าไปในเตาได้แก่: S, Cu, Ni, Mo, Sn




ความหมายของเหล็กกล้าไร้สนิม

                เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steels) หมายถึงเหล็กกล้าที่ผสมโครเมี่ยมอย่างน้อย 10.5 % ทำให้มีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อน   โดยเหล็กกล้าไร้สนิมจะสร้างฟิล์มของโครเมี่ยมออกไซด์ที่บางและแน่นที่ผิวเหล็กกล้า   ซึ่งจะปกป้องเหล็กกล้าจากบรรยากาศภายนอก

 

กลุ่มต่างๆ ของเหล็กกล้าไร้สนิม

                เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างจุลภาคได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1.       เหล็กกล้าไร้สนิมเฟอร์ริติก (Ferritic grade)

2.       เหล็กกล้าไร้สนิมออสเตนนิติก (Austenitic grade)

3.       เหล็กกล้าไร้สนิมดูเพล็กซ์ (Duplex grade)

4.       เหล็กกล้าไร้สนิมมาร์เทนซิติก (Martensitic grade)

5.       เหล็กกล้าไร้สนิมอบชุบแข็งด้วยการตกผลึก (Precipitation-hardening grade)

                เหล็กกล้าไร้สนิมเฟอร์ริติกที่ใช้กันมากจะผสมโครเมี่ยม (Cr) ประมาณ 12% หรือ 17% (ช่วงของส่วนผสมของ Cr +/-1%) มีนิกเกิลน้อยมาก (ติดมากับวัตถุดิบ)   เหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มนี้จะมีโครงสร้างจุลภาคเป็นเฟอร์ไรต์และมีคุณสมบัติที่แม่เหล็กสามารถดูดติดได้   มีค่าความต้านทานแรงดึงที่จุดคราก (Yield strength) และค่าความต้านทานแรงดึง (Tensile strength) ปานกลาง   มีค่าความยืด (Elongation) สูง เช่น เกรด 430, 409   เหล็กกล้าไร้สนิมชนิดเฟอร์ริติกมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มออสเตนนิติก   แต่อาจพบปัญหาเรื่องเกรนหยาบ (Grain coarsening) และสูญเสียความแกร่ง (Toughness) หลังการเชื่อม   การใช้งาน เช่น ชิ้นส่วนเครื่องซักผ้า   ชิ้นส่วนระบบท่อไอเสีย   และในบางเกรดจะผสมโครเมี่ยมสูงเพื่อใช้กับงานที่ต้องทนอุณหภูมิสูง

                เหล็กกล้าไร้สนิมออสเตนนิติกที่ใช้กันมากจะผสมโครเมี่ยมประมาณ 17% (ช่วงของส่วนผสมของ Cr +/-1%) และนิกเกิล (Ni) ประมาณ 9% (ช่วงของส่วนผสมของ Ni +/-1%) การผสมนิกเกิลทำให้เหล็กกลุ่มนี้ต่างจากกลุ่มเฟอร์ริติกโดยนิกเกิลจะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน และทำให้โครงสร้างจุลภาคเป็นออสเตนไนต์    เหล็กกลุ่มนี้บางเกรดจะผสมโครเมี่ยมและนิเกิลเพิ่มเพื่อให้สามารถทนต่อการเกิดออกซิเดชั่นที่อุณหภูมิสูง ซึ่งทำให้สามารถใช้เป็นส่วนประกอบของเตาหลอม   เหล็กกลุ่มออสเตนนิติกนี้จะทนทานต่อการกัดกร่อนดีกว่าเหล็กกลุ่มเฟอร์ริติก   ในด้านคุณสมบัติเชิงกล เหล็กกลุ่มออสเตนนิติกจะมีค่าความต้านทานแรงดึงที่จุดคราก (Yield strength) ใกล้เคียงกับของกลุ่มเฟอร์ริติก แต่จะมีค่าความต้านทานแรงดึง (Tensile strength) และค่าความยืด (Elongation) สูงกว่าจึงสามารถขึ้นรูปได้ดีมาก   เหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มนี้มีคุณสมบัติที่แม่เหล็กไม่ดูดติด (ในสภาพผ่านการอบอ่อน) เช่น เกรด 304, 316L, 321, 301   การใช้งาน เช่น หม้อ ช้อน ถาด

                เหล็กกล้าไร้สนิมมาร์เทนซิติก   จะผสมโครเมี่ยมประมาณ 11.5-18% เหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มนี้มีคาร์บอนพอสมเหมาะและสามารถชุบแข็งได้ เหล็กกล้ากลุ่มนี้มีค่าความต้านทานแรงดึงที่จุดคราก (Yield strength) และความต้านทานแรงดึง (Tensile strength) สูงมาก แต่จะมีค่าความยืด (Elongation) ต่ำ เช่น เกรด 420  การใช้งาน เช่น ใช้ทำเครื่องมือตัดชิ้นส่วน มีด

                เหล็กกล้าไร้สนิมดูเพล็กซ์ จะมีโครงสร้างผสมระหว่างออสเตนไนต์และเฟอร์ไรต์ มีโครเมี่ยมผสมประมาณ 21-28% และนิกเกิลประมาณ 3-7.5% เหล็กกล้ากลุ่มนี้จะมีความต้านทานแรงดึงที่จุดครากสูงและค่าความยืดสูง   จึงเรียกได้ว่ามีทั้งความแข็งแรงและความเหนียว (Ductility) สูง เช่น เกรด 2304, 2205, 2507

                เหล็กกล้าไร้สนิมอบชุบแข็งด้วยการตกผลึก มีโครเมี่ยมผสมประมาณ 15-18% และนิกเกิลอยู่ประมาณ 3-8% เหล็กกล้ากลุ่มนี้สามารถทำการชุบแข็งได้ จึงเหมาะสำหรับทำแกน ปั๊ม หัววาล์ว ตัวอย่างเกรดของเหล็กกลุ่มนี้ เช่น PH13-9Mo, AM-350



ผิวสำเร็จชนิดต่างๆ ของเหล็กกล้าไร้สนิม

ชนิดของผิว(Surface finish)
 ลักษณะ
 
No.1
 ผิวผ่านการรีดร้อน อบอ่อน ขจัดสนิมและกัดกรด (Descaling & Pickling) ผิวมีสีขาวเทา ค่อนข้างหยาบเนื่องจากผ่านการกัดกรดที่รุนแรง
 
2D
 ผิวผ่านการรีดเย็น อบอ่อนและกัดกรด
 
2B
 ผิวผ่านการรีดเย็น อบอ่อน กัดกรดและรีดปรับความเรียบผิว (skin pass rolling)
 
BA
 ผิวผ่านการรีดเย็นและอบอ่อนในสภาพบรรยากาศควบคุมทำให้ผิวมีลักษณะมัน เงา
 
No.3
 ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัดเบอร์ 100-120
 
No.4
 ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัดเบอร์ 150-180
 
#240
 ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัดเบอร์ 240
 
#320
 ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัดเบอร์ 320
 
#400
 ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัดเบอร์ 400
 
HL
 ผิวผ่านการขัดละเอียดโดยมีรอยขัดเป็นเส้นต่อเนื่องคล้ายเส้นผม (Hair line)
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #17 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 02:02:04 PM »

การทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิม

                โดยทั่วไป เหล็กกล้าไร้สนิมจะต้านทานต่อการกัดกร่อนโดยการสร้างชั้นฟิล์มบางๆ ของโครเมี่ยมออกไซด์ที่แน่นและเสถียร (passive) ที่ผิว   ทำให้ออกซิเจนจากบรรยากาศยากที่จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับเนื้อเหล็กใต้ผิวชั้นฟิล์ม  จึงต้านทานต่อการกัดกร่อน     อย่างไรก็ตาม เมื่อมีสิ่งสกปรกมาเกาะที่ผิว เช่น ฝุ่น หรือวัสดุอื่นๆ   จะขัดขวางขบวนการสร้างฟิล์มที่เสถียรและเกิดบริเวณที่อาโนดและคาโธด (เช่น เศษเหล็กจากเครื่องมือ (tool) ที่ใช้ขึ้นรูปเกาะติดผิวเหล็กกล้าไร้สนิมนั้นควรจะทำความสะอาดให้ออกไป) ทำให้เกิดการกัดกร่อน     เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถทำความสะอาดได้ง่ายๆ หลายวิธีโดยไม่ต้องกลัวว่าผิวเนื้อโลหะจะหลุดออกเหมือนโลหะเคลือบอื่นๆ     นอกจากนี้ เรายังสามารถเลือกความหยาบหรือลวดลายบนพื้นผิว (ชนิดของผิวสำเร็จ) ตลอดจนการออกแบบให้สามารถทำความสะอาดได้ง่าย เช่น การทำความสะอาดโดยน้ำฝนตามธรรมชาติ (สำหรับการใช้งานภายนอก) ได้ด้วย

 

รูปแบบของสิ่งสกปรกบนพื้นผิว

                สิ่งสกปรกที่เกิดกับเหล็กกล้าไร้สนิมมีหลายรูปแบบ เช่น

                ฝุ่น  เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถมีฝุ่นและดินมาเกาะได้   โดยสิ่งสกปรกมาจากหลายแหล่งโดยลมที่เราสัมผัสอยู่ทุกวัน     สิ่งสกปรกต่างๆ จะให้ผลต่างกันไปต่อความสวยงาม  การกัดกร่อน  และความยาก-ง่ายในการขจัดออก     บางอย่างสามารถขจัดออกได้ง่าย แต่บางอย่างต้องการสารทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพเฉพาะ     จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นเป็นแบบไหน     บ่อยครั้งที่น้ำอุ่น / สบู่ / แอมโมเนีย / ผงซักฟอก ก็เพียงพอที่จะใช้ทำความสะอาดได้     โดยสามารถใช้ร่วมกับผ้านุ่ม หรือฟองน้ำ (หรือแปรงไนล่อน ถ้าสิ่งสกปรกเกาะแน่น) ในการทำความสะอาดก็ได้

ข้อควรระวัง - แปรงเหล็กกล้าทั่วไป หรือฝอยเหล็กกล้าไม่ควรใช้กับทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิมเนื่องจากอาจมีอนุภาคของเหล็กกล้าฝังที่เหล็กกล้าไร้สนิมแล้วทำให้เกิดสนิมได้

                หลังการทำความสะอาดควรใช้น้ำที่สะอาด ล้างตามด้วยเสมอ

                นอกจากนี้   สำหรับน้ำที่มีแร่หรือของแข็งเป็นองค์ประกอบจะทิ้งคราบน้ำไว้เมื่อแห้ง     การเช็ดผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยผ้าที่แห้งจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ

                รอยนิ้วมือและคราบบางๆ  เป็นผลจากการใช้งานตามปกติซึ่งพบทั่วไป     อย่างไรก็ตาม มันมักมีผลกระทบเพียงเรื่องความสวยงามและไม่ค่อยจะมีผลต่อความต้านทานการกัดกร่อน     รอยนิ้วมือและคราบบางๆ สามารถที่จะขจัดออกได้ง่ายโดยหลายวิธี เช่น รอยนิ้วมือที่อาจเป็นปัญหาสำหรับผิวที่ขัดมันหรือผิวสำเร็จชนิด bright finished นั้น สามารถขจัดออกได้ด้วยการเช็ดด้วยแอลกอฮอล์  thrichlorethylene หรือ acetone ล้าง (rinse) ด้วยน้ำที่สะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง     อย่างไรก็ตาม มีผิวสำเร็จเฉพาะหลายผิวสำหรับเหล็กกล้าไร้สนิมถูกออกแบบมาเพื่อลดปัญหาเรื่องรอยนิ้วมือ  เข่น  ผิวมีลวดลายนูนจากการรีด (embossed) หรือผิวสำเร็จแบบ line pattern เป็นต้น

                น้ำมันและคราบมัน   น้ำมัน  อาจมีคราบมัน ขี้ผงและเศษโลหะอยู่ด้วย ทำให้ผิวสกปรกหลังผ่านงาน shop     สิ่งสกปรกเหล่านี้จะกัดกร่อนและอาจทำให้ผิวเหล็กกล้าไร้สนิมไม่สามารถรักษาความเสถียร (passive) ได้     ดังนั้น การขจัดออกเป็นครั้งคราวจึงเป็นสิ่งจำเป็น     เริ่มจากอาจลองใช้สบู่หรือผงซักฟอกกับน้ำในการทำความสะอาด     การทำความสะอาดอย่างง่ายๆ ทำโดยให้ตัวสารละลายให้สัมผัสกับผิวเหล็กที่จะทำความสะอาด   และปล่อยให้การละลายของสิ่งสกปรกเกิดขึ้น เช่น การกวนของชิ้นส่วนเหล็กกล้าไร้สนิมเล็กๆ ในถาดของสารละลาย     นอกจากนี้ การล้างผิวด้วย trichloroethylene หรือ ตัวทำละลายชนิด Non-halogented เช่น อะเซโตน (acetone) หรือแอลกอฮอล์ เช่น methyl alcohol, ethyl alcohol, methyl ethyl ketone, benzene, isopropyl alcohol หรือน้ำมันสน ก็สามารถใช้ได้ดี     จากนั้น จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาดและเช็ดให้แห้ง



ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานเหล็กกล้าไร้สนิม

1)       สวมถุงมือหรือใช้ผ้าที่สะอาดป้องกันคราบหรือรอยนิ้วมือเมื่อต้องขนย้ายเหล็กกล้าไร้สนิม

2)       หลีกเลี่ยงการใช้เศษผ้าที่เปื้อนน้ำมันหรือจารบีเช็ดผิวเหล็กกล้าไร้สนิม

3)       ทำความสะอาดผิวที่เปิด (exposed) ของเหล็กกล้าไร้สนิมเป็นประจำ

4)       การทำความสะอาดเหล็กกล้าไร้สนิมโดยการใช้กรดกัด (เช่น เพื่อขจัดสิ่งสกปรกประเภทโลหะ รอยเชื่อม และ heat-treating scales) นั้น (ASTM A380)  ไม่ควรใช้กับเพื่อ descaling เหล็กกกล้าไร้สนิมชนิดออสเตนนิติกที่สูญเสียโครเมี่ยม (sensitized austenitic stainless steels) หรือ เหล็กกล้าไร้สนิมชนิดมาร์เทนซิติกที่ผ่านการชุบแข็งหรือ บริเวณที่สัมผัสกับชิ้นส่วนเหล็กกล้าคาร์บอน

5)       หลังจากทำความสะอาดควรล้าง (rinse) ผิวเหล็กด้วยน้ำสะอาดตาม

6)       ควรหลีกเลี่ยงการทำความสะอาดด้วยตัวทำละลายที่มีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบ

7)       แม้แต่ผงขัดที่ละเอียดที่สุดก็สามารถสร้างรอยขีดข่วนแก่ผิวสำเร็จบางผิวของเหล็กกล้าไร้สนิมได้     สำหรับผิวประเภทที่ได้จากการขัด (polished finish)  การเช็ดทำความสะอาดควรทำในทิศทางเดียวกับรอยจากผิวสำเร็จ   ไม่ควรทำขวางรอยจากผิวสำเร็จ

       ไม่ใช้ตัวทำละลายในบริเวณที่ปิด (closed space) หรือระหว่างการสูบบุหรี่



การกัดกร่อนของโลหะและการป้องกัน

(Metallic Corrosion and Its Prevention)

 ปัจจุบัน เรามีการใช้เหล็กเป็นวัสดุพื้นฐานสำหรับงานต่างๆ มากมาย     ซึ่งข้อพิจารณาในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เหล็ก นอกจากจะดูที่ความแข็งแรง  ความเหนียว (Toughness)  ความสามารถในการขึ้นรูปและความสามารถในการเชื่อมประกอบแล้ว     เรายังต้องพิจารณาถึงความต้านทานการกัดกร่อนด้วย เพื่อให้ใช้งานเหล็กได้อย่างคุ้มค่า  ลดความจำเป็นในการซ่อมบำรุง และมั่นใจในความปลอดภัย เช่น อุตสาหกรรมอาหาร  การขนส่งเชื้อเพลิงโดยท่อเหล็ก เป็นต้น     บทความนี้จะเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับรูปแบบการกัดกร่อนบางประเภทที่เกิดกับโลหะและการป้องกัน

•         การกัดกร่อนแบบสม่ำเสมอ (Uniform corrosion) เป็นการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากโลหะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยอัตราการสูญเสียของเนื้อโลหะที่บริเวณต่างๆ จะใกล้เคียงกัน   ทำให้สามารถวัดอัตราการกัดกร่อนและออกแบบการบำรุงรักษาตามช่วงระยะเวลาได้

•         การกัดกร่อนเนื่องจากความต่างศักย์ (Galvanic corrosion) เช่น เมื่อโลหะ 2 ชนิดที่ต่างกันมาเชื่อมต่อกันจะเกิดความต่างศักย์ขึ้น ทำให้เกิดการไหลของอิเล็กตรอนระหว่างโลหะทั้งสอง  โลหะที่ต้านทานการกัดกร่อนได้น้อยกว่าจะเป็นอาโนด  โลหะที่ต้านทานการกัดกร่อนได้มากกว่าทำหน้าที่เป็นคาโธด โดยระดับการกัดกร่อนขึ้นกับสภาพสิ่งแวดล้อมที่โลหะทั้งสองสัมผัส  ระยะห่างจากรอยต่อ (การกัดกร่อนแบบกัลวานิคจะรุนแรงที่สุดบริเวณใกล้รอยต่อระหว่างโลหะทั้งสอง และอัตราการกัดกร่อนจะลดลงเมื่อระยะห่างจากรอยต่อนั้นเพิ่มขึ้น)  สัดส่วนพื้นที่ของคาโธดต่อพื้นที่ของอาโนด (ยิ่งสัดส่วนดังกล่าวมาก ความรุนแรงของการกัดกร่อนที่อาโนดก็จะยิ่งสูงขึ้น)

•         การกัดกร่อนแบบช่องแคบ (Crevice corrosion) เป็นการกัดกร่อนเฉพาะบริเวณ (localised corrosion) แบบหนึ่ง มักเกิดขึ้นบริเวณช่องแคบหรือรอยแยกของโลหะที่สัมผัสกับสารละลายที่สามารถแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้า (electrolyte) ได้     การกัดกร่อนแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้โลหะสัมผัสกับอโลหะ เช่น rubber gasket     อัตราการกัดกร่อนในช่องแคบจะสูงกว่าของเนื้อโลหะโดยรวม (bulk)     นอกจากนี้การกัดกร่อนแบบช่องแคบมักเกิดกับโลหะที่โลหะผสมที่ผิวเป็น passive เช่น เหล็กกล้าไร้สนิม

•         การกัดกร่อนแบบเป็นหลุม (Pitting) เป็นการกัดกร่อนเฉพาะที่ (localized attack) อีกแบบหนึ่ง   การกัดกร่อนแบบนี้ทำให้เกิดความเสียหายได้แม้สูญเสียน้ำหนักโลหะเพียงเล็กน้อย แต่เป็นอันตรายเพราะมักเป็นการเสียหายแบบฉับพลัน   โดยจะทะลุเป็นรูและยากที่จะตรวจหา  เพราะขนาดเล็กและอาจถูกปกคลุมด้วยผลิตภัณฑ์จากการกัดกร่อน (corrosion product)     การกัดกร่อนแบบเป็นหลุมมักจะเกิดกับโลหะที่ผิวเป็น passive ซึ่งจะทำให้มีแรงขับ (driving force) ที่จะทำให้เกิดกระแสการกัดกร่อนไหลไปในหลุมสูง     ถ้าผิวภายนอก active ก็จะขาดแรงขับต่อการเกิดการกัดกร่อนกัดแบบหลุม     การกัดกร่อนแบบหลุมจะพบบ่อยในสารละลายที่มีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบ เช่น น้ำทะเล

•         การกัดกร่อนตามขอบเกรน (Intergranular corrosion)  โดยปกติการกัดกร่อนบริเวณขอบเกรน (grain boundary) จะเกิดได้ดีกว่าที่โลหะพื้น (matrix) เล็กน้อย  แต่ในบางสภาวะ การกัดกร่อนบริเวณขอบเกรนจะไวมาก เช่น ปัญหาที่พบบ่อยของการกัดกร่อนแบบนี้ในเหล็กกล้าไร้สนิม คือ บริเวณรอยเชื่อมของเหล็กกล้าไร้สนิมที่เกิดการสูญเสียโครเมี่ยมในรูปของคาร์ไบด์ (Cr23C6) ทำให้เกิดการกัดกร่อนแบบนี้ในบริเวณใกล้แนวเชื่อม เนื่องจากขาดโครเมี่ยมสำหรับการสร้างฟิล์มโครเมี่ยมออกไซด์ที่แน่นและป้องกันเนื้อเหล็ก

•         การผุกร่อนแบบเลือก (Selective leaching or Dealloying) จะเกิดกับโลหะผสมที่ธาตุหนึ่งเสถียรกว่าอีกธาตุหนึ่งเมื่อสัมผัสกับบรรยากาศ เช่น

- การผุกร่อนแบบ Dezincification ของทองเหลือง (ทองแดงผสมสังกะสี) ที่สังกะสีจะถูกละลายออกไป เหลือไว้เหลือแต่ทองแดงที่เป็นรูพรุน ซึ่งแม้ว่ารูปทรงจะเหมือนเดิม แต่ความแข็งแรงจะลดลง     ปัญหาดังกล่าวสามารถลดลงได้โดยการเติมดีบุกประมาณ 1 % ลงในทองเหลือง

- Graphitization ของเหล็กหล่อเทา คือ การผุกร่อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากเหล็ก (อาโนด) ผุกร่อนไป เหลือตาข่ายกราไฟต์ลักษณะแผ่น (Graphite flake) ที่เป็นคาโธดไว้   ทำให้โครงสร้างเหล็กหล่อเทาสูญเสียความแข็ง   การแก้ปัญหาทำโดยการใช้เหล็กหล่อกราไฟต์กลม หรือเหล็กหล่ออบเหนียว (Malleable cast iron) แทน

•         การกัดเซาะ (Erosion corrosion) เป็นการกัดกร่อนที่เกิดจากทั้งทางเคมีและทางกล เช่น ในท่อส่งสารละลายที่กัดกร่อนซึ่งอาจมีสารแขวนลอยของแข็งผสม   การกัดกร่อนแบบนี้จะถูกเร่งด้วยการชนของอนุภาค ซึ่งอาจทำให้เนื้อโลหะหลุดออก หรือแค่ทำให้ออกไซด์แน่นที่ปกป้องผิวหลุดออก เปิดให้เนื้อโลหะถูกกัดกร่อนง่ายขึ้น

•         Stress corrosion เป็นการกัดกร่อนที่เกิดโดยความเค้นและสภาพแวดล้อมที่กัดกร่อน   โดยสภาพความเค้นของโลหะอาจเกิดจากความเค้นภายในเหลือค้าง (Residual internal stress) เช่น

- จากการขึ้นรูปเย็น (Cold forming) ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยทำการอบอ่อน (Annealing) หลังการขึ้นรูป

- การเย็นตัวอย่างไม่สม่ำเสมอจากอุณหภูมิสูง เป็นต้น

ความเค้นจากภายนอก เช่น

- การสั่นสะเทือน

- การรับการดัดโค้ง

- ผลของความร้อน (ขยายตัวหรือหดตัว) เป็นต้น



การป้องกันการกัดกร่อน

 เราสามารถชะลอการกัดกร่อนของโลหะได้โดย

1.       การเลือกใช้วัสดุ (Material selection) ที่เหมาะสม เช่น

ในกรณีที่ต้องเชื่อมต่อโลหะ 2 ชนิดที่ต่างกัน ควรเลือกโลหะที่มีค่าศักย์ไฟฟ้ารีดักชัน (Reduction potential) ใกล้เคียงกัน   เพื่อป้องกันการกัดกร่อนเนื่องจากความต่างศักย์ (Galvanic corrosion)

ในกรณีของเหล็กกล้าไร้สนิมที่ใช้งานบริเวณที่ใกล้ทะเล     เราสามารถลดแนวโน้มการเกิดการกัดกร่อนแบบหลุม (Pitting) ได้โดยเลือกใช้เกรด 316 ที่ผสมโมลิบดินั่มประมาณ 2 % แทนเกรด 304

ในกรณีของเหล็กกล้าไร้สนิมที่หนาและต้องทำการเชื่อม     เราสามารถป้องกันการกัดกร่อนตามขอบเกรน (Intergranular corrosion) ได้โดยเลือกใช้เกรดที่มีคาร์บอนต่ำ (ไม่เกิน 0.03% เช่น เกรด 316L) หรือเกรดที่ผสม Ti หรือ Nb (ซึ่งมีความสามารถในการจับกับคาร์บอนได้ดีกว่าโครเมียม)

ใส่ใจเรื่องการเลือกใช้ลวดเชื่อม เพื่อป้องกันการกัดกร่อนบริเวณรอยเชื่อม เป็นต้น

2.       การออกแบบ (Design) ที่เหมาะสม เช่น

ออกแบบให้สัดส่วนพื้นที่ของอาโนดต่อพื้นที่ของคาโธดที่สูงจะลดการกัดกร่อนแบบ Galvanic ได้ดีกว่า

ทำการเคลือบโดยการพิจารณาอย่างรอบคอบ เช่น การทาสีบนโลหะที่ทนการกัดกร่อนน้อย (anode) โดยไม่ทาสีบนโลหะที่ต้านทานการกัดกร่อนมากกว่า (คาโธด) นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ   เนื่องจากรูขนาดเล็ก (pin-holes) ในบริเวณที่ทาสีไม่สมบูรณ์จะทำให้เกิดพื้นที่อาโนดขนาดเล็ก แต่มีพื้นคาโธดที่ขนาดใหญ่ จึงเป็นการเร่งการกัดกร่อนเฉพาะบริเวณที่อาโนด

ลดการสัมผัสทางไฟฟ้าระหว่างโลหะต่างชนิดกันเพื่อป้องกัน Galvanic corrosion เช่น ใช้ฉนวน (insulator) คั่น

ใช้ปะเก็น (Gasket) ที่เป็นของแข็ง เช่น เทฟลอนแทนวัสดุที่ดูดซับของเหลวได้

ออกแบบควบคุมการไหลของสารที่ขนส่งในท่อและวาล์วให้เหมาะสม  โดยคำนึงถึงรูปร่างและลักษณะทางเรขาคณิต หรือการเพิ่มความหนาของวัสดุบริเวณที่ถูกกัดเซาะสูง (Erosion corrosion) เป็นต้น

ในกรณีที่ส่งผ่านของเหลวที่มีตะกอนตามท่อโลหะ อาจพิจารณาใช้ตัวกรองเพื่อกรองของแข็งออก     เพื่อช่วยลดการกัดเซาะ

ออกแบบเผื่อให้ชิ้นงานให้มีความหนามากขึ้น หรือออกแบบให้ชิ้นงานที่เป็นอาโนดสามารถถอดเปลี่ยน ซ่อมบำรุงได้ง่าย

สำหรับเหล็กกล้าไร้สนิมที่ได้สูญเสียโครเมี่ยมไปในรูปของคาร์ไบด์ (sensitised) เช่น ชิ้นงานหนาที่ผ่านการเชื่อม     การปรับปรุงโดยกระบวนการทางความร้อนเพื่อละลายคาร์ไบด์จะสามารถช่วยป้องกันการกัดกร่อนตามขอบเกรนได้

เราสามารถลด Stress corrosion cracking ได้โดยการลดความเค้นเหลือค้างในชิ้นงานให้ต่ำลง โดยการอบคลายความเครียด

ใช้การเชื่อมแทนการใช้หมุดย้ำ (Rivet) หรือสลักเกลียว (Bolt) ในการยึดวัสดุ
               
 การเชื่อมต่อโลหะ 2 ชนิดที่ต่างกัน ควรเลือกใช้โลหะที่ใช้เชื่อมที่ต้านทานการกัดกร่อนสูงกว่าโลหะพื้น (Base metal) ที่ต้องการยึดต่ออย่างน้อย 1 ตัว

3.       การปรับสภาพแวดล้อม (Modification of environment) และการบำรุงรักษาโลหะ เช่น

การใช้สารยับยั้งการกัดกร่อน (inhibitor) เติมในสารละลายที่ต้องการใช้ลำเลียง จัดเก็บหรือใช้ทำการผลิต เพื่อลดการกัดกร่อนของอุปกรณ์โลหะที่สัมผัส

การศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการกัดกร่อน เช่น การเปลี่ยนสภาพจากคาโธดเป็นอาโนดในระบบสิ่งแวดล้อมต่างๆ เป็นต้น

ทำความสะอาด ตรวจสอบอุปกรณ์และขจัดตะกอนที่ตกค้างอย่างสม่ำเสมอ  เป็นต้น

4.       การเคลือบผิว/ทาสี (Coating/painting) มีด้วยกันหลายแบบ เช่น การเคลือบผิวเหล็กด้วยสังกะสี ดีบุก หรืออีนาเมล    เป็นต้น

5.       วิธีการทางไฟฟ้า-เคมี (Electrochemical methods)

วิธี Cathodic protection โดยการทำให้โครงสร้างที่ต้องการป้องกันเป็นคาโธด ซึ่งอาจทำโดยการให้กระแสไฟฟ้า (impressed current) หรือการใช้อาโนดสิ้นเปลือง (sacrificial anode) โดยใช้วัสดุตัวอื่นซึ่งทำหน้าที่เป็นอาโนดต่อเข้ากับโลหะที่ต้องการป้องกัน เพื่อให้ผุกร่อนแทน

วิธี Anodic protection โดยการใช้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกทำให้โลหะที่ต้องการปกป้องสร้างชั้นฟิล์มที่เสถียร (protective film) ที่ผิวซึ่งจะใช้ได้กับโลหะเพียงบางชนิด  ต่างจาก Cathodic protection ที่สามารถใช้กับโลหะได้ทุกชนิด 
บันทึกการเข้า
ban.cha
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 02:16:18 PM »

ขอขอบคุณท่าน ArjunA
บันทึกการเข้า
ban.cha
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #19 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 02:23:47 PM »

ได้อ่านข้อมูลทางวิชาการ วิศกรรมศสาตร์ โลหะวิทยา 
นึกถึงตอนเป็นนักเรียน  ไม่ค่อยสนใจเรียน  จนเจอปัญหาตอบไม่ได้.....
       ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้คำตอบ  + 1 ทุกคนเลย...... ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.103 วินาที กับ 22 คำสั่ง