เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 02, 2024, 05:34:37 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ถามถึงการซีดจางของฮาร์ดโคร์ม  (อ่าน 4052 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
white63
เราเบิก บานใจ เมื่ออยู่ เคียงกัน
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 44
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 552



« เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 02:15:26 AM »

ขอเรียนสอบถามท่านที่รู้ครับ ปืนที่ชุบฮาร์ดโคร์มมา เช่น ปืนลูกโม่ที่ใส่ประกับด้ามแบบเห็นสันด้าม ซึ่งเวลาเรายิงหรือกำด้ามปืนโดนบริเวณนี้บ่อยมากๆ ผิวฮาร์ดโคร์มที่ชุบมาจะมีโอกาสบางลงหรือซีดจางลงแบบปืนรมดำได้หรือไม่ครับ ยิ่งถ้าเราใช้หรือยิงปืนกระบอกนี้บ่อย โดนเหงื่ออยู่เป็นประจำ อายุการใช้งานของผิวฮาร์ดโคร์มนี้ ทนทานนานหรือไม่ครับ ( แต่เราใช้แบบถนอมนะครับ ดูแลเช็ดด้วยผ้าชื้นน้ำมันอยู่เสมอ ) รบกวนพี่ท่านใดทราบช่วยชี้แจงด้วย เป็นข้อมูลสำหรับอนาคตครับ เพราะไม่เคยมีปืนชุบสักกระบอก ขอบคุณครับ  Smiley Smiley
บันทึกการเข้า

BLUE ZONE 63  เก็บอดออมทำงานไม่รั้งรอ พ่อก็ไม่รวยสักที กีฬาเล่น เป็นแต่ไม่ดี กล้ามฉันไม่ค่อยมี
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 02:26:39 AM »

การชุบฮาร์ดโครมเป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานแก่ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ช่วยให้หน้าวัตถุแข็งแกร่ง
ฮาร์ดโครมมีความแข็งประมาณ 58-62 H.R.C มีลักษณะ เรียบลื่น เป็นมันเงา และไม่เป็นสนิม ทั้งยังช่วยเพิ่มคุณภาพและความสวยงามให้แก่ชิ้นงานอีกด้วย

การชุบฮาร์ดโครม เป็นวิธีการเคลือบเชิงไฟฟ้า (Electrolytic Deposition) โดยใช้โครเมียม ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะกับงานเชิงวิศวกรรม
วัตถุที่นิยมนำมาชุบส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กกล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็กกล้าชุบแข็ง การชุบฮาร์ดโครมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ
คือ การชุบอย่างบางและการชุบหนา “การชุบอย่างบาง” เป็นการชุบเพื่อยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
ที่มักใช้ในงานที่มีอัตราความเสี่ยงต่อการสึกกร่อนสูง หรืองานที่อยู่ในสภาพที่มีการกัดกร่อนทางเคมี
สำหรับ “การชุบหนา” เป็นการชุบเพื่อซ่อมแซมชิ้นส่วนอะไหล่ที่ชำรุดเสียหาย ให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม
 ตัวอย่างชิ้นส่วนที่นำมาชุบฮาร์ดโครม เช่น กระบอกสูบไฮดรอลิก (Hydraulic cylinder) ด้ามลูกสูบ (Pump shafts) ใบพัด (Rotors) ลูกโม่ (Rollers)
วงแหวนลูกสูบ (Piston ring) ผิวด้านนอกเบ้าหล่อ (Mold surfaces) แม่พิมพ์ตอกโลหะ (Dies) ตะปูควง (Screws) เข็มร้อยด้าย (Thread guides)
และลำกล้องปืน (Gun bores) เป็นต้น

คุณสมบัติ:

ค่าความแข็งสูง
ต้านทานการสึกกร่อนได้ดี
ต้านทานการกัดกร่อนจากสารเคมีได้ดี

สัมประสิทธิ์การเสียดทานต่ำ
ใช้อุณหภูมิในการซ่อมแซมต่ำ
ทนความร้อน
ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเฉียบพลัน
ทนต่อการเสียดสี
มีความหนา (สามารถชุบหนาได้ตั้งแต่ 0.01 มม. ถึง 1.0 มม.)

 ไหว้ ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 31, 2012, 05:44:43 PM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
PRIVACY
I don't want to survive, I want to live
Full Member
***

คะแนน 36
ออฟไลน์

กระทู้: 400


"Knowledge speaks, but wisdom listens."


« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 04:46:27 AM »

พี่ ArjunA ครับ ผมขอถามต่อนะครับ

การชุบ ฮาร์ดโครม กับ การเทนนิเฟอร์ ผิวโลหะ 2 อย่างนี้แตกต่างกันมากไหมครับในทางคุณสมบัติของผิว ความคงทน และความแข็งของเนื้อโลหะ และคุณสมบัติอื่นๆครับ

 ไหว้ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 08:20:02 AM »

การชุบฮาร์ดโครมเป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานแก่ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ช่วยให้หน้าวัตถุแข็งแกร่ง ฮาร์ดโครมมีความแข็งประมาณ 58-62 H.R.C มีลักษณะ เรียบลื่น เป็นมันเงา และไม่เป็นสนิม ทั้งยังช่วยเพิ่มคุณภาพและความสวยงามให้แก่ชิ้นงานอีกด้วย

การชุบฮาร์ดโครม เป็นวิธีการเคลือบเชิงไฟฟ้า (Electrolytic Deposition) โดยใช้โครเมียม ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะกับงานเชิงวิศวกรรม วัตถุที่นิยมนำมาชุบส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กกล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็กกล้าชุบแข็ง การชุบฮาร์ดโครมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ การชุบอย่างบางและการชุบหนา “การชุบอย่างบาง” เป็นการชุบเพื่อยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ที่มักใช้ในงานที่มีอัตราความเสี่ยงต่อการสึกกร่อนสูง หรืองานที่อยู่ในสภาพที่มีการกัดกร่อนทางเคมี สำหรับ “การชุบหนา” เป็นการชุบเพื่อซ่อมแซมชิ้นส่วนอะไหล่ที่ชำรุดเสียหาย ให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม ตัวอย่างชิ้นส่วนที่นำมาชุบฮาร์ดโครม เช่น กระบอกสูบไฮดรอลิก (Hydraulic cylinder) ด้ามลูกสูบ (Pump shafts) ใบพัด (Rotors) ลูกโม่ (Rollers) วงแหวนลูกสูบ (Piston ring) ผิวด้านนอกเบ้าหล่อ (Mold surfaces) แม่พิมพ์ตอกโลหะ (Dies) ตะปูควง (Screws) เข็มร้อยด้าย (Thread guides) และลำกล้องปืน (Gun bores) เป็นต้น

คุณสมบัติ:

ค่าความแข็งสูง
ต้านทานการสึกกร่อนได้ดี
ต้านทานการกัดกร่อนจากสารเคมีได้ดี

สัมประสิทธิ์การเสียดทานต่ำ
ใช้อุณหภูมิในการซ่อมแซมต่ำ
ทนความร้อน
ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเฉียบพลัน
ทนต่อการเสียดสี
มีความหนา (สามารถชุบหนาได้ตั้งแต่ 0.01 มม. ถึง 1.0 มม.)

 ไหว้ ไหว้

เรื่องค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการ คุณอรชุนเยี่ยมเสมอครับ... เย้
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 08:32:45 AM »

พี่ ArjunA ครับ ผมขอถามต่อนะครับ

การชุบ ฮาร์ดโครม กับ การเทนนิเฟอร์ ผิวโลหะ 2 อย่างนี้แตกต่างกันมากไหมครับในทางคุณสมบัติของผิว ความคงทน และความแข็งของเนื้อโลหะ และคุณสมบัติอื่นๆครับ

 ไหว้ ขอบคุณครับ

เท็นนิเฟอร์(Tenifer) เป็นชื่อทางการค้าของกระบวนการทำผิวโลหะชื่อ "Ferritic nitrocarburizing" มีรายละเอียดดังนี้ครับ... http://en.wikipedia.org/wiki/Ferritic_nitrocarburizing (หากท่านใดภาษาอังกฤษไม่แข็ง ก็น่าจะถือโอกาสนี้เปิดดิกฯ เป็นการอาศัยความอยากรู้ฯ พัฒนาภาษาไปในตัวครับ)

กล่าวโดยสรุปคือ... ได้ความหนาประมาณ 0.05 มิลลิเมตร, แข็ง 64 สเกลร็อคเวล C (กดด้วยหัวเพชร)...
เทียบกับฮาร์ดโครมแล้ว... เท็นนิเฟอร์แข็งกว่า, ทนสนิมดีกว่า, และทนน้ำเกลือ 99.9 เปอร์เซ็นต์ครับ...

นอกจาก Glock แล้วยังมี Walther P99 และ Steyr กับปืนที่ผลิตจากโรงงาน Grandpower (ในสโลวัค) ก็ทำผิวด้วยเท็นนิเฟอร์ครับ...

ที่เราเห็นผิวสีดำบนลำเลื่อน Glock เป็นเพราะเขาทำผิวปากเกอร์ไรซ์ทับผิวเท็นนิเฟอร์อีกทีนึง...

ดังนั้นที่เห็นว่าร้านปืนในบัญชีดำบางร้านขัดผิวเท็นนิเฟอร์ออกทิ้ง แล้วชุบฮาร์ดโครมสีขาวพร้อมเจาะพอร์ตน่ะ... นอกจากทำให้ปืนดีกลายเป็นปืนมีตำหนิแล้วยังทำลายผิวเท็นนิเฟอร์ที่ดีกว่าฮาร์ดโครมออกไปเสียด้วยนะครับ... 
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 08:39:19 AM »

เพิ่มเติมครับ... เบอเร็ตต้าก็ทำผิวด้วยบรูนิต็อง คุณลักษณะเทียบได้กับเท็นนิเฟอร์เช่นกัน เพียงแต่ชื่อทางการค้าไม่เหมือนกัน...
บันทึกการเข้า
ppk/s7.65
Sr. Member
****

คะแนน 48
ออฟไลน์

กระทู้: 678


« ตอบ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 10:21:02 AM »

ถามนิดหนึ่งครับ หากชุบฮาร์ดโครมคุณค่าปืนเก่าจะเสียไหม หรือว่ารมดำดีกว่า
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 10:30:01 AM »

ถามนิดหนึ่งครับ หากชุบฮาร์ดโครมคุณค่าปืนเก่าจะเสียไหม หรือว่ารมดำดีกว่า

ไม่เกี่ยวกับเรื่องชุบใหม่ หรือรมดำใหม่ครับ... แต่เกี่ยวกับเรื่องการเตรียมผิวก่อนไปชุบฯ หรือรมฯ...

คือตามขั้นตอนเขาให้"ทำความสะอาด"แต่ไม่รู้ว่าช่างปืนเขาจะแค่ทำความสะอาดหรือขัดผิวเดิมออกลึกแค่ไหนครับ... ช่างฝีมือดีก็แค่ทำความสะอาด แต่ช่างห่วยมันขัดๆๆๆๆๆ จนตัวหนังสือ, เหลี่ยมมุม, และรายละเอียดหายเกลี้ยงครับ...
บันทึกการเข้า
ppk/s7.65
Sr. Member
****

คะแนน 48
ออฟไลน์

กระทู้: 678


« ตอบ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 10:40:25 AM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
ppk/s7.65
Sr. Member
****

คะแนน 48
ออฟไลน์

กระทู้: 678


« ตอบ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 11:01:40 AM »

หากสนิมลึกแนะนำให้ทำอย่างไรดีครับ หากขัดออกตัวหนังสือคงไปหมด สนิมลึกกว่าตัวหนังสือ

แล้วหากตัวหนังสือหายแกะด้วยเครื่อง cnc ตามร้านจะเหมือนเดิมไหม หรือว่าชุบ ฮาร์ดโครมดี

กะไม่ขายต่ออยู่แล้วทั้งลูกโม่และออโต แบบปืนประจำตระกูลน่ะครับ ไม่รู้คุณค่าทางใจจะหายไหม

แต่ใจชอบฮาร์ดโครม กะไว้ถึงรุ่นโหลน หรือว่าชุบฮาร์ดโครมแล้วรมดำได้ไหม หรือรมดำเย็นแบบน้ำยารมดำทาเอง

จะลายไหม ขอบคุณครับ

บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 11:17:59 AM »

ตั้งกระทู้ใหม่ดีกว่าครับ ท่านอื่นจะได้เห็น และเข้ามาช่วยตอบครับ... เย้...
บันทึกการเข้า
ppk/s7.65
Sr. Member
****

คะแนน 48
ออฟไลน์

กระทู้: 678


« ตอบ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 11:36:41 AM »

O K และขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 02:22:37 PM »

พี่ ArjunA ครับ ผมขอถามต่อนะครับ

การชุบ ฮาร์ดโครม กับ การเทนนิเฟอร์ ผิวโลหะ 2 อย่างนี้แตกต่างกันมากไหมครับในทางคุณสมบัติของผิว ความคงทน และความแข็งของเนื้อโลหะ และคุณสมบัติอื่นๆครับ

 ไหว้ ขอบคุณครับ
ขออนุญาตดึงข้อความของ พี่Iron มาตอบนะครับ   ไหว้ ไหว้
เทนิเฟอร์ของกล็อก ทางด้านงานอบชุบจะเรียกว่า ไนไตรดิ้งครับ ช่วยให้ผิวทนต่อการกัดกร่อน ทนสนิม มีความแข็ง ทนการขูดขีดได้ดีเยี่ยม

ส่วนคัลเลอร์เคสฮาร์เดนนิ่ง ของสมิธ คือ คาร์บูไรซิ่ง ในด้านการอบชุบ

ทั้งสองอย่างนี้เกิดมาจากการที่ต้องการเพิ่มความแข็งของผิวชิ้นงาน เพื่อต้านทานการสึกหรอครับ ทั้งกล็อกและสมิท ไม่ได้คิดเอง แต่ด้านวิศวกรรมมีใช้งานมานานมากแล้วครับ  Grin


เรื่องค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการ คุณอรชุนเยี่ยมเสมอครับ... เย้
ขอบคุณมากครับ พี่สมชาย  ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า
white63
เราเบิก บานใจ เมื่ออยู่ เคียงกัน
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 44
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 552



« ตอบ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 05:59:49 PM »

ขอบคุณทุกท่านครับ Smiley
บันทึกการเข้า

BLUE ZONE 63  เก็บอดออมทำงานไม่รั้งรอ พ่อก็ไม่รวยสักที กีฬาเล่น เป็นแต่ไม่ดี กล้ามฉันไม่ค่อยมี
Choro - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 214
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3853



« ตอบ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2009, 06:18:06 PM »

 ไหว้ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

สุดท้ายชีวิตไม่ขอรวย ขอแค่ไม่ป่วยก็พอแล้ว
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 21 คำสั่ง