การชุบฮาร์ดโครมเป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานแก่ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ช่วยให้หน้าวัตถุแข็งแกร่ง
ฮาร์ดโครมมีความแข็งประมาณ 58-62 H.R.C มีลักษณะ เรียบลื่น เป็นมันเงา และไม่เป็นสนิม ทั้งยังช่วยเพิ่มคุณภาพและความสวยงามให้แก่ชิ้นงานอีกด้วย
การชุบฮาร์ดโครม เป็นวิธีการเคลือบเชิงไฟฟ้า (Electrolytic Deposition) โดยใช้โครเมียม ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะกับงานเชิงวิศวกรรม
วัตถุที่นิยมนำมาชุบส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กกล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็กกล้าชุบแข็ง การชุบฮาร์ดโครมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ
คือ การชุบอย่างบางและการชุบหนา การชุบอย่างบาง เป็นการชุบเพื่อยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
ที่มักใช้ในงานที่มีอัตราความเสี่ยงต่อการสึกกร่อนสูง หรืองานที่อยู่ในสภาพที่มีการกัดกร่อนทางเคมี
สำหรับ การชุบหนา เป็นการชุบเพื่อซ่อมแซมชิ้นส่วนอะไหล่ที่ชำรุดเสียหาย ให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม
ตัวอย่างชิ้นส่วนที่นำมาชุบฮาร์ดโครม เช่น กระบอกสูบไฮดรอลิก (Hydraulic cylinder) ด้ามลูกสูบ (Pump shafts) ใบพัด (Rotors) ลูกโม่ (Rollers)
วงแหวนลูกสูบ (Piston ring) ผิวด้านนอกเบ้าหล่อ (Mold surfaces) แม่พิมพ์ตอกโลหะ (Dies) ตะปูควง (Screws) เข็มร้อยด้าย (Thread guides)
และลำกล้องปืน (Gun bores) เป็นต้น
คุณสมบัติ:
ค่าความแข็งสูง
ต้านทานการสึกกร่อนได้ดี
ต้านทานการกัดกร่อนจากสารเคมีได้ดี สัมประสิทธิ์การเสียดทานต่ำ
ใช้อุณหภูมิในการซ่อมแซมต่ำ
ทนความร้อน
ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเฉียบพลัน
ทนต่อการเสียดสี มีความหนา (สามารถชุบหนาได้ตั้งแต่ 0.01 มม. ถึง 1.0 มม.)