เชื่อว่าศาลยกฟ้องเพราะปลอกกระสุนดังกล่าวไม่ใช่เครื่องกระสุนปืนตามกฎหมายเสียแล้วนะครับ
เพราะไม่สามารถใช้ยิงทำอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ เพราะมันเป็นปลอกกระสุนเสียแล้ว
ซึ่งในกรณีของปลอกกระสุนนี่แตกต่างกับอาวุธปืนซึ่งมีกฎกระทรวงระบุไว้ชัดว่าชิ้นส่วนสำคัญของ
อาวุธปืนให้ถือว่าเป็นอาวุธปืน แต่กระสุนปืนไม่ได้มีกฎกระทรวงกำหนดไว้เช่นนั้นนะครับ ดังนั้นปลอกกระสุน
ปืนจึงไม่ถือว่าเป็นเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมายครับ
งั้นถ้าสมมุติผมเก็บปลอกกระสุนปืนขนาดอื่นๆ ที่ผมไม่ได้มีปืนขนาดที่ได้รับอนุญาตเก็บไว้ เช่น..ไปสนามกับเพื่อนๆก็เก็บขนาด .357 ของเพื่อนๆมาเก็บไว้ดูเล่น ซึ่งผมยังไม่มีปืนขนาดนี้ แบบนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมายใช่ไหมครับ
ผมเข้าใจถูกไหมครับ?
ต้องขอเท้าความนิดนึงก่อนนะครับระบบกฎหมายบ้านเราเป็นระบบประมวลกฎหมาย ( Civil Law )
ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ตัวบทกฎหมายเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดี ดังนั้นคำพิพากษาของศาลฏีกาจึง
เป็นเพียงแนวบรรทัดฐานในการพิพากษาคดีเท่านั้นไม่ใช่กฎหมาย เพียงแต่เป็นแนวทางให้ศาลล่างตัดสิน
( หมายถึงศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และในบางครั้งก็เป็นบรรทัดฐานให้คำพิพากษาฎีกาในเรื่องหลัง ๆ ด้วย )
ในกรณีที่มีคดีที่มีข้อเท็จจริงใกล้เคียงกันเท่านั้น ซึ่งตามกฎหมายคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ผูกพันให้คดีอื่นต้อง
ตัดสินตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้นด้วย ซึ่งก็มีมากมายที่ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ได้พิพากษาไว้
ก่อนหน้านี้ ยิ่งในกรณีคดีที่ยังมีการถกเถียงกันอยู่ก็มีโอกาสที่ศาลฎีกาจะกลับคำพิพากษาได้
อย่างที่ท่านผู้การสุพินท์ว่าไว้กรณีที่ใกล้เคียงกันถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดก็มาก ซึ่งในคดีแต่ละเรื่องนั้น
มีข้อเท็จจริง ปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาประกอบมากมาย ที่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนไปได้ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
ดังนั้นในกรณีเก็บปลอกกระสุนที่ไม่สามารถใช้กับอาวุธปืนของตัวเองได้มาไว้ที่บ้านนี่ แม้คำพิพากษาฏีกา
อาจจะพิพากษาไว้ว่าไม่เป็นความผิด แต่หากเจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบก็เป็นปกติที่อาจจะต้องทำการจับกุมตัว
ไว้ก่อนเพราะถือว่าคดีมีมูล ถึงท้ายที่สุดอัยการอาจสั่งไม่ฟ้อง หรือศาลพิพากษายกฟ้อง แต่ท่านก็ต้องเสียทั้งเงิน
ประกันตัว เงินค่าทนาย และเสียเวลา ดังนั้นถ้าเป็นผมผมจะไม่ทำครับ
คิดเล่น ๆ นะครับ
พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา ๘ ไม่ได้ใช้คำว่ากระสุนปืนเฉย ๆ แต่เขียนว่า "เครื่องกระสุนปืน"
และตามมาตรา ๔ (๒) เครื่องกระสุนปืนจะหมายความรวมไปถึงไพรเมอร์ กับหัวกระสุน รวมทั้งเครื่องมืออัดกระสุนด้วย
คิดว่า มาตรา ๘ มีขอบเขตการคุ้มครอง ไปถึงขนาดไหนครับ
ก่อนอื่นเลยนะครับพอดีเพิ่งค้นเจอคำพิพากษาศาลฏีกาที่พอจะเทียบเคียงกันได้ เลยขออนุญาตคัดลอกมาลงก่อนนะครับ
คำพิพากษาที่ 2095/2536 ลูกระเบิดที่ไม่มีชนวนหัวท้ายมีความสมบูรณ์อยู่ใน ตัวเองพร้อมที่จะใช้งานหากนำชนวนหัว
และชนวนท้ายมาประกอบเข้าด้วยกันก็จะสามารถทำการยิงได้ทันที จึงเป็นวัตถุระเบิดหรือเครื่องกระสุนปืน ตามความหมายของ
พระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4(2) และ (3)
คำพิพากษาที่ 5164/2533 ลูกระเบิด ตามคำนิยามในมาตรา 4(2) แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯพ.ศ. 2490 จะต้องอยู่ในสภาพ
ที่มีคุณสมบัติเมื่อนำออกใช้จะระเบิดและมีอำนาจทำลายสังหารชีวิตมนุษย์ สัตว์ และทรัพย์สินเสียหายได้ถ้าลูกระเบิดขาดคุณ
สมบัติดังกล่าว หากมีพฤติการณ์ของผู้มีไว้ในครอบครองว่าจะนำไปใช้ทำเป็นวัตถุระเบิดโดยนำมาประกอบใหม่ให้มีคุณสมบัติ
และอยู่ในสภาพที่ใช้ระเบิดได้ก็อาจจะถือเป็นความผิดได้เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยมีลูกระเบิดขว้างชนิดสังหาร
สหภาพพม่า จำนวน 1 ลูก อยู่ในสภาพที่ใช้ทำการระเบิดไม่ได้เพราะไม่มีชนวนประกอบ โดยไม่แสดงให้เห็นพฤติการณ์ของ
จำเลยว่าจะนำลูกระเบิดดังกล่าวไปประกอบชนวนใหม่เพื่อใช้ทำเป็นลูกระเบิดอย่างไรแล้ว แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ฟัง
ไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานมีลูกระเบิดไว้ในครอบครองตามฟ้อง.
คำพิพากษาที่ 5120/2533 กระสุนปืนเล็กกล ขนาด .223 ซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้นั้น แม้จะไม่มีดิน
ส่งกระสุนปืนไม่อาจใช้ยิงให้กระสุนปืนลั่นได้ก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งสำหรับทำหรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืนได้ตามความหมายของคำว่า
"เครื่องกระสุนปืน" ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 4(2) ดังนั้น กระสุนปืนที่ไม่มีดินส่งกระสุนปืนจึงเป็นเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมาย.
คำพิพากษาที่ 3166/2532 ลูกระเบิดของกลางอยู่ในสภาพใช้ทำการระเบิดไม่ได้ เพราะชนวนถูกทำลายมาก่อน และวัตถุระเบิด
ที่บรรจุอยู่ภายในตัวลูกระเบิดถูกสำรอก ออก หมด จึงไม่เป็นวัตถุระเบิด และย่อมไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนด้วย.
โดยความเห็นส่วนตัวนะครับ ( ขอย้ำนะครับว่าส่วนตัว ) จากคำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้นพอจะวางหลักได้ว่าหากเป็นกรณีมี
เฉพาะหัวกระสุน ปลอกกระสุน หรือไพรเมอร์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ลำพังสิ่งของดังกล่าวไม่มีความสมบูรณ์
ในตัวเองพร้อมที่จะใช้งานในลักษณะอย่างเครื่องกระสุนปืนที่สามารถใช้ทำอันตรายต่อชีวิตหรือวัตถุได้ จึงไม่น่าจะเป็นเครื่องกระสุนปืน
แต่หากพบสิ่งของดังกล่าวอยู่รวมกันในลักษณะที่สามารถนำมาประกอบเข้ากันได้โดยง่าย ( เช่นกรณีตามคำพิพากษาที่ 5120/2533 )
ซึ่งแสดงให้เห็นเจตนาว่าผู้ครอบครองมีเจตนาจะแยกส่วนเพื่อนำมาประกอบในภายหลัง ก็น่าจะถือได้ว่าเป็นเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมายแล้ว
ส่วนเครื่องมืออัดกระสุนก็ได้นิยามไว้โดยชัดเจนแล้วในมาตรา ๔ ( ๒ ) จึงน่าจะเป็นเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมาย
แต่มันก็มีประเด็นให้คิดเหมือนกันนะครับเพราะแม้เครื่องมืออัดกระสุนจะเป็นเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมาย ซึ่งตามมาตรา ๘ กำหนดให้
ผู้ซึ่งมีอาวุธปืนครอบครองเครื่องกระสุนปืนซึ่งใช้กับอาวุธปืนของตนเองได้ แต่เมื่อย้อนไปดูมาตรา ๗ บัญญัติว่าห้ามมิให้ผู้ใด
ทำ ซื้อ มี ใช้
สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่
และตามไปดูมาตรา มาตรา ๒๓ บัญญัติว่า ใบอนุญาตสำหรับอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนตามความในส่วนนี้
จะออกได้แต่ตามประเภทและมีกำหนดอายุ ดังต่อไปนี้
(1) ใบอนุญาตให้
ทำ ให้ออกได้เฉพาะสำหรับทำดินปืนมีควันสำหรับใช้เองและเฉพาะ
ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนซึ่งใช้ดินปืนมีควัน มีอายุตลอดเวลาที่ผู้นั้นมีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนนั้นอยู่...
ดังนั้นแม้ตามมาตรา ๘ จะได้รับอนุญาตให้มีเครื่องมืออัดกระสุนได้ แต่หากนำไปอัดกระสุนซึ่งถือว่าเป็นการทำ
เครื่องกระสุนปืนเมื่อไหร่ ก็น่าจะมีความผิดตามมาตรา ๗ ทันที
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นความเห็นนะครับเพราะยังไม่พบคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องโดยตรง
รบกวนสอบถามท่านผู้การสุพินท์และท่านอื่น ๆ ด้วยครับว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้าง