ขออนุณาติถามนิดนะครับ
คือผมก็เก็บปลอกบางส่วนไว้และก็เก็บหัวกระสุนไว้(ในขนาดเดียวกัน)แต่มิใช่มีเจตนาจะนำมาอัดใหม่หัวกระสุนส่วนใหญ่ก็แบนมั้งหรือบ้างอันก็เสียลูกทรงเพราะว่ายิงออกมาแล้วผมจึงเก็บมาไว้ดูแบบนี้สมควรเก็บไหมครับ
ตามที่ท่านอัยการว่าไว้ครับ คำพิพากษาฎีกาเองก็ไม่อาจยันตายตัวได้เสมอไป
เพราะขนาดคำพิพากษาศาลฎีกา ประชุมใหญ่ ก็ยังถูกคำพิพากษาฎีกาใหม่ กลับแนววินิจฉัยได้
มีแนวคำพิพากษาอยู่ ๒ เรื่องน่าเปรียบเทียบกันครับ
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๗/๒๕๐๖ จำเลยมีปลอกกระสุนปืนอยู่เพียง ๒ ปลอก และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีไว้เพื่ออัดหรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน กลับได้ความว่ามีไว้ใช้สวมปลายไม้ตะพด ปลอกกระสุนปืนดังกล่าวจึงไม่มีสภาพเป็นเครื่องหรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำหรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน
จากฎีกานี้จะเห็นได้ว่า การที่จะถือว่าปลอกกระสุนปืนนั้น ไม่มีสภาพเป็นเครื่องกระสุนปืนแล้ว
คงต้องให้ปลอกกระสุนนั้น ไม่อยู่ในสภาพที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก
เมื่อปลอกกระสุนปืน ไม่อยู่ในสภาพที่สามารถนำกลับไปใช้ได้อีก ปลอกกระสุนปืนดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องกระสุนปืนตามกฎหมายแต่อย่างคดีนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๐๓/๒๕๑๔ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีปลอกกระสุนปืนขนาด .๓๘ มม. ๖ ปลอก ซึ่งเป็นสิ่งประกอบกระสุนปืนอันเป็นเครื่องกระสุนปืนตาม กฎหมายไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ตามวันเวลาดังกล่าวเจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยปลอกกระสุนปืนดังกล่าวเป็นของกลาง ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. ๒๔๙๐ มาตรา ๗ , ๗๒ พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ มาตรา ๓ และริบของกลาง
จำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยมีปลอกกระสุนปืนไว้ในความครอบครองจริงดังฟ้องโดยตั้งใจจะเอาไว้ทำยันต์เครื่องรางให้ลูก
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า ปลอกกระสุนปืนที่จำเลยมีไว้ในความครอบครองเป็นส่วนที่เหลือจากการใช้กระสุนปืนไปแล้ว ไม่ใช่เครื่องกระสุนปืนตามความหมายของกฎหมาย จำเลยไม่มีความผิดพิพากษายกฟ้อง
(ตามแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ ๘๕๖/๒๕๐๕ )โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ปลอกกระสุนปืนของกลางนี้เมื่อบรรจุดินปืนและหัวกระสุนใหม่แล้วก็ใช้ยิงได้ทันทีจึงเป็นเครื่องกระสุนปืนตามความหมายของพระราชบัญญัติอาวุธปืน จำเลยมีความผิดตามฟ้องพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ มาตรา ๗, ๗๒ พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๐ มาตรา ๓ ให้ปรับจำเลย ๓๐๐ บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์ต่อทางพิจารณา เป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คงปรับจำเลย ๑๕๐ บาท ไม่ชำระจัดการตามมาตรา ๒๙, ๓๐ ของกลางริบ
โจทก์ฎีกา ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษปรับจำเลยเพียงสถานเดียวเป็นการมิชอบ
ศาลฎีกาตรวจสำนวนและประชุมปรึกษาแล้วคดีนี้มีปัญหามาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาแต่เฉพาะข้อกฎหมายข้อเดียวว่ากำหนดโทษความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งศาลอุทธรณ์ลงแก่จำเลยเป็นการชอบหรือไม่ เห็นได้ว่าผู้มีเครื่องกระสุนปืนไว้ โดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนตามมาตรา ๗ นั้น จะต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๒ วรรค ๑ มิใช่วรรค ๒ เพราะวรรค ๒ เป็นบทกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนมาตรา ๗ เฉพาะกรณีเกี่ยวกับส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงเท่านั้น ฉะนั้น การที่จำเลยมีเครื่องกระสุนปืนไว้ ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๗ จึงต้องระวางโทษตามวรรค ๑ ซึ่งกำหนดทั้งจำคุกและปรับ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงแต่โทษปรับจึงเป็นการมิชอบ ฎีกาโจทก์ฟังขึ้น
.....................................
คดีนี้ แม้ศาลฎีกาจะไม่ได้วินิจฉัยว่า การที่จำเลยมีปลอกกระสุนไว้ในครอบครอง โดยจำเลยตั้งใจนำมาทำเครื่องรางนั้น เป็นความผิดหรือไม่
แต่การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยในเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเรื่องโทษที่จะลงแก่จำเลย เพราะอาจเกิดขึ้นเนื่องจากจำเลยมิได้ฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ก็ได้
แต่ถึงอย่างไร หากศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ก็มีอำนาจยกฟ้องโจทก์ได้อยู่ดี
ศาลชั้นต้นได้นำแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ ๘๕๖/๒๕๐๕ ซึ่งท่านจิตติ ติงศภัทิย์ ปรมาจารย์ด้านกฎหมายอาญา หนึ่งในองค์คณะ ได้มีคำวินิจิฉัยในเรื่องเครื่องกระสุนปืนตามมาตรา ๔(๒) ไว้ โดยวินิจฉัยว่า ปลอกกระสุนปืนที่จำเลยมีไว้ในความครอบครองเป็นส่วนที่เหลือจากการใช้กระสุนปืนไปแล้ว ไม่ใช่เครื่องกระสุนปืนตามความหมายของกฎหมาย
แต่ปรากฎว่าศาลอุทธรณ์ ได้วินิจฉัยเปลี่ยนแนวไปว่า ปลอกกระสุนปืนของกลาง
เมื่อบรรจุดินปืนและหัวกระสุนใหม่แล้วก็ใช้ยิงได้ทันที จึงเป็นเครื่องกระสุนปืนตามความหมายของพระราชบัญญัติอาวุธปืน
ปรากฎว่าศาลฎีกามิได้โต้แย้งใดๆ จึงมองได้ว่าศาลฎีกามิได้ปฏิเสธคำวินิฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้องนั้นเอง
จึงพอสรุปได้ว่า ตอนนี้ ปลอกกระสุนที่ไม่ถือว่าเป็นเครื่องกระสุน ตาม มาตรา ๔ (๒) ปลอกกระสุนปืนนั้นต้องไม่อยู่ในสภาพที่จะนำกลับมาใช้ได้อีก
ทีนี้ หากสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ปลอกกระสุนปืนเป็นเครื่องกระสุนตามกฏหมายแล้ว เราเก็บไว้จะมีความผิดหรือไม่
จากคำพิพากษาฎีกาข้างต้น คดีนี้จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน การเก็บปลอกกระสุนไว้ จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา ๗ พ.ร.บ อาวุธปืน
ที่ว่าห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืน หรือ เครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่
แต่หากจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน แต่ปลอกกระสุนเป็นคนละขนาดที่ได้รับอนุญาต
จำเลยคงความผิดตาม มาตรา ๘ พ.ร.บ อาวุธปืน ที่ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตน ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้
ดังนั้นหากเราเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนถูกต้องตามกฎหมาย
และถือว่าปลอกกระสุนปืน เป็นเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมายแล้ว
การเก็บปลอกกระสุนขนาด ชนิดที่เราได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน จึงไม่น่ามีความผิดครับ
เก็บไว้แต่อย่าให้ใครรู้ดีกว่าครับน้าวัตน์