กระสุน ปืน พก ความแม่นยำ ส่วนที่มีผลมากที่สุด คือ แรงดันของ ดินขับ ว่า เผาใหม้ คงที่หรือไม่ รองลงมาคือ น้ำหนักหัวกระสุน ที่ เท่ากันทุกนัดหรือไม่ เมื่อเอากระสุน ขนาดเดียวกัน มาทดสอบกลุ่มกระสุน
เมื่อเอา กระสุน ต่างขนาดกัน มาวัดกลุ่ม โดยใช้ปืนขนาดเดียวกันมาวัด ความได้เปรียบของกระสุนจะอยู่ที่ น้ำหนักหัวกระสุน และ ควาเร็ว
ความเร็วของกระสุน 9 มม. เป็นความเร็ว วิกฤติ คือ ถ้าลำกล้อง สั้น ๆ ก็แล้วไป เพราะ กระสุนจะวิ่งช้ากว่าความเร็วเสียง แต่ ถ้าลำกล้อง ยาวกว่า 4 นิ้ว กระสุนส่วนใหญ่ จะวิ่งเร็วกว่า ความเร็วเสียง ยกเว้น กระสุน ซับโซนิก ที่หัวหนักกว่า 140 เกรน (ส่วนใหญ่ 147 เกรน) เพราะ กระสุนที่ พ้นปากลำกล้อง จะวิ่งผ่าน คลื่นกระแทก หรือ Sonic Boom
จาก ภาพสุดท้าย เป็น ภาพ กระสุน ความเร็ว เหนือเสียง เพียงเล็กน้อยจะเห็น คลื่น Sonic Boom เป็น เส้นริ้ว ๆ มากกว่า ภาพ อื่น ทำให้ วิถีของกระสุน 9 มม. ไม่แน่นอน เท่ากับ กระสุน 11 มม. ที่ความเร็ว ต่ำ กว่าเสียง
กระสุน 11 มม. ยังมีน้ำหนักมากกว่า กระสุน 9 มม. ทำให้ แรงดันที่ต่างกัน จากการเผาไหม้ มีผล น้อยกว่า กระสุน 9 มม. ที่น้ำหนักเบากว่า เพราะ ดินปืนที่เผาใหม้ในปลอกกระสุน ไม่มีทางที่จะให้ มีแรงดันเท่ากันได้ ทุกนัด แรงดันที่ต่างกัน จะส่งผลให้ กระสุน วิ่งพ้นปากลำกล้อง ได้ด้วยความเร็ว ต่างกัน การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย จะมีผลกับ กระสุน 9 มม. มากกว่า กระสุน 11 มม. ซึ่งส่งผลให้กับ กลุ่มกระสุนด้วย เช่นกัน
จากเหตุผลทั้ง 2 ข้อ จึง สรุปได้ว่า กระสุน 9 มม. มีความแม่นยำ น้อยกว่า กระสุน 11 มม. ใน เกรดเดียวกัน แต่ถ้า กระสุน ต่างเกรดกัน ก็เป็นอีกเรื่อง เช่น เอากระสุน เกรด แข่งของ 9 มม. มายิงเทียบ กับ กระสุน ซ้อม เกรด ต่ำ กระสุน เกรด แข่งของ 9 มม. ก็จะให้กลุ่มที่ เล็กกว่า หรือ แม่นยำกว่า กระสุน 11 มม. นั่นเอง