ผมไม่เคยเห็นนักวิชาการที่ว่านี้ ลงมาทำงานในพื้นที่เลย แต่ที่นี่ผมเห็นอาจารย์หมอและลูกน้องลงมาเสี่ยงชีวิตบ่อยมาก เดือนละหลายครั้ง
รักชาตจริงอยู่ที่การกระทำครับ ไม่ใช่แค่ปากพูด ด้วยความเคารพ
แนวคิดนี้ใช้ไม่ได้ครับ
นักวิชาการ มีหน้าที่ให้ความรู้กับสังคม รวมทั้งส่วนราชการต่าง ๆ และเครื่องมือแบบนี้ ก็อยู่ในสาขาวิทยาการที่อาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ จะออกมาวิจารณ์ตรวจสอบได้ นักวิชาการไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเดินล่อเป้า และอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ หลายคนที่หมุนเวียนลงไปสอนที่ 3 จชต.
ตัวผมเอง ก็ลงไปทำงานทางใต้หลายครั้ง แต่ผมก็ไม่เคยคิดว่ามันจะทำให้ตัวเองรักชาติมากกว่าคนไทยอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานของตัวเองตามปกติในพื้นที่อื่น ๆ
ส่วนตัวผมไม่รู้ว่านักวิชาการท่านที่ออกมาพููดหวังอะไร...
แต่ที่ผมคิดและผมเชื่อว่าพี่ๆหลายคนที่ออกมาแสดงความเห็นก็เพื่ออยากทราบข้อเท็จจริงของเครื่องมือที่ใช้
เพราะผลการทดสอบก็มีผลต่อความปลอดภัยต่อผู้ที่ทำงานในพื้นที่ด้วยเช่นกัน
ตัวผมแค่หวังว่าถ้าทดสอบแบบจริงจังโปร่งใส ตรวจสอบได้ ถ้าเครื่องนี้ใช้ได้สักเฉลี่ยสัก80-90%ก็ยอมรับให้ใช้ได้
แม้หลักบางอย่างการอาจจะดูแล้วขัดแย้งกับหลักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน
แต่ถ้าเครื่อง ไม่สามารถทำงานได้ เราก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขระบบการทำงาน หาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ อาจจะหลายชนิดมาใช้ทดแทน
อย่างน้อยก็ไม่ต้องไปเสี่ยงกับเครื่องมือที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ผู้ที่ทำงานก็จะปลอดภัยขึ้น
ส่วนคำพูดที่ว่ามีดีกว่าไม่มี...มันง่ายเกินไปถ้าเครื่องนี้ไม่ได้ถูกทดสอบและรับรองมาตราฐานอย่างถูกต้องครับ
อันนี้นอกเรื่อง
ผมไม่เคยได้ลงไป3จชต.หลังจากที่ไม่สงบครั้งใหม่ แต่เคยไปตอนเด็กๆคุณพ่อผมพาไปเที่ยว
พอโตมาทำงานเกือบได้ลงไปตอนช่วงปี2550ที่ยะลาอยู่ครั้งสองครั้ง แค่เกือบครับ
แต่นายผมยกเลิกแล้วให้พี่ที่ทำงานนั่งเครื่องไปแค่สองคนแทน ตอนแรกแผนเดิมจะขับรถไปแค่4คน
ไปดูงานก่อสร้างนะครับแค่อาทิตย์เดียวก็กลับ นายเลยให้ไปเครื่องแล้วให้พี่ที่โครงการในพื้นที่มารับ
อยู่ที่หน้างานมีกำลังทหารดูแลด้วย