ผสมแบบข้ามสายพันธ์ ตามธรรมชาติคงไม่น่าเกิดขึ้น
แล้วเขาผสมมาเพื่ออะไรครับ
ใช่ครับ...
ไทกอนและไลเกอร์ที่มีอยู่ในโลกส่วนใหญ่ เกิดขึ้นเพราะการแทรกแซงของมนุษย์ทั้งสิ้น เพราะปกติแล้ว เสือและสิงโต มีพฤติกรรมคนละแบบ แถมอยู่อาศัยกันคนละถิ่นอีกต่างหาก
ลูกพ่อเสืออย่างไทกอนนั้น ถ่ายทอดลักษณะมาจากทั้งพ่อและแม่ คืออาจได้ลายจุดๆ จากแม่สิงโต หรือแถบตามตัวจากพ่อเสือก็ได้ ถ้าเป็นไทกอนตัวผู้ อาจมีแผงคอที่สั้นๆ ไม่ชัดเจนเหมือนแผงคอสิงโต ส่วนไลเกอร์นั้น หน้าตาเหมือนสิงโตตัวใหญ่ที่มีแถบตามลำตัวเหมือนเสือ โดยอาจจะเป็นลายสีดำ หรือน้ำตาลเข้ม แต่ก็มีบ้างที่มีลายจุดๆ ตามลำตัวแบบสิงโตหลงเหลืออยู่ด้วย
โดยทั่วไปไทกอนจะตัวเล็กกว่าสิงโต และเสือ ส่วนไลเกอร์ตัวใหญ่กว่าใครเพื่อน นั่นเพราะเชื่อกันว่า สิงโตเพศเมียจะส่งยีนยับยั้งการเติบโตให้ลูกหลาน เพื่อให้สมดุลกับยีนส่งเสริมการเติบโตที่ตัวผู้ถ่ายทอดให้ เนื่องจากขนาดลำตัวมีความสำคัญมากกับสถานะและการแข่งขันเพื่อผสมพันธุ์ของ พวกมันในอนาคต ขณะที่เสือไม่มีพฤติกรรมต้องใช้ขนาดตัวเท่าข่มแบบนั้น จึงไม่มียีนส่งเสริมหรือยับยั้งการเติบโต
เพราะอย่างนี้ไทกอนจึงตัวเล็ก เพราะได้ยีนยับยั้งการเติบโตจากแม่ ส่วนเจ้าไลเกอร์ก็ตัวใหญ่ เพราะได้ยีนส่งเสริมการเติบโตจากพ่อ
ประวัติการ บังคับให้เสือผสมกับสิงห์ ด้วยการจับพวกมันมาอยู่ร่วมกรงกันนั้น บันทึกไว้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย โดยย้อนหลังไปได้ถึงปี 1837 เมื่อมีการส่งไทกอนจากรัฐชัมนคร ของอินเดีย ไปเป็นของขวัญให้ควีนวิกตอเรีย และในปัจจุบัน ส่วนสัตว์หลายแห่งทั่วโลกก็มีไทกอนและไลเกอร์ เป็นดาวเด่นดึงคนมาเที่ยวชม
เดิมทีนักสัตววิทยาเชื่อกันว่า ไทกอนและไลเกอร์นั้นเป็นหมัน แต่ในปี 1943 ไทกอนตัวหนึ่งถูกจับให้อยู่ร่วมบ้านกับเสือ และได้แสดงให้เห็นว่ามันก็ “มีน้ำยา” นะ ส่วนไลเกอร์เพศผู้นั้นยืนยันได้ว่าเป็นหมัน แม้มันจะผสมพันธุ์ตามปกติเมื่อถึงฤดู ผิดกับตัวเมียที่ปกติดี
สรุป “ไทกอน” คือลูกของพ่อเสือกับแม่สิงโต ส่วน “ไลเกอร์” เป็นลูกพ่อสิงโตกับแม่เสือ นอกจากนี้ยังมี พ่อไทกอนผสมกับแม่ไลเกอร์ ได้ลูกเป็น “ไท-ไลเกอร์” และพ่อไทกอน ผสมกับแม่สิงโต ได้ลูกเป็น “ไล-ไทกอน” ส่วนลูกของไทกอนกับเสือ เรียกว่า “ไท-ไทกอน” และลูกของพ่อสิงโตกับแม่ไลเกอร์ เรียกว่า “ไล-ไลเกอร์”