เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 05, 2024, 08:21:16 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ใครพอจะทราบข้อมูลกระสุนพวกนี้มั่งครับ  (อ่าน 3373 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Supakij Kaw
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 60
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1008


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 05:25:01 AM »

อ้างถึง
จากลิ้งค์
http://www.ballistics101.com/45_acp.php

นะครับ


    Aguila Ammunition Ballistics

Round    Type    Weight    Muzzle Energy (ftlbs.)    Muzzle Velocity (fps)
** No data available **

    Cor-Bon Ammunition Ballistics

Round    Type    Weight    Muzzle Energy (ftlbs.)    Muzzle Velocity (fps)
45 ACP    DPX    185+P    475    1075
45 ACP    DPX    160    392    1050
45 ACP    DPX    160    392    1050
45 ACP    DPX    185+P    475    1075
45 ACP    FMJ    230    287    750
45 ACP    FMJ    230    287    750
45 ACP    JHP    165+P    573    1250ทำไมแรงปะทะถึงได้เยอะจังครับ หรือเพราะหน้าตัดที่ใหญ่ + น้ำหนักที่น้อย ทำให้ความเร็วสูง และการขับดินปืนแบบ P+ ด้วย เลยได้แรงปะทะ ที่สูง และเกิดการบานขยายหน้าตัดได้ดีกว่า ถูกต้องไหมครับ
45 ACP    JHP    185+P    543    1150
45 ACP    JHP    200+P    490    1050
45 ACP    JHP    230+P    461    950
** Glaser Saftey Slug **
45 ACP    SS    145+P    587    1350 อันนี้พอจะทราบหลักการแล้วครับ คือการยัดลูกปลายลงในหัวกระสุน หัวรู แล้วปิดด้วยพลาสติค พอกระทบกับเป้าหมาย ก็จะเกิดการแตกออก ส่วนแรงเฉื่อยของกระสุนที่ความเร็วต่ำลงก็ทำให้ลูกปลาย แตกกระจายออกมา ผิดถูกประการใด ชี้แนะด้วยครับ
** Pow'r Ball **
45 ACP    PB    165    550    1225

    Extreme Shock Ammunition Ballistics

Round    Type    Weight    Muzzle Energy (ftlbs.)    Muzzle Velocity (fps)
45ACP    EPR    185    543    1150
45ACP    AFR    125    400    1200
45ACP    FF    185    543    1150
FF นี่คือกระสุนประเภทใดครับ ผมเห็นลักษณะแล้วน่าสนใจมาก เพราะไม่ใช่ ลูก +P น้ำหนักก็ไม่ใช่ 165 เหมือนด้านบนๆ แต่บินด้วยความเร็วสูง และได้แรงปะทะที่ ยอดเยี่ยมมากเลย เค้ามีเทคนิคอย่างไรครับ


    Federal Ammunition Ballistics

Round    Type    Weight    Muzzle Energy (ftlbs.)    Muzzle Velocity (fps)
45 ACP    FMJ    230    404    890
45 ACP    TMJ    230    369    850
45 ACP    JHP    185    371    950
45 ACP    JHP    230    369    850
45 ACP    FMJM    230    378    860
45 ACP    FMJ SWC    185    244    770
45 ACP    Hydra_Shok    230    414    900
45 ACP    EFMJ    165    476    1140
45 ACP    Hydra_Shok    165    412    1060

    Fiocchi Ammunition Ballistics

Round    Type    Weight    Muzzle Energy (ftlbs.)    Muzzle Velocity (fps)
45 ACP    XTP JHP    200    359    900
45 ACP    XTP JHP    230    TBD    TBD
45 ACP    Frangible    155    435    1125
45 ACP    FMJ    230    377    860
45 ACP    JHP    200    351    890
45 ACP    JHP    230    370    850
45 ACP    FMJ EB    230    368    860

    Hornady Ammunition Ballistics

Round    Type    Weight    Muzzle Energy (ftlbs.)    Muzzle Velocity (fps)
45 ACP    Crit-Defense    185    411    1000
45 ACP    XTP HP    185    386    970
45 ACP    XTP HP    200    360    900
45 ACP    FMJ RN    230    369    850
45 ACP    HP XTP TAP    200+P    494    1055
45 ACP    XTP    200+P    494    1055
45 ACP    HP XTP TAP    230+P    461    950
45 ACP    XTP HP    230+P    461    950

    PMC Ammunition Ballistics

Round    Type    Weight    Muzzle Energy (ftlbs.)    Muzzle Velocity (fps)
45 ACP    FMJ    230    352    830
45 ACP    JHP    185    333    900
45 ACP    EMJ NT    230    352    830
45 ACP    SFHP    230    369    850

    Magsafe Ammunition Ballistics

Round    Type    Weight    Muzzle Energy (ftlbs.)    Muzzle Velocity (fps)
45 ACP    Defender    96+P    660    1760
45 ACP    Swat    68+P    771    2260
ทำไมสองลูกนี้ถึงได้ มีแรงปะทะที่ร้ายกาจเอามากๆ เป็นลักษณะกระสุนแบบใด ครับ ที่เข้าใจคือ หน้าตัดใหญ่ น้ำหนัก ต่ำ เอามากๆ ทำให้บินได้ เร็ว

    RBCD Ammunition Ballistics

Round    Type    Weight    Muzzle Energy (ftlbs.)    Muzzle Velocity (fps)
45 ACP    TFSP    90    828    2036
45 ACP    TFSP    115    700    1650
อยากทราบเหมือน ด้านบนเลยครับเพราะว่า Type ก็ไม่เคยได้ยินมาเลย
    Remington Ammunition Ballistics

Round    Type    Weight    Muzzle Energy (ftlbs.)    Muzzle Velocity (fps)
45 ACP    JHP    185    411    1000
45 ACP    UMC    185    423    1015
45 ACP    MC    230    356    835
45 ACP    JHP    230    356    835
45 ACP    FNEB    230    356    835
45 ACP    UMC    230    356    835
45 ACP    JHP    230    356    835
** Golden Saber **
45 ACP    BJHP    185    423    1015
45 ACP    BJHP    185+P    534    1140อำนาจการหยุดยั้ง น่าจะดีกว่าพวก Hydra Shock ใช่ไหมครับ
45 ACP    BJHP    230    391    875

    Speer Ammunition Ballistics

Round    Type    Weight    Muzzle Energy (ftlbs.)    Muzzle Velocity (fps)
45 ACP    GDHP    185    453    1050
45 ACP    GDHP    230    404    890
45 ACP    TMJ FN    185    453    1050
45 ACP    TMJ FN    200    422    975
45 ACP    TMJ FN    230    352    830
45 ACP    TMJ RN    230    352    830
45 ACP    TMJ RN    230    365    845
** Short Barrel Round **
45 ACP    GDHP-SB    230    343    820

    Winchester Ammunition Ballistics

Round    Type    Weight    Muzzle Energy (ftlbs.)    Muzzle Velocity (fps)
45 ACP    FMJ    230    356    835
45 ACP    T-Series    230    396    880
45 ACP    FMJFN    185    340    910
45 ACP    FMJFN    230    340    910
45 ACP    JHP    230    396    880
45 ACP    BEB    185    340    910
45 ACP    BEB    230    356    835
45 ACP    STHP    185    411    1000

จากด้านบน กระสุนพวกนี้ ชื่อประเภทของมัน มีหลายตัวมากเลยครับที่ ชื่อ Type แปลกๆ อยากทราบเฉยๆน่ะครับ ว่ามันย่อมาจากอะไรกันมั่ง
แล้วลูก ที่มี พลังงานปากลำกล้อง เยอะๆ นี่ จะสามารถหยุด มนุษย์ได้ดีกว่า พลังงานปากลำกล้องน้อยๆ อย่างแน่นอนใช่ไหมครับ หรืออย่างไร ขอเหตุผล ด้วยครับ


ขอบคุณล่วงหน้าครับ  ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 05:28:17 AM โดย ASIWNAW #แจ๊คไก่# » บันทึกการเข้า
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 05:48:34 AM »

พลังงานที่ได้ ไม่ใช่ แรงปะทะ ครับ แรงปะทะ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ หัวกระสุนกระทบเป้าหมายแล้ว
แรงปะทะ จึงขึ้นอยู่กับลักษณะของหัวกระสุน ที่ออกแบบมา

พลังงานที่ได้ เกิดขึ้นตามสูตรคำนวณ เป็นภาคทฤษฎี  ส่วนแรงปะทะ คือภาคปฎิบัติ ของหัวกระสุนปืน
แรงปะทะ จึงไม่มีสูตรคำนวณ

คอปืน มักจดจำมาผิด ๆ แล้วขยายต่อกัน จนกลายเป็นคำเดียวกันไปซะ

และที่ท่านถาม หน่วยสุดท้ายนั้น เป็นความเร็ว ครับ ไม่ใช่พลังงาน .  Grin
บันทึกการเข้า

Supakij Kaw
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 60
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1008


« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 07:17:02 AM »

พลังงานที่ได้ ไม่ใช่ แรงปะทะ ครับ แรงปะทะ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ หัวกระสุนกระทบเป้าหมายแล้ว
แรงปะทะ จึงขึ้นอยู่กับลักษณะของหัวกระสุน ที่ออกแบบมา

พลังงานที่ได้ เกิดขึ้นตามสูตรคำนวณ เป็นภาคทฤษฎี  ส่วนแรงปะทะ คือภาคปฎิบัติ ของหัวกระสุนปืน
แรงปะทะ จึงไม่มีสูตรคำนวณ

คอปืน มักจดจำมาผิด ๆ แล้วขยายต่อกัน จนกลายเป็นคำเดียวกันไปซะ

และที่ท่านถาม หน่วยสุดท้ายนั้น เป็นความเร็ว ครับ ไม่ใช่พลังงาน .  Grin


ไม่ครับผมหมายถึง muzzle น่ะครับ เวโลซิตี้ คือ ความเร็วอันนี้ทราบดีครับ

แบบนี้ก็แสดงว่า  muzzle เยอะก็ไม่สามารถบอกได้เสมอไป ว่า จะหยุดดีกว่า ใช่ไหมครับ

ส่วนแรงปะทะนี่ไม่สามารถ วัดได้เลย ถ้าไม่นำไปยิงแล้วมาเทียบ ถูกต้องไหมครับ

ขอถามเพิ่มทีครับพี่ แล้วโพรงอากาศ ในบาดแผล เกิดขึ้นจากอะไรครับ แล้วเกิดได้มากน้อย ต่างกันแค่ไหน ระหว่างลูก ความเร็วต่ำ กับความเร็วสูง

แล้วโพรงบาดแผลถาวร และโพรงบาดแผล ชั่วคราว ต่างกันอย่างไรครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 07:19:19 AM โดย ASIWNAW #แจ๊คไก่# » บันทึกการเข้า
Supakij Kaw
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 60
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1008


« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 07:23:05 AM »

ตัวอย่างเช่น....
กระสุนขนาด .45ACP ของ Fiocchi  แบบ FMJ น้ำหนัก 230 เกรน
ณ ปากลำกล้องให้ความเร็วที่  875 ฟุต/วินาที   ให้พลังงานปากลำกล้องที่ 390 ฟุตปอนด์

ส่วนกระสุนขนาด 9 มม. พาราฯ ของ Fiocchi  แบบ FMJ Truncated น้ำหนัก 123 เกรน
ณ ปากลำกล้องให้ความเร็วที่  1,250  ฟุต/วินาที   ให้พลังงานปากลำกล้องที่ 425 ฟุตปอนด์

เมื่อคำนวณตามสูตร...ของ ท่านเป็กซ์....ขวัญใจ นศ. แล้ว....
ขนาด 9 มม. พาราฯ ย่อมให้พลังงานมากกว่าแน่ ๆ ครับ เพราะ ความเร็ว...ต่างกันตั้ง 375 ฟุต/วินาที
ถึงแม้ว่า...น้ำหนักหัวกระสุนขนาด 9 มม. พาราฯ จะน้อยกว่าก็ตาม...ครับ

แต่ตัวเลข...ที่แตกต่างกันถึง 35 ฟุตปอนด์ (425-390) นั้น
คือ...หน่วยวัด พลังงานของหัวกระสุน ณ ปากลำกล้อง นะครับ...
มิได้หมายถึง...อำนาจการหยุดยั้ง...ครับ....


เห็นได้ว่า  “อำนาจการหยุดยั้ง”…นั้น…ซึ่งเป็นคนละความหมายกับ “พลังงาน ณ ปากลำกล้อง”
ตามความคิดของผม…ผมคิดว่า…
อำนาจการหยุดยั้ง…ของกระสุนที่มีผลต่อเป้าหมาย…
ต้องเกิดจาก…
การถ่ายเท…พลังงาน ณ ปากลำกล้อง ที่มีอยู่ทั้งหมดของหัวกระสุน…ไปยังเป้าหมายในระยะเวลาอันสั้น ๆ ครับ


เมื่อหัวกระสุนกระทบต่อเป้าหมาย ในทันที…
การถ่ายเทพลังงานฯ นี้…ไปยังเป้าหมาย..
ตามทฤษฎีจะก่อให้เกิด….โพรงอากาศชั่วคราว…ขึ้น  ต่ออวัยวะภายในของเป้าหมาย…ในช่วงเวลาสั้น ๆ
ซึ่งผมเชื่อว่า…โพรงอากาศชั่วคราวนี้…
น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เป้าหมายเกิดอาการช็อค (shock) ในทันทีที่ถูกกระสุน ครับ

ดังนั้น พลังงาน ณ ปากลำกล้อง ก็คือ ……….
พลังงานสะสม (อันได้มาจาก…การคำนวณด้วยความเร็วของหัวกระสุนและน้ำหนักของหัวกระสุน) ที่มีอยู่ในหัวกระสุนนั่นเอง ครับ

นั่นก็หมายความง่าย ๆ ว่า…การใช้กระสุนที่มีความเร็วสูง…
ก็จะทำให้หัวกระสุนมีพลังงานฯ สะสมไว้ในตัวของมันเองมากขึ้นเป็นเงาตามตัว…ครับ
ซึ่งตรงนี้เราเถียง…ทฤษฎี…ไม่ได้ครับ

ที่นี้…มาว่ากันที่หัวกระสุน…ความเร็วต่ำ ๆ จากที่ผมกล่าวไว้ในตอนต้น ๆ
ความเร็วต่ำ ๆ ของหัวกระสุนอาจส่งผลในเรื่องของการถ่ายเทพลังงานฯ ครับ
ผมคาดไว้ว่า…เมื่อหัวกระสุนกระทบต่อเป้าหมายแล้ว
ท่านลองนึกภาพดูนะครับ  ว่าระหว่างที่หัวกระสุนวิ่งผ่านอยู่ภายในเป้าหมาย
หากเราให้หัวกระสุน…มีการถ่ายเทพลังงานสะสมที่เหมาะสมในระดับหนึ่ง (ที่ประมาณไว้)
แต่…พลังงานสะสม (ที่มีอยู่ในหัวกระสุน) เหล่านั้น   
ไม่สามารถถ่ายเทออกมาได้ทั้งหมด (425 ฟุตปอนด์) ในขนาด 9 มม. พาราฯ
ซึ่งอาจถ่ายเทออกมาได้แค่ 60% หรือ 70% เท่านั้นในแบบ FMJ
เพราะความเร็วของหัวกระสุนยังไม่หมด…(หัวกระสุนยังไม่หยุดการเคลื่อนที่)
พลังงานก็ย่อมที่จะสะสมอยู่ในหัวกระสุนนั่นเอง  ถูกต้องม่ะครับ

และบังเอิญ…เป้าหมายในการใช้งานนั้น…ส่วนใหญ่จะมีความหนาไม่มาก…

ดังนั้น…จากสาเหตุในข้างต้น…ก็ย่อมแสดงว่า…
หัวกระสุนวิ่งทะลุเลยออกจากเป้าหมายไป…ถูกต้องม่ะครับ
พลังงานสะสมในหัวกระสุนก็ย่อมที่จะไม่ถูกถ่ายเทออกไปที่เป้าหมายจนหมด…
เพราะส่วนหนึ่งก็คือ การเคลื่อนที่ (ความเร็วสะสม) ของหัวกระสุน นั้นเองครับ
(….เป็นที่มาของคำว่า…”ความคมของหัวกระสุนในขนาด 9 มม. พาราฯ ไงครับ)

ตรงนี้เองครับ….ที่กลายมาเป็นสูตร…ตามที่ผมเคยอ่านและวิเคราะห์มา…
และดูง่าย ๆ ก็จากความโด่งดัง..ในการหยุดทหารญี่ปุ่นที่วิ่งเข้าใส่ทหารอเมริกัน ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2
ของอานุภาพกระสุนบันลือโลก….ขนาด .45ACP ครับ
กระสุนขนาด .45ACP แบบ FMJ 
มีความเร็วต้นที่ 875 ฟุตต่อวินาที ซึ่งนับได้ว่า “ต่ำกว่าความเร็วเสียง”
มีน้ำหนักของหัวกระสุนที่ 230 เกรน  เมื่อมีน้ำหนักมาก  ก็ย่อมทำให้หัวกระสุนมีความเร็วต่ำ ตามความเป็นจริง


ท่านลองวาดภาพตามน่ะครับ…..
เมื่อหัวกระสุนขนาด .45ACP กระทบต่อเป้าหมาย…และอยู่ในระหว่างการวิ่งผ่านภายในของเป้าหมาย
ซึ่ง…หัวกระสุนขนาด .45ACP  มีความเร็วต่ำ…(อย่างน้อย ๆ ก็ต่ำกว่าหัวกระสุนขนาด 9 มม. พาราฯ ล่ะครับ)
ดังนั้น…การที่หัวกระสุนจะทะลุเป้าหมาย….นั้น มีโอกาสได้น้อย…
(หากเทียบเคียงกับหัวกระสุนขนาด 9 มม. พาราฯ แล้ว)
เมื่อหัวกระสุนกระทบเป้าหมายและหยุดการเคลื่อนที่ (ภายในเป้าหมาย)…ก่อนที่หัวกระสุนจะทะลุเป้าหมาย
ก็หมายความว่า หัวกระสุนได้ถ่ายเทพลังงานสะสมทั้งหมด (390 ฟุตปอนด์) ที่มีอยู่…ไปยังเป้าหมายแล้ว…

ดังนั้น…การเกิดโพรงอากาศชั่วคราวขึ้นภายในของเป้าหมาย…
ก็ย่อมที่จะมีขนาดใหญ่กว่ากระสุนขนาด 9 มม. พาราฯ

แล้ว..เป้าหมาย…จะเหลืออะไรล่ะครับ….

ตรงนี้ไงครับ….
เป็นที่มาของสูตร…อำนาจการหยุดยั้ง…
1. ความเร็วของหัวกระสุนต่ำ
2. น้ำหนักของหัวกระสุนมาก



มาถึง…หน้าตัดกว้าง…หรือเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวกระสุนกันแล้วครับ
ถ้าเราเปรียบ…พลังงานสะสมในหัวกระสุน  เป็น…น้ำ
หน้าตัดของหัวกระสุน ก็เปรียบเสมือน…ท่อน้ำ…นั่นเองครับ
หากท่านใช้ท่อส่งน้ำ…ที่มีขนาดใหญ่…
การถ่ายเทน้ำออกจากที่กักเก็บ ก็ย่อมที่จะดีกว่า…มากกว่า…ใช้ท่อส่งน้ำขนาดเล็ก ในระยะเวลาเท่า ๆ กัน
ถูกต้องม่ะครับ…

ดังนั้น…ถ้าเป้าหมายมีลักษณะโครงสร้างเหมือนกัน…อาทิ ความหนา หรืออื่น ๆ
หัวกระสุน…ที่มีหน้าตัดกว้างกว่า…ก็ย่อมที่จะถ่ายเทพลังงานสะสมไปยังเป้าหมายได้ดีกว่า

และถ้าท่านลองวาดภาพ…ดู
หากหัวกระสุน…มีหน้าตัดกว้าง…
โอกาสที่จะ…ทะลุออกจากเป้าหมายก็ย่อมเกิดขึ้นได้ยากกว่า หัวกระสุนที่มีหน้าตัดแคบ..
คล้าย ๆ กับท่านลองใช้…ปลายเข็มเย็บผ้า…จิ้มเข้าไปในเนื้อผ้า
ก็ย่อมที่จะ…ทะลุเนื้อผ้า…เข้าไป  ได้ง่ายกว่า…ท่านใช้ปลายปากกา…ไงครับ
ในกรณีที่….ใช้แรง..เท่า ๆ กันนะครับ…อิ อิ



นี่แหละครับ เป็นที่มาของข้อสุดท้ายในสูตร…
คือ…หน้าตัด หรือเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง….

เพียงแต่ก่อนที่จะใช้งาน…เรา (ผู้ใช้) มีโอกาสเลือก..ครับ
1. เลือกที่จะใช้กระสุนที่มีน้ำหนักมากไว้ก่อนเป็นประการแรก
2. เลือกที่จะใช้กระสุนที่มีความเร็วต่ำไว้ก่อนเป็นประการต่อไป
3. เลือกแบบของหัวกระสุนที่ถูกออกแบบมาให้เกิดการถ่ายเทพลังงานไปยังเป้าหมายได้ง่ายกว่า….

ส่วนหน้าตัด…ของหัวกระสุน…นั้น  เราเลือกไม่ได้ง่ะครับ…
เพราะเป็นเรื่องของ…คุณสมบัติและข้อกำหนดในตัวของอาวุธปืน…มากกว่าครับ
อีกทั้งท่านคงไม่สามารถนำกระสุนขนาด .45ACP ไปใส่ในปืนขนาด .22 ลองไรเฟิล ได้เป็นแน่…..อิ อิ

ส่วนที่เหลือจากนี้ต่อไป…ก็ไปว่าที่เทคนิคในการใช้งาน 
ความแม่นยำ….
และก็ความมีโชคของแต่ละท่านแล้วล่ะครับ…

ไหน ไหน เราก็ได้มีโอกาสเลือก…กระสุนแล้ว…….

จากบทความ…ที่ผมร่าย…มา ณ โอกาสนี้
ผมในฐานะผู้ post คงต้องเรียนให้ท่าน ๆ ทราบไว้ด้วยครับว่า…
ไม่อยากที่จะให้ท่านใด นำไปอ้างอิง…ตามหลักวิชาการเท่าไรครับ
เพราะ…ผม post จากความคิด..และความเข้าใจของผมเท่านั้น..
และก็ให้ความเห็นในลักษณะ ครูพักลักจำ รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนนานาทัศนะจากท่าน ๆ ในเว็บฯ แหละครับ…

อาจมีท่านใดที่มีความเห็นต่างไปจากนี้…
ก็สามารถแสดงความเห็นได้น่ะครับ
เพื่อความหลากหลาย…นานา ในทัศนะต่าง ๆ
อย่างน้อย ๆ ก็อาจช่วยให้เรา ๆ ท่าน ๆ ได้เข้าใจ…
ถึงคำ ๆ ว่า….”อำนาจการหยุดยั้ง” ได้ดีมากขึ้นครับ…

หมายเหตุ….ผมเลี่ยงที่จะกล่าวถึงการระบุที่ชัดเจนในการคำนวณต่าง ๆ ในกรอบนี้
เพราะว่า…หากเมื่อมีการสอบถามเพิ่มเติม….
ผมเอง….อธิบายลำบากครับ…เพราะมิได้ศึกษาจริงจังเท่าไรนัก…ครับ

หากมีข้อผิดพลาดประการใด…ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

ความเห็น…หนึ่งในทีมงาน…ซึมเศร้า…เหงาเพราะ…ร๊ากกกกก…คร้าบ….



จากนิ้ว…ที่จิ้มแป้น…






การถ่ายเทพลังงานคือแบบนี้ใช่ไหมครับ พอดีค้นหาเจออะครับ
บันทึกการเข้า
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 07:31:43 AM »

พลังงานตัวเลขมาก ย่อมมีแรงปะทะ ที่มากขึ้นตามไปด้วย  ไม่ใช่ ไม่แน่นอน

มีข้อให้สังเกต  ให้พิจารณา จาก กระสุนปืน ๙ พารา  

กระสุนหัวรู jhp  หนัก ๑๑๕ เกรน กับ fmj หนัก  ๑๑๕ เกรน เท่ากัน   ถ้าบินเท่ากันที่ ๑๑๕๕ ฟุต/วินาที พลังงานที่ได้ คือ ๓๔๐ ปอนด์/ตารางฟุต

ตัวเลขตามสูตรคำนวณ เท่ากันหมด แต่ความยับเยินของเนื้อเยื่อนั้น jhp ยับเยินกว่า  สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ คือแรงปะทะ พลังงานของหัวกระสุนที่ถ่ายเทให้กับเป้าหมาย ที่เนื้อเยื่อต้านทานการมุดของหัวกระสุนที่ ฉีกขยายตัวออก

ส่วน fmj  ทิ้งไว้คือ อำนาจสังหาร ที่ทำลายเนื้อเยื่อตลอดเส้นทางที่ผ่าน และไปได้ไกลกว่า มีแรงปะทะน้อยกว่า เพราะหัวกระสุนเรียว แรงต้านที่หัวกระสุน จึงน้อยกว่า jhp

บันทึกการเข้า

Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 07:44:21 AM »

เรื่องโพรงอากาศ เป็นการแปลมากจาก ต่างประเทศ ผมไม่ทราบ และผมไม่เชื่อถือ ในทฤษฎีนี้ ครับ   อ๋อย

บันทึกการเข้า

USP40
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 07:53:06 AM »

เรื่องโพรงอากาศ เป็นการแปลมากจาก ต่างประเทศ ผมไม่ทราบ และผมไม่เชื่อถือ ในทฤษฎีนี้ ครับ   อ๋อย


พี่ครับ  โพรงอากาศไม่มีครับ  มีแต่ wound cavity แบ่งเป็น temporary cavity กับ permanent cavity ครับ 
บันทึกการเข้า
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 07:56:38 AM »

เรื่องโพรงอากาศ เป็นการแปลมากจาก ต่างประเทศ ผมไม่ทราบ และผมไม่เชื่อถือ ในทฤษฎีนี้ ครับ   อ๋อย


พี่ครับ  โพรงอากาศไม่มีครับ  มีแต่ wound cavity แบ่งเป็น temporary cavity กับ permanent cavity ครับ 

ขอบคุณมากครับ คุณเจษ  Grin
บันทึกการเข้า

Supakij Kaw
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 60
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1008


« ตอบ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 08:56:59 AM »

พลังงานตัวเลขมาก ย่อมมีแรงปะทะ ที่มากขึ้นตามไปด้วย  ไม่ใช่ ไม่แน่นอน

มีข้อให้สังเกต  ให้พิจารณา จาก กระสุนปืน ๙ พารา  

กระสุนหัวรู jhp  หนัก ๑๑๕ เกรน กับ fmj หนัก  ๑๑๕ เกรน เท่ากัน   ถ้าบินเท่ากันที่ ๑๑๕๕ ฟุต/วินาที พลังงานที่ได้ คือ ๓๔๐ ปอนด์/ตารางฟุต

ตัวเลขตามสูตรคำนวณ เท่ากันหมด แต่ความยับเยินของเนื้อเยื่อนั้น jhp ยับเยินกว่า  สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ คือแรงปะทะ พลังงานของหัวกระสุนที่ถ่ายเทให้กับเป้าหมาย ที่เนื้อเยื่อต้านทานการมุดของหัวกระสุนที่ ฉีกขยายตัวออก

ส่วน fmj  ทิ้งไว้คือ อำนาจสังหาร ที่ทำลายเนื้อเยื่อตลอดเส้นทางที่ผ่าน และไปได้ไกลกว่า มีแรงปะทะน้อยกว่า เพราะหัวกระสุนเรียว แรงต้านที่หัวกระสุน จึงน้อยกว่า jhp



ก่อนอื่นต้องขอบคุณ พี่ๆทั้งสองท่านครับ +1 ให้แล้วนะครับ

ถามเพิ่มนิดนึงครับพี่
แล้วถ้า JHP ในคาลิเบอร์เดียวกัน ถ้าเทียบกันเรื่องน้ำหนักล่ะครับ สมมุติว่า ลูกแรก .45 230 gr JHP ลูกที่สอง .45 185gr jhp
แบบไหนจะสร้างความเสียหาย มากกว่ากันครับ
บันทึกการเข้า
Sting รักในหลวง
มีกิน มีเหลือ เผื่อแผ่ สังคม
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 192
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2905


ปรารถนาใดใดในปฐพี เอาไมตรีแลกได้ดังใจจง


« ตอบ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 09:11:21 AM »

เรื่องโพรงอากาศ เป็นการแปลมากจาก ต่างประเทศ ผมไม่ทราบ และผมไม่เชื่อถือ ในทฤษฎีนี้ ครับ   อ๋อย


พี่ครับ  โพรงอากาศไม่มีครับ  มีแต่ wound cavity แบ่งเป็น temporary cavity กับ permanent cavity ครับ 

ภาษาไทยเรามาแปลเป็น โพรงบาดแผลชั่วคราว และโพรงบาดแผล ถาวร ครับ...พี่เจษ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 09:13:53 AM โดย Sting » บันทึกการเข้า

มโน                         มอบพระผู้เสวยสวรรค์     
แขน                        มอบถวายทรงธรรม์เทิดหล้า    
ดวงใจ                     มอบเมียขวัญและแม่    
เกียรติศักดิ์รักข้า      มอบไว้แก่ตัว
51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 09:28:06 AM »

บันทึกการเข้า
Sting รักในหลวง
มีกิน มีเหลือ เผื่อแผ่ สังคม
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 192
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2905


ปรารถนาใดใดในปฐพี เอาไมตรีแลกได้ดังใจจง


« ตอบ #11 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 10:31:45 AM »



ไม่ต้องเรียก 51

51 ก็มา... Grin Grin Cheesy Cheesy
บันทึกการเข้า

มโน                         มอบพระผู้เสวยสวรรค์     
แขน                        มอบถวายทรงธรรม์เทิดหล้า    
ดวงใจ                     มอบเมียขวัญและแม่    
เกียรติศักดิ์รักข้า      มอบไว้แก่ตัว
51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 11:06:17 AM »

ไม่ต้องเรียก 51

51 ก็มา... Grin Grin Cheesy Cheesy


คริ คริ  ถึงจะไม่เรียก  แต่ในใจก็โหยหาใช่ป่ะกั๊บพี่...คริ คริ
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #13 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 01:46:57 PM »

พลังงานตัวเลขมาก ย่อมมีแรงปะทะ ที่มากขึ้นตามไปด้วย  ไม่ใช่ ไม่แน่นอน

มีข้อให้สังเกต  ให้พิจารณา จาก กระสุนปืน ๙ พารา  

กระสุนหัวรู jhp  หนัก ๑๑๕ เกรน กับ fmj หนัก  ๑๑๕ เกรน เท่ากัน   ถ้าบินเท่ากันที่ ๑๑๕๕ ฟุต/วินาที พลังงานที่ได้ คือ ๓๔๐ ปอนด์/ตารางฟุต

ตัวเลขตามสูตรคำนวณ เท่ากันหมด แต่ความยับเยินของเนื้อเยื่อนั้น jhp ยับเยินกว่า  สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ คือแรงปะทะ พลังงานของหัวกระสุนที่ถ่ายเทให้กับเป้าหมาย ที่เนื้อเยื่อต้านทานการมุดของหัวกระสุนที่ ฉีกขยายตัวออก

ส่วน fmj  ทิ้งไว้คือ อำนาจสังหาร ที่ทำลายเนื้อเยื่อตลอดเส้นทางที่ผ่าน และไปได้ไกลกว่า มีแรงปะทะน้อยกว่า เพราะหัวกระสุนเรียว แรงต้านที่หัวกระสุน จึงน้อยกว่า jhp



ก่อนอื่นต้องขอบคุณ พี่ๆทั้งสองท่านครับ +1 ให้แล้วนะครับ

ถามเพิ่มนิดนึงครับพี่
แล้วถ้า JHP ในคาลิเบอร์เดียวกัน ถ้าเทียบกันเรื่องน้ำหนักล่ะครับ สมมุติว่า ลูกแรก .45 230 gr JHP ลูกที่สอง .45 185gr jhp
แบบไหนจะสร้างความเสียหาย มากกว่ากันครับ

JHP  เหมือนกัน ก็ต้องลูกที่หนักกว่าสิครับ  ถ่ายเทพลังงานไปเต็ม ๆ  Wink
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
pimuk
Hero Member
*****

คะแนน 82
ออฟไลน์

กระทู้: 2886


« ตอบ #14 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 03:10:17 PM »

Doctor Michael Courtney เขียนเรื่อง Bullet Pressure Wave ลงในเวปไซต์สองสามแห่ง เชื่อว่ากระสุนที่มีพลังงานจลน์สูง
(หัวเบากว่าแต่เร็วกว่า) มีผลทำให้ระบบประสาท "ช็อค" ได้ เนื่องด้วยการ "กระชาก" ของกระแสไฟฟ้าในเส้นประสาท ได้รับ
การยอมรับพอสมควร และมีอีกท่านหนึ่งจำชื่อได้ว่า Doctor Tobin เสนอเรื่องที่คล้ายกันเรียกว่า Neurogenic Shock ลงใน
หนังสือของ อีแวนมาร์แชลและเอ็ดแซนาว

ฝ่าย International Wound Ballistic Association นำโดย Doctor Gary Robert แย้งว่า สี่งนั้นไม่มีผล เว้นไว้ในกระสุนปืน
ไรเฟิ้ล ที่เร็วถึงประมาณ ๒,๔๐๐ ฟ-วิ ขึ้นไป หลายๆ คนเห็นด้วย ฝั่งนี้ จะชอบกระสุนที่มีโมเมนตั้มสูง (หัวหนักแต่ช้ากว่า)

ก็ว่ากันไป.... ผมว่าอย่างนั้น เอาทั้งหนักทั้งเร็ว คงเข้าท่าที่สุด  Cheesy

ที่แน่ๆ หัวรูย่อมทำลายเนื้อเยื่อได้มากกว่าเห็น (ถ้าบานตามที่ออกแบบมา)  Grin



บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 21 คำสั่ง