ถ้านกหันข้างจะเลือกยิงตรงไหนดีครับพี่ทศ นัดเดียวถึงจะเอาอยู่
เพราะเมื่อวานผมยิงนกกระยาง ด้วยลูก JSB 18.1 เกรน ระยะประมาณ40 เมตร
เข้าบริเวณกลางลำตัว มันบินหนีไปเฉยเลย
-----------------------------------------------------------------
1. เล็งยิงให้โดนปืก ไม่ว่าโคนปีก กลางปีก ปลายปีก ร่วงทุกตัวครับ
2. เล็งยิงให้โดนอวัยวะสำคัญภายในเช่น ปอด หัวใจ ก็ตรงประมาณใต้โคนปีกนั่นแหละ
สรุปก็ยิงไปตรงบริเวณปีกตรงข้อพับของปีก ถ้าไม่โดนปีกกระสุนก็จะเข้าตรงชายโครงไปโดนปอด หัวใจ นกก็ไปไม่รอดครับ
ถ้ายิงโดนกล้ามเนื้อไม่โดนอวัยวะภายใน ยังไงก็กลับไปตายรังครับ
เรื่องนี้ผมมีคำตอบแล้วครับแต่จะถูกต้อง100%หรือไม่นี่ก็ไม่แน่ใจครับ
ผมเป็นบ่อยมากๆครับที่ยิงโดนเต็มๆ แบบว่าได้ยิงเสียงกระสุนโดนนกพิราบดัง "ปุก"เสียงแน่นๆครับ แบบว่าผมยิงที่ระยะ50เมตร (แรงสูงสุด ลมในกระบอกไม่ต่ำกว่า160bar กระสุน jsb) เสียงเสียงกระสุนโดนนกพิราบยังได้ยินชัดๆแน่นๆครับ แต่นกกลับบินไปเฉย
พี่สำราญเคยบอกไว้ว่าถ้ากระสุนวิ่งผานไปเร็วเกินนกก็จะยังไม่รู้สึก ผมก็ยังไม่ปักใจเชื่อ พอวันอทิตย์ที่แล้วไปรับถังและอุปกรณ์ที่พี่ดุก พี่ดุกก็บอกเช่นเดียวกับพี่สำราญ ทำให้ผมต้องทดลองด้วยตัวเองเพื่อความแน่ใจ
โดยการลดความแรงมาที่ระดับ4 (เงื่อนไขและตัวแปรอื่นๆเหมือนเดิม) ปรากฏว่ายิง2ล่วง2ครับ (หันข้างทั้งสองตัวครับ)
แต่ผมก็ยังงงไม่หายครับ จริงแล้วแรงปะทะน่าจะเป็นผลพวงของ2อย่างคือ ความเร็ว+น้ำหนักมวลกระสุน คือ ความเร็วสูงต้องได้แรงปะทะมากกว่า ความเร็วต่ำในกระสุนชนิดเดียวกัน
ถ้าเป็นอย่างที่คิดอาจเป็นไปได้ว่าการที่กระสุนมีความเร็วมากๆ นั้นไม่ได้สร้างความเสียหายแก่กล้ามเนื้อหรืออวัยวะมากนัก(ในทันที) แต่ถ้าความเร็วที่พอดีจะทำความเสียหายได้มากกว่า อย่างเช่น ใช้มีดคมๆกรดเนื้อบางทีเราไม่รู้สึกเจ็บแต่แผลก็เลือดออกแล้ว แต่ถ้าใช้ของที่ไม่คมมากนักมากรีดแผลคงดูไม่สวย +เย็บยากอีกด้วย
พี่ๆคิดว่าอย่างไรบ้างครับกับแนวคิดนี้
เมื่อวานก่อนผมยิงระยะ 20 เมตร กระสุนนัดเดียวทะลุ 2 ตัว ขนกระจายฟุ้งเต็มไปหมด
แต่ทั้งสองตัวกลับโผบินขึ้นฟ้าหายไป ตอนนั้นคิดว่าถ้าใช้ hw97 หรือ ลดแรงดันลงได้เหลือ 70 บาร์
ตัวแรกคงจะบินไม่ไหวแน่
ปรากฏการณ์แบบนี้น่าจะเกิดขึ้นในขณะที่ยิงไม่โดนจุดตายเฉียบพลันเท่านั้น
สมมุติว่ามีสองเหตการณ์ และสองกรณี
กรณีแรก
เหตการณ์แรก กระสุนนัดแรกยิงด้วยแรงดันลม 180 บาร์ ระยะ 30 เมตร ได้พลังงานกระสุนจุดกระทบตัวนกเท่ากับ 20 ฟุตปอนด์
ด้วยความเร็วและแรงกระสุนจึงทะลุผ่านไป มีพลังงานลอยไปพร้อมกับกระสุน 12 ฟุตปอนด์ ก็หมายความว่านกได้รับแรงกระแทก 8 ฟุตปอนด์
สมมุติเหตการณ์สอง กระสุนนัดสอง ยิงด้วยแรงดัน 90 บาร์ ระยะ 30 เมตร ได้พลังงานกระสุนจุดกระทบตัวนกเท่ากับ 10 ฟุตปอนด์
ด้วยความเร็วและแรงกระสุนที่น้อยกว่า ทำให้กระสุนไม่ค่อยอยากวิ่งผ่านตัวนกพิราบ จึงฝังอยู่ในตัวนกพิราบ นกพิราบตัวนี้ก็ได้รับแรงกระแทก
ระดับ 10 ฟุตปอนด์
นกพิราบตัวที่สองมีอาการหนักกว่าตัวแรก
กรณีสอง
กระสุนที่วิ่งด้วยความเร็วเร่ง สิ่งที่ได้มาเหมือนว่ากระสุนจะมีมวลสูงเพิ่มขึ้น (ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้)
ตรงนี้ผมไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรดี เพราะว่ามวลมันเท่าเดิมนั้นหละ แต่ในความรู้สึกเหมือนมันมีมวลมากขึ้นเพราะความเร็ว
ตัวอย่าง เรายกกล้องถ่ายรูปได้ตามปกติ แต่เวลาไปนั่งรถแข่งฟอร์มูล่าวัน เราจะยกแขนขึ้นมาถ่ายรูปไม่ได้เลย
เพราะความเร่งของรถ หรือ ตอนรถเลี้ยวโค้ง แขนเราและกล้องจะมีน้ำหนักมากทำให้เรายกกล้องขึ้นมาถ่ายรูปไม่ได้
หรือเหมือนเอาลูกเทนนิสโยนใส่เรากับขว้างใส่เรานั้นหละ ลูกเทนนิสก็หนักเท่าเดิม แต่ทำไมเรารู้สึกว่าตอนกระทบ
ตัวเรามันมีน้ำหนักหนักไม่เท่ากัน หรืออีกอย่างเรายืนบนตาชั่งในลิฟท์ แล้วลิฟท์วิ่งขึ้น คิดว่าน้ำหนักเรามากขึ้นหรือเปล่า
ความจริงไม่หรอก แต่ทำไมเข็มตาชั่งมันฟ้องว่าเราหนักกว่าเดิม ชักจะนอกเรื่องฟุ้งซ่านไปกันใหญ่
ย้อนกลับมาที่ความเร็วกระสุนอีกครั้ง
กระสุนที่วิ่งเร็วจะมีน้ำหนักมากกว่า สู้ลมดี มีการทรงตัวดี เมื่อประทะตัวนกก็มุดทะลุไปอย่างง่าย พอโดนยิงก็ยังบินต่อไปได้
กระสุนที่วิ่งช้ากว่าทรงตัวไม่ค่อยดี พอปะทะตัวนกและมุดเข้าไปในลำตัวก็เสียการทรงตัวสบัดและตีคว้าน
เมื่อโดนกระสุนก็จะมีอาการสะอึกบินไม่ไหว