สมมุติว่า ถ้า .22LR น้ำหนักหัวกระสุน 40 เกรน ความเร็ว 1029 Fps
กับ ลูก#1 น้ำหนักหัวกระสุน 8.3 เกรน ความเร็ว 1000 Fps
ทั้งสองทำ มุมเงย 45 องศา ระหว่างลูกเบอร์ 1 กับ .22LR อันไหนจะไปตกไกลกว่ากันครับ
แล้ว .22LR ตกที่ประมาณกี่เมตร ? เบอร์ 1 ตกที่ประมาณกี่เมตร ?
ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ดีๆ ทั้งผู้ที่ตอบ และผู้ที่เข้าชมศึกษาครับผม
เรื่องนี้ผมเคยคิดอย่างมากหลายสิบปีก่อน ก็คิดว่าเนื้อหาคงไม่เปลี่ยนเพราะเป็นเรืองธรรมชาติ
คนเรายังไงก็เอาชนะธรรมชาติไม่ได้หรอก สิวจะขึ้น ตดจะออก มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ
กระสุนวิ่งไปได้ไกลไม่ไกลก็เป็นเรื่องธรรมชาติอีกหละ
ระหว่างน้ำหนัก 8 กับ 40 มีน้ำหนักต่างกัน 5 เท่า
พอดีโจทย์บอกว่าความเร็วเป็น 1000 ฟุตต่อวิ พอ ๆ กัน
คำตอบก็คือ กระสุน .22 หนัก 40 เกรน ไปได้ไกลกว่า
แต่อย่าลืมว่าพลังงานส่งกระสุนไม่เท่ากันด้วยนะ ตรงนี้ต้องนำมาคิด
แต่ถ้าพลังงานส่งเท่ากันหละ จะเกิดอะไรขึ้น
พิสูจน์ลองหาวัตถุ ขนาดเท่ากัน แต่น้ำหนักต่างกัน 5 เท่า
แล้วนำวัตถุทั้งสองกำอยู่ในมือ และออกแรงขว้างไปโดยเร็วที่สุด
จะพบว่าวัตถุที่หนักกว่าจะไปได้ไกลกว่า เพราะอะไรเพราะวัตถุหนักกว่า
อมพลังงานจลน์ไว้ในตัวได้มากกว่า
แล้วการพิสูจน์ที่ได้ผลกลับกัน มันอยู่ในเหตการณ์ใด มีหรือเปล่า
น่าจะมีนะ สมมุติว่า
ขว้างอีกหลายครั้ง แต่ขว้างเบาลงเรื่อย ๆ จะพบว่า ณแรงขว้างหนึ่ง
วัตถุเบากว่าไปได้ไกลกว่า
แสดงว่าถ้ากำหนดพลังงานไว้ขนาดหนึ่ง จะพบว่าวัตถุที่เบากว่าจะไปได้ไกลกว่า
พลังงานขนาดนั้นจะทำให้มีความเร็วต่ำมาก เป็นความเร็วที่ไม่มีแรงจะส่งวัตถุที่มีน้ำหนักมากให้ลอยตัวเคลื่อนที่ไป
แต่แรงขนาดเดียวกันนั้นสามารถส่งวัตถุที่มีน้ำหนักเบาให้ลอยตัวไปได้ วัตถุน้ำหนักเบาจึงเคลื่อนตัวได้ไกลกว่า
แต่ในกรณียิงปืน ถ้าเอากระสุนน้ำหนัก 40 เกรน มายิงในปืนอัดลม จะพบว่ากระสุนตกใกล้กว่ากระสุนน้ำหนัก 8 เกรน
แต่ถ้าเอากระสุน 8 เกรน ไปยิงในปืนลูกกรด จะพบกว่ากระสุน 8 เกรน วิ่งไม่ไกลเท่ากับกระสุน 40 เกรน
เป็นได้ว่าระยะและความเร็วกระสุนจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของกระสุนและพลังงานที่ส่งกระสุน
แม้ว่าจะเพิ่มแรงส่งกระสุนมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็ไม่อาจส่งกระสุนน้ำหนักหนึ่งให้มีระยะห่างออกไปเรื่อย ๆ
เพราะกระสุนวิ่งด้วยแรงจลน์
นั้นก็คือ
สมมุติว่ากระสุน .22 น้ำหนัก 40 เกรน สามารถยิงไปได้ไกลได้ 2 กิโลเมตร
เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนนะครับ ทดลองจริงอาจไม่ระยะไม่ตามนี้
เพิ่มดินปืนขึ้น 1 ส่วน ได้ระยะทางเป็น 2.5 กิโลเมตร
เพิ่มดินปืนขึ้น 2 ส่วน ได้ระยะทางเป็น 3 กิโลเมตร
เพิ่มดินปืนขึ้น 3 ส่วน ได้ระยะทาง 3 กิโล
เพิ่มดินปืนขึ้น 4 ส่วน ได้ระยะทาง 3 กิโล
เพิ่มดินปืนขึ้น 5 ส่วน ได้ระยะทาง 3 กิโล
จะเห็นว่าเพิ่มดินปืนเกิน 2 ส่วนก็เป็นการสิ้นเปลืองดินปืนเปล่า ๆ ไม่ได้ระยะทางเพิ่ม
นั้นเป็นเพราะกระสุน 40 เกรนมันมีความสามารถอมพลังงานได้เต็มที่ที่หน่วยหนึ่ง แม้จะให้พลังงานมากขึ้นมันก็ได้แค่หน่วยหนึ่ง
ซึ่งทำให้มันวิ่งไปได้ 3 กิโล ดังนั้นถ้าต้องการยิงได้ไกลกว่าเดิม เมื่อเพิ่มดินปืน 3 ส่วนก็ต้องเพิ่มน้ำหนักกระสุนด้วย
กระสุน 8 เกรนก็ควรอยู่ในกฏธรรมชาติตรงนี้ด้วย
อย่าลืมว่ากระสุนไม่ใช่จรวด ถ้าเป็นจรวด เราเพิ่มดินปืนมากขึ้นมันก็วิ่งไปได้ไกลขึ้นเพราะดินปืนมันอยู่ในตัวจรวด
แต่กระสุนมันวิ่งไปด้วยแรงจลน์
เราสามารถเพิ่มความเร็วกระสุนได้อาจมีความเร็ว 2 ถึง 3 เท่าเสียงก็ได้ ถ้าทำลำกล้องให้ยาวหลายร้อยกิโลเมตร
แล้วยิงให้กระสุนถูกผลักด้วยแรงขยายตัวของดินปืน มันเป็นความเร็วในลำกล้อง อาจวิ่งเหมือนจรวดทำนองนั้น
เป็นความเร็วแบบไม่เป็นธรรมชาติ เพราะมีแรงขับดันดันท้ายกระสุนตลอดเวลา แต่พอกระสุนพ้นปากลำกล้อง
ก็ไม่มีแรงดันท้ายกระสุน ความเร็วกระสุนก็จะตกลงมาสู่ความเป็นธรรมชาติของมัน
พวกปืนใหญ่ยิงได้ระยะ 20 กิโลเมตร กับ 40 กิโลเมตร น้ำหนักกระสุนก็จะต่างกัน
ดินขับก็ต่างกันด้วย สองอย่างสัมพันธ์กันระหว่าง น้ำหนักกระสุน กับ พลังงาน
ที่ทำให้เกิดความเร็วกระสุน
ผมพอจำได้เท่านี้ เรื่องการคำนวณเลิกคิดไปได้เลยครับ ปวดหัวเปล่า ๆ