น้องมันบอกว่า มาอยู่ทางหลวงนี่ยากมาก แต่อยู่ให้ตลอดรอดฝั่งยากกว่า ประมาณรถออกต้องมีเงิน เพราะมีคนคอยเสียบตลอดเวลา ถ้าหลุดจากรถก็ไม่ต่างกับท้องที่ เหมือนที่รู้ๆมาอยู่ทางหลวงเพราะอะไร ก็เลยเป็นที่มาของการแข่งขันกันเพือความอยู่ประจำรถนานเท่าที่ทำได้
ตามนั้นครับ ได้ยินมานานแล้วครับเรื่องนี้ บางที่ถึงกับต้องประมูลแข่งเลยนะว่ารอบนี้จะเอารถ ตร.ทล. ออกไปตรวจ (ดักไถ) จะให้เงินนายเท่าไหร่
เพิ่มเติมบางส่วนที่คนที่ไปอาจไม่รู้ครับ
รถใน สตช ส่วนมากจะตัดน้ำมันเพื่อสนองนโยบายประหยัดพลังงาน ได้ดีเด่นลำดับต้นๆของหน่วยราชการหลายท่านเคยเห็นข่าว และบางหน่วยที่มีผลประโยชน์ในก็เอาโคต้าน้ำมันที่เหลือไปบางส่วนหรือหมดก็ไม่แน่ บางหน่วยหัวหน้าเอารถไปใช้ส่วนตัวยังเอาน้ำมันไปอีด ก็ยิ่งขาดแคลน ฉะนั้นผู้ปฏิบัติต้องหาน้ำมันเติมเองเพื่อปฏิบัติหน้า(เคยมีข่าว ตร ทางอีสานร้องออกหนังสือพิมพ์) จะมาอ้างว่าไม่มีน้ำมันไม่ได้เพราะหน้าที่ต้องปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติก็มีโทษ ถ้าหน่วยนั้นท้องที่นั้นให้คุณให้โทษแก่ใครๆได้ ก็มีการสนับสนุนส่วนนี้ให้ ถ้าไม่มีควักทุนครับ บางหน่วยได้น้ำมัน 100 /คัน/เดือน จะให้ทำงานได้กี่วันครับ ที่เหลือก็ควักทุนครับ เงินเดือนผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่ก็หมื่นต้นๆ ค่าเสียงภัยสามพันเบี้ยเลี้ยงสักพัน แต่ต้องผ่อนปืน ซื้อวิทยุและออฟชั่นต่างๆ ค่าเช่าบ้าน เพราะที่หน่วยงานมีให้ไม่พอเพียงสำหรับกำลังพล งานก็ต้องทำ ปากท้องก็ต้องกิน ก็เลยมีที่มาอย่างที่ท่านเห็น ที่ผมเอามาโพสเป็นสิ่งที่พบเห็นและพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อนฝูงและผู้ปฏิบัติงาน ไม่มีหลักฐานหรือเอกสารยืนยัน แต่ถ้าท่านสอบถามพักพวกที่เป็น ตร ก็จะได้ข้อมูลมาบ้าง
ท่านเคยได้ยินเรื่องซื้อขายตำแหน่งแล้วท่าเคยได้ยินเรื่องเอางบประมาณหน่วยแลกตำแหน่งเพื่อขออยู่ต่อไหม๊ครับ จริงหรือปล่าวไม่ยืนยันมันก็แค่ข่าวที่ผู้ปฏิบัติพูดกัน
แล้วแบบนี้จะโทษใครดี ผู้ปฏิบัติหรือหน่วยงานหรืองบประมาณหว่า ชั่วก็ต้องว่าดีก็ต้องชื่นชมครับ
ว่าก็ว่า ตร บางส่วนยังไม่ค่อยปรับตามสมัยยังหลงกับอำนาจ อาจไกลหูไกลตานาย ข่าวสารก็ไม่ติดตาม หลายจังหวัดที่เจอ ยึดใบขับขี่ออกใบสั่งยังบังคับให้จ่ายค่าปรับภายในวันนั้นโดยการยึดรถไว้ ถ้า ปชช ไม่ต่อสู้ตามครรลองบ้าง ระบบนี้ก็จะยังคงมีครับ แต่ถ้าหน่วยงานคนดีน้อยหรือไม่มีดีเลยป่านนี้ก็คงยุบไปแล้วครับ